เป็นต้นแบบการทำงานร่วมกันระหว่างภาคีที่เกี่ยวเพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและควบคุมจำนวนประชากรสุนัขและแมวให้แก่พื้นที่อื่นๆ
เป็นต้นแบบการทำงานร่วมกันระหว่างภาคีที่เกี่ยวเพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและควบคุมจำนวนประชากรสุนัขและแมวให้แก่พื้นที่อื่นๆ
นายสัตวแพทย์เอกสิทธิ์ ติยานันต์ โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่อันตรายร้ายแรงซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิต ทรัพยากร และเศรษฐกิจ
สำหรับประเทศไทยในปัจจุบันยังคงพบรายงานการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้ทั้งในคนและในสัตว์ ด้วยเหตุนี้ปัญหาดังกล่าวจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง
ที่จักต้องเร่งรัดกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปเพื่อร่วมขจัดปัญหาข้างต้น โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้ร่วมกับองค์กรต่างๆ
อาทิเช่น คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครสวรรค์ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมจัดโครงการ
สร้างเขตปลอดโรคพิษสุนัขขึ้นมา โดยมีกิจกรรมการรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคพิษสุนัข พร้อมกับมีการให้บริการการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
และการให้บริการทำหมันแก่สุนัขและแมวจรจัด ในพื้นที่ต่างๆ โดยเริ่มต้นที่ ต.เขาทอง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์
แล้วขยายความร่วมมือไปยังพื้นที่อื่นๆ ในจ.นครสวรรค์เพิ่มเติม ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ได้มีการจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557
วัตถุประสงค์
1.เพื่อสร้างการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างภาคีที่เกี่ยวข้อง
2.เพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและควบคุมประชากรสุนัขและแมว
3.เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของโรคพิษสุนัขบ้า
4.เพื่อผลักดันให้นำไปสู่การสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า
5.เพื่อเป็นกรณีศึกษาในการศัลยกรรมให้แก่นักศึกษาสัตวแพทย์
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม
-รณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคพิษสุนัข
- ให้บริการการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
- ให้บริการทำหมันแก่สุนัขและแมวจรจัด
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
-มีสุนัขและแมวได้รับบริการการทำหมันในโครงการไปแล้วทั้งสิ้น 958 ตัว
-มีนักศึกษาสัตวแพทย์ได้เข้าร่วมฝึกประสบการณ์การศัลยกรรมมากกว่า 150 คน
ผลลัพธ์
เป็นต้นแบบการทำงานร่วมกันระหว่างภาคีที่เกี่ยวเพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและควบคุมจำนวนประชากรสุนัขและแมวให้แก่พื้นที่อื่นๆ
สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครสวรรค์
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ. และ อบต. ต่างๆ)