Good Health and Well-Being

สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย

มหาวิทยาลัยมหิดลมีความเข้มแข็งทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยได้ผลิตผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีส่วนช่วยในการพิจารณาการรักษาโรคและให้ความรู้ทางด้านสุขภาพแก่ประชาชน และในแต่ละปีมหาวิทยาลัยได้ผลิตบัณทิตทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง และมีโรงพยาบาลในสังกัดถึง 8 แห่งที่พร้อมให้การดูแลรักษาประชาชน ครอบคลุมในทุกโรค โดยได้ให้การรักษาผู้ป่วยในระยะเวลา 2 ปี (ตั้งแต่ พ.ศ. 2563 - 2564) แบ่งเป็นผู้ป่วยนอก 11,766,282 ราย ผู้ป่วยใน 284,931 ราย ผู้ป่วยทันตกรรม 1,094,908 ราย ซึ่งทางมหาวิทยาลัยได้ให้การสนับสนุนค่ารักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2563 - 2564 ไปกว่า 4,213,371,169.45 บาท ช่วยลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มสิทธิการเข้าถึงการรักษาพยาบาลให้ทั่วถึงยิ่งขึ้น นอกจากการรักษาพยาบาล มหาวิทยาลัยยังมีศูนย์วิจัยโรคเฉพาะทางหลากสาขา เช่น ศูนย์โรคหลอดเลือดสมอง ศูนย์ไตเทียม ศูนย์มะเร็ง เป็นต้น ทางมหาวิทยาลัยยังมีส่วนสำคัญในการผลักดันโครงการต่าง ๆ ที่ช่วยส่งเสริมการสร้างสุขภาพที่แข็งแรง ทั้งในระดับชุมชนและในระดับประเทศ รวมทั้งเป็นผู้จัดกิจกรรมในการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคชนิดต่าง ๆ เช่น กิจกรรมถ่ายทอดสดการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ในวันเอดส์โลก กิจกรรมงานสัปดาห์วันมะเร็งโลก กิจกรรมวันโรคอ้วน และแนะนำวิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้อง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาทางด้านสุขภาพจิตให้กับนักศึกษาและประชาชนทั่วไป และ มีคลินิกวัยทีนที่พร้อมให้คำปรึกษาเยาวชนเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น เช่น ปัญหาการติดยาเสพติดปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ พร้อมบริการฟิตเนสและสนามกีฬาหลายประเภทสำหรับนักศึกษาและบุคลากร ในมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ มีการรณรงค์ให้ประชาชนเห็นถึงผลเสีย ของการสูบบุหรี่และเลิกสูบบุหรี่เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง ในระดับกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน มหาวิทยาลัยยังเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนกิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะ ในฐานะผู้นำองค์ความรู้ และเป็นต้นแบบสำหรับมหาวิทยาลัยสมาชิกเครือข่ายส่งเสริมสุขภาพในเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (Asean University Network – Health Promotion Network : AUN – HPN) อีกด้วย

Highlights
  • thumb
    03 11
    31 ส.ค. 2565
    ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค)
    ศูนย์การศึกษาวิจัยองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางกายในมิติทางประชากรและสังคมที่มุ่งเน้นการศึกษาและวิเคราะห์ปรากฏการณ์และพฤติกรรม โดยใช้องค์ความรู้และระเบียบวิธีวิจัยที่มีมาตรฐานระดับสากลเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม พันธกิจ (Mission) 1. ทบทวนสถานการณ์และองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้านกิจกรรมทางกายเพื่อใช้ในประกอบการจัดทำแผนและแนวทางในการขับเคลื่อนนโยบายด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประชากรไทย 2. เชื่อมประสานภาคีทำงานด้านกิจกรรมทางกาย ตลอดจนวิเคราะห์ประเด็น และโจทย์การวิจัยเพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 3. พัฒนาฐานข้อมูล เครื่องมือรวบรวมข้อมูลทางสังคม การติดตามและประเมินผล ตลอดจนการวิเคราะห์แนวโน้ม ด้านกิจกรรมทางกายที่มีมาตรฐานทางวิชาการระดับสากล เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์และศึกษาเปรียบเทียบ ตลอดจนเฝ้าระวังกิจกรรมทางกาย 4. พัฒนาและเผยแพร่ผลผลิตทางวิชาการ ตลอดจนนวัตกรรมทางด้านสังคมศาสตร์ที่มีคุณภาพสูงเพื่อสนับสนุนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของคนไทยทุกช่วงวัย การดำเนินกิจกรรมทางวิชาการของศูนย์ได้มีการกำหนดเป้าหมายเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และผลผลิตทางวิชาการด้านกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพและมาตรฐานเพื่อนำไปสู่การสร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคม โดยมุ่งเน้นที่ผลผลิตหลัก 4 มิติ ประกอบด้วย 1) T: Tool คือ เครื่องมือและต้นแบบสำหรับการวิจัย 2) P: Publication คือ ผลการวิจัยที่เผยแพร่ 3) A: Analysis คือ ชุดข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ 4) K: Knowledge คือ ความรู้สู่การปฏิบัติ โดยตั้งเป้าหมายให้เกิดรูปธรรมภายใต้ขอบเขตดังกล่าวทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว
  • thumb
    10 มี.ค. 2565
    แปลงผักปลอดสารพิษ
    แปลงผักปลอดสารพิษเกิดขึ้นด้วยแนวคิดที่อยากให้มีการบริโภคผักที่ไม่ใช้สารเคมีภายในมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อให้บุคลากร นักศึกษา คนในชุมชนได้กินผักที่มีความปลอดภัย มหาวิทยาลัยมหิดลจึงจัดสรรพื้นที่ซึ่งเดิมเป็นพื้นที่ว่างที่ไม่มีการใช้ประโยชน์ และให้เกษตรกรในพื้นที่เข้ามาดำเนินการปรับปรุงดินและปลูกผักปลอดสารพิษจนถึงปัจจุบัน
  • thumb
    17 03
    22 ส.ค. 2565
    Parenting in Displacement Study on Thailand-Myanmar Border
    Parenting in Displacement: Testing a wraparound model of support for migrant and displaced families from Myanmar This Scope of Work relates to research activities conducted by the Institute for Population and Social Research (IPSR) at Mahidol University as part of the GPI study, “Parenting in Displacement: Testing a wraparound model of support for migrant and displaced families from Myanmar” The study will test a wraparound approach to improving systems, population, and individual caregiver and child level outcomes among migrant and displaced families on the Thai-Myanmar border. Study objectives are to: 1. Evaluate the effectiveness and cost-effectiveness of a population-level media campaign adapted from PLH to increase knowledge and skills around positive and playful parenting, reduce acceptance of violence against children, decrease harsh parenting, and promote caregiver and child wellbeing. 2. Evaluate the effectiveness and cost effectiveness of a trauma-informed adaptation of PLH for higher-need caregivers whose outcomes do not improve after delivery of the media campaign. 3. Design, implement, and evaluate strategies to strengthen formal and informal systems for service delivery and sustainability in a volatile displacement context.
จำนวนทั้งหมด 99 รายการ