Good Health and Well-Being

สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย

มหาวิทยาลัยมหิดลมีความเข้มแข็งทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยได้ผลิตผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีส่วนช่วยในการพิจารณาการรักษาโรคและให้ความรู้ทางด้านสุขภาพแก่ประชาชน และในแต่ละปีมหาวิทยาลัยได้ผลิตบัณทิตทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง และมีโรงพยาบาลในสังกัดถึง 8 แห่งที่พร้อมให้การดูแลรักษาประชาชน ครอบคลุมในทุกโรค โดยได้ให้การรักษาผู้ป่วยในระยะเวลา 2 ปี (ตั้งแต่ พ.ศ. 2563 - 2564) แบ่งเป็นผู้ป่วยนอก 11,766,282 ราย ผู้ป่วยใน 284,931 ราย ผู้ป่วยทันตกรรม 1,094,908 ราย ซึ่งทางมหาวิทยาลัยได้ให้การสนับสนุนค่ารักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2563 - 2564 ไปกว่า 4,213,371,169.45 บาท ช่วยลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มสิทธิการเข้าถึงการรักษาพยาบาลให้ทั่วถึงยิ่งขึ้น นอกจากการรักษาพยาบาล มหาวิทยาลัยยังมีศูนย์วิจัยโรคเฉพาะทางหลากสาขา เช่น ศูนย์โรคหลอดเลือดสมอง ศูนย์ไตเทียม ศูนย์มะเร็ง เป็นต้น ทางมหาวิทยาลัยยังมีส่วนสำคัญในการผลักดันโครงการต่าง ๆ ที่ช่วยส่งเสริมการสร้างสุขภาพที่แข็งแรง ทั้งในระดับชุมชนและในระดับประเทศ รวมทั้งเป็นผู้จัดกิจกรรมในการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคชนิดต่าง ๆ เช่น กิจกรรมถ่ายทอดสดการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ในวันเอดส์โลก กิจกรรมงานสัปดาห์วันมะเร็งโลก กิจกรรมวันโรคอ้วน และแนะนำวิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้อง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาทางด้านสุขภาพจิตให้กับนักศึกษาและประชาชนทั่วไป และ มีคลินิกวัยทีนที่พร้อมให้คำปรึกษาเยาวชนเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น เช่น ปัญหาการติดยาเสพติดปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ พร้อมบริการฟิตเนสและสนามกีฬาหลายประเภทสำหรับนักศึกษาและบุคลากร ในมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ มีการรณรงค์ให้ประชาชนเห็นถึงผลเสีย ของการสูบบุหรี่และเลิกสูบบุหรี่เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง ในระดับกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน มหาวิทยาลัยยังเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนกิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะ ในฐานะผู้นำองค์ความรู้ และเป็นต้นแบบสำหรับมหาวิทยาลัยสมาชิกเครือข่ายส่งเสริมสุขภาพในเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (Asean University Network – Health Promotion Network : AUN – HPN) อีกด้วย

Highlights
  • thumb
    03 04 09
    10 มี.ค. 2565
    Mobile Stroke Unit เชื่อมต่อกับระบบปรึกษาทางไกลและการส่งต่อผู้ป่วยแบบครบวงจรสําหรับทุกคน
    MSU-SOS ถือเป็นโครงการต้นแบบการพัฒนาระบบปรึกษาทางไกล เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันโดยใช้รถโมบาย สโตรคยูนิตให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยนําเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ติดตั้งไว้บนรถ
  • thumb
    03 17
    22 ส.ค. 2565
    ศูนย์ทันตกรรมพระราชทานศูนย์ทันตกรรมพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราช สุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
    ศูนย์ทันตกรรมพระราชทานฯ ได้ให้การรักษาทางทันตกรรมแก่ประชาชนผู้ยากไร้ และด้อยโอกาสมาเป็นเวลานานกว่า 20 ปี และได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในอดีตสามารถให้การรักษาได้วันละประมาณ 100-150 คน โดยทำการอุดฟัน รักษาคลองรากฟันและถอนฟันเป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบันนี้สามารถให้บริการได้ถึง 250-450 รายต่อวัน สามารถให้การรักษาทางทันต กรรมได้ เช่นเดียวกับโรงพยาบาลใหญ่ๆ นับตั้งแต่การตรวจรักษาโรคในช่องปาก ในกรณีที่พบความผิดปกติในช่องปาก อาทิเช่น มะเร็งในช่องปาก ปากแหว่งเพดานโหว่และคนไข้ที่มีความผิดปกติของใบหน้าหลังการผ่าตัดหรือคนไข้ที่มีโรคในช่องปากที่ซับซ้อนเกินความสามารถของสถานพยาบาลในท้องถิ่นที่จะรักษาได้ ก็จะนำไปรักษาที่คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังให้ความรู้ทางทันตสุขภาพ บริการถอนฟัน รวมทั้งการผ่าตัดที่สามารถทำในหน่วยเคลื่อนที่ได้ รักษาโรคเหงือกและปริทันต์อักเสบ การอุดฟัน การรักษารากฟัน การใส่ฟันเทียมถอดได้ฐานพลาสติกแบบไม่ซับซ้อน
  • thumb
    04 03
    2 ก.ย. 2565
    โครงการผู้สูงอายุรู้ทันสื่อ: สร้างหลักสูตรและขยายเครือข่ายนักสื่อสารสุขภาวะ (Media Literate Elderly: Creating Media Literacy Course and Expanding Networks of Communicators for Well-being)
    สร้างเสริมการรู้เท่าทันสื่อให้ผู้สูงอายุไทยในเมืองและชนบท พร้อมขยายผลให้แกนนำผู้สูงอายุใน 5 พื้นที่
  • thumb
    31 ส.ค. 2565
    โครงการ “การพัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษาแบบรอบด้าน สำหรับเยาวชนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในโรงเรียนโสตศึกษา”
    การดำเนินงานโครงการ “การพัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษาแบบรอบด้านสำหรับเยาวชนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในโรงเรียนโสตศึกษา” เพื่อพัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษา ที่เหมาะสมกับเยาวชนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในโรงเรียนโสตศึกษาอย่างมีส่วนร่วม รวมทั้งสื่อสารเพื่อกระตุ้นและสร้างความตระหนักให้กับหน่วยงาน/ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ถึงความสำคัญของการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษาอย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิผลในกลุ่มเยาวชนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
  • thumb
    17 03 10
    31 ส.ค. 2565
    โครงการ “การศึกษาพัฒนารูปแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิที่บูรณาการกับบริการทางสังคมสำหรับคนพิการ”
    โครงการ “การศึกษาพัฒนารูปแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิที่บูรณาการกับบริการทางสังคมสำหรับคนพิการ” เป็นโครงการที่วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อนำนโยบายสู่การปฏิบัติ โดยร่วมกับภาคีเครือข่ายภาครัฐ และภาคประชาชน ได้แก่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.), สถาบันสิริธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข, สภาศูนย์การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการประเทศไทย (TIL) และ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติเพื่อให้เกิดความยั่งยืน (SDG 17) ในการพัฒนา/ การดูแลด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของคนพิการ (SDG 3) เป็นการเพิ่มโอกาส /ลดความเหลื่อมล้ำ ในการเข้าถึงบริการทางสุขภาพและบริการทางสังคมของคนพิการ (SDG 10)
  • thumb
    02 03 17
    29 ส.ค. 2565
    โครงการร้านอาหารปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค สุขภาพชุมชนเขาทองยั่งยืน
    ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ เป็นที่ตั้งของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ห่างจากตัวเมืองราว 15 กิโลเมตร ความเป็นอยู่และอาหารการกินของประชาชนในชุมชน ยังเป็นลักษณะคล้ายกับชุมชนที่ห่างไกลความเจริญจากตัวเมืองทั่วไป โดยวิถีการบริโภคอาหารในพื้นที่มีลักษณะเป็นร้านอาหารของคนในชุมชน ตลาดนัด หาบเร่ แผงลอย ซึ่งยังคงต้องพัฒนาด้านการสุขาภิบาลอาหารและอาหารปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง
  • thumb
    03 17
    29 ส.ค. 2565
    การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลแบบประคับประคองผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้าน ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
    แนวโน้มของความต้องการการดูแลประคับประคองที่บ้านของประชาชนมีมากขึ้น ด้วยเพราะอุบัติการณ์โรคเรื้อรัง โรคร้ายแรง โรคที่คุกคามต่อชีวิต รวมทั้งสัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้มีผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Terminal illness) และผู้สูงอายุระยะบั้นปลายชีวิต (End of life) จำนวนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย การดูแลแบบประคับประคองคือการดูแลอาการเจ็บป่วยทางกาย ปัญหาทางจิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ แบบองค์รวม ตั้งแต่ระยะแรกที่เริ่มวินิจฉัยว่าอยู่ในระยะประคับประคอง (Palliative) จนกระทั่งผู้ป่วยเสียชีวิต
  • thumb
    25 ส.ค. 2565
    โครงการปฐมวัยสาธิต
    ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย ส่งเสริมประสบการณ์ และการเรียนรู้ เพื่อเตรียมความพร้อมและส่งเสริมศักยภาพเด็กปฐมวัย ทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจ และกระบวนการรู้คิด
  • thumb
    17 03 04
    25 ก.ค. 2565
    โครงการ MFA – MU Capacity Building for Medical and Health Science Education Hub
    มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ตกลงทำบันทึกความเข้าใจ ในปี ๒๕๖๔ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพของมหาวิทยาลัยมหิดลด้วยเทคนิควิธีการที่ทันสมัยผ่านผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันระดับโลก (Train the Trainers) ซึ่งนำไปสู่การถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้รับจากผู้เชี่ยวชาญต่อไปยังบุคลากรในภาคส่วนนั้นๆ ทั้งในการรักษาพยาบาลประชาชนในประเทศและการกระจายองค์ความรู้สู่การพัฒนาทางการแพทย์นอกประเทศ (Training the Others) ในประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะในกลุ่ม CLMV ตลอดจนเป็นการสร้างเครือข่ายทางการแพทย์ในระดับภูมิภาคและนานาชาติ เพื่อส่งเสริมยุทธศาสตร์ทางการทูตเพื่อการพัฒนา (Development Diplomacy) และการทูตเชิงเวชการ (Medical Diplomacy) โดยความร่วมมือดังกล่าวสอดคล้องกับ Sustainable Development Goals ในด้าน Partnerships for the goals ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในด้าน Education for Sustainability เนื่องจากมุ่งเน้นในด้านของการพัฒนาองค์ความรู้ของบุคลากรด้านการแพทย์ในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นผู้ทำหน้าที่ส่งต่อองค์ความรู้ไปยังประเทศที่กำลังพัฒนาต่อไป ซึ่งภายใต้ความร่วมมือดังกล่าวมีโครงการจาก ๓ ส่วนงาน
  • thumb
    1 ก.ค. 2565
    การบริหารยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำส่วนกลางที่บ้าน Home Chemotherapy RAMA Model
    การบริหารยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำส่วนกลางที่บ้าน เพิ่มประสิทธิผลการรักษา ลดค่าใช้จ่าย สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ป่วย ยกระดับระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งของประเทศไทย เพื่อความยั่งยืนทางด้านสุขภาพของประชากรไทย
  • thumb
    27 มิ.ย. 2565
    "อาหารริมบาทวิถี" ต้องพัฒนาอย่างไร เพื่อสุขภาพคนเมือง
    อาหารริมบาทวิถี หรือ “สตรีทฟู้ด” (Street Food) ในประเทศไทยมีเอกลักษณ์และขึ้นชื่อในเรื่องความหลากหลาย และเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตประชาชนในกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันขยายตัวไปยังจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะเมืองที่เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวทั้ง 4 ภาคของประเทศ
  • thumb
    03 12
    30 มิ.ย. 2565
    ห้องปฏิบัติการประเมินความปลอดภัยทางอาหารและชีวภาพ (การตรวจวิเคราะห์สารตกค้างยาฆ่าแมลง ในผัก ผลไม้)
    คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เริ่มโครงการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางเทคนิคการแพทย์ “ผักและผลไม้ที่ปลอดภัยเพื่อครัวโลก” มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในการบริโภคอาหารที่มีความปลอดภัยจากสารตกค้างยาฆ่าแมลง หรือสารกำจัดศัตรูพืช ที่อาจปนเปื้อนอยู่ในผักและผลไม้
จำนวนทั้งหมด 54 รายการ