การพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เติบโตเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และมีความใส่ใจในการทำความเข้าใจสถานการณ์ของเด็กและเยาวชนนอกระบบภายใต้บริบทครอบครัวและสังคมที่มีความสลับซับซ้อน เพื่อแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบที่มีความยั่งยืน
การพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เติบโตเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และมีความใส่ใจในการทำความเข้าใจสถานการณ์ของเด็กและเยาวชนนอกระบบภายใต้บริบทครอบครัวและสังคมที่มีความสลับซับซ้อน เพื่อแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบที่มีความยั่งยืน
เด็กนอกระบบการศึกษาเป็นปัญหาเกิดขึ้นหลายประเทศทั่วโลก เกิดผลกระทบเชิงลบในหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ความมั่นคงสังคม เป็นปัญหาที่มีความสลับซับซ้อน เป็นภาพสะท้อนของภาวะของวิกฤติครอบครัวและสังคม ที่เกิดในสภาวะของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว หลากหลาย มีการย้ายถิ่นของประชากร การขยายตัวของเมือง กระแสโลกาภิวัตน์ ฯลฯ หลายหน่วยงานได้พยายามแก้ปัญหาด้วยมาตรการต่างๆ แต่ก็เต็มไปด้วยข้อจำกัด สาเหตุหลักคือการเข้าไม่ถึงธรรมชาติของปัญหาและความต้องการของเด็กและเยาวชนเหล่านั้น
ประเทศไทยมีการคาดการณ์ว่ามีเด็กที่หลุดจากระบบการศึกษาหลายแสนคน ผลกระทบของการระบาดของโรคโควิด 19 ยิ่งซ้ำเติมให้มีจำนวนเพิ่มขึ้น ซึ่งมีเหตุสำคัญมากมาย เช่น ฐานะยากจน ปัญหาครอบครัว ต้องคดี/ถูกจับ เจ็บป่วย/อุบัติเหตุ อพยพตามผู้ปกครอง หาเลี้ยงครอบครัว และกรณีอื่น ๆ แม้จะมีความพยายามในการแก้ปัญหาดังกล่าว แต่สถานการณ์ไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก จำนวนเด็กนอกระบบการศึกษาดูจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นทั่งโลก ความซับซ้อนทั้งในเชิงสภาพปัญหา สาเหตุ และผลกระทบ เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความท้าทายสำคัญยิ่งสองประการ คือความท้าทายเชิงวิธีวิทยาและความท้าทายในเชิงระบบและคนทำงาน
ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เติบโตเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และมีความใส่ใจในการทำความเข้าใจสถานการณ์ของเด็กและเยาวชนนอกระบบภายใต้บริบทครอบครัวและสังคมที่มีความสลับซับซ้อน รวมถึงต้องการแสวงหาแนวทางในการแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบที่มีความยั่งยืน จึงได้ร่วมมมือและได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เพื่อดำเนินงาน "โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาเชิงระบบเพื่อการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาของเด็กนอกระบบ"
โครงการวิจัยนี้ จึงถูกออกแบบและดำเนินการภายใต้วัตถุประสงค์สำคัญ 4 ประการ ดังนี้
การดำเนินงานจะเป็นการขับเคลื่อนการแก้ปัญหา โดยเริ่มจากการวิเคราะห์ทบทวนให้เห็นธรรมชาติของปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาที่เป็นอยู่ ด้วยสายตาใหม่ ตั้งคำถามกับสิ่งเดิม โดยเฉพาะการมองด้วยแนวคิดความซับซ้อนเชิงระบบ (complex adaptive system) การวิเคราะห์ทางออก พัฒนาเครื่องมือ/วิธีการระบบ ตามแนวคิดใหม่ ลงมือปฏิบัติเพื่อก้ปัญหา สรุปเป็นการเรียนรู้จากผลที่ได้ ใช้ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นใหม่หรือยังคงอยู่ นำกลับมาสู่การวิเคราะห์ หาทางออก และ ปฏิบัติการใหม่ วนเป็นรอบ (feedback loop) ไปเช่นนี้ตลอดกระบวนการ
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมาย |
กลุ่มตัวอย่าง |
|
โรงเรียนในพื้นที่ศึกษา พื้นที่ละ 1-2 โรงเรียน |
|
กศน. เทศบาล/อบต. องค์กรเอกชน จำนวนเด็กพื้นที่ละ 30-50 กรณีศึกษา |
|
กศน. เทศบาล/อบต. องค์กรเอกชน จำนวนเด็กพื้นที่ละ 30-50 กรณีศึกษา |
พื้นที่ดำเนินงานคือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคือ เทศบาลขนาดใหญ่/เทศบาลเมือง จำนวน 4 พื้นที่ ได้แก่ เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา เทศบาลเมืองขอนแก่น เทศบาลเมืองนครสววรค์ และอาศรมวงศ์สนิท ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีนโยบาย/โครงการ มีความสนใจในการพัฒนาการศึกษาทั้งในระบบที่เป็นทางการและนอกระบบที่เป็นทางการ รวมทั้งมีความสนใจที่จะร่วมในการวิจัย และพื้นที่ที่มีเครือข่ายคนทำงานเดิมที่ทำงานร่วมกัน
ข้อสรุปสำคัญจากผลการดำเนินงาน
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)