Equality

คือ ความเท่าเทียมที่สามารถเข้าถึงโอกาสหรือการได้รับสิ่งต่างๆอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติในความแตกต่างด้านอายุ ความทุพพลภาพ เพศ เชื้อชาติ ศาสนา รสนิยมทางเพศ เป็นต้น ซึ่งมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นสถานศึกษาที่มีนักศึกษาจากหลากหลายพื้นที่ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เข้ามาศึกษาหาความรู้เพื่อนำไปประกอบอาชีพ นำไปต่อยอดองค์ความรู้เพื่อพัฒนาองค์กร สังคม เศรษฐกิจ และมีบุคลากรที่หลากหลายที่เข้ามาปฏิบัติงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ทำให้มหาวิทยาลัยมหิดลให้ความสำคัญต่อความเท่าเทียมภายใต้สถานศึกษาแห่งนี้ที่จะสร้างความเท่าเทียมระหว่างคนทุกกลุ่ม ทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนา ให้เกิดโอกาสสร้างอนาคตทางสังคมร่วมกัน มีปฏิสัมพันธ์ มีความเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกัน
Equality
Equality
ความเท่าเทียมทางการศึกษา
มหาวิทยาลัยมหิดลมี หน่วยบริการสนับสนุนสำหรับนักศึกษาพิการ ที่บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการให้สามารถเข้าถึงระบบการเรียน
การสอนของมหาวิทยาลัยฯได้เท่าเทียมกับนักศึกษาทั่วไป เพื่อสร้าง สังคมแห่งการอยู่ร่วมกันระหว่างคนพิการและคนทั่วไป โดยมีการให้บริการดังนี้
จัดการศึกษาให้เหมาะสมกับผู้เรียน โดยให้คำแนะนำ บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการกับคณะ ส่วนงานต่างๆ เพื่อให้คณาจารย์ของมหาวิทยาลัยสามารถจัดการศึกษาสำหรับนักศึกษาพิการได้ตามความเหมาะสม อำนวยความสะดวกในการสอบ เช่น การขยายเวลาสอบ ผู้ช่วยอ่านข้อสอบ ฯลฯ
บริการผลิตสื่อตามความต้องการของนักศึกษาพิการแต่ละบุคคล เช่น บริการผลิตสื่ออักษรเบรลล์ สื่อภาพนูน
บริการอุปกรณ์เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่นรถวีลแชร์ อุปกรณ์ทดแทนเมาส์ ทางลาดแบบพกพา Braille display โปรแกรมอ่านจอภาพหรือขยายจอภาพสำหรับผู้พิการทางการเห็น
บริการอาสาสมัครช่วยเหลือนักศึกษาพิการตามความต้องการจำเป็นของแต่ละบุคคล
ส่งเสริมให้นักศึกษาพิการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของมหาวิทยาลัยเพื่อสร้างทักษะการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม
ร่วมให้ข้อคิดเห็นในการปรับสภาพแวดล้อมแบบ Universal Design ให้นักศึกษาสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้
จัดเตรียมความพร้อม และสร้างโอกาสทางการประกอบอาชีพ โดยการจัดโครงการศึกษาดูงาน และเตรียมความพร้อมในการประกอบอาชีพ เพื่อพัฒนานักศึกษาพิการให้ก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการ
Equality
Equality
Equality
Equality
Equality
Equality
ความเท่าเทียมทางเพศ
มหาวิทยาลัยมหิดลให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมทางเพศ เริ่มตั้งแต่การเปิดรับสมัครงานที่ไม่จำกัดเพียงเพศใดเพศหนึ่ง อาจจะเป็นเพศชาย เพศหญิง เพศทางเลือก ซึ่งเรามั่นใจว่าทุกเพศล้วนมีความตั้งใจที่จะเข้ามาปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพ แต่หากเมื่อไรเกิดความจำเป็นที่ไม่สามารถมาปฏิบัติงานได้ อาจมาจากสาเหตุความเจ็บป่วย ธุระส่วนตัว ก็จะสามารถใช้ สิทธิ์การลาของพนักงานมหาวิทยาลัย/พนักงานมหาวิทยาลัย (ชื่อส่วนงาน) ได้ โดยเพศหญิงจะมีสิทธิ์เพิ่มเติมจากสิทธิ์การลาพื้นฐานที่ได้รับเงินเดือนอัตราปกติ คือ ลาคลอดบุตร ที่สามารถลาได้ไม่เกิน 90 วัน และเพศชาย คือ ลาดูแลบุตรและภรรยาหลังคลอด ที่สามารถลาได้ไม่เกิน 15 วันทำการ และการลาเกี่ยวกับราชการทหารที่สามารถลาได้ตามระยะเวลาที่ทางราชการกำหนด
นอกจากนี้ยังได้จัดตั้ง ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยเพศภาวะ เพศวิถีและสุขภาพ ได้ ซึ่งให้ความสำคัญกับประเด็นเยาวชน ผู้หญิง ประเด็นอัตลักษณ์ทางเพศและรสนิยมทางเพศ (Sexual orientation and gender identity :SOGI) และกลุ่มเปราะบางอื่น ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายขององค์กรคือ การสร้างองค์ความรู้ที่ลุ่มลึกในประเด็นสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ผ่านงานวิจัยสนาม การพัฒนาวิธีวิทยาในการศึกษาเพศภาวะเพศวิถีและสุขภาพ ชี้นำสังคมในเชิงนโยบายและกิจกรรมในระดับชุมชนในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนที่มาจากความรู้จากงานวิจัยเพื่อนำพาสังคมสู่สุขภาวะความเท่าเทียม เสมอภาค และเป็นธรรมทางเพศ
มหาวิทยาลัยมหิดลส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างบุคคลและสร้างมหาวิทยาลัยมหิดลให้เป็นองค์กรที่ปราศจากการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ โดยการปฏิบัติต่อกันอย่างให้เกียรติและเคารพซึ่งกันและกัน และไม่กระทำการใดที่เป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศตามประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง เจตนารมณ์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ พ.ศ.2566 เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กร และปลูกฝังค่านิยมให้เคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์โดยคำนึงถึงความเท่าเทียมระหว่างเพศ ไม่กระทำการอันเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องของเพศ สร้างสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่ดีภายในมหาวิทยาลัย ส่งเสริมความปลอดภัย สร้างกลไกและกระบวนการป้องกันและแก้ไขปัญหาล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศทั้งในและนอกมหาวิทยาลัยมหิดล
หากเกิดกรณีล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศที่อาจเกิดขึ้นต่อนักศึกษาหรือบุคลากร สามารถขอคำปรึกษาทางสุขภาพใจได้ที่ศูนย์ให้คำปรึกษาสุขภาพทางใจและหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัยมหิดลสามารถแจ้งเรื่องร้องเรียนหรือขอคำปรึกษาทางกฎหมายได้ที่กองกฎหมาย สำนักงานอธิการบดี หรือผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งจะมีการพิจารณาเรื่องร้องเรียนโดยคณะกรรมการพิจารณาและวินิจฉัยข้อร้องเรียน (กวธ.) ต่อไป โดยการดำเนินการดังกล่าวเป็นการดำเนินการโดยลับ เพื่อคุ้มครองผู้ร้องเรียน ผู้ให้ข้อมูล และพยานตามกฎหมาย
Equality
คลินิกชุมชนสีลม @ทรอปเมด
มหาวิทยาลัยมีการให้บริการสุขภาพเฉพาะด้าน เช่น คลินิกชุมชนสีลม @ทรอปเมด (Silom Community Clinic @TropMed หรือ SCC @TropMed) ที่เป็นศูนย์บริการสาธารณสุขเฉพาะทางสำหรับการแก้ปัญหาการระบาดของเชื้อเอชไอวีอันเป็นภาระหนักในกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) โดยความร่วมมือระหว่างกลุ่ม LGBTQ+ กระทรวงสาธารณสุขแห่งประเทศไทย และศูนย์ป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control and Prevention: CDC) เพื่อพัฒนาการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในประเทศไทย

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

ชั้น 12 โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน ถนนราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

เวลาทำการ: จันทร์ - ศุกร์ เวลา 15.00 - 20.00 น.

โทรศัพท์: 02-644-6290 │ โทรสาร: 02-644-6295

Facebook: Silom Community Clinic @TropMed

Website: http://www.silomclinic.in.th