ค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 18

detail

โครงการการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ ทักษะ และความสามารถการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อปลูกฝังให้ตระหนักถึงความสำคัญ การพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สาหรับเยาวชนและบุคลากรทางการศึกษา

ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ

เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยการใช้ “ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับนักเรียน” และ “เครือข่ายบุคลากรทางการศึกษา” มาเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนเสริมสร้างองค์ความรู้ สร้างการตระหนักรู้ (Literacy)เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (2020 Sustainability Development Goals : SDGs) รวมทั้งเพื่อให้เกิดความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อนาองค์ความรู้ที่ได้รับไปลงมือปฏิบัติจริง

การดำเนินการ

กิจกรรมที่สำคัญของโครงการ ประกอบด้วย

1. กิจกรรมการเรียนรู้และปฏิบัติในหัวข้อ

• SDGs 12 เรื่องการจัดการขยะ  • SDGs 13 เรื่อง "ลดโลกร้อน นอนสบาย"  • SDGs 15 เรื่อง “เขาใหญ่” ป่ามรดกโลก

2. เรียนรู้ห้องเรียนธรรมชาติ ณ ศูนย์ฝึกอบรมที่ 2 (เขาใหญ่) จ.นครนายก , อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

และศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ลำตะคอง จ.นครราชสีมา

3. การนำเสนอโครงงานกลุ่มวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม กิจกรรมทั้งหมดดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อสร้างการตระหนักรู้ (Literacy) เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (2020 Sustainability Development Goals : SDGs) รวมทั้งเพื่อให้เกิดความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อนาองค์ความรู้ที่ได้รับไปลงมือปฏิบัติจริง

ผลการดำเนินงาน

ผลการประกวดโครงงานกลุ่มวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

รางวัลชนะเลิศ  ทีม Black snow  จากโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ กาญจนบุรี

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1   ทีม Alien species  จากโรงเรียนบางสะพานวิทยา

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2   ทีม PPT2 Green Save  จากโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย 2 หลวงพ่อเงินอนุสรณ์

รางวัลชมเชย

-ทีม เสือซุ่มเจ้าธรณี จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี

-ทีม Change World Together จากโรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย พัทลุง

-ทีม Zero Waste T.P. จากโรงเรียoธาตุพนม

และการประเมินผลความพึงพอใจ = ร้อยละ 93.40

การนำไปใช้ประโยชน์

เยาวชนและบุคลากรทางการศึกษา ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนทัศนคติ ความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และเสริมสร้างเครือข่ายบุคลากรทางการศึกษา สามารถนำองค์ความรู้ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปลงมือปฏิบัติได้จริง นำความรู้ไปช่วยพัฒนาประเด็นปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติ  มีร้อยละการนำไปใช้ประโยชน์ 93.18

ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

     แลกเปลี่ยนประสบการณ์ องค์ความรู้ผ่านโครงการ/กิจกรรมโครงงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระหว่างนักเรียน บุคลากรทางการศึกษา

ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

     เยาวชนและบุคลากรทางการศึกษามีการตระหนักรู้ (Literacy) เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (2020 Sustainability Development Goal : SDGs)

     

 

 

Partners/Stakeholders

-

ผู้ดำเนินการหลัก
ดร. แพรวา วงษ์บุรี
ส่วนงานหลัก
ผู้ดำเนินการร่วม
-