Highlights
การพัฒนาทุนมนุษย์
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนมีความมุ่งมั่นที่จะ “ยุติความยากจนและความโหยในทุกรูปแบบและทุกมิติ พร้อมมุ่งมั่นสร้างหลักประกันว่ามนุษย์ทุกคนสามารถบรรลุศักยภาพของตนในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความเท่าเทียมภายใต้สภาพความเป็นอยู่ที่มีคุณภาพ” แน่นอนว่าเราต้องพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราเผชิญกับความท้าทาย ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งในสังคม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อศักดิ์ศรีและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษยชาติ
pic2-20240509-1725524854-322-983.jpg
01
5 ก.ย. 2567
โครงการส่งเสริมอาชีพทอผ้าและแปรรูปผ้าขอเอื้อสำหรับผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ตำบลโนนหนามแท่ง
โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินโครงการบริการวิชาการ เรื่อง การส่งเสริมอาชีพทอผ้าและแปรรูปผ้าขิดลายขอเอื้อสำหรับผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ตำบลโนนหนามแท่ง ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จำนวน 720,000 บาท ดำเนินการช่วงเดือนมิถุนายน 2566 ถึงเดือนมีนาคม 2567
pic2-20243009-1727666847-130.png
01
30 ก.ย. 2567
แผนนโยบายขับเคลื่อนการบริหารจัดการเกษตรกรรมและสิ่งแวดล้อมยั่งยืนบนฐานระบบวนเกษตรชุมชน
การนำแนวคิด ความรู้ และหลักการทางนิเวศวิทยาในการบริหารจัดการเกษตรกรรมด้วยระบบวนเกษตร สู่แผนนโยบายขับเคลื่อนชี้นำสังคม เพื่อช่วยในการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากแรงกดดันด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)
pic2-20232804-1682657821-827-326.JPG
03
1 ก.ค. 2565
การบริหารยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำส่วนกลางที่บ้าน Ramathibodi Home Chemotherapy Model (RHCM)
การบริหารยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำส่วนกลางที่บ้าน เพิ่มประสิทธิผลการรักษา ลดค่าใช้จ่าย สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ป่วย ยกระดับระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งของประเทศไทย เพื่อความยั่งยืนทางด้านสุขภาพของประชากรไทย
Highlights
เศรษฐกิจและความมั่งคั่ง
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนมุ่งมั่นที่จะสร้างหลักประกันให้มนุษย์ทุกคนสามารถมีชีวิตที่มั่งคั่งและเติมเต็มชีวิตได้ด้วยความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี อย่างกลมกลืนกับธรรมชาติความไม่เท่าเทียมเป็นหนึ่งในปัญหาที่ต้องมุ่งเน้นและให้ความสำคัญที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน
pic2-20222810-1666947737-549.jpg
07
28 ต.ค. 2565
โครงการ Research for Community วิจัยเพื่อชุมชนสังคม
นำองค์ความรู้และเทคโนโลยีถ่ายทอดไปสู่ชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ และพึ่งพาตัวเองได้
pic2-20232010-1697792928-964.jpg
09
20 ต.ค. 2566
เส้นใยใบสับปะรดสำหรับสิ่งทอและอุตสาหกรรม
TEAnity Team มุ่งมั่นในการผู้นำในการผลิตเส้นใยใบสับปะรดสำหรับงานอุตสาหกรรมต่างๆ และการจัดการของเหลืองทิ้งจากแปลงสับปะรดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
pic2-20240611-1730860055-641.jpg
07
6 พ.ย. 2567
โครงการศูนย์วิจัยและปฏิบัติการทดสอบพลังงาน เพื่อส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงร่วมกับภาครัฐบาล ภาคอุตสาหกรรม และภาคประชาชน
การพัฒนานโยบายการติดฉลากประหยัดพลังงาน เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในภาคผู้ประกอบการและภาคครัวเรือน
Highlights
การปกป้องโลก
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนมีความมุ่งมั่นที่จะปกป้องโลกจากความเสื่อมโทรม ด้วยการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และการดำเนินการอย่างเร่งด่วนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ “เพื่อรองรับความต้องการของคนในยุคปัจจุบันและอนาคต”
pic2-20221008-1660115130-752-361.jpg
15
10 ส.ค. 2565
พฤติกรรมและบริบทเฉพาะของชะนีมือขาว (WHITE-HANDED GIBBONS)
ดร.จันทร์เพ็ญ ศรลัมพ์ ได้มีการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่องตั้งแต่การติดตามศึกษาพืชอาหารของชะนี การกระจายเมล็ด และพลวัตป่า และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ณ แปลงศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพมอสิงโต และเรื่องนิเวศวิทยาและพฤติกรรมของชะนีมือขาวในอุทยานแหงชาติเขาใหญ่ ประเทศไทย เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 2012 และมีการดำเนินโครงการวิจัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันโครงการวิจัยที่กำลังดำเนินการ คือ ความแปรผันของเสียงร้องกับบริบทเฉพะของชะนีมือขาว โดยมี Dr. Ulrich H. Reichard จาก Southern Illinois University, USA เป็นหัวหน้าโครงการ
pic2-20230409-1693812171-436.jpg
06
4 ก.ย. 2566
การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด
บึงบอระเพ็ดเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ และเป็นบึงน้ำจืดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่มีความหลากหลาย ทางชีวภาพทางด้านพรรณพืช สัตว์น้ำ และสัตว์ป่า โดยบึงบอระเพ็ดเป็นบึงที่สร้างด้วยฝีมือมนุษย์ โดยพระบรมราชานุญาตของรัชกาลที่ 7 ให้ดำเนินการก่อสร้างเพื่อเก็บกักน้ำ ซึ่งก่อนมีการก่อสร้างฝายเพื่อสร้างบึงมีคนอาศัยอยู่ในพื้นที่บึงอยู่ก่อนแล้ว
pic2-20222908-1661764050-195.jpg
06
29 ส.ค. 2565
10 ปี ของวิทยาเขตนครสวรรค์ ในการมีส่วนร่วมพัฒนาบึงบอระเพ็ด
กระบวนการที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาบึงบอระเพ็ดตลอด 10 ปีที่ผ่านมา เป็นการใช้การวิจัยและบริการวิชาการเป็นบทบาทหลักในการทำงาน โดยแบ่งช่วงการทำงานออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะการเรียนรู้ ระยะการสร้างเครือข่าย และระยะการจัดการเครือข่าย
Highlights
สันติภาพ
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างสังคมที่สันติและยุติธรรมสำหรับทุกคน และสังคมที่เป็นอิสระจากความกลัวและความรุนแรง เพราะการพัฒนาที่ยั่งยืนไม่สามารถเกิดขึ้นได้โดยปราศจากสันติภาพ และสันติภาพก็เกิดขึ้นไม่ได้หากไม่มีการพัฒนาที่ยั่งยืน
pic2-20243009-1727690650-825-591.jpg
16
18 ต.ค. 2565
ธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยมหิดล มีนโยบายในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรที่มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อการบริการจัดการองค์กรอย่างยั่งยืนเพื่อมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก
pic2-20240111-1730434325-758-508.jpg
16
1 ก.ย. 2565
มหาวิทยาลัยมหิดลกับการมีส่วนร่วมในการหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา และสภาประชาสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ เห็นความสำคัญของกระบวนการพูดคุยสันติภาพสำคัญต่อการแก้ปัญหาพื้นที่จังหวัดชายแอนภาคใต้อย่างยั่งยืน จึงได้ใช้กระบวนการสานเสวนาสร้างพื้นที่แห่งความร่วมมือระหว่างตัวแสดงที่มีอิทธิพลและบทบาทในการแก้ปัญหาทางสังคมการเมือง ได้แก่ ภาคประชาสังคมและนักการเมือง โดยได้ดำเนินการต่อเนื่องหลายปีด้วยความสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยมหิดล จนสามารถจัดทำ “ข้อตกลงร่วมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ระหว่างนักการเมืองกับภาคประชาสังคม” และงานแรกที่ร่วมกันผลักดันคือ “การตั้งคณะกรรมาธิการกระบวนการพูดคุยสันติภาพ” ผ่านกลไกรัฐสภา
pic2-20231611-1700116953-790-516.png
16
1 ก.ย. 2565
กลุ่มถักทอสันติภาพ (กทส.) (Weaving Peace Together)
กลุ่มถักทอสันติภาพ (กทส.) มีวัตถุประสงค์ 5 ประการ 1) ส่งเสริมให้เครือข่ายชาวพุทธเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับ 2)ส่งเสริมให้เครือข่ายชาวพุทธมีความเข้าใจและดำเนินการร่วมกัน 3)นำเสนอความต้องการ ความกลัว และความกังวลของชาวพุทธ 4)ทำงานร่วมกับชุมชนชาวพุทธอย่างจริงจัง 5)ร่วมมือกับชุมชนมุสลิมเพื่อสร้างอนาคตอันสงบสุขร่วมกัน ประกอบด้วยบุคลากรสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา และเครืออข่ายชาวพุทธ ร่วมออกแบบโครงการย่อยตาม 4 แนวเรื่อง ได้แก่ ชุมชนพุทธเข้มแข็ง ความสัมพันธ์ระหว่างชาวพุทธ-มุสลิม การส่งเสริมกระบวนการสันติภาพ การสื่อสารและการเชื่อมต่อสังคม ผลผลิตสำคัญ ได้แก่ องค์ความรู้ และการเกิดขึ้นของกลุ่มถักทอสันติภาพ
Highlights
การเสริมสร้างความร่วมมือ
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนมีความมุ่งมั่นที่จะสร้าง "จิตวิญญาณแห่งความเป็นหนึ่งเดียวกันทั่วโลกให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น โดยมุ่งเน้นไปที่ความต้องการของผู้ยากไร้และกลุ่มเปราะบาง ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือและการมีส่วนร่วมจากทุกประเทศ ทุกภาคส่วน และทุกคน"
pic2-20220311-1667450261-420-346.png
17
25 ก.ค. 2565
โครงการ Norwegian Scholarship Projects ระหว่างรัฐบาลนอร์เวย์ โดยสถานทูตนอร์เวย์ประจำประเทศเมียนมา สถานทูตนอร์เวย์ประจำประเทศอินโดนีเซียและมหาวิทยาลัยมหิดล
โครงการ Norwegian Scholarships Projects เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลนอร์เวย์ โดยสถานทูตนอร์เวย์ประจำประเทศเมียนมา สถานทูตนอร์เวย์ประจำประเทศอินโดนีเซียและมหาวิทยาลัยมหิดล มอบทุนศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อมาศึกษา ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ในลักษณะ Co-funding จำนวน 4 สาขา ได้แก่ Life Science & Health, Environmental Sciences and Engineering, Social & Population Science และ Human Rights & Peace Studies
pic2-20233011-1701333797-352-639.jpg
17
15 พ.ค. 2566
โครงการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหนึ่งในแผนงานเชิงยุทธศาสตร์ของโครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา (IHRP) มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาผ่านการเสริมสร้างศักยภาพ การเสริมสร้างอำนาจ และการเผยแพร่ความรู้ในหมู่นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษาและภาคส่วนต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มานานกว่าทศวรรษ นอกเหนือจากหลักสูตรด้านสิทธิมนุษยชนและสันติภาพในระดับบัณฑิตศึกษาแล้ว สถาบันฯ ยังทำงานร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศเพื่อเสริมสร้างศักยภาพ ทักษะ และความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาสำหรับนักวิชาการในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในช่วงหลังได้เน้นการทำงานไปที่กลุ่มนักวิชาการในเมียนมาร์ที่ได้รับผลกระทบจากการรัฐประหารเมื่อปี 2564
pic2-20233011-1701334103-151-497.png
17
31 ส.ค. 2565
โครงการ “การพัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษาแบบรอบด้าน สำหรับเยาวชนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในโรงเรียนโสตศึกษา”
การดำเนินงานโครงการ “การพัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษาแบบรอบด้านสำหรับเยาวชนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในโรงเรียนโสตศึกษา” เพื่อพัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษา ที่เหมาะสมกับเยาวชนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในโรงเรียนโสตศึกษาอย่างมีส่วนร่วม รวมทั้งสื่อสารเพื่อกระตุ้นและสร้างความตระหนักให้กับหน่วยงาน/ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ถึงความสำคัญของการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษาอย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิผลในกลุ่มเยาวชนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
Sustainability Strategy
img
img
มหาวิทยาลัยมหิดลให้พันธสัญญาที่จะดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งด้านการวิจัยและนวัตกรรม การศึกษา และการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อทำให้เกิดความยั่งยืนในอนาคต
Mahidol
Sustainable University
ศูนย์
หอสมุดและคลังความรู้
สำนักงานอธิการบดี