Community and Social Engagement for Sustainability

Community and Social Engagement for Sustainability
Community and Social Engagement for Sustainability
Goal
 
เครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภายนอกมหาวิทยาลัย
การถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชนและสังคม
ร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภายนอกมหาวิทยาลัยเพื่อสนับสนุนการเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืน
การเสริมสร้างขีดความสามารถเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ
Strategic Goals
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์
1. เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและหลักสูตรที่มีความหลากหลายตรงตามความต้องการของผู้เรียน
2. เพื่อสร้างบัณฑิตให้มี Global Talents
Strategic Intiatives
กลยุทธ์
1. พัฒนาอาจารย์และบุคลากรให้มีศักยภาพด้านการศึกษาและกิจการนักศึกษา ที่ตอบสนองต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่
2. ผลักดันให้หลักสูตรได้รับการรับรองตามเกณฑ์มาตรฐานระดับสากล และพัฒนาหลักสูตรบูรณาการที่มีความยืดหยุ่น หลากหลาย ระหว่างสาขาวิชาต่างๆ
3. พัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์สําหรับบุคคลทั่วไป โดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงาน หรือกลุ่มผู้สูงอายุ
4. สร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีบรรยากาศความเป็นนานาชาติ ให้เป็น Digital Convergence University
5. พัฒนาศักยภาพนักศีกษาและกระบวนการจัดกิจกรรมนักศึกษาให้ตอบสนองต่อการเป็น Global Citizen และ Global Talents
6. ส่งเสริมเชิงรุกและสนับสนุนเครือข่ายศิษย์เก่า เพื่อร่วมพัฒนานักศึกษาและมหาวิทยาลัย
7. พัฒนา Platform ด้านการศึกษาสําหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเพื่อเพิ่มจํานวนและคุณภาพ
Case Study
  • thumb
    02 12 17
    19 ต.ค. 2565
    โครงการตลาดนัดสีเขียว Green Market ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
    ตลาดนัดสีเขียวไม่ใช่แค่ตลาด แต่คือชุมชนที่มุ่งสู่ความยั่งยืน โดยมีการจำหน่วยสินค้าจากภูมิปัญญาท้องถิ่น สินค้าออร์แกนิคหลากลาย ผักอินทรีย์ และสินค้าจากเกษตรกรและเครือข่าย เปิดจำหน่วยสินค้าทุกวันศุกร์
  • thumb
    03 10
    11 ต.ค. 2565
    คลินิกเพศหลากหลาย (Gen V Clinic) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
    คลินิกเพศหลากหลาย (Gender Variation Clinic: Gen V Clinic) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ให้บริการกลุ่มคนเพศหลากหลายทุกช่วงวัย โดยแพทย์ผู้เชี่ยใชาญและทีมสหสาขาวิชาชีพ
  • thumb
    17
    7 ต.ค. 2565
    หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อม (ET)
    หลักสูตรมุ่งสร้างมหาบัณฑิตที่มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ความสามารถทางวิชาการในระดับสูง มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณให้มีศักยภาพในการวางแผนและบริหารจัดการงานด้านสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมถึงมีความสามารถในการพัฒนาทางความคิด การวิเคราะห์และการสังเคราะห์ ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคม โดยผ่านกระบวนการการเรียนรู้อย่างบูรณาการจากทั้งภาคทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติอย่างเป็นระบบ สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งมิติทางด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี
  • thumb
    03 04 09
    10 มี.ค. 2565
    Mobile Stroke Unit Stroke One Stop (MSU-SOS) เชื่อมต่อกับระบบปรึกษาทางไกลและการส่งต่อผู้ป่วยแบบครบวงจรสําหรับทุกคน
    MSU-SOS ถือเป็นโครงการต้นแบบการพัฒนาระบบปรึกษาทางไกล เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันโดยใช้รถโมบาย สโตรคยูนิตให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยนําเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ติดตั้งไว้บนรถ
  • thumb
    03 17
    22 ส.ค. 2565
    ศูนย์ทันตกรรมพระราชทานศูนย์ทันตกรรมพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราช สุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
    ศูนย์ทันตกรรมพระราชทานฯ ได้ให้การรักษาทางทันตกรรมแก่ประชาชนผู้ยากไร้ และด้อยโอกาสมาเป็นเวลานานกว่า 20 ปี และได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในอดีตสามารถให้การรักษาได้วันละประมาณ 100-150 คน โดยทำการอุดฟัน รักษาคลองรากฟันและถอนฟันเป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบันนี้สามารถให้บริการได้ถึง 250-450 รายต่อวัน สามารถให้การรักษาทางทันต กรรมได้ เช่นเดียวกับโรงพยาบาลใหญ่ๆ นับตั้งแต่การตรวจรักษาโรคในช่องปาก ในกรณีที่พบความผิดปกติในช่องปาก อาทิเช่น มะเร็งในช่องปาก ปากแหว่งเพดานโหว่และคนไข้ที่มีความผิดปกติของใบหน้าหลังการผ่าตัดหรือคนไข้ที่มีโรคในช่องปากที่ซับซ้อนเกินความสามารถของสถานพยาบาลในท้องถิ่นที่จะรักษาได้ ก็จะนำไปรักษาที่คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังให้ความรู้ทางทันตสุขภาพ บริการถอนฟัน รวมทั้งการผ่าตัดที่สามารถทำในหน่วยเคลื่อนที่ได้ รักษาโรคเหงือกและปริทันต์อักเสบ การอุดฟัน การรักษารากฟัน การใส่ฟันเทียมถอดได้ฐานพลาสติกแบบไม่ซับซ้อน
  • thumb
    02 12
    21 ก.ย. 2565
    “รักษ์” ผักปลอดสาร U2T ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ
    “รักษ์” ผักปลอดสาร เป็นการนำทุนสังคม ของชุมชนเดิมมาต่อยอดพัฒนา ด้วยการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ผลิตภายในชุมชน ให้ความรู้ ถ่ายทอด ฝึกปฏิบัติ หนุนเสริมยกระดับการผลิตให้มีมาตรฐาน และมีการต่อยอดการทำตลาดในพื้นที่แบบต่อเนื่อง เพื่อสร้างแหล่งอาหารปลอดภัยให้แก่คนในชุมชน และสร้างกลไกลการขับเคลื่อนบูรณาการ แบบมีส่วนร่วม และนำไปประยุกต์ใช้ของชุมชนแบบยั่งยืน
  • thumb
    02 12
    20 ก.ย. 2565
    การพัฒนาต้นแบบการเลี้ยงไก่ไข่ในระบบปล่อยอิสระ เพื่อผลิตอาหารปลอดภัย
    ปัจจุบันเองผู้บริโภคในบ้านเราบางกลุ่มก็เริ่มมาให้ความสนใจกับไข่ไก่ที่ได้มาจากกระบวนการเลี้ยงแบบทางเลือกที่ยึดหลักการปฏิบัติต่อสัตว์ที่ดีเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะไข่ไก่ที่ได้จากรูปแบบการเลี้ยงแบบปล่อยพื้น และการเลี้ยงแบบปล่อยอิสระ ซึ่งดูได้จากการที่ผู้เลี้ยงรายย่อยและบริษัทขนาดใหญ่ในวงการปศุสัตว์เริ่มทำการปรับเปลี่ยนกระบวนการเลี้ยงมาผลิตไข่ไก่จากรูปแบบการเลี้ยงทางเลือกเพิ่มมากขึ้น แสดงให้เห็นว่าไข่ไก่กลุ่มนี้น่าจะมีโอกาสเติบโตทางการตลาดเพิ่มสูงขึ้นต่อไปในอนาคต
  • thumb
    01 08 15
    14 ก.ย. 2565
    โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)
    โครงการ U2T for BCG จัดสรรบุคลากรที่อยู่ในระหว่างการหางาน หรือกำลังทำงานอยู่ในปัจจุบัน เพื่อช่วยเหลือชุมชนต่างๆ ให้มีการเติบโตและรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างยั่งยืน โดยผู้เข้าร่วมในโครงการนี้จะต้องเข้าไปทำงานกับชุมชน “เป็นระยะเวลา 3 เดือน” ผ่านการใช้หลักการ BCG เพื่อเพิ่มรายได้ของแต่ละตำบล นับจากวันเริ่มโครงการจนวันสิ้นสุดโครงการ
  • thumb
    04 10
    8 ก.ย. 2565
    กิจกรรม “จิตอาสาอ่านหนังสือให้คนตาบอด”
    กิจกรรม “จิตอาสาอ่านหนังสือให้คนตาบอด” ผ่านแอปพลิเคชั่น Read for the Blind จะช่วยส่งเสริมกิจกรรมจิตอาสาภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ให้มีความปลอดภัยเป็นประโยชน์ต่อสังคม และตอบสนองกิจกรรมเสริมหลักสูตรของมหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้กิจกรรมจิตอาสา (Volunteer)
  • thumb
    12 08 11
    6 ก.ย. 2565
    โครงการ “สานเสวนา Social Co-production กับการยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน”
    บทบาทของภาคประชาชนตามแนวคิดประชารัฐนี้ จะปรับเปลี่ยนจากการเป็นผู้รอรับสินค้าและบริการ (user/consumer) จากภาครัฐแต่เพียงฝ่ายเดียว ไปสู่การเข้าไปมีส่วนร่วมกับประชาชน (citizen participation) และภาคส่วนอื่น ๆ เนื่องจากจะเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง อันจะเป็นการออกแบบและส่งมอบสินค้าและบริการสาธารณะได้ตรงกับความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้/รับบริการ และการให้โอกาสประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบ จัดหา และส่งมอบสินค้าและบริการสาธารณะของตนเองตั้งแต่ต้น ย่อมจะทำให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป ดังนั้น การจัดการขยะในชุมชนจำเป็นจะต้องร่วมมือกันระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ตามแนวทางที่เรียกกันว่า “Coproduction” หรือ “การร่วมผลิต” เพื่อให้การจัดการกับปัญหาขยะในพื้นที่เกิดประสิทธิภาพและมีความยั่งยืนต่อไป
  • thumb
    04 03
    2 ก.ย. 2565
    โครงการผู้สูงอายุรู้ทันสื่อ: สร้างหลักสูตรและขยายเครือข่ายนักสื่อสารสุขภาวะ (Media Literate Elderly: Creating Media Literacy Course and Expanding Networks of Communicators for Well-being)
    สร้างเสริมการรู้เท่าทันสื่อให้ผู้สูงอายุไทยในเมืองและชนบท พร้อมขยายผลให้แกนนำผู้สูงอายุใน 5 พื้นที่
  • thumb
    16 10 17
    1 ก.ย. 2565
    มหาวิทยาลัยมหิดลกับการมีส่วนร่วมในการหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
    โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา และสภาประชาสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ เห็นความสำคัญของกระบวนการพูดคุยสันติภาพสำคัญต่อการแก้ปัญหาพื้นที่จังหวัดชายแอนภาคใต้อย่างยั่งยืน จึงได้ใช้กระบวนการสานเสวนาสร้างพื้นที่แห่งความร่วมมือระหว่างตัวแสดงที่มีอิทธิพลและบทบาทในการแก้ปัญหาทางสังคมการเมือง ได้แก่ ภาคประชาสังคมและนักการเมือง โดยได้ดำเนินการต่อเนื่องหลายปีด้วยความสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยมหิดล จนสามารถจัดทำ “ข้อตกลงร่วมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ระหว่างนักการเมืองกับภาคประชาสังคม” และงานแรกที่ร่วมกันผลักดันคือ “การตั้งคณะกรรมาธิการกระบวนการพูดคุยสันติภาพ” ผ่านกลไกรัฐสภา
จำนวนทั้งหมด 111 รายการ