Community and Social Engagement for Sustainability

Community and Social Engagement for Sustainability
Community and Social Engagement for Sustainability
Goal
 
เครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภายนอกมหาวิทยาลัย
การถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชนและสังคม
ร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภายนอกมหาวิทยาลัยเพื่อสนับสนุนการเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืน
การเสริมสร้างขีดความสามารถเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ
Strategic Goals
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์
1. เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและหลักสูตรที่มีความหลากหลายตรงตามความต้องการของผู้เรียน
2. เพื่อสร้างบัณฑิตให้มี Global Talents
Strategic Intiatives
กลยุทธ์
1. พัฒนาอาจารย์และบุคลากรให้มีศักยภาพด้านการศึกษาและกิจการนักศึกษา ที่ตอบสนองต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่
2. ผลักดันให้หลักสูตรได้รับการรับรองตามเกณฑ์มาตรฐานระดับสากล และพัฒนาหลักสูตรบูรณาการที่มีความยืดหยุ่น หลากหลาย ระหว่างสาขาวิชาต่างๆ
3. พัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์สําหรับบุคคลทั่วไป โดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงาน หรือกลุ่มผู้สูงอายุ
4. สร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีบรรยากาศความเป็นนานาชาติ ให้เป็น Digital Convergence University
5. พัฒนาศักยภาพนักศีกษาและกระบวนการจัดกิจกรรมนักศึกษาให้ตอบสนองต่อการเป็น Global Citizen และ Global Talents
6. ส่งเสริมเชิงรุกและสนับสนุนเครือข่ายศิษย์เก่า เพื่อร่วมพัฒนานักศึกษาและมหาวิทยาลัย
7. พัฒนา Platform ด้านการศึกษาสําหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเพื่อเพิ่มจํานวนและคุณภาพ
Case Study
  • thumb
    04 03
    11 มี.ค. 2565
    การอบรมหลักสูตรนักบริหารระดับสูงด้านสาธารณสุข
    สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล และสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย ได้พัฒนาหลักสูตรนักบริหารระดับสูงด้านสาธารณสุข (Mini Master Management in Health)
  • thumb
    10 ส.ค. 2565
    สร้างฝายชะลอน้ำ (CHECK DAM) แล้วได้ประโยชน์อย่างไร
    วิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดลเดิมประสบปัญหาการพังทลายของหน้าดิน เนื่องจากการชะล้างของน้ำฝน ในช่วงฤดูฝนได้ไหลเข้าท่วมสู่อำเภอไทรโยค เนื่องจากสถานที่ตั้งของวิทยาเขตกาญจนบุรีอยู่บนที่ราบเชิงเขา ทำให้สถานที่ราชการ บ้านเรือนประชาชน ถนน ได้รับความเสียหายส่งผลให้เกิดความเดือดร้อนของชุมชนในพื้นที่เทศบาลตำบลวังโพ อำเภอไทรโยค ในปี 2553 วิทยาเขตกาญจนบุรี ได้มีความร่วมมือกับ SCGP โรงงานวังศาลา ได้เข้ามาศึกษาและสำรวจการพังทลายของชั้นดินบริเวณวิทยาเขตกาญจนบุรี เพื่อร่วมหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาโดยเห็นควรให้มีการจัดสร้างฝายชะลอน้ำในพื้นที่ของวิทยาเขตกาญจนบุรี เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ทั้งนี้วิทยาเขตกาญจนบุรีจึงได้มีความร่วมมือกับทาง SCGP โรงงานวังศาลา และทุกภาคส่วนในอำเภอไทรโยค ในการเริ่มสร้างฝายชะลอน้ำขึ้นในพื้นที่ของวิทยาเขตกาญจนบุรี มาเป็นลำดับในทุกปี โดย ณ ปัจจุบัน มีฝายชะลอน้ำทั้งหมดจำนวน 427 ฝาย วัตถุประสงค์หลักของการสร้างฝายในพื้นที่มิได้เพื่อการกักเก็บน้ำเนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นเขาหินปูน มีรูพรุนใต้พื้นดินเป็นจำนวนมากไม่สามารถเก็บน้ำได้ แต่การสร้างฝายเพือชะลอน้ำ และลดความรุนแรงของน้ำเพื่อไม้ให้สูญเสียหน้าดิน อีกทั้งยังต้องการให้พื้นป่ามีความชุ่มชื้นที่ยาวนานขึ้น โดยส่วนใหญ่ฝายชะลอน้ำสร้างจากวัสดุธรรมชาติ เช่น เศษไม้ ปลายไม้ หิน สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติและไม่ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศ
  • thumb
    03 17
    22 ส.ค. 2565
    ศูนย์ทันตกรรมพระราชทานศูนย์ทันตกรรมพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราช สุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
    ศูนย์ทันตกรรมพระราชทานฯ ได้ให้การรักษาทางทันตกรรมแก่ประชาชนผู้ยากไร้ และด้อยโอกาสมาเป็นเวลานานกว่า 20 ปี และได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในอดีตสามารถให้การรักษาได้วันละประมาณ 100-150 คน โดยทำการอุดฟัน รักษาคลองรากฟันและถอนฟันเป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบันนี้สามารถให้บริการได้ถึง 250-450 รายต่อวัน สามารถให้การรักษาทางทันต กรรมได้ เช่นเดียวกับโรงพยาบาลใหญ่ๆ นับตั้งแต่การตรวจรักษาโรคในช่องปาก ในกรณีที่พบความผิดปกติในช่องปาก อาทิเช่น มะเร็งในช่องปาก ปากแหว่งเพดานโหว่และคนไข้ที่มีความผิดปกติของใบหน้าหลังการผ่าตัดหรือคนไข้ที่มีโรคในช่องปากที่ซับซ้อนเกินความสามารถของสถานพยาบาลในท้องถิ่นที่จะรักษาได้ ก็จะนำไปรักษาที่คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังให้ความรู้ทางทันตสุขภาพ บริการถอนฟัน รวมทั้งการผ่าตัดที่สามารถทำในหน่วยเคลื่อนที่ได้ รักษาโรคเหงือกและปริทันต์อักเสบ การอุดฟัน การรักษารากฟัน การใส่ฟันเทียมถอดได้ฐานพลาสติกแบบไม่ซับซ้อน
  • thumb
    03
    27 มิ.ย. 2565
    โครงการบริการผู้ป่วยติดเตียงแบบต่อเนื่องโดยสหสาขาวิชาชีพ
    ปัจจุบันมีผู้ป่วยสูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถเดินทางมารับการรักษาที่โรงพยาบาลในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันได้ และมีจำนวนมากขึ้นทุกๆปี อันเนื่องมาจากผู้ดูแลหรือญาติไม่สะดวกในการรับ-ส่ง ในการเดินทางมาที่โรงพยาบาล ขณะเดียวกันผู้ป่วยและญาติยังให้ความสำคัญและให้ความสนใจในการดูแล สุขภาพช่องปากและฟันเพราะสุขภาพช่องปากและฟันเป็นดัชนีชี้วัดความแข็งแรงของสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย โรงพยาบาลทันตกรรมมหาจักรีสิรินธร คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.มหิดล ร่วมกับศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก เห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพช่องปากและการรักษาที่มีคุณภาพและปลอดภัย ของผู้ป่วยที่มีปัญหาในการเดินทางเข้ามารับบริการในโรงพยาบาล และเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วยและญาติ รพ.ทันตกรรมฯที่มีความพร้อมทั้งทางด้านบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ อุปกรณ์เครื่องมือ ครุภัณฑ์ที่จะให้การดูแลผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี มีมาตรฐานและปลอดภัย มีการใช้เทคโนโลยีการตรวจและวินิจฉัยโรคในช่องปากโดยการใช้กล้องตรวจฟัน และถ่ายภาพในช่องปากด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อการบริการให้ความรู้ การบริบาลทางการแพทย์และทางทันตสุขภาพ แก่ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเดินทางมาโรงพยาบาลได้ รวมทั้งสามารถนำมาพัฒนาให้เป็นระบบ Teleconference เพื่อการรักษาผู้ป่วยร่วมกับฝ่ายการแพทย์ได้อีกด้วย อาทิ การตรวจสภาพช่องปากและการดูแลสภาพช่องปากของ ผู้ป่วยติดเตียงด้วยกล้องตรวจในช่องปาก พร้อมระบบคอมพิวเตอร์ ที่สามารถนำผลข้อมูลมาเก็บ และนำข้อมูลเข้าสู่ระบบสารสนเทศ เพื่อการวิเคราะห์ วิจัย และใช้เป็นแนวทางการรักษาต่อไป
  • thumb
    26 ก.ค. 2567
    โครงการ “ค่ายบัณฑิตมหิดลอาสาเพื่อพัฒนาชุมชน” ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าก่อ อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
    บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการ “ค่ายบัณฑิตมหิดลอาสาเพื่อพัฒนาชุมชน” ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าก่อ อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ
  • thumb
    5 เม.ย. 2567
    กลไกการพัฒนาระบบการจ้างงานคนพิการเชิงสังคม
    พัฒนาระบบที่เป็นแหล่งรวมงานที่เป็นความต้องการคนพิการ และสถานประกอบการ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ มีระบบทีมสนับสนุน เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างคนพิการและสถานประกอบการ รวมทั้งการ การสร้างการตระหนักรู้ในสถานประกอบการ และพัฒนาระบบองค์กรตัวกลาง โดยมีเครือข่ายความร่วมมือ
  • thumb
    03 04
    15 พ.ค. 2566
    โครงการ การพัฒนาเครือข่ายทางสังคมในการขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัยในเขตสุขภาพที่ 10
    การรวมพลังเครือข่ายทางสังคมเพื่อพัฒนาตำบลต้นแบบ และอำเภอต้นแบบด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัยในเขตสุขภาพที่ 10 ตามแนวคิดสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา และหลักการพัฒนาระบบการดูแลเด็กปฐมวัยโดยชุมชนท้องถิ่น 4 หลักการ คือ การใช้พื้นที่เป็นฐานของการพัฒนา การคำนึงถึงสุขภาพในทุกนโยบาย การสร้างการมี ส่วนร่วมและการสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของชุมชนท้องถิ่น
  • thumb
    04
    15 พ.ค. 2566
    โครงการพัฒนาสมรรถนะของแกนนำ และภาคีเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและครอบครัว จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดมุกดาหาร
    ทีมผู้ดำเนินการเป็นที่ปรึกษาและวิทยากรในโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาสมรรถนะของแกนนำและภาคีเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและครอบครัวระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 4 โครงการ รวม 15 วัน มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 970 คน และจังหวัดมุกดาหาร จำนวน 2 โครงการ รวม 4 วัน มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 194 คน
  • thumb
    03 04 09
    18 เม.ย. 2567
    โครงการพัฒนาระบบการสร้างเสริมสุขภาพพระสงฆ์โดยทีมสหวิทยาการและการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างยั่งยืน
    การพัฒนาสื่อให้ความรู้ด้านสุขภาพและการออกกำลังกายที่เหมาะสม พร้อมพัฒนาระบบต้นแบบนวัตกรรมการบริการและติดตามข้อมูลสุขภาพสำหรับกลุ่มพระสงฆ์
  • thumb
    4 ก.ย. 2566
    การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด
    บึงบอระเพ็ดเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ และเป็นบึงน้ำจืดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่มีความหลากหลาย ทางชีวภาพทางด้านพรรณพืช สัตว์น้ำ และสัตว์ป่า โดยบึงบอระเพ็ดเป็นบึงที่สร้างด้วยฝีมือมนุษย์ โดยพระบรมราชานุญาตของรัชกาลที่ 7 ให้ดำเนินการก่อสร้างเพื่อเก็บกักน้ำ ซึ่งก่อนมีการก่อสร้างฝายเพื่อสร้างบึงมีคนอาศัยอยู่ในพื้นที่บึงอยู่ก่อนแล้ว
  • thumb
    03 17
    15 ก.ย. 2566
    ความร่วมมือทางด้านวิชาการและการวิจัยนวัตกรรมอาหาร ระหว่างวิทยาลัยนานาชาติ และ บริษัท ต้นกล้าฟ้าใส ฟู้ดแคร์ เซ็นเตอร์ จำกัด
    วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล และ บริษัท ต้นกล้าฟ้าใส ฟู้ดแคร์ เซ็นเตอร์ จำกัด ได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านวิชาการและวิจัยเพื่อร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกันเพื่อการจำหน่าย รวมทั้งเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ภาคปฏิบัติของนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในด้านการวิจัยอาหาร การผลิต และการตลาด
จำนวนทั้งหมด 138 รายการ