Community and Social Engagement for Sustainability

Community and Social Engagement for Sustainability
Community and Social Engagement for Sustainability
Goal
 
เครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภายนอกมหาวิทยาลัย
การถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชนและสังคม
ร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภายนอกมหาวิทยาลัยเพื่อสนับสนุนการเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืน
การเสริมสร้างขีดความสามารถเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ
Strategic Goals
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์
1. เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและหลักสูตรที่มีความหลากหลายตรงตามความต้องการของผู้เรียน
2. เพื่อสร้างบัณฑิตให้มี Global Talents
Strategic Intiatives
กลยุทธ์
1. พัฒนาอาจารย์และบุคลากรให้มีศักยภาพด้านการศึกษาและกิจการนักศึกษา ที่ตอบสนองต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่
2. ผลักดันให้หลักสูตรได้รับการรับรองตามเกณฑ์มาตรฐานระดับสากล และพัฒนาหลักสูตรบูรณาการที่มีความยืดหยุ่น หลากหลาย ระหว่างสาขาวิชาต่างๆ
3. พัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์สําหรับบุคคลทั่วไป โดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงาน หรือกลุ่มผู้สูงอายุ
4. สร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีบรรยากาศความเป็นนานาชาติ ให้เป็น Digital Convergence University
5. พัฒนาศักยภาพนักศีกษาและกระบวนการจัดกิจกรรมนักศึกษาให้ตอบสนองต่อการเป็น Global Citizen และ Global Talents
6. ส่งเสริมเชิงรุกและสนับสนุนเครือข่ายศิษย์เก่า เพื่อร่วมพัฒนานักศึกษาและมหาวิทยาลัย
7. พัฒนา Platform ด้านการศึกษาสําหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเพื่อเพิ่มจํานวนและคุณภาพ
Case Study
  • thumb
    03 04 17
    27 ต.ค. 2565
    โรงเรียนส่งเสริมกิจกรรมทางกายในประเทศไทย
    การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียนให้เป็นไปได้ตามเป้าหมายสูงสุด คือ “เด็กนักเรียนทุกคนได้รับโอกาสและมีกิจกรรมทางกายอย่างมีคุณภาพและเพียงพอ”
  • thumb
    03 01 17
    1 ก.ย. 2566
    การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไทยอย่างรอบด้านโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่เทศบาลเมืองกาญจนบุรี และองค์การบริหารส่วนตำบลมหาสวัสดิ์ จังหวัดนครปฐม
    ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในยุค “เกิดน้อย อายุยืน” จำนวนเด็กเกิดของประเทศไทยที่เคยสูงเกินหนึ่งล้านคนในช่วงระหว่างปี 2506-2526 หรือเรียกว่าเป็น “ประชากรรุ่นเกิดล้าน” (ปราโมทย์ ประสาทกุล และปัทมา ว่าพัฒนวงศ์, 2554) ในปี 2564 การเกิดของประเทศไทยลดต่ำลงมากเหลือเพียง 5 แสน 4 หมื่นรายเท่านั้น (สำนักบริหารการทะเบียน, 2565) ในขณะเดียวกันผู้คนเริ่มมีอายุยืนยาวขึ้น อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดของคนไทยได้เพิ่มขึ้นจากในอดีตเมื่อ 50 ปีก่อน ประชากรไทยนับตั้งแต่แรกเกิดคาดว่าจะมีชีวิตอยู่ต่อไปอีกโดยเฉลี่ยน้อยกว่า 50 ปีเท่านั้น แต่ในปัจจุบันได้เพิ่มสูงขึ้นเป็น 70 ปี โดยผู้หญิงจะมีอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดสูงถึง 80.5 ปี และในชาย 73.5 ปี (สถาบันวิจัยประชากรและสังคม, 2565) ดังนั้นการมีคุณภาพชีวิตที่ดีในบั้นปลายชีวิต จึงเป็นเป้าหมายสำคัญของหน่วยงานที่ดำเนินงานด้านผู้สูงอายุ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของแผนปฏิบัติการระหว่างประเทศมาดริดว่าด้วยผู้สูงอายุ (The Madrid International Plan of Action on Ageing : MIPAA) ใน 3 ประเด็นเรื่อง 1) ผู้สูงอายุและการพัฒนา (Older Persons and Development) (2) สูงวัยอย่างสุขภาพดีและมีสุขภาวะ (Advancing Health and Well-being into Old Age) และ (3) สร้างสภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุนและเหมาะสม ทั้งนี้ในการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) นับเป็นหน่วยงานสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรในพื้นที่ และเป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดประชากรมากที่สุด โครงการนี้เป็นการวิจัยเชิงปฎิบัติการแบบมีส่วนร่วม คือ คณะวิจัย ชุมชน เครือข่ายในพื้นที่ ร่วมกันค้นหาปัญหา หาวิธีการแก้ไขปัญหา สะท้อนกลับซึ่งกันและกัน และสุดท้าย เกิดต้นแบบการทำงานร่วมกันผ่านเวทีการถอดบทเรียนในทุกแต่ละพื้นที่ มีวัตถุประสงค์หลักการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอย่างรอบด้านทั้งในด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม โดยนักวิจัยเข้าไปร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในทุกกระบวนการตั้งแต่การศึกษาสภาพการณ์ปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมการวิจัยในปัจจุบันของมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) มาต่อยอดและขยายผลกับพื้นที่ที่ศึกษา ได้แก่ การใช้เครื่องมือประเมินภาวะ Active aging แนวทางในการดูแลระยะกลางและระยะท้าย การคัดกรองผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม การส่งเสริมการมีงานทำ การส่งเสริมการสูงวัยในถิ่นเดิมตลอดจนการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถอาศัยอยู่ในท้องถิ่นได้ตราบจนชั่วชีวิตด้วยคุณภาพชีวิตที่ดี
  • thumb
    21 มี.ค. 2567
    จากเก่าสู่เก๋า: นวัตกรรมอาหารไทยโบราณ – มรดกทางวัฒนธรรมที่ล้ำค่าของมณฑลนครชัยศรี
    นวัตกรชุมชน นวัตกรรมอาหารไทยโบราณ มณฑลนครชัยศรี community innovator, traditional Thai food innovation, Nakhon Chai Si County
  • thumb
    03 04 17
    10 มี.ค. 2565
    การอบรมวิชาการคุณภาพชีวิตดี ๆ ที่ผู้ป่วยธาลัสซีเมียก็มีได้ และการให้บริการปรึกษาทางพันธุศาสตร์แก่หญิงตั้งครรภ์และสามีที่มีความเสี่ยงต่อการมีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมีย
    โรคธาลัสซีเมียเป็นโรคโลหิตจางเรื้อรังถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่พบบ่อยที่สุดในโลกรวมถึงประเทศไทย ประมาณร้อยละ 5.2 ของประชากรโลกเป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติ
  • thumb
    03 13
    2 เม.ย. 2567
    การพัฒนาดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
    ดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพ (AQHI) เป็นเครื่องมือที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสะท้อนความเสี่ยงด้านสุขภาพที่เกิดจากการรับสัมผัสสารมลพิษ
  • thumb
    14 ก.พ. 2567
    การพัฒนาต้นแบบการควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
    1.ลดพฤติกรรมเสี่ยงลดโรคเรื้อรังโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน “การสร้างกลไกและเสริมความเข้มแข็งให้ชุมชนขับเคลื่อนแก้ปัญหาโรคเรื้อรัง โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย แก้ปัญหาด้วยแนวทางหลากหลาย 3อ.3ส. ติดตามประเมินและถอดบทเรียน มุ่งสู่การลดพฤติกรรมเสี่ยง ลดโรคเรื้อรังอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน” 2. นวัตกรรมดิจิทัลเพื่อบริการสุขภาพชุมชนด้วยการส่งเสริมและป้องกันโรคด้วย Health Literacy ของประชาชน “ปลูกสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการใช้นวัตกรรมดิจิทัลเป็นเครื่องมือการเข้าใจปัญหาสุขภาพด้วยแกนนำชุมชน รู้เร็วและรู้จริง นำไปสู่การจัดบริการส่งเสริมและป้องกันโรคได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และบริบท”
  • thumb
    5 มิ.ย. 2567
    โครงการค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
    โครงการค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ค่ายเยาวชนที่มุ่งเน้นการเรียนรู้และสร้างประสบการณ์ ปลูกจิตสำนึกที่ดีทางด้านสิ่งแวดล้อม และกล้าแสดงออก มีความเป็นผู้นำ สามารถสื่อความหมายในการเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านสิ่งแวดล้อม
  • thumb
    13 15
    20 ก.ค. 2566
    การพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของเกษตรกรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อลดการเผาอ้อยและเศษวัสดุในไร่อ้อย ในจังหวัดกาญจนบุรี
    ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในประเทศไทย มีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเผาวัสดุการเกษตรในที่โล่ง จากข้อมูลสถิติในช่วงปี ค.ศ. 1960-2015 แสดงให้เห็นว่าถึงแม้ปริมาณเศษวัสดุของข้าวที่ถูกเผาจะสูงกว่าอ้อย อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2012 พบปริมาณเศษวัสดุของข้าวมีแนวโน้มที่ลดลง ในทางกลับกันเศษวัสดุของอ้อยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจจะเกี่ยวข้องกับนโยบายภาครัฐที่สนับสนุนการใช้พลังงานจากพืชมาผลิตเป็นพลังงานทดแทนเชื้อเพลิงปิโตรเลียม จึงทำให้พื้นที่การเพาะปลูกข้าวลดลงและเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่ปลูกอ้อยเพื่อผลิตและกลั่นเป็นเอทานอลที่นำมาผสมกับน้ำมันปิโตรเลียมเพื่อผลิตน้ำมันแก๊สโซฮอล์มากขึ้น (Kumar, Feng, Sun, & Bandaru, 2022) รวมทั้งนโยบายของรัฐที่สนับสนุนการเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูกข้าวไปปลูกพืชเศรษฐกิจอย่างอื่นแทน ซึ่งรวมถึงอ้อยด้วย กาญจนบุรี เป็นจังหวัดที่มีการทำไร่อ้อยเป็นวงกว้าง และมีโรงงานน้ำตาลขนาดใหญ่ถึง 8 แห่งจาก 20 แห่งทั่วภาคกลาง และจาก 56 แห่งทั่วประเทศ ในด้านสถิติการปลูกอ้อยปี 2563 กาญจนบุรีมีพื้นที่ในการปลูกอ้อยทั้งสิ้น 753,424 ไร่ นับเป็นอันดับสามในประเทศ หรือมีพื้นที่ผลิตอ้อยมากกว่าพื้นที่ในการผลิตโดยรวมในภาคตะวันตกซึ่งมีการปลูกอ้อยทั่วทั้งภูมิภาค จำนวน 659,249 ไร่ กาญจนบุรีจึงถูกนับเป็นแหล่งผลิตน้ำตาลขนาดใหญ่ของประเทศ (ณิชภัทร์ กิจเจริญ, 2563) ปัญหาการเกิดฝุ่นควันในจังหวัดกาญจนบุรีเกิดขึ้นจากสองส่วนหลักๆ คือ ได้แก่ ส่วนแรก คือควันที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยเฉพาะไฟป่าในฤดูหนาวและฤดูแล้ง ซึ่งเอื้อให้เกิดสภาพดังกล่าว มักจะเกิดขึ้นในพื้นที่นอกตัวเมืองตั้งแต่อำเภอไทรโยค อำเภอทองผาภูมิ รวมทั้งอำเภอสังขละบุรี ส่วนที่สองคือ เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ซึ่งสาเหตุนี้ทำให้เกิดฝุ่น PM2.5 มากกว่าควันจากธรรมชาติ และปฏิเสธไม่ได้ว่า ฝุ่นควันและเขม่าส่วนใหญ่ในจังหวัดกาญจนบุรีเกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมน้ำตาลและการปลูกอ้อย ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลเชื่อมโยงต่อการเผาอ้อย ได้แก่ รถตัดอ้อย แรงงานรับจ้างตัดอ้อย และโรงงานน้ำตาลที่รับซื้ออ้อย ซึ่งมาตรการของภาครัฐที่ออกมายังมีไม่มีประสิทธิผลมากพอที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีการที่เคยปฏิบัติเป็นประจำ โดยกลุ่มเกษตรกรรายย่อยที่มีพื้นที่เพาะปลูกอ้อยน้อยกว่า 20 ไร่ ถือเป็นตัวแปรที่สำคัญที่ทำให้การบังคับใช้มาตรการจากภาครัฐอาจจะยังไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร เนื่องด้วยพื้นที่เพาะปลูกอ้อยที่มีขนาดเล็กทำให้รถตัดอ้อยซึ่งมีต้นทุนที่ถูกที่สุดต่อหน่วยพื้นที่การปลูกอ้อยไม่สามารถเข้าไปทำงานได้ การจ้างรถตัดอ้อยด้วยเกษตรกรรายย่อยเพียงไม่กี่รายมักถูกปฏิเสธจากรถตัดเพราะได้ค่าตัดไม่คุ้ม นอกจากนี้เกษตรกรรายย่อยมักมีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี ขาดสภาพคล่องทางการเงิน ทำให้ต้องเร่งรีบตัดและขายอ้อยให้กับโรงงานเพื่อให้ทันการปิดหีบ ประเด็นเรื่องอ้อยไฟไหม้มีความซับซ้อน มีผู้เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวนมาก อีกทั้งเกษตรกรที่ทำไร่อ้อยก็มีความแตกต่างกัน ทั้งกลุ่มที่ทำไร่ขนาดใหญ่มีทุนสูง หรือเกษตรรายย่อยทำในพื้นที่ขนาดเล็กที่ไม่มีเครื่องมือหรือเงินทุนน้อย ซึ่งมีโอกาสและข้อจำกัดไม่เหมือนกัน จึงมักจะสังเกตได้ว่า แม้จะมีมาตรการต่าง ๆ ออกมามากมาย แต่ไม่มีการดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ดังนั้น การศึกษานี้ จึงมีเป้าหมายที่จะอธิบายกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีบทบาทตลอดห่วงโซ่ของการปลูกอ้อยอย่างเป็นระบบ รวมทั้งองค์กรหรือหน่วยงานในแต่ละระดับที่มีส่วนดูแลป้องกันและแก้ปัญหาอ้อยไฟไหม้ ว่าแต่ละส่วนมีบทบาทอย่างไร มาตรการใดที่ได้ผล และไม่ได้ผล ทั้งนี้ก็เพื่อนำไปสู่การค้นหาแนวทางที่เหมาะสมกับพื้นที่ซึ่งถูกพัฒนาโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในการลดการเผาลง โดยการวิเคราะห์ปัญหาและความเชื่อมโยงของเหตุและผลที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบของการเผาอ้อยในจังหวัดกาญจนบุรีจะถูกวิเคราะห์และนำเสนอผ่านเครื่องมือ “วงรอบเหตุและผล” (causal loop diagram)
  • thumb
    28 พ.ค. 2567
    โครงการการปรับวิถีการเกษตรในพื้นชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
    บึงบอระเพ็ดเป็นบึงน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ สภาพภูมิประเทศของบึงบอระเพ็ดเป็นพื้นที่ลุ่มที่มีความหลากหลายทางชีวภาพบริเวณพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง ซึ่งมีทั้งพืชน้ำ สัตว์น้ำ และสัตว์ป่า โดยเฉพาะกลุ่มนกที่มีทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพ ส่วนชุมชนโดยรอบได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ชุ่มน้ำด้วยการทำการประมง และใช้น้ำเพื่อการเกษตร โดยเฉพาะการทำนาที่มีมากที่สุดจำนวน 79,858 ไร่ ซึ่งเป็นรูปแบบนาปรังที่ใช้น้ำมาก ทำให้ปริมาณน้ำบึงบอระเพ็ดลดลงอย่างรวดเร็วจนส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ชุมชนเกิดความขัดแย้งในการแย่งน้ำไปทำนา
  • thumb
    03 10
    13 พ.ค. 2566
    เน็ตป๊าม้า (Net PAMA)
    การพัฒนาโปรแกรมอบรมการเลี้ยงดูเชิงบวกผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (Internet-based Parent Management Training) โดยดำเนินงานเพื่อพัฒนาทักษะการเลี้ยงดูเด็กเชิงบวกให้กับผู้ปกครองที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต
  • thumb
    03 04 09
    10 มี.ค. 2565
    Mobile Stroke Unit Stroke One Stop (MSU-SOS) เชื่อมต่อกับระบบปรึกษาทางไกลและการส่งต่อผู้ป่วยแบบครบวงจรสําหรับทุกคน
    MSU-SOS ถือเป็นโครงการต้นแบบการพัฒนาระบบปรึกษาทางไกล เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันโดยใช้รถโมบาย สโตรคยูนิตให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยนําเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ติดตั้งไว้บนรถ
  • thumb
    03
    7 พ.ค. 2567
    โครงการสานพลังสร้างภูมิคุ้มกัน ลด ละเลิก บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยแกนนำนักศึกษาพยาบาลสร้างสรรคสังคมไทยปลอดบุหรี่ และเครือข่ายสโมสรนักศึกษา ปี 2566- 2567
    โครงการ "สานพลังสร้างภูมิคุ้มกัน ลด ละเลิก บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า" โดยแกนนำนักศึกษาพยาบาลสร้างสรรคสังคมไทยปลอดบุหรี่ เป็นกิจกรรมเสริมพลังนักศึกษาในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาที่จะร่วมกันขับเคลื่อน สร้างสิ่งแวดล้อมปลอดบุหรี่ / ลดแรงสนับสนุนการสูบบุหรี่ และร่วมพลังเฝ้าระวังการละเมิดสูบยาสูบหรือบุหรี่ไฟฟ้า อันจะนำไปสู่การพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ในอนาคต
จำนวนทั้งหมด 138 รายการ