Community and Social Engagement for Sustainability

Community and Social Engagement for Sustainability
Community and Social Engagement for Sustainability
Goal
 
เครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภายนอกมหาวิทยาลัย
การถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชนและสังคม
ร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภายนอกมหาวิทยาลัยเพื่อสนับสนุนการเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืน
การเสริมสร้างขีดความสามารถเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ
Strategic Goals
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์
1. เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและหลักสูตรที่มีความหลากหลายตรงตามความต้องการของผู้เรียน
2. เพื่อสร้างบัณฑิตให้มี Global Talents
Strategic Intiatives
กลยุทธ์
1. พัฒนาอาจารย์และบุคลากรให้มีศักยภาพด้านการศึกษาและกิจการนักศึกษา ที่ตอบสนองต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่
2. ผลักดันให้หลักสูตรได้รับการรับรองตามเกณฑ์มาตรฐานระดับสากล และพัฒนาหลักสูตรบูรณาการที่มีความยืดหยุ่น หลากหลาย ระหว่างสาขาวิชาต่างๆ
3. พัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์สําหรับบุคคลทั่วไป โดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงาน หรือกลุ่มผู้สูงอายุ
4. สร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีบรรยากาศความเป็นนานาชาติ ให้เป็น Digital Convergence University
5. พัฒนาศักยภาพนักศีกษาและกระบวนการจัดกิจกรรมนักศึกษาให้ตอบสนองต่อการเป็น Global Citizen และ Global Talents
6. ส่งเสริมเชิงรุกและสนับสนุนเครือข่ายศิษย์เก่า เพื่อร่วมพัฒนานักศึกษาและมหาวิทยาลัย
7. พัฒนา Platform ด้านการศึกษาสําหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเพื่อเพิ่มจํานวนและคุณภาพ
Case Study
  • thumb
    03
    24 ส.ค. 2565
    ข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เรื่อง "การศึกษาปัญหาธาลัสซีเมีย"
    เป็นการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมีย ซึ่งเป็นปัญหาทางสาธารณสุข เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ งานวิจัยเกี่ยวกับธาลัสซีเมียนี้ทำทุกด้าน ตั้งแต่ระดับคลินิกจนถึงระดับโมเลกุล แนะนำผลงานวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการตรวจวินิจฉัย การรักษา และการควบคุม ป้องกันโรคทั้งในประเทศและประเทศอื่นที่มีโรคนี้ซุกชุม ร่วมมือในด้านการวิจัยและการสอนทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติแก่นักศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ระดับต่ำกว่าปริญญาจนถึงปริญญาดุษฎีบัณฑิต ให้บริการตรวจรักษาและแนะนำแก่คนไข้โรคธาลัสซีเมีย รวมทั้งครอบครัว และศึกษาวิจัยเพื่อวางแผนการควบคุมโรคนี้ในระดับจังหวัดและระดับประเทศ
  • thumb
    17 ส.ค. 2565
    เติมเต็มสุขภาวะผู้ใช้แรงงาน จัดอบรมออนไลน์ตรวจสมรรถภาพการได้ยิน ในงานอาชีวอนามัย โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
    "เติมเต็มสุขภาวะผู้ใช้แรงงาน จัดอบรมออนไลน์ตรวจสมรรถภาพการได้ยิน ในงานอาชีวอนามัย โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย" องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ได้กำหนดให้เสียงที่ดังเกิน 85 dBA (เดซิเบลเอ) เป็นเสียงที่เป็นอันตราย จึงกลายเป็นที่มาของข้อกำหนด เพื่อสุขภาวะของผู้ใช้แรงงานทั่วโลก ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน(SDGs) แห่งสหประชาชาติ ข้อที่ 3 ที่ว่าด้วยเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งครอบคลุมเรื่องการลดการป่วยจากมลพิษต่าง ๆ รองศาสตราจารย์ ดร.อรวรรณ แก้วบุญชู รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ และอาจารย์ประจำภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้สอนหลักรายวิชาออนไลน์ "การตรวจสมรรถภาพการได้ยินในงานอาชีวอนามัย” ซึ่งเปิดให้ผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ พยาบาลอาชีวอนามัย และเจ้าหน้าที่สุขภาพจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วประเทศ เข้ารับการอบรมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ผ่าน MUx โดยได้กล่าวถึงประเด็นที่น่าเป็นห่วงเกี่ยวกับเรื่องสุขภาวะแรงงานไทยว่าแม้กฎหมายแรงงานไทย ได้กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีการเฝ้าระวังการได้ยิน โดยให้ดำเนินการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินแก่ลูกจ้างอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง แต่พบว่ายังไม่ได้มีการกำหนดมาตรฐานคุณสมบัติของผู้ทดสอบแต่อย่างใด มหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะสาธารณสุขศาสตร์ ถือเป็นภารกิจสำคัญในการริเริ่มจัดอบรมออนไลน์ที่ได้มาตรฐานในเรื่องดังกล่าว จุดเด่นของรายวิชาออนไลน์ "การตรวจสมรรถภาพการได้ยินในงานอาชีวอนามัย" นอกจากการเปิดอบรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแล้ว ยังได้ออกแบบให้มีครบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ซึ่งในภาคทฤษฎีนั้น ได้มีการสาธิตให้ผู้เรียนสามารถฝึกปฏิบัติตามได้โดยง่าย และหลังจากจบบทเรียนทั้งหมดแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ส่งคลิปการฝึกปฏิบัติกลับมาให้ผู้สอนประเมิน และสามารถรับประกาศนียบัตร E-Certificate เมื่อผ่านเกณฑ์ที่กำหนดอีกด้วย
  • thumb
    05 01 04
    24 ก.ค. 2565
    การส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการสตรีและเสริมสร้างภาวะผู้นำของสตรีข้ามเพศในภาคธุรกิจ (Capacity Building for Female Entrepreneurs and Leadership Learning Program for Transwomen in Business Organizations)
    โครงการที่มุ่งเป้าการพัฒนาควาสมเป็นผู้นำองค์กร และ ทักษะในการประกอบการยุคใหม่ทั้งดิจิตัลเทตโนโลยี การบริหารองค์กร และ การจัดการทรัพยากรเพื่อผู้ประกอบการสตรี และ ผู้นำสตรีข้ามเพศ
  • thumb
    03 16 17
    7 ก.ค. 2565
    โครงการวัคซีนเพื่อรับมือปัญหา: การศึกษาภูมิคุ้มกันในโลกดิจิทัล (Digital Resilience) และ Cyberbullying ของกลุ่มนักเรียนระดับมัธยมศึกษาใน 5 ภูมิภาคของประเทศไทย
    ปัญหาการรังแกกันในพื้นที่ออนไลน์ (Cyberbullying) ในกลุ่มเยาวชนอยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วง จากงานวิจัยพบว่าเยาวชนเป็นผู้กระทำ ร้อยละ 43 เป็นผู้ถูกกระทำ ร้อยละ 49 และเป็นผู้พบเห็น ถึงร้อยละ 76 ซึ่งรูปแบบความรุนแรงที่พบมากที่สุด คือ การถูกด่าทอ โจมตี ข่มขู่ออนไลน์ ซึ่งจากการวิจัยยังพบว่าพฤติกรรมการรังแกในพื้นที่ออนไลน์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ มากมาย เช่น ผู้ถูกรังแกมีแนวโน้มที่จะมีเกรดเฉลี่ยน้อย มีแนวโน้มที่จะขาดเรียน ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่มีการป้องกัน อยู่ในภาวะซึมเศร้าที่สูงกว่ากลุ่มที่ไม่ถูกรังแก และจากการศึกษาหลาย ๆ ชิ้นก็สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการถูกรังแกในพื้นที่ออนไลน์นั้น นำไปสู่ผลกระทบในมิติสุขภาพ คือ ทำให้เกิดความเครียด วิตกกังวล หดหู่ และไม่สบายใจ ความรู้สึกเหล่านี้ก็จะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว อาจทำให้นอนไม่หลับ คิดมาก และในกรณีที่ร้ายแรงมาก อาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ในที่สุด จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้เห็นถึงความไม่ปลอดภัยของโลกออนไลน์ที่สามารถคุกคามสุขภาวะของผู้ใช้สื่อออนไลน์ได้ ถ้าผู้ใช้เหล่านั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเยาวชนที่ขาดภูมิคุ้มกันในการใช้สื่ออย่างปลอดภัย การรับมือกับความไม่ปลอดภัยในโลกออนไลน์รูปแบบต่าง ๆ จำเป็นต้องใช้องค์ความรู้ ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น การส่งเสริมให้เยาวชนแค่มี “ทักษะการรู้เท่าสื่อ” เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอแล้วสำหรับโลกยุคดิจิทัลที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน การมีภูมิคุ้มกันในโลกดิจิทัล (Digital Resilience) จึงอาจจะเป็นในวิธีการใหม่ที่จะช่วยส่งเสริมให้เยาวชนเกิดการใช้สื่อออนไลน์ได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ และสร้างให้พวกเขาเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีวัคซีนที่จะสามารถรับมือกับปัญหาความไม่ปลอดภัยในโลกออนไลน์ได้ ซึ่งทักษะที่สำคัญของคนที่มีภูมิคุ้มกันในโลกดิจิทัล คือ ทักษะการคิดวิเคราะห์ มีความรับผิดชอบต่อสังคมออนไลน์ รู้วิธีและแหล่งที่จะขอความช่วยเหลือ รู้จักที่จะปกป้องผู้อื่น และรู้กฎหมายสื่อออนไลน์
  • thumb
    30 มิ.ย. 2565
    การเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรค COVID-19 5 ชุมชน หน้าคณะสาธารณสุขศาสตร์ ถอดบทเรียน: Factory Isolation (FAI)
    การเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรค COVID-19 5 ชุมชน หน้าคณะสาธารณสุขศาสตร์ ถอดบทเรียน: Factory Isolation (FAI)
  • thumb
    27 มิ.ย. 2565
    "อาหารริมบาทวิถี" ต้องพัฒนาอย่างไร เพื่อสุขภาพคนเมือง
    อาหารริมบาทวิถี หรือ “สตรีทฟู้ด” (Street Food) ในประเทศไทยมีเอกลักษณ์และขึ้นชื่อในเรื่องความหลากหลาย และเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตประชาชนในกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันขยายตัวไปยังจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะเมืองที่เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวทั้ง 4 ภาคของประเทศ
  • thumb
    23 มิ.ย. 2565
    พัฒนาอาหารริมบาทวิถี สะอาด ปลอดภัย ลดหวาน-มัน-เค็ม เพิ่มใยอาหาร กระตุ้นผู้ขายใส่ใจสุขภาพ
    สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยฯ – สสส. ร่วมพัฒนาอาหารริมบาทวิถี สะอาด ปลอดภัย ลดหวาน-มัน-เค็ม เพิ่มใยอาหาร กระตุ้นผู้ขายใส่ใจสุขภาพ เปิด 3 พิกัด ร้านสตรีทฟู้ด ย่านซอยอารีย์ฟู้ดทรัค กทม. ตลาดราชบุตร จ.อุบลราชธานีเกิน 60% ปรับเพิ่มคุณค่าโภชนาการ
  • thumb
    30 มิ.ย. 2565
    โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมในการออกแบบนวัตกรรมถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะสำหรับทุกคน
    ที่ผ่านมาผู้พิการทางการเห็นมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะค่อนข้างน้อย อันเนื่องมากจากถังขยะที่ใช้หลักการของสีเป็นตัวแบ่งแยกขยะ ซึ่งเป็นข้อจำกัดยิ่งสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องหรือพิการทางการเห็น จึงได้มีการจัดทำโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมในการออกแบบนวัตกรรมถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะสำหรับทุกคนเป็นผลผลิตหลัก ซึ่งได้มีการยื่นจดอนุสิทธิบัตรในชื่อ “ระบบการแยกถังขยะด้วยเสียง” ตามหนังสือสำคัญการจดทะเบียนอนุสิทธิบัตร เลขที่ 17547 ออกให้ ณ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2564 มีวัตถุประสงค์โครงการ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทิ้งขยะและปัญหาในการคัดแยกขยะของคนพิการทางการเห็น 2) เพื่อออกแบบนวัตกรรมถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะสำหรับทุกคน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจและพฤติกรรมหลังการใช้นวัตกรรมถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะ โครงการนี้เกิดประโยชน์ของโครงการ ดังนี้ 1) ได้นวัตกรรมถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะสำหรับทุกคนที่คนพิการทางการเห็นใช้งานได้จริง คัดแยกขยะได้จริงเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของคนพิการทางการเห็น 2) ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมการทิ้งขยะและปัญหาการคัดแยกขยะของคนพิการทางการเห็น 3) สร้างจิตสำนึกในการคัดแยกขยะให้กับคนพิการทางการเห็น 4) กระตุ้นให้คนทั่วไปเกิดจิตสำนึกในการคัดแยกขยะมากขึ้นเพื่อเห็นตัวอย่างจากการปฏิบัติของคนพิการทางการเห็นที่ยังสามารถคัดแยกขยะได้ 5) เปิดโอกาสให้คนพิการทางการเห็นได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาของสังคมเท่าเทียมกับคนทั่วไป 6) การเผยแพร่ผลการศึกษาในวารสารวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ
  • thumb
    03
    27 มิ.ย. 2565
    โครงการบริการผู้ป่วยติดเตียงแบบต่อเนื่องโดยสหสาขาวิชาชีพ
    ปัจจุบันมีผู้ป่วยสูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถเดินทางมารับการรักษาที่โรงพยาบาลในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันได้ และมีจำนวนมากขึ้นทุกๆปี อันเนื่องมาจากผู้ดูแลหรือญาติไม่สะดวกในการรับ-ส่ง ในการเดินทางมาที่โรงพยาบาล ขณะเดียวกันผู้ป่วยและญาติยังให้ความสำคัญและให้ความสนใจในการดูแล สุขภาพช่องปากและฟันเพราะสุขภาพช่องปากและฟันเป็นดัชนีชี้วัดความแข็งแรงของสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย โรงพยาบาลทันตกรรมมหาจักรีสิรินธร คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.มหิดล ร่วมกับศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก เห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพช่องปากและการรักษาที่มีคุณภาพและปลอดภัย ของผู้ป่วยที่มีปัญหาในการเดินทางเข้ามารับบริการในโรงพยาบาล และเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วยและญาติ รพ.ทันตกรรมฯที่มีความพร้อมทั้งทางด้านบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ อุปกรณ์เครื่องมือ ครุภัณฑ์ที่จะให้การดูแลผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี มีมาตรฐานและปลอดภัย มีการใช้เทคโนโลยีการตรวจและวินิจฉัยโรคในช่องปากโดยการใช้กล้องตรวจฟัน และถ่ายภาพในช่องปากด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อการบริการให้ความรู้ การบริบาลทางการแพทย์และทางทันตสุขภาพ แก่ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเดินทางมาโรงพยาบาลได้ รวมทั้งสามารถนำมาพัฒนาให้เป็นระบบ Teleconference เพื่อการรักษาผู้ป่วยร่วมกับฝ่ายการแพทย์ได้อีกด้วย อาทิ การตรวจสภาพช่องปากและการดูแลสภาพช่องปากของ ผู้ป่วยติดเตียงด้วยกล้องตรวจในช่องปาก พร้อมระบบคอมพิวเตอร์ ที่สามารถนำผลข้อมูลมาเก็บ และนำข้อมูลเข้าสู่ระบบสารสนเทศ เพื่อการวิเคราะห์ วิจัย และใช้เป็นแนวทางการรักษาต่อไป
  • thumb
    03
    27 มิ.ย. 2565
    โครงการสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการจัดการระบบสุขภาพชุมชนบางกอกน้อยร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (โครงการบางกอกน้อยโมเดล 2)
    “การพัฒนาต้นแบบด้านการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินในชุมชนกึ่งเมือง” โดย ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินศิริราช ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการต่อยอด ภายใต้โครงการสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการจัดการระบบสุขภาพชุมชนบางกอกน้อยฯ เพื่อสร้างเครือข่ายภาคประชาชนให้เกิดการดูแลผูู้ป่วยฉุกเฉินในชุมชนเขตบางกอกน้อย นําไปสู่การพัฒนาศักยภาพของประชาชนด้านการดูแลผูู้ป่วยฉุกเฉินในการตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินในชุมชนและคอนโดมิเนียม
  • thumb
    03
    23 มิ.ย. 2565
    โครงการนำความรู้สู่ชุมชน ปีที่ 13 Gen Z “Say No” ตอน “นักศึกษาพยาบาลมหิดลร่วมพลัง รณรงค์ ลด ละ เลิก บุหรี่ ยุค New Normal: Commit To Quit”
    โครงการรณรงค์ ลด ละ เลิก บุหรี่ ในชื่อโครงการนำความรู้สู่ชุมชน Gen Z “Say No” จัดขึ้นเพื่อให้ความรู้ สร้างความตระหนักให้นักศึกษาพยาบาล นักเรียน ให้เห็นถึงโทษและพิษภัยของบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า
  • thumb
    04 01 03
    23 มิ.ย. 2565
    โครงการติดตามและประเมินผลการขยายผลและพัฒนาความช่วยเหลือกลุ่มเด็กปฐมวัยยากจนในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยและเด็กปฐมวัยนอกระบบ ในกรุงเทพมหานคร
    เด็กปฐมวัย เป็นช่วงวัยของการสร้างรากฐานสำหรับการเติบโตและการเรียนรู้ต่อไปของชีวิต พบว่ามีเด็กปฐมวัยจำนวนมากที่ขาดการดูแลและการส่งเสริมพัฒนาการอย่างเหมาะสม ส่งผลให้เด็กกลุ่มหนึ่งขาดโอกาสที่จะได้รับการเลี้ยงดูที่มีคุณภาพ การศึกษาสถานการณ์เด็กปฐมวัยที่เป็นกลุ่มเปราะบางในกรุงเทพมหานคร และการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครผู้ดูแลเด็กในการดูแลเด็กกลุ่มดังกล่าว ใช้เป็นข้อมูลการพัฒนาการดูแลเด็กกลุ่มเปราะบางให้พร้อมเรียนรู้ในชั้นประถมศึกษาต่อไป
จำนวนทั้งหมด 111 รายการ