Community and Social Engagement for Sustainability

Community and Social Engagement for Sustainability
Community and Social Engagement for Sustainability
Goal
 
เครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภายนอกมหาวิทยาลัย
การถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชนและสังคม
ร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภายนอกมหาวิทยาลัยเพื่อสนับสนุนการเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืน
การเสริมสร้างขีดความสามารถเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ
Strategic Goals
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์
1. เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและหลักสูตรที่มีความหลากหลายตรงตามความต้องการของผู้เรียน
2. เพื่อสร้างบัณฑิตให้มี Global Talents
Strategic Intiatives
กลยุทธ์
1. พัฒนาอาจารย์และบุคลากรให้มีศักยภาพด้านการศึกษาและกิจการนักศึกษา ที่ตอบสนองต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่
2. ผลักดันให้หลักสูตรได้รับการรับรองตามเกณฑ์มาตรฐานระดับสากล และพัฒนาหลักสูตรบูรณาการที่มีความยืดหยุ่น หลากหลาย ระหว่างสาขาวิชาต่างๆ
3. พัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์สําหรับบุคคลทั่วไป โดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงาน หรือกลุ่มผู้สูงอายุ
4. สร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีบรรยากาศความเป็นนานาชาติ ให้เป็น Digital Convergence University
5. พัฒนาศักยภาพนักศีกษาและกระบวนการจัดกิจกรรมนักศึกษาให้ตอบสนองต่อการเป็น Global Citizen และ Global Talents
6. ส่งเสริมเชิงรุกและสนับสนุนเครือข่ายศิษย์เก่า เพื่อร่วมพัฒนานักศึกษาและมหาวิทยาลัย
7. พัฒนา Platform ด้านการศึกษาสําหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเพื่อเพิ่มจํานวนและคุณภาพ
Case Study
  • thumb
    03
    20 ก.ค. 2566
    การบูรณาการการเรียนการสอน Healthy School และปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลดความเสี่ยงโรคติดต่อไม่เรื้อรัง (NCDs)
    จากสถานการณ์ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อไม่เรื้อรังที่เพิ่มสูงขึ้น ประเทศไทยตระหนักถึงปัญหาสำคัญที่ส่งผลเสียและเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพนี้ และถือว่าเป็นความท้าทายอย่างยิ่งสำหรับการดำเนินงานเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งนำไปสู่วางแผนการดำเนินการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ต่าง ๆ เช่น ยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ และยุทธศาสตร์สุขภาพที่ดีวิถีชีวิตไทย เป็นต้น โดยใช้แนวทางการทำงานหลายภาคส่วนในการร่วมกัน (multi-sectoral collaboration) ผลักดันให้เกิดแนวทางแก้ไขปัญหา รวมถึงมาตรการต่าง ๆ เพื่อควบคุมและหาแนวทางการลดความเสี่ยงของการเกิดโรค NCDs โดยมีกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงการคลังที่มีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดองค์ความรู้ และหลักฐานเชิงประจักษ์ ที่สำคัญและจำเป็นในการดำเนินงาน ทั้งนี้ประเทศไทยได้มีการขับเคลื่อนการป้องกัน NCDs อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นตามกรอบการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในปี 2030 เพื่อให้ผลของการขับเคลื่อนการป้องกันและควบคุมโรค NCDs มีความยั่งยืน สร้างองค์ความรู้ให้ประชาชน ให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ ส่งผลต่อการป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดโรค NCDs แก่เด็ก และการเกิดโรค NCDs เมื่ออายุมากขึ้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนการสร้างความรอบรู้ในการดูแลสุขภาพของกลุ่มวัยเด็ก ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 4 ที่เน้นคุณภาพทางการศึกษา (Goal 4: Quality Education) เพราะการศึกษามีอิทธิพลต่อการป้องกันและควบคุมโรค NCDs โดยเฉพาะในช่วงวัยเรียนและวัยรุ่น ซึ่งจากอดีตจนถึงปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการได้พยายามดำเนินการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี และกิจกรรมโครงการเกี่ยวกับสุขภาพในโรงเรียนต่าง ๆ ร่วมกับหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และมีศักยภาพอย่างเต็มที่ในการที่จะเชื่อมโยงเนื้อหาที่เป็นเหตุปัจจัยและผลของพฤติกรรมที่เป็นความเสี่ยงของการเกิดโรคอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม หากมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และมีกลไกในการเพิ่มองค์ความรู้ ตลอดจนได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงภายใน สพฐ. ดังนั้นเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนที่มีประสิทธิภาพสู่การบรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน และให้การเรียนการสอนสุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพของเด็กเป็นการเรียนการสอนเพียงแค่ในตำรา แต่ปรับรูปแบบนำไปสู่การปฏิบัติจริง โดยให้ความสำคัญมุ่งเน้นไปที่การทำองค์ความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้ผู้บริหาร (Knowledge Translation) นำไปผลักดันให้เกิดเป็นนโยบายในการแก้ไขปัญหา อีกทั้งการเรียนการสอนไม่ใช่หน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานองค์กรเดียว แต่เป็นการนำแนวคิดของความร่วมมือของภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินการ (multi-sectoral collaboration) เพื่อมุ่งเตรียมทรัพยากรที่มีคุณภาพในอนาคต ด้วยการบูรณาการรวมกันระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์กรภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ผู้ปกครอง และเด็ก เพราะกิจกรรมไม่ใช่มุ่งเน้นเฉพาะเด็กอย่างเดียว แต่ต้องดำเนินการกิจกรรมผสานกันระหว่างโรงเรียนและบ้าน จึงนำมาสู่แนวทางการศึกษาในครั้งนี้ด้วยการทบทวนและสังเคราะห์กระบวนการทางนโยบาย และการนำไปใช้ประโยชน์ของการป้องกันโรค NCDs รวมถึงการสร้างต้นแบบกิจกรรม (Showcase) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาคู่มือสุขภาพเด็กนักเรียนที่จะนำไปสู่การป้องกันโรค NCDs อย่างยั่งยืน และสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง
  • thumb
    10 05
    12 ก.ค. 2566
    MU Pride Celebration: เวทีเสวนาสิทธิและความหลากหลายทางเพศ
    มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อสิทธิและความหลากหลายทางเพศ โดยนโยบายหลากหลายที่สนับสนุนด้านสิทธิและความหลากหลายทางเพศของนักศึกษาและบุคลากร นอกจากนั้นแล้วภายใต้การทำงานของหน่วยความเลิศด้านวิจัยเพศภาวะ เพศวิถีและสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยามหิดล ยังให้ความสำคัญต่อการทำงานเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียม ผลักดันให้เกิดความเป็นธรรมทางเพศและสุขภาวะ
  • thumb
    17
    7 ต.ค. 2565
    หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อม (ET)
    หลักสูตรมุ่งสร้างมหาบัณฑิตที่มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ความสามารถทางวิชาการในระดับสูง มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณให้มีศักยภาพในการวางแผนและบริหารจัดการงานด้านสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมถึงมีความสามารถในการพัฒนาทางความคิด การวิเคราะห์และการสังเคราะห์ ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคม โดยผ่านกระบวนการการเรียนรู้อย่างบูรณาการจากทั้งภาคทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติอย่างเป็นระบบ สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งมิติทางด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี
  • thumb
    13
    20 ต.ค. 2565
    ความผันแปรของลมมรสุมฤดูร้อนในทวีปเอเชียสมัยโฮโลซีน : การศึกษาเพื่อสังเคราะห์ข้อมูลที่บันทึกในหินงอกและวงปีไม้จากประเทศไทยและจีน
    วงปีไม้สักและหินงอก สามารถเทียบเคียงประกอบการสร้างเส้นภูมิอากาศในอดีตย้อนหลังได้ถึง 3 ศตวรรษ รวมถึงแสดงถึงความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในพื้นที่ห่างไกล เช่น ปรากฏการณ์เอนโซ่ได้
  • thumb
    03 12 17
    11 มี.ค. 2565
    ประเทศไทยปลอดไขมันทรานส์
    งานวิจัยเรื่อง “ประเทศไทย, ประเทศปลอดไขมันทรานส์” ดำเนินการโดยสถาบันโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดลพบว่าความเข้มข้นของกรดไขมันทรานส์ในอาหารต่าง ๆ สูงกว่าค่ามาตรฐาน WHO (> 0.5 กรัม / มื้อ) เพิ่มความเสี่ยงของ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • thumb
    03 04 17
    9 มี.ค. 2565
    การควบคุมป้องกันโรคธาลัสซีเมีย
    โรคธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติ เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่พบบ่อยที่สุดในโลกรวมถึงประเทศไทย ประมาณร้อยละ 5.2 ของประชากรโลกเป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติ ความเสี่ยงของการมีบุตรที่เป็นโรคธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติสูงถึงร้อยละ 1.1 ของคู่แต่งงานของประชากรทั้งโลก หรือ 2.7 คน ใน 1,000 คน การป้องกันและควบคุมโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงให้มีผู้ป่วยเกิดใหม่ลดลงจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยในช่วงระหว่างปีพ.ศ 2560-2564 ศูนย์วิจัยธาลัสซีเมียได้ให้บริการปรึกษาทางพันธุศาสตร์แก่หญิงตั้งครรภ์และสามีที่มีความเสี่ยงต่อการมีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมีย ณ คลินิกธาลัสซีเมีย โรงพยาบาลนครปฐม จำนวน 129 ราย และได้ให้คำแนะนำเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดด้วยวิธีการเจาะน้ำคร่ำ (amniocentesis) สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีโอกาสมีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง 3 โรค ที่ทางกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายในการควบคุมและป้องกัน อีกจำนวน 49 ราย ทำให้ลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมียของครอบครัวและกระทรวงสาธารณสุขได้ วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการตรวจวินิจฉัยโรคและพาหะด้วยเทคนิคระดับเซลล์ โปรตีน และอณูพันธุศาสตร์ ที่รวดเร็วแม่นยำ และนำไปใช้ประโยชน์สำหรับเป็นแนวทางการวินิจฉัยและการรักษาโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย และเป็นแนวทางสำหรับดูแลรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมียในเวชปฏิบัติทั่วไป
  • thumb
    26 ส.ค. 2565
    โครงการการขยายผลและพัฒนาความช่วยเหลือ กลุ่มเด็กปฐมวัยยากจนในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และ เด็กปฐมวัยนอกระบบ ในกรุงเทพมหานคร
    การพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้กับกลไกสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาร่วมกับภาคีความร่วมมือของหน่วยงานในการดูแลช่วยเหลือกลุ่มเด็กปฐมวัยในเขตกรุงเทพมหานคร และพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการวางแผนลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และติดตามช่วยเหลือกลุ่มเด็กปฐมวัย
  • thumb
    11 16 17
    15 พ.ค. 2566
    โครงการ ปันรัก ปันสุข เยี่ยมบ้านบูรณาการสำหรับกลุ่มเปราะบาง
    โครงการเยี่ยมบ้านบูรณาการสำหรับกลุ่มเปราะบาง เป็นการบูรณาการภาคีเครือข่ายทั้งในระดับตำบล อำเภอ จังหวัดในการเยี่ยมกลุ่มเปราะบางรายที่มีปัญหาซับซ้อนทั้งมิติด้านสังคม สุขภาพ เศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมเพื่อร่วมกันดูแลและช่วยเหลือให้เข้าถึงบริการแบบไร้รอยต่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางให้ดียิ่งขึ้น
  • thumb
    02 03 17
    29 ส.ค. 2565
    โครงการร้านอาหารปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค สุขภาพชุมชนเขาทองยั่งยืน
    ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ เป็นที่ตั้งของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ห่างจากตัวเมืองราว 15 กิโลเมตร ความเป็นอยู่และอาหารการกินของประชาชนในชุมชน ยังเป็นลักษณะคล้ายกับชุมชนที่ห่างไกลความเจริญจากตัวเมืองทั่วไป โดยวิถีการบริโภคอาหารในพื้นที่มีลักษณะเป็นร้านอาหารของคนในชุมชน ตลาดนัด หาบเร่ แผงลอย ซึ่งยังคงต้องพัฒนาด้านการสุขาภิบาลอาหารและอาหารปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง
  • thumb
    10 มี.ค. 2565
    กิจกรรมสร้างเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์มหิดล
    ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการบึงบอระเพ็ด มหิดลนครสวรรค์ ได้เห็นปัญหาความมั่นใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อข้าวอินทรีย์ และปัญหาการเข้าถึงมาตรฐานของชาวนาอินทรีย์เพื่อการรับรองการผลิต
  • thumb
    23 มิ.ย. 2565
    โครงการพัฒนาทักษะกำลังคนของประเทศ (Reskill/Upskill/Newskill) เพื่อการมีงานทำและเตรียมความพร้อมรองรับการทำงานในอนาคต หลังวิกฤตการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขา ผู้ดูแลเด็กในศตวรรษที่ 21
    ประเทศได้ก้าวผ่านวิกฤตการระบาดของไวรัสโคโรนา ทำให้เกิดจ้างงานมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าตลาดแรงงานที่ให้บริการจะขยายตัว และมีความต้องการผู้ดูแลเด็กมากขึ้น ผู้ดูแลเด็กจึงเป็นอาชีพที่มีความสำคัญกับครอบครัวในปัจจุบัน
  • thumb
    03
    23 มิ.ย. 2565
    โครงการพัฒนาระบบและกลไกเพื่อสุขภาวะเด็กปฐมวัย: ภาคกลางและภาคตะวันตก
    โครงการพัฒนาระบบและกลไกเพื่อสุขภาวะเด็กปฐมวัย: ภาคกลางและภาคตะวันตก รับผิดชอบโดยภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) สำนัก 4 สำนักสนับสนุนเด็ก เยาวชนและครอบครัว ดำเนินการระหว่างปี 2563-2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสุขภาวะเด็กปฐมวัยตั้งแต่ในครรภ์มารดาจนถึงอายุ 6 ปีบริบูรณ์ ให้มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัย โดยการ 1) พัฒนาระบบและกลไกการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับอำเภอ และ 2) พัฒนาศักยภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเครือข่าย
จำนวนทั้งหมด 138 รายการ