โครงการการสนับสนุนความช่วยเหลือกลุ่มเด็กปฐมวัยยากจนในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ในกรุงเทพมหานคร ภายใต้สถานการณ์โควิด-19

detail

กลุ่มเด็กปฐมวัยยากจนในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยได้รับความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาอุปสรรคต่อการมาเรียน เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 โดยมีแนวทางการช่วยเหลือ การทำงานร่วมกับชุมชน และครอบครัวผู้ดูแลเด็กปฐมวัยยากจน และมีการขยายผลการดำเนินงานเพื่อช่วยเหลือเด็กปฐมวัยยากจนในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และเด็กปฐมวัยนอกระบบ ในเขตกรุงเทพมหานคร

 

       จากผลการสำรวจของโครงการ MICS5 ในปี พ.ศ. 2559 มีเด็กอายุ 3-4 ปี ร้อยละ 84.7 กำลังเรียนในหลักสูตรปฐมวัย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ครอบครัวมีการส่งเสริมเด็กให้เข้าเรียนตั้งแต่ปฐมวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการ และเตรียมความพร้อมมากขึ้น อย่างไรก็ตามข้อมูลเหล่านี้มักไม่ครอบคลุมกลุ่มเด็กพิเศษ เด็กพิการ รวมทั้งกลุ่มเด็กเปราะบางทางสังคมที่ไม่ได้อยู่ในการสำรวจ งกลุ่มนี้เป็นกลุ่มเสี่ยงที่ควรมีการจัดกระบวนการดูแลสุขภาวะและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การศึกษาของ Isaranurug S และคณะให้เห็นว่า การศึกษาของมารดา รายได้ครอบครัว ภาวะวิกฤตในครอบครัว และการอบรมเลี้ยงดูของบิดามารดา มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการเด็กอายุ 1-5 ปี

       ท่ามกลางสถานการณ์การเพิ่มขึ้นของเด็กและเยาวชนที่มีความเปราะบาง พบว่า ปัจจุบันการจัดบริการสาธารณะเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชนที่มีความเปราะบางหรือที่มีความต้องการพิเศษยังขาดกลไกและบุคลากรที่มีความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กกลุ่มนี้ และขาดมาตรฐานในการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการให้แก่เด็กและเยาวชนที่มีความต้องการพิเศษด้านการเรียนรู้เหล่านี้ จึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานที่มีความรู้ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญเฉพาะทางวิชาการ ในการให้ความช่วยเหลือในสิ่งที่เป็นช่องว่างในการยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการให้แก่เด็กและเยาวชนที่มีความต้องการพิเศษด้านการเรียนรู้

      ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่เริ่มระบาดตั้งแต่ช่วงปลายปี พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสังคม คุณภาพชีวิต รวมทั้งการศึกษาของประเทศ โดยผลกระทบได้เกิดกับนักเรียนจากทั่วโลก โดยเฉพาะเด็กในกลุ่มยากจน ด้อยโอกาส และเปราะบาง จะเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงมากที่สุด  ทั้งผลกระทบจากการขาดการเรียนในระยะยาว (learning loss) การขาดอาหารจากโรงเรียน (school lunch) ผลกระทบทางเศรษฐกิจของครอบครัว (economic impact) ผลกระทบจากความรุนแรงในบ้าน หรือความเสี่ยงอื่น ๆ ในสังคม เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาท้องไม่พร้อม รวมไปถึงปัญหาทางสุขภาพจิต อันเกิดจากความเครียด ความกังวล ซึมเศร้า เป็นต้น แม้จะเป็นสถานการณ์ที่ไม่พบเห็นได้บ่อยนักแต่อาจจะพอเปรียบเทียบกับประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในภาคการศึกษากับสถานการณ์ทางการศึกษาภายหลังวิกฤติการณ์ครั้งใหญ่ของหลาย ประเทศ อาทิ วิกฤติทางเศรษฐกิจของเอเชียในปี ค.ศ. 1997 วิกฤติเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาในช่วงปี ค.ศ. 2008  วิกฤติการระบาดของอีโบลาในแอฟริกาตะวันตกช่วงปี ค.ศ. 2013-16 หรือวิกฤติจากภัยธรรมชาติของประเทศต่าง ๆ เช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว ซึ่งส่งผลกระทบต่อการปิดโรงเรียน เป็นต้น ซึ่งบทเรียนจากวิกฤติการณ์เหล่านี้บางส่วนสามารถนำมาสนับสนุนการจัดเตรียมมาตรการตอบสนองสถานการณ์ COVID-19 ได้ในปัจจุบัน

       ข้อมูลจากธนาคารโลกได้แสดงให้เห็นว่าสถานการณ์ก่อนเกิด COVID-19 นั้นมีเด็กอายุ 10 ปี ที่ไม่สามารถอ่านเขียนได้ดีที่ธนาคารโลกตั้งชื่อว่า ระดับ “Learning Poverty”  ที่มาจากประเทศรายได้ปานกลางและต่ำ ถึง 53% สำหรับประเทศไทยมีระดับ Learning Poverty ประมาณ 23.5% (ประเทศสิงคโปร์ 2.8%  มาเลเซีย 12.9%  เวียดนาม 1.7%) นอกจากนั้น ธนาคารโลกยังวิเคราะห์ว่ามีเด็กไทยที่หลุดออกนอกระบบประมาณ 2% ของประชากรทั้งหมด (ข้อมูลจากสำนักงานสถิติยูเนสโกในปี 2014 พบว่าไทยมีเด็กนอกระบบประมาณ 380,000 คน) ซึ่งวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจาก COVID-19 จะทำให้สถานการณ์ของการเรียนรู้ และการออกนอกระบบของเด็กไทยเลวร้ายลง จากการคาดการณ์ของ IMF ที่ว่าในปี 2020 เศรษฐกิจโลกจะหดตัวอย่างน้อย 3% ซึ่งนับว่าหนักกว่าสถานการณ์ในครั้งก่อนมา หากใช้แบบจำลองของธนาคารโลกที่แสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ภายใต้ COVID-19 ของระบบการศึกษาในประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำสูง พบว่ามีความเสี่ยงที่สถานการณ์ของความเหลื่อมล้ำจะสูงขึ้นหรือมีเด็กหลุดออกนอกระบบที่เพิ่มสูงขึ้น  หากรัฐบาลของประเทศไม่ได้มีมาตรการในการบรรเทา ป้องกัน หรือฟื้นฟูที่เข้มข้นเพียงพอ สำหรับประเทศไทยซึ่งมีปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่สูงมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลกก็มีความเป็นไปได้สูงมากที่เด็กและเยาวชนไทยจะต้องหลุดออกนอกระบบเพิ่มขึ้นอย่างน่าเป็นห่วงเลยทีเดียว

       จากข้อมูลของกระทรวงศึกษาธิการ พบว่า มีเด็กปฐมวัย อายุ 3-5 ปี ที่อยู่นอกระบบการศึกษา (ไม่ได้เข้ารับบริการในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย) จำนวนกว่า 13,000 คน ซึ่งยังไม่ได้รวมประชากรแฝง ได้แก่ เด็กปฐมวัยที่ติดตามครอบครัวเข้ามาอยู่อาศัยและประกอบอาชีพใน กทม. อีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงรอยต่อของสถานการณ์ COVID-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชากรที่มีสถานะครัวเรือนยากจน-ยากจนพิเศษเป็นอย่างมาก โดยสถานการณ์ดังกล่าวอาจส่งผลให้ครัวเรือนเกิดการเปลี่ยนแปลงสถานะทางเศรษฐกิจอย่าฉับพลัน จากครอบครัวรายได้ปานกลางเป็นยากจน และจากครอบครัวยากจนเป็นยากจนพิเศษ ดังนั้น หากเราค้นหา คัดกรอง และสามารถช่วยเหลือเด็กปฐมวัยในครัวเรือนดังกล่าว เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนได้ อัตราการกลับเข้ารับบริการในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน ของ กทม. จะช่วยเตรียมความพร้อมและลดอัตราการไม่เข้าศึกษาต่อในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้เป็นอย่างมาก

      สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (วสศ.) ร่วมกับ สำนักพัฒนาการเรียนรู้เชิงพื้นที่ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และกรุงเทพมหานคร จึงได้พัฒนา โครงการการความช่วยเหลือกลุ่มเด็กปฐมวัยยากจนในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ในกรุงเทพมหานคร ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ที่จะช่วยสนับสนุนให้เกิดการสำรวจ ค้นหา คัดกรอง และให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาอุปสรรคจากสถานการณ์โควิด-19 จากการเข้ารับบริการในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนของครอบครัวยากจน ที่มีเด็กปฐมวัยที่กำลังรับบริการอยู่ เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยในกรุงเทพมหานครได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียนต่อในระดับประถมศึกษา สนับสนุนให้มีอัตราการเรียนต่อในระดับประถมศึกษาเพิ่มมากขึ้น และลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพอีกด้วย

 

โครงการฯ สนับสนุนงบประมาณให้ศูนย์พัฒนาเด็กดำเนินการติดตามเด็กทั้งหมด 1,164 ราย รายละ 400 บาท เป็นจำนวนเงิน 465,600 บาท และยังสนับสนุนชุมชนให้ดำเนินการติดตาม จำนวน 94 ราย และสนับสนุนงบประมาณให้ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยและชุมชนทำกิจกรรมกับเด็กปฐมวัยนอกระบบ เพื่อนำเด็กเหล่านี้เข้าสู่ระบบต่อเนื่อง จำนวน 3,000 บาทต่อราย รวม ทั้งหมด 111 ราย เป็นจำนวนเงิน 333,000 บาท รวมตลอดโครงการสนับสนุนเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 798,600 บาท

 

ทีมครูและชุมชนร่วมกับทีมส่วนกลาง ได้วิเคราะห์ปัญหาต่างๆของเด็กที่นำไปสู่ภาวะยากลำบากอันเป็นความเสี่ยงต่อการเข้าถึงการศึกษาปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ปัญหาความยากจนขาดแคลน ครอบครัวแตกแยกหย่าร้างหรือตายจากครอบครัวก่อคดีติดคุก ภาวะความรุนแรงในครอบครัว ภาวะติดยาเสพติด ปัญหาสุขภาพจิตหรือโรคทางจิตที่ออกอาการชัดเจน ปัญหาการเลี้ยงดูไม่เหมาะสมได้แก่ การละเลยทางกาย การละเลยทางอารมณ์ การทำร้ายทางกาย  การทำร้ายทางอารมณ์ การทำร้ายทางเพศ หลังจากนั้นได้วางแผนช่วยเหลือรายบุคคล

แผนช่วยเหลือรายบุคคล

  • ประสานงานกับผู้นำชุมชนเพื่อนำครอบครัวกลุ่มเด็กในภาวะยากลำบากเข้าร่วมกิจกรรมชุมชนที่มี และ