Case Study

ผลการค้นหาทั้งหมด 275 รายการ
  • thumb
    03
    20 ก.ค. 2566
    โครงการการศึกษาสถานการณ์ด้านสุขภาวะของคนไทยเพื่อจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย 2566-2568
    สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินโครงการจัดทำรายงานสุขภาพคนไทยประจำปี โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ตั้งแต่ปี 2546 มาอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 19 ปี ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา รายงานสุขภาพคนไทย มีบทบาทในการรวบรวม และนำเสนอข้อมูล สถานการณ์ รวมถึง บทวิเคราะห์ประเด็นสำคัญต่างๆ ด้านสุขภาพที่ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน โดยข้อมูลและองค์ความรู้ที่จัดทำและเผยแพร่ในแต่ละปีทำหน้าที่ในการชี้ประเด็นปัญหาและปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของคนไทยที่กำลังเกิดขึ้นหรือมีแนวโน้มเป็นเรื่องที่มีความสำคัญของประเทศ รวมถึงให้ข้อเสนอแนะแนวทางในการติดตามแก้ไขปัญหา หน่วยงานผู้กำหนดนโยบาย รวมถึงภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนงานทางสุขภาพที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลสถิติ บันทึกสถานการณ์และบทวิเคราะห์จากเนื้อหาในทุกส่วน ไปใช้ในการอ้างอิงและวิเคราะห์เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดทิศทางนโยบายในอนาคต สำหรับประชาชนผู้อ่านทั่วไป ข้อมูลเนื้อหาในเล่มรายงานช่วยเพิ่มความตระหนักต่อสถานการณ์ด้านสุขภาพในประเทศและเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพ นักวิชาการสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในด้านการเรียนการสอน เป็นแหล่งข้อมูลการอ้างอิงสถานการณ์ทางสุขภาพที่เป็นปัจจุบัน มีความน่าเชื่อถือ สามารถใช้ในการกำหนดประเด็นปัญหาและหัวข้อในการศึกษาวิจัย รวมถึงวิเคราะห์สถานการณ์และปัญหาทางสุขภาพของคนไทยเชิงลึกได้ต่อไป โครงสร้างเนื้อหาของรายงานสุขภาพคนไทยประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ 1) ส่วนตัวชี้วัดสุขภาพ 2) ส่วนสถานการณ์เด่นและผลงานดีๆ ทางสุขภาพในรอบปี และ 3) ส่วนสุดท้ายซึ่งเป็นหัวข้อหลัก (theme) ประจำฉบับ คือ ส่วนเรื่องพิเศษประจำฉบับ องค์ประกอบโครงสร้างเนื้อหาทั้ง 3 ส่วนนี้ เป็นประโยชน์กับผู้อ่านหลากหลายกลุ่มโดยนำเสนอข้อมูลและบทวิเคราะห์ต่างๆ ที่มีจุดเน้นและรูปแบบการนำเสนอที่แตกต่างกันแต่สามารถสื่อสารได้กับคนทุกกลุ่ม โดยส่วนแรกหรือตัวชี้วัดสุขภาพเป็นประโยชน์กับผู้กำหนดนโยบาย ภาคีเครือข่ายการขับเคลื่อนงานทางสุขภาพ รวมถึงนักวิชาการ กลุ่มนักเรียนและนักศึกษาในการใช้ประโยชน์เป็นแหล่งอ้างอิงข้อมูลสุขภาพในแต่ละเรื่อง ส่วนสถานการณ์เด่นทางสุขภาพเป็นประโยชน์กับประชาชนผู้อ่านทั่วไปที่จะได้รับทราบสถานการณ์ทางสุขภาพสำคัญที่เกิดขึ้นในแต่ละปี บนพื้นฐานของการนำเสนอข้อมูลและบทวิเคราะห์ที่รอบด้านและเป็นกลาง และส่วนเรื่องพิเศษประจำฉบับเป็นประโยชน์แก่ผู้กำหนดนโยบาย และผู้อ่านทุกกลุ่มจากเนื้อหาที่มีการรวบรวมในประเด็นที่นำเสนอเป็นเรื่องพิเศษแต่ละปีอย่างเป็นระบบ มีบทวิเคราะห์ถึงประเด็นที่อาจเป็นทั้งปัญหาหรือโอกาสต่อสุขภาพของคนไทย เสนอแนะแนวทางที่เกี่ยวข้องในการจัดการหรือแก้ไขปัญหานั้นๆ ที่สามารถนำไปวิเคราะห์เชิงลึกและใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงนโยบาย การขับเคลื่อนงาน หรือสร้างความตระหนักรอบรู้ทางสุขภาพในระดับบุคคลได้
  • thumb
    03
    25 มี.ค. 2567
    การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ยาที่ใช้รักษามะเร็ง ด้วยเซลล์และยีน (CAR - T cell)
    นวัตกรรมการวิจัยรักษาทางการแพทย์ผลิตภัณฑ์ยาที่ใช้รักษามะเร็งด้วยเซลล์และยีน (CAR - T cell) ภายใต้มาตรฐานสากลแห่งแรกในอาเซียน
  • thumb
    13 15
    20 ก.ค. 2566
    การพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของเกษตรกรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อลดการเผาอ้อยและเศษวัสดุในไร่อ้อย ในจังหวัดกาญจนบุรี
    ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในประเทศไทย มีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเผาวัสดุการเกษตรในที่โล่ง จากข้อมูลสถิติในช่วงปี ค.ศ. 1960-2015 แสดงให้เห็นว่าถึงแม้ปริมาณเศษวัสดุของข้าวที่ถูกเผาจะสูงกว่าอ้อย อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2012 พบปริมาณเศษวัสดุของข้าวมีแนวโน้มที่ลดลง ในทางกลับกันเศษวัสดุของอ้อยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจจะเกี่ยวข้องกับนโยบายภาครัฐที่สนับสนุนการใช้พลังงานจากพืชมาผลิตเป็นพลังงานทดแทนเชื้อเพลิงปิโตรเลียม จึงทำให้พื้นที่การเพาะปลูกข้าวลดลงและเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่ปลูกอ้อยเพื่อผลิตและกลั่นเป็นเอทานอลที่นำมาผสมกับน้ำมันปิโตรเลียมเพื่อผลิตน้ำมันแก๊สโซฮอล์มากขึ้น (Kumar, Feng, Sun, & Bandaru, 2022) รวมทั้งนโยบายของรัฐที่สนับสนุนการเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูกข้าวไปปลูกพืชเศรษฐกิจอย่างอื่นแทน ซึ่งรวมถึงอ้อยด้วย กาญจนบุรี เป็นจังหวัดที่มีการทำไร่อ้อยเป็นวงกว้าง และมีโรงงานน้ำตาลขนาดใหญ่ถึง 8 แห่งจาก 20 แห่งทั่วภาคกลาง และจาก 56 แห่งทั่วประเทศ ในด้านสถิติการปลูกอ้อยปี 2563 กาญจนบุรีมีพื้นที่ในการปลูกอ้อยทั้งสิ้น 753,424 ไร่ นับเป็นอันดับสามในประเทศ หรือมีพื้นที่ผลิตอ้อยมากกว่าพื้นที่ในการผลิตโดยรวมในภาคตะวันตกซึ่งมีการปลูกอ้อยทั่วทั้งภูมิภาค จำนวน 659,249 ไร่ กาญจนบุรีจึงถูกนับเป็นแหล่งผลิตน้ำตาลขนาดใหญ่ของประเทศ (ณิชภัทร์ กิจเจริญ, 2563) ปัญหาการเกิดฝุ่นควันในจังหวัดกาญจนบุรีเกิดขึ้นจากสองส่วนหลักๆ คือ ได้แก่ ส่วนแรก คือควันที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยเฉพาะไฟป่าในฤดูหนาวและฤดูแล้ง ซึ่งเอื้อให้เกิดสภาพดังกล่าว มักจะเกิดขึ้นในพื้นที่นอกตัวเมืองตั้งแต่อำเภอไทรโยค อำเภอทองผาภูมิ รวมทั้งอำเภอสังขละบุรี ส่วนที่สองคือ เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ซึ่งสาเหตุนี้ทำให้เกิดฝุ่น PM2.5 มากกว่าควันจากธรรมชาติ และปฏิเสธไม่ได้ว่า ฝุ่นควันและเขม่าส่วนใหญ่ในจังหวัดกาญจนบุรีเกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมน้ำตาลและการปลูกอ้อย ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลเชื่อมโยงต่อการเผาอ้อย ได้แก่ รถตัดอ้อย แรงงานรับจ้างตัดอ้อย และโรงงานน้ำตาลที่รับซื้ออ้อย ซึ่งมาตรการของภาครัฐที่ออกมายังมีไม่มีประสิทธิผลมากพอที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีการที่เคยปฏิบัติเป็นประจำ โดยกลุ่มเกษตรกรรายย่อยที่มีพื้นที่เพาะปลูกอ้อยน้อยกว่า 20 ไร่ ถือเป็นตัวแปรที่สำคัญที่ทำให้การบังคับใช้มาตรการจากภาครัฐอาจจะยังไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร เนื่องด้วยพื้นที่เพาะปลูกอ้อยที่มีขนาดเล็กทำให้รถตัดอ้อยซึ่งมีต้นทุนที่ถูกที่สุดต่อหน่วยพื้นที่การปลูกอ้อยไม่สามารถเข้าไปทำงานได้ การจ้างรถตัดอ้อยด้วยเกษตรกรรายย่อยเพียงไม่กี่รายมักถูกปฏิเสธจากรถตัดเพราะได้ค่าตัดไม่คุ้ม นอกจากนี้เกษตรกรรายย่อยมักมีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี ขาดสภาพคล่องทางการเงิน ทำให้ต้องเร่งรีบตัดและขายอ้อยให้กับโรงงานเพื่อให้ทันการปิดหีบ ประเด็นเรื่องอ้อยไฟไหม้มีความซับซ้อน มีผู้เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวนมาก อีกทั้งเกษตรกรที่ทำไร่อ้อยก็มีความแตกต่างกัน ทั้งกลุ่มที่ทำไร่ขนาดใหญ่มีทุนสูง หรือเกษตรรายย่อยทำในพื้นที่ขนาดเล็กที่ไม่มีเครื่องมือหรือเงินทุนน้อย ซึ่งมีโอกาสและข้อจำกัดไม่เหมือนกัน จึงมักจะสังเกตได้ว่า แม้จะมีมาตรการต่าง ๆ ออกมามากมาย แต่ไม่มีการดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ดังนั้น การศึกษานี้ จึงมีเป้าหมายที่จะอธิบายกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีบทบาทตลอดห่วงโซ่ของการปลูกอ้อยอย่างเป็นระบบ รวมทั้งองค์กรหรือหน่วยงานในแต่ละระดับที่มีส่วนดูแลป้องกันและแก้ปัญหาอ้อยไฟไหม้ ว่าแต่ละส่วนมีบทบาทอย่างไร มาตรการใดที่ได้ผล และไม่ได้ผล ทั้งนี้ก็เพื่อนำไปสู่การค้นหาแนวทางที่เหมาะสมกับพื้นที่ซึ่งถูกพัฒนาโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในการลดการเผาลง โดยการวิเคราะห์ปัญหาและความเชื่อมโยงของเหตุและผลที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบของการเผาอ้อยในจังหวัดกาญจนบุรีจะถูกวิเคราะห์และนำเสนอผ่านเครื่องมือ “วงรอบเหตุและผล” (causal loop diagram)
  • thumb
    03 12
    30 มิ.ย. 2565
    ห้องปฏิบัติการประเมินความปลอดภัยทางอาหารและชีวภาพ (การตรวจวิเคราะห์สารตกค้างยาฆ่าแมลง ในผัก ผลไม้)
    คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เริ่มโครงการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางเทคนิคการแพทย์ “ผักและผลไม้ที่ปลอดภัยเพื่อครัวโลก” มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในการบริโภคอาหารที่มีความปลอดภัยจากสารตกค้างยาฆ่าแมลง หรือสารกำจัดศัตรูพืช ที่อาจปนเปื้อนอยู่ในผักและผลไม้
  • thumb
    28 พ.ค. 2567
    โครงการการปรับวิถีการเกษตรในพื้นชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
    บึงบอระเพ็ดเป็นบึงน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ สภาพภูมิประเทศของบึงบอระเพ็ดเป็นพื้นที่ลุ่มที่มีความหลากหลายทางชีวภาพบริเวณพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง ซึ่งมีทั้งพืชน้ำ สัตว์น้ำ และสัตว์ป่า โดยเฉพาะกลุ่มนกที่มีทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพ ส่วนชุมชนโดยรอบได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ชุ่มน้ำด้วยการทำการประมง และใช้น้ำเพื่อการเกษตร โดยเฉพาะการทำนาที่มีมากที่สุดจำนวน 79,858 ไร่ ซึ่งเป็นรูปแบบนาปรังที่ใช้น้ำมาก ทำให้ปริมาณน้ำบึงบอระเพ็ดลดลงอย่างรวดเร็วจนส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ชุมชนเกิดความขัดแย้งในการแย่งน้ำไปทำนา
  • thumb
    04
    30 ส.ค. 2566
    ค่ายสัตวแพทย์อาสา
    สัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย การเลี้ยงสัตว์อย่างถูกต้อง การควบคุมประชากรสุนัขและแมว
  • thumb
    03
    22 ส.ค. 2566
    การวินิจฉัยและการบริการรักษาสัตว์เลี้ยง
    สุขภาพสัตว์ที่ดีมีส่วนส่งเสริมสุขภาพของผู้เลี้ยงสัตว์
  • thumb
    03 10
    13 พ.ค. 2566
    เน็ตป๊าม้า (Net PAMA)
    การพัฒนาโปรแกรมอบรมการเลี้ยงดูเชิงบวกผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (Internet-based Parent Management Training) โดยดำเนินงานเพื่อพัฒนาทักษะการเลี้ยงดูเด็กเชิงบวกให้กับผู้ปกครองที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต
  • thumb
    03 04 09
    10 มี.ค. 2565
    Mobile Stroke Unit Stroke One Stop (MSU-SOS) เชื่อมต่อกับระบบปรึกษาทางไกลและการส่งต่อผู้ป่วยแบบครบวงจรสําหรับทุกคน
    MSU-SOS ถือเป็นโครงการต้นแบบการพัฒนาระบบปรึกษาทางไกล เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันโดยใช้รถโมบาย สโตรคยูนิตให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยนําเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ติดตั้งไว้บนรถ
  • thumb
    17 04
    25 ก.ค. 2565
    โครงการ Norwegian Scholarship Projects ระหว่างรัฐบาลนอร์เวย์ โดยสถานทูตนอร์เวย์ประจำประเทศเมียนมา สถานทูตนอร์เวย์ประจำประเทศอินโดนีเซียและมหาวิทยาลัยมหิดล
    โครงการ Norwegian Scholarships Projects เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลนอร์เวย์ โดยสถานทูตนอร์เวย์ประจำประเทศเมียนมา สถานทูตนอร์เวย์ประจำประเทศอินโดนีเซียและมหาวิทยาลัยมหิดล มอบทุนศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อมาศึกษา ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ในลักษณะ Co-funding จำนวน 4 สาขา ได้แก่ Life Science & Health, Environmental Sciences and Engineering, Social & Population Science และ Human Rights & Peace Studies
  • thumb
    03
    7 พ.ค. 2567
    โครงการสานพลังสร้างภูมิคุ้มกัน ลด ละเลิก บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยแกนนำนักศึกษาพยาบาลสร้างสรรคสังคมไทยปลอดบุหรี่ และเครือข่ายสโมสรนักศึกษา ปี 2566- 2567
    โครงการ "สานพลังสร้างภูมิคุ้มกัน ลด ละเลิก บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า" โดยแกนนำนักศึกษาพยาบาลสร้างสรรคสังคมไทยปลอดบุหรี่ เป็นกิจกรรมเสริมพลังนักศึกษาในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาที่จะร่วมกันขับเคลื่อน สร้างสิ่งแวดล้อมปลอดบุหรี่ / ลดแรงสนับสนุนการสูบบุหรี่ และร่วมพลังเฝ้าระวังการละเมิดสูบยาสูบหรือบุหรี่ไฟฟ้า อันจะนำไปสู่การพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ในอนาคต
  • thumb
    14
    3 พ.ค. 2567
    Wet Season Pilots of the Mekong River Commission Protocols on Riverine Plastic Monitoring Programme (RPM) in Thailand
    โครงการนำร่องการทดลองใช้วิธีการและเครื่องมือในการติดตามตรวจสอบขยะพลาสติกและไมโครพลาสติกในแม่น้ำโขง (ประเทศไทย) ของคณะกรรมาธิการลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อเตรียมความพร้อมในการติดตามตรวจสอบสถานะและแนวโน้มมลพิษของขยะพลาสติกในแม่น้ำโขง รวมถึงเพื่อรายงานสถานะการณ์และแนวโน้มในการประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบาย
จำนวนทั้งหมด 275 รายการ