Case Study

ผลการค้นหาทั้งหมด 275 รายการ
  • thumb
    03 02
    4 ก.ย. 2566
    กลุ่มงานวิจัยนโยบายอาหารและการติดตามและประเมินผล (Food Policy and Monitoring and Evaluation: Food ME)
    Food ME ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม เริ่มต้นในปี 2560 มุ่งมั่นผลิตข้อมูลวิจัยเพื่อใช้ชี้ทิศนโยบายด้านอาหารและโภชนาการของประเทศ และสนับสนุนการทำงานของหน่วยงานรัฐและองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อขับเคลื่อนให้ประชากรไทยบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ มีความมั่นคงทางอาหาร และสามารถพึ่งพาตนเองด้านอาหารได้ทั้งในภาวะปกติและวิกฤติ รวมถึงส่งผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจและสังคมในระดับพื้นที่และประเทศ
  • thumb
    19 ก.พ. 2567
    โครงการวิจัยงานจ้างจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนด้านความมั่นคงของมนุษย์ ปี 2566-2570
    เพื่อให้การยกระดับและพัฒนางานขับเคลื่อนค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ให้สูงขึ้นได้จริง จึงได้กำหนดโครงการ "จัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนด้านความมั่นคงของมนุษย์ ปี 2566-2570" เพื่อบูรณาการข้อมูล/กระบวนการ/กลไก/การติดตามและประเมินผล การขับเคลื่อนกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เป็นเจ้าภาพตัวชี้วัดดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ตามกรอบมิติ/ตัวชี้วัดดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ สู่การกำหนดนโยบายรองรับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที พร้อมขยายผลการขับเคลื่อนค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับประเทศ และในระดับพื้นที่ต่อไป
  • thumb
    21 มี.ค. 2567
    จากเก่าสู่เก๋า: นวัตกรรมอาหารไทยโบราณ – มรดกทางวัฒนธรรมที่ล้ำค่าของมณฑลนครชัยศรี
    นวัตกรชุมชน นวัตกรรมอาหารไทยโบราณ มณฑลนครชัยศรี community innovator, traditional Thai food innovation, Nakhon Chai Si County
  • thumb
    03 04 17
    10 มี.ค. 2565
    การอบรมวิชาการคุณภาพชีวิตดี ๆ ที่ผู้ป่วยธาลัสซีเมียก็มีได้ และการให้บริการปรึกษาทางพันธุศาสตร์แก่หญิงตั้งครรภ์และสามีที่มีความเสี่ยงต่อการมีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมีย
    โรคธาลัสซีเมียเป็นโรคโลหิตจางเรื้อรังถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่พบบ่อยที่สุดในโลกรวมถึงประเทศไทย ประมาณร้อยละ 5.2 ของประชากรโลกเป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติ
  • thumb
    24 ส.ค. 2565
    การพัฒนามันสำปะหลังพันธุ์พิรุณ
    พัฒนาและคัดเลือกสายพันธุ์มันสำปะหลังให้มีปริมาณแป้งและผลผลิตที่สูงขึ้น รวมทั้งมีความต้านทานต่อโรคใบด่าง โดยการคัดเลือกนั้นจะเป็นการผสมผสานการคัดเลือกและพัฒนาสายพันธุ์มันสำปะหลังแบบดั้งเดิม ร่วมกับการนำเครื่องหมายโมเลกุลที่สัมพันธ์กับลักษณะดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการคัดเลือก
  • thumb
    03 13
    2 เม.ย. 2567
    การพัฒนาดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
    ดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพ (AQHI) เป็นเครื่องมือที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสะท้อนความเสี่ยงด้านสุขภาพที่เกิดจากการรับสัมผัสสารมลพิษ
  • thumb
    14 ก.พ. 2567
    การพัฒนาต้นแบบการควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
    1.ลดพฤติกรรมเสี่ยงลดโรคเรื้อรังโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน “การสร้างกลไกและเสริมความเข้มแข็งให้ชุมชนขับเคลื่อนแก้ปัญหาโรคเรื้อรัง โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย แก้ปัญหาด้วยแนวทางหลากหลาย 3อ.3ส. ติดตามประเมินและถอดบทเรียน มุ่งสู่การลดพฤติกรรมเสี่ยง ลดโรคเรื้อรังอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน” 2. นวัตกรรมดิจิทัลเพื่อบริการสุขภาพชุมชนด้วยการส่งเสริมและป้องกันโรคด้วย Health Literacy ของประชาชน “ปลูกสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการใช้นวัตกรรมดิจิทัลเป็นเครื่องมือการเข้าใจปัญหาสุขภาพด้วยแกนนำชุมชน รู้เร็วและรู้จริง นำไปสู่การจัดบริการส่งเสริมและป้องกันโรคได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และบริบท”
  • thumb
    01 02 03
    5 มี.ค. 2567
    การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวอินทรีย์ผงเพื่อเป็นส่วนผสมอาหารในอุตสาหกรรม และผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าวอินทรีย์อัดเม็ด
    การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวอินทรีย์ผงเพื่อเป็นส่วนผสมอาหารในอุตสาหกรรม และผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าวอินทรีย์อัดเม็ด
  • thumb
    02 06 08
    24 ส.ค. 2565
    งานวิจัย เรื่อง "กุ้งก้ามกรามแปลงเพศ MU1"
    เป็นการวิจัยและพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีด้านชีวโมเลกุล โดยการนำกุ้งก้ามกรามเพศผู้ที่ปลอดโรค สุขภาพดี โตเร็ว มากระตุ้นให้เกิดการแปลงเพศเป็นเพศเมียด้วยสารประกอบชีวโมเลกุล (คำขอรับสิทธิบัตรเลขที่ 181006124) ผ่านกรรมวิธีการการผลิตกุ้งแปลงเพศ (คำขอรับสิทธิบัตรเลขที่ 181006125) สำหรับกระตุ้นการแปลงเพศ จนกระทั่งได้กุ้งก้ามกรามเพศผู้ที่มีเพศสภาพภายนอกเป็นเพศเมีย เมื่อนำไปผสมกับพ่อพันธุ์กุ้งก้ามกราม ก็จะให้ลูกก้ามกรามเพศผู้
  • thumb
    04 05 10
    10 เม.ย. 2567
    การพัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษาแบบรอบด้านสำหรับเยาวชนที่มีความพิการทางการเห็น
    เยาวชนพิการทางการเห็นมีความต้องการจำเป็นพิเศษในการเรียนรู้เรื่องเพศวิถี เนื่องจากไม่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยการมองเห็นและการสังเกต โครงการนี้จึงพัฒนาหลักสูตรเพศวิถีศึกษาแบบรอบด้านสำหรับเยาวชนที่มีความพิการทางการเห็นโดยเฉพาะ เพื่อครอบคลุมการเรียนรู้บางประเด็นที่ต้องสอนอย่างเป็นขั้นตอน ตลอดจนแนะนำวิธีการเรียนการสอนและสื่อที่เยาวชนที่มีความพิการทางการเห็นสามารถเข้าถึงและเรียนรู้ได้
  • thumb
    5 มิ.ย. 2567
    โครงการค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
    โครงการค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ค่ายเยาวชนที่มุ่งเน้นการเรียนรู้และสร้างประสบการณ์ ปลูกจิตสำนึกที่ดีทางด้านสิ่งแวดล้อม และกล้าแสดงออก มีความเป็นผู้นำ สามารถสื่อความหมายในการเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านสิ่งแวดล้อม
  • thumb
    13 15
    5 มิ.ย. 2567
    การพัฒนาเครือข่ายการวิจัยสภาพภูมิประเทศแบบคาสต์ ระบบถ้ำ และการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศธรณี ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
    แม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ทำให้จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีความโดดเด่นในเรื่องการท่องเที่ยวเชิงธรณี เนื่องจากระบบถ้ำเป็นระบบนิเวศที่มีลักษณะเฉพาะและมีองค์ประกอบทั้งทางกายภาพและทางชีวภาพที่ซับซ้อนหรืออาจหมายรวมถึงความไม่ปลอดภัยที่อาจเกิดกับนักท่องเที่ยวได้ วัตถุประสงค์ของแผนงานนี้คือ จัดทำต้นแบบการจัดการการท่องเที่ยวด้านธรณีในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ขอบเขตครอบคลุมพื้นที่คาสต์ ถ้ำน้ำลอด ถ้ำเพชร และถ้ำพุทโธ จากการวิเคราะห์ โดยใช้กรอบของยูเนสโกและคู่มือมาตรฐาน คุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทถ้ำซึ่งประกอบด้วยการประเมินคุณค่าของแหล่งธรรมชาติประเภทถ้ำ ศักยภาพในการทรงคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยวประเภทถ้ำ และการประเมินความเสี่ยงของแหล่งท่องเที่ยว ประเภทถ้ำ พบว่า ถ้ำลอดมีคุณค่าและศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวประเภทถ้ำสูงสุดและมีความเสี่ยงต่ำสุด ถ้ำและคาสต์ในอำเภอปางมะผ้ายังต้องมีการพัฒนาเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวทางธรณีอย่างสร้างสรรค์และยังยืนในการศึกษานี้ได้เสนอ 4 กลยุทธ์ คือ 1) กลยุทธ์เชิงรุก คือการยกระดับให้อำเภอปางมะผ้าเป็นมรดกทางธรณีโดยใช้กรอบของยูเนสโกในการขับเคลื่อน 2) กลยุทธ์เชิงแก้ไข ประกอบด้วย พัฒนาองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์มรดกทางธรณี และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ 3) กลยุทธ์เชิงป้องกัน คือพัฒนาเป็นเมืองสุขภาพ และ 4) กลยุทธ์เชิงรับ คือ ส่งเสริมสาธารณสุขพื้นฐาน และพัฒนาระบบเตือนภัย
จำนวนทั้งหมด 275 รายการ