Zero Hunger

ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร และยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน

มหาวิทยาลัยมหิดลให้ความสำคัญกับการส่งเสริมเรื่องการบริโภคที่ถูกสุขลักษณะและมีคุณค่าทางโภชนาการแก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจากการกำหนดให้ร้านอาหารทุกร้านในศูนย์อาหารของมหาวิทยาลัย (MU Cafeteria) ต้องผ่านการตรวจอย่างเข้มงวดตามมาตรฐานของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยผู้ที่มีส่วนสัมผัสอาหารต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี แต่ละร้านอาหารจะต้องได้รับการสุ่มตรวจตัวอย่างอาหาร เพื่อหาสารปนเปื้อนตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข ในโครงการอาหารปลอดภัย นอกจากนี้ผู้ประกอบการร้านค้าทั้งหมดจะได้รับการฝึกอบรมความรู้ในเรื่องสุขอนามัยเป็นประจำทุกปี มีการตรวจสอบจากคณะกรรมการตามเกณฑ์มาตรฐานการให้บริการ เช่น ร้านค้าต้องปรุงอาหารโดยคำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม ความสะอาด และต้องจำหน่ายอาหารตามราคาที่กำหนด และภายในศูนย์อาหาร มีร้านอาหารทางเลือกให้กับผู้บริโภคที่ทานอาหารมังสวิรัติและผู้บริโภคที่ทานอาหารฮาลาล ด้วยความเป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ จึงมีการส่งเสริมการทำเกษตรแบบยั่งยืนเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและการเข้าถึงแหล่งอาหารให้กับชุมชนผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น วิทยาเขตนครสวรรค์ได้มีโครงการ “ MUNA SMART FARM ” ที่ทางมหาวิทยาลัยทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายนักศึกษากับคนในชุมชน และเป็นที่ปรึกษาด้านวิชาการเกษตร และด้านวางแผนการตลาด พร้อมทั้งให้การรับรองผลิตผลของชุมชนที่ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภายใต้เครื่องหมาย ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร “ MU ORGANIC ” และ โครงการชุมชนร่วมกันบริโภคผักผลไม้ปลอดภัยที่ทางมหาวิทยาลัยได้ร่วมกับ โรงเรียนบ้านประชาสามัคคี ตำบลบางเคียน อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ภายใต้การสนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ ทีมสร้างเสริมสุขภาพนครสวรรค์ ซึ่งใช้โรงเรียนเป็น “ ศูนย์กลาง ” ในการจัดการอาหารปลอดภัย โดยนอกจากมีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มนักเรียนของโรงเรียนแล้วยังมี “ ครอบครัวกลุ่มอาสา ” ร่วมปลูกผักผลไม้ปลอดภัย และต่อยอดขยายผลไปยังชุมชนอื่น ๆ สู่การทำ “ แผนที่อาหารปลอดภัยของชุมชน ” เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตในการบริโภคอาหารปลอดภัยของประชาชน ทางคณะเทคนิคการแพทย์วิทยาเขตศาลายา ได้ดำเนินโครงการพัฒนาเกษตรปลอดภัยของมหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 ตามแนวคิดการตรวจรับรองผลผลิต “ เกษตรปลอดภัย ” ด้วยการยกระดับมาตรฐานการตรวจรับรองผลผลิตทางการเกษตรจากแปลงที่ปลอดจากสารพิษตกค้าง ยาฆ่าแมลง โดยใช้เทคนิคการตรวจวิเคราะห์ที่มีความไว และความจำเพาะสูง ได้แก่ GC-MS/MS หรือ LC-MS/MS ในจังหวัดภาคกลาง รวม 8 จังหวัด (นครปฐม สุพรรณบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์) นอกจากนี้ ยังได้พัฒนาระบบรับรองมาตรฐานคุณภาพผลผลิตทางการเกษตรและอาหารปลอดภัย โดยสุ่มตรวจผักผลไม้จากแปลงเกษตรด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย ซึ่งผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดภัย จะได้รับตราสัญลักษณ์ “ MUMT Recommended ” เพื่อรับรองผลิตภัณฑ์อย่างเป็นทางการ และส่งต่อผลผลิตเกษตรปลอดภัยเข้าสู่โรงพยาบาลต่าง ๆ 9 โรงพยาบาลในจังหวัดนครปฐม ขยายสู่การสนับสนุน นโยบายโรงพยาบาลอาหารปลอดภัยของกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 66 โรงพยาบาล ในเขตสุขภาพที่ 5 โรงเรียน 11 แห่ง และผลผลิตถูกเชื่อมโยงไปสู่การค้าขายในท้องตลาด รวมถึงทำ MOU ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเพื่อเป็นทางเลือกอาหารปลอดภัยสู่ผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น ต่อมาได้ขยายไปสู่พื้นที่ขนาด 10.5 ไร่ ที่มณฑลทหารบก ที่ 17 จังหวัดกาญจนบุรี ภายใต้โครงการ “ Green Army , Green Farmer เพื่อประเทศชาติและประชาชน ” นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยได้สนับสนุนงานวิจัยที่ช่วยเพิ่มผลผลิตเชิงพาณิชย์ ดังเช่น งานวิจัยสารชีวโมเลกุล สําหรับกระตุ้นการวางไข่ในแม่พันธุ์กุ้งโดยไม่ตัดตา และงานวิจัยแม่กุ้งก้ามกราม แปลงเพศ MU1 โดยสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล ซึ่งงานวิจัยทั้งสองนี้ช่วยเพิ่มปริมาณกุ้งให้เกษตรกร และส่งเสริมอุตสาหกรรมกุ้งของประเทศไทย มหาวิทยาลัยมหิดล โดยวิทยาเขตอำนาจเจริญ จัดทำโครงการ " ข้าวเป็นยา " ด้วยการวิจัยทดลองปลูกข้าวสินเหล็กอินทรีย์ ที่มีธาตุเหล็กในเมล็ดสูง และ ข้าวกล้อง กข.43 อินทรีย์ ที่มีค่าน้ำตาลต่ำ โดยข้าวทั้งสองพันธุ์นี้ดีต่อสุขภาพ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำตาลในร่างกาย หรือ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ดีต่อระบบนิเวศ เนื่องจากปลอดภัยจากสารพิษจึงเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และเป็นต้นแบบในการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน

Highlights
  • thumb
    4 พ.ย. 2567
    Open field day ตรวจวิเคราะห์ดิน บูรณาการร่วมกับชุมชนจัดงาน เพื่อจัดทำแผนที่ข้อมูลดินชุมชนและการใช้ปุ๋ยสั่งตัดในนาข้าวเพื่อลดต้นทุนการผลิต
    กระบวนการปรับรูปแบบการเรียนการสอนจากในห้องเรียนโดยการใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อยกระดับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน อีกทั้งเป็นการฝึกทักษะให้แก่ผู้เรียนแบบ real world situation และช่วยส่งเสริมพันธกิจสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยมหิดลต่อชุมชนและการบรรลุตามเป้าหมาย SDGs ที่จะดำเนินการตามแนวปฏิบัติทางการเกษตรที่มีภูมิคุ้มกันที่จะเพิ่มผลิตภาพและการผลิต ซึ่งจะช่วยรักษาระบบนิเวศ เสริมขีดความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาวะอากาศรุนแรง ภัยแล้ง อุทกภัย และภัยพิบัติอื่น ๆ และจะช่วยพัฒนาคุณภาพของดินและที่ดินอย่างต่อเนื่อง ภายในปี พ.ศ. 2573
  • thumb
    3 พ.ย. 2567
    SMART Farmer เส้นทางสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
    หลักสูตร SMART Farmer มุ่งเน้นการเกษตรแบบผสมผสานและแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างความมั่นคงทางอาหารและความปลอดภัยต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค พร้อมส่งเสริมทักษะการเป็นผู้ประกอบการตั้งแต่การผลิตจนถึงการขาย และเชื่อมโยงกับเป้าหมาย SDGs เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
  • thumb
    5 ก.ย. 2567
    โครงการส่งเสริมอาชีพทอผ้าและแปรรูปผ้าขอเอื้อสำหรับผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ตำบลโนนหนามแท่ง
    โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินโครงการบริการวิชาการ เรื่อง การส่งเสริมอาชีพทอผ้าและแปรรูปผ้าขิดลายขอเอื้อสำหรับผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ตำบลโนนหนามแท่ง ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จำนวน 720,000 บาท ดำเนินการช่วงเดือนมิถุนายน 2566 ถึงเดือนมีนาคม 2567
  • thumb
    30 ก.ย. 2567
    แผนนโยบายขับเคลื่อนการบริหารจัดการเกษตรกรรมและสิ่งแวดล้อมยั่งยืนบนฐานระบบวนเกษตรชุมชน
    การนำแนวคิด ความรู้ และหลักการทางนิเวศวิทยาในการบริหารจัดการเกษตรกรรมด้วยระบบวนเกษตร สู่แผนนโยบายขับเคลื่อนชี้นำสังคม เพื่อช่วยในการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากแรงกดดันด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)
  • thumb
    02 06 07
    7 มิ.ย. 2567
    การประเมินความเชื่อมโยงของความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ำ อาหาร และพลังงานเพื่อการจัดการน้ำในระบบกสิกรรมของไทยด้วยแบบจำลองเชิงพลวัต
    การพัฒนากรอบการประเมิน WFE security nexus ในระบบ กสิกรรมของประเทศไทย เพื่อแสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบและพลวัตความเชื่อมโยงขององค์ประกอบภายใต้กรอบนั้น และการทดสอบการประเมินความมั่นคงของระบบกสิกรรมของไทยสำหรับพืชเศรษฐกิจด้วย WFE security nexus โดยมีขอบเขตการศึกษาในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคกลางซึ่งเป็นแหล่งพืชเศรษฐกิจ 3 ชนิด ได้แก่ ข้าว อ้อย และมันสำปะหลัง ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการประเมินความสามารถในการปรับตัว (Adaptation) ของเกษตรกรในพื้นที่ศึกษา ผลการศึกษาบ่งชี้ว่า เกษตรกรมีความสามารถในการปรับตัวภาพรวมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกิจกรรมในแปลงเกษตร อยู่ที่ระดับ 3.9/5.0 ประเด็นที่มีคะแนนต่ำที่สุด (3.3/5.0) คือ การทำกสิกรรมเชิงเดี่ยวและไม่มีการหมุนเวียนปลูกพืช ประเด็นที่มีคะแนนสูงสุด (4.2/5.0) ได้แก่ การคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูง และ ความสนใจต่อเทคนิคการปลูกพืชแบบควบคุมการให้น้ำและเห็นว่าน่าจะเพิ่มผลผลิตได้ ซึ่งเป็นประเด็นที่สามารถขับเคลื่อนในภาคประชาคมเกษตรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเชิงนิเวศน์เศรษฐกิจของพื้นที่และ WEF security nexus
  • thumb
    03 02 17
    9 เม.ย. 2567
    โครงการลดการบริโภคเกลือและโซเดียมในประเทศไทย
    การลดบริโภคเกลือและโซเดียม เท่ากับลดโรคติดต่อไม่เรื้อรัง
  • thumb
    03 02
    4 ก.ย. 2566
    กลุ่มงานวิจัยนโยบายอาหารและการติดตามและประเมินผล (Food Policy and Monitoring and Evaluation: Food ME)
    Food ME ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม เริ่มต้นในปี 2560 มุ่งมั่นผลิตข้อมูลวิจัยเพื่อใช้ชี้ทิศนโยบายด้านอาหารและโภชนาการของประเทศ และสนับสนุนการทำงานของหน่วยงานรัฐและองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อขับเคลื่อนให้ประชากรไทยบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ มีความมั่นคงทางอาหาร และสามารถพึ่งพาตนเองด้านอาหารได้ทั้งในภาวะปกติและวิกฤติ รวมถึงส่งผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจและสังคมในระดับพื้นที่และประเทศ
  • thumb
    19 ก.พ. 2567
    โครงการวิจัยงานจ้างจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนด้านความมั่นคงของมนุษย์ ปี 2566-2570
    เพื่อให้การยกระดับและพัฒนางานขับเคลื่อนค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ให้สูงขึ้นได้จริง จึงได้กำหนดโครงการ "จัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนด้านความมั่นคงของมนุษย์ ปี 2566-2570" เพื่อบูรณาการข้อมูล/กระบวนการ/กลไก/การติดตามและประเมินผล การขับเคลื่อนกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เป็นเจ้าภาพตัวชี้วัดดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ตามกรอบมิติ/ตัวชี้วัดดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ สู่การกำหนดนโยบายรองรับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที พร้อมขยายผลการขับเคลื่อนค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับประเทศ และในระดับพื้นที่ต่อไป
  • thumb
    21 มี.ค. 2567
    จากเก่าสู่เก๋า: นวัตกรรมอาหารไทยโบราณ – มรดกทางวัฒนธรรมที่ล้ำค่าของมณฑลนครชัยศรี
    นวัตกรชุมชน นวัตกรรมอาหารไทยโบราณ มณฑลนครชัยศรี community innovator, traditional Thai food innovation, Nakhon Chai Si County
  • thumb
    24 ส.ค. 2565
    การพัฒนามันสำปะหลังพันธุ์พิรุณ
    พัฒนาและคัดเลือกสายพันธุ์มันสำปะหลังให้มีปริมาณแป้งและผลผลิตที่สูงขึ้น รวมทั้งมีความต้านทานต่อโรคใบด่าง โดยการคัดเลือกนั้นจะเป็นการผสมผสานการคัดเลือกและพัฒนาสายพันธุ์มันสำปะหลังแบบดั้งเดิม ร่วมกับการนำเครื่องหมายโมเลกุลที่สัมพันธ์กับลักษณะดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการคัดเลือก
  • thumb
    01 02 03
    5 มี.ค. 2567
    การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวอินทรีย์ผงเพื่อเป็นส่วนผสมอาหารในอุตสาหกรรม และผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าวอินทรีย์อัดเม็ด
    การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวอินทรีย์ผงเพื่อเป็นส่วนผสมอาหารในอุตสาหกรรม และผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าวอินทรีย์อัดเม็ด
  • thumb
    02 06 08
    24 ส.ค. 2565
    งานวิจัย เรื่อง "กุ้งก้ามกรามแปลงเพศ MU1"
    เป็นการวิจัยและพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีด้านชีวโมเลกุล โดยการนำกุ้งก้ามกรามเพศผู้ที่ปลอดโรค สุขภาพดี โตเร็ว มากระตุ้นให้เกิดการแปลงเพศเป็นเพศเมียด้วยสารประกอบชีวโมเลกุล (คำขอรับสิทธิบัตรเลขที่ 181006124) ผ่านกรรมวิธีการการผลิตกุ้งแปลงเพศ (คำขอรับสิทธิบัตรเลขที่ 181006125) สำหรับกระตุ้นการแปลงเพศ จนกระทั่งได้กุ้งก้ามกรามเพศผู้ที่มีเพศสภาพภายนอกเป็นเพศเมีย เมื่อนำไปผสมกับพ่อพันธุ์กุ้งก้ามกราม ก็จะให้ลูกก้ามกรามเพศผู้
จำนวนทั้งหมด 46 รายการ