Zero Hunger

ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร และยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน

มหาวิทยาลัยมหิดลให้ความสำคัญกับการส่งเสริมเรื่องการบริโภคที่ถูกสุขลักษณะและมีคุณค่าทางโภชนาการแก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจากการกำหนดให้ร้านอาหารทุกร้านในศูนย์อาหารของมหาวิทยาลัย (MU Cafeteria) ต้องผ่านการตรวจอย่างเข้มงวดตามมาตรฐานของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยผู้ที่มีส่วนสัมผัสอาหารต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี แต่ละร้านอาหารจะต้องได้รับการสุ่มตรวจตัวอย่างอาหาร เพื่อหาสารปนเปื้อนตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข ในโครงการอาหารปลอดภัย นอกจากนี้ผู้ประกอบการร้านค้าทั้งหมดจะได้รับการฝึกอบรมความรู้ในเรื่องสุขอนามัยเป็นประจำทุกปี มีการตรวจสอบจากคณะกรรมการตามเกณฑ์มาตรฐานการให้บริการ เช่น ร้านค้าต้องปรุงอาหารโดยคำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม ความสะอาด และต้องจำหน่ายอาหารตามราคาที่กำหนด และภายในศูนย์อาหาร มีร้านอาหารทางเลือกให้กับผู้บริโภคที่ทานอาหารมังสวิรัติและผู้บริโภคที่ทานอาหารฮาลาล ด้วยความเป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ จึงมีการส่งเสริมการทำเกษตรแบบยั่งยืนเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและการเข้าถึงแหล่งอาหารให้กับชุมชนผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น วิทยาเขตนครสวรรค์ได้มีโครงการ “ MUNA SMART FARM ” ที่ทางมหาวิทยาลัยทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายนักศึกษากับคนในชุมชน และเป็นที่ปรึกษาด้านวิชาการเกษตร และด้านวางแผนการตลาด พร้อมทั้งให้การรับรองผลิตผลของชุมชนที่ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภายใต้เครื่องหมาย ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร “ MU ORGANIC ” และ โครงการชุมชนร่วมกันบริโภคผักผลไม้ปลอดภัยที่ทางมหาวิทยาลัยได้ร่วมกับ โรงเรียนบ้านประชาสามัคคี ตำบลบางเคียน อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ภายใต้การสนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ ทีมสร้างเสริมสุขภาพนครสวรรค์ ซึ่งใช้โรงเรียนเป็น “ ศูนย์กลาง ” ในการจัดการอาหารปลอดภัย โดยนอกจากมีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มนักเรียนของโรงเรียนแล้วยังมี “ ครอบครัวกลุ่มอาสา ” ร่วมปลูกผักผลไม้ปลอดภัย และต่อยอดขยายผลไปยังชุมชนอื่น ๆ สู่การทำ “ แผนที่อาหารปลอดภัยของชุมชน ” เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตในการบริโภคอาหารปลอดภัยของประชาชน ทางคณะเทคนิคการแพทย์วิทยาเขตศาลายา ได้ดำเนินโครงการพัฒนาเกษตรปลอดภัยของมหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 ตามแนวคิดการตรวจรับรองผลผลิต “ เกษตรปลอดภัย ” ด้วยการยกระดับมาตรฐานการตรวจรับรองผลผลิตทางการเกษตรจากแปลงที่ปลอดจากสารพิษตกค้าง ยาฆ่าแมลง โดยใช้เทคนิคการตรวจวิเคราะห์ที่มีความไว และความจำเพาะสูง ได้แก่ GC-MS/MS หรือ LC-MS/MS ในจังหวัดภาคกลาง รวม 8 จังหวัด (นครปฐม สุพรรณบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์) นอกจากนี้ ยังได้พัฒนาระบบรับรองมาตรฐานคุณภาพผลผลิตทางการเกษตรและอาหารปลอดภัย โดยสุ่มตรวจผักผลไม้จากแปลงเกษตรด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย ซึ่งผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดภัย จะได้รับตราสัญลักษณ์ “ MUMT Recommended ” เพื่อรับรองผลิตภัณฑ์อย่างเป็นทางการ และส่งต่อผลผลิตเกษตรปลอดภัยเข้าสู่โรงพยาบาลต่าง ๆ 9 โรงพยาบาลในจังหวัดนครปฐม ขยายสู่การสนับสนุน นโยบายโรงพยาบาลอาหารปลอดภัยของกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 66 โรงพยาบาล ในเขตสุขภาพที่ 5 โรงเรียน 11 แห่ง และผลผลิตถูกเชื่อมโยงไปสู่การค้าขายในท้องตลาด รวมถึงทำ MOU ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเพื่อเป็นทางเลือกอาหารปลอดภัยสู่ผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น ต่อมาได้ขยายไปสู่พื้นที่ขนาด 10.5 ไร่ ที่มณฑลทหารบก ที่ 17 จังหวัดกาญจนบุรี ภายใต้โครงการ “ Green Army , Green Farmer เพื่อประเทศชาติและประชาชน ” นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยได้สนับสนุนงานวิจัยที่ช่วยเพิ่มผลผลิตเชิงพาณิชย์ ดังเช่น งานวิจัยสารชีวโมเลกุล สําหรับกระตุ้นการวางไข่ในแม่พันธุ์กุ้งโดยไม่ตัดตา และงานวิจัยแม่กุ้งก้ามกราม แปลงเพศ MU1 โดยสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล ซึ่งงานวิจัยทั้งสองนี้ช่วยเพิ่มปริมาณกุ้งให้เกษตรกร และส่งเสริมอุตสาหกรรมกุ้งของประเทศไทย มหาวิทยาลัยมหิดล โดยวิทยาเขตอำนาจเจริญ จัดทำโครงการ " ข้าวเป็นยา " ด้วยการวิจัยทดลองปลูกข้าวสินเหล็กอินทรีย์ ที่มีธาตุเหล็กในเมล็ดสูง และ ข้าวกล้อง กข.43 อินทรีย์ ที่มีค่าน้ำตาลต่ำ โดยข้าวทั้งสองพันธุ์นี้ดีต่อสุขภาพ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำตาลในร่างกาย หรือ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ดีต่อระบบนิเวศ เนื่องจากปลอดภัยจากสารพิษจึงเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และเป็นต้นแบบในการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน

Highlights
  • thumb
    02 03 12
    10 ต.ค. 2565
    โรงอาหารมหาวิทยาลัยมหิดล
    มหาวิทยาลัยมีโรงอาหารให้บริการในหลายพื้นที่ เพื่อรองรับความต้องการของนักศึกษา บุคลากรและประชาชนทั่วไป โดยจำหน่ายอาหารที่มีความหลากหลายตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
  • thumb
    7 ต.ค. 2565
    การประเมินผลกระทบจากภัยแล้งต่อความมั่นคงด้านการเกษตรในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่จาง จังหวัดลำปาง (Drought impact assessment on agricultural security in Mae Chang watershed Lampang province)
    การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศเพื่อประเมินและคาดการณ์ผลกระทบจากภัยแล้งต่อพื้นที่เกษตรกรรม รวมทั้งประเมินความเหมาะสมของพื้นที่สำหรับการปลูกพืชทางเลือก เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์พื้นที่เกษตรกรรมในลุ่มน้ำแม่จางอย่างเหมาะสมและยั่งยืน
  • thumb
    04 02 17
    30 ก.ย. 2565
    โครงการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับระดับอุดมศึกษา ชื่อหลักสูตร ผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ (ด้านการเกษตร)
    การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพของมนุษย์ทั้งในด้านความรู้ ความคิด คุณธรรมจริยธรรม การประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้เป็นคนดีมีปัญญามีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสามารถในการแข่งขันการเพิ่มศักยภาพของผู้เรียนให้สูงขึ้นสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขบนพื้นฐานของความเป็นไทยและสากล รวมทั้งมีความสามารถในการประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อตามความถนัดและความสามารถของแต่ละบุคคล โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์ ในการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับระดับอุดมศึกษา ดำเนินการภายใต้ชื่อหลักสูตร “ผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ (ด้านการเกษตร)” ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์
  • thumb
    02 12
    21 ก.ย. 2565
    “รักษ์” ผักปลอดสาร U2T ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ
    “รักษ์” ผักปลอดสาร เป็นการนำทุนสังคม ของชุมชนเดิมมาต่อยอดพัฒนา ด้วยการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ผลิตภายในชุมชน ให้ความรู้ ถ่ายทอด ฝึกปฏิบัติ หนุนเสริมยกระดับการผลิตให้มีมาตรฐาน และมีการต่อยอดการทำตลาดในพื้นที่แบบต่อเนื่อง เพื่อสร้างแหล่งอาหารปลอดภัยให้แก่คนในชุมชน และสร้างกลไกลการขับเคลื่อนบูรณาการ แบบมีส่วนร่วม และนำไปประยุกต์ใช้ของชุมชนแบบยั่งยืน
  • thumb
    02 12
    20 ก.ย. 2565
    การพัฒนาต้นแบบการเลี้ยงไก่ไข่ในระบบปล่อยอิสระ เพื่อผลิตอาหารปลอดภัย
    ปัจจุบันเองผู้บริโภคในบ้านเราบางกลุ่มก็เริ่มมาให้ความสนใจกับไข่ไก่ที่ได้มาจากกระบวนการเลี้ยงแบบทางเลือกที่ยึดหลักการปฏิบัติต่อสัตว์ที่ดีเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะไข่ไก่ที่ได้จากรูปแบบการเลี้ยงแบบปล่อยพื้น และการเลี้ยงแบบปล่อยอิสระ ซึ่งดูได้จากการที่ผู้เลี้ยงรายย่อยและบริษัทขนาดใหญ่ในวงการปศุสัตว์เริ่มทำการปรับเปลี่ยนกระบวนการเลี้ยงมาผลิตไข่ไก่จากรูปแบบการเลี้ยงทางเลือกเพิ่มมากขึ้น แสดงให้เห็นว่าไข่ไก่กลุ่มนี้น่าจะมีโอกาสเติบโตทางการตลาดเพิ่มสูงขึ้นต่อไปในอนาคต
  • thumb
    02
    3 ก.ย. 2565
    “ผำ” พืชจิ๋วพื้นบ้าน อาหารแห่งอนาคตสู้วิกฤตด้านอาหารและสิ่งแวดล้อม
    การพัฒนาศักยภาพของผำด้วยการเพาะเลี้ยงผำด้วยระบบเกษตรแม่นยำ ให้เป็น “อาหารแห่งอนาคต” สามารถต่อยอดสู่อุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ และเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ของประเทศไทย โดยดำเนินการในรูปแบบของธุรกิจสตาร์ทอัพ
  • thumb
    13 02
    1 ก.ย. 2565
    โครงการพลิกฟื้นวิถีสังคมและระบบนิเวศสังคมกลุ่มชาติพันธุ์ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก Climate change Resilience of Indigenous SocioEcological systems (RISE)
    ปฏิญญาสากลว่าด้วยเรื่องสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ประกาศโดยสหประชาชาติให้ความสำคัญกับสิทธิในการอยู่อาศัยในแผ่นดิน เขตแดน และใช้ประโยชน์ทรัพยากรซึ่งกลุ่มชาติพันธุ์นั้นได้อยู่กินมาตั้งแต่บรรพกาลได้ครอบครอง ได้อาศัย ใช้ประโยชน์มาตั้งแต่อดีต ในบริบทนี้กลุ่มชาติพันธุ์มีสิทธิกินอยู่ มีสิทธิหาอาหาร และดำเนินวิถีชีวิตตามประเพณีต่อเนื่อง ทำให้การดูแลระบบอาหารดั้งเดิมตามประเพณีอย่างยั่งยืนนั้น เป็นประเด็นสำคัญเร่งด่วนซึ่งที่ประชุมสหประชาชาติได้ให้ความสำคัญ โดยกำหนดเป็นวาระสำคัญอย่างถาวร (United Nations Permanent Forum of Indigenous Peoples’ Issues: UNPFII) เพื่อกลุ่มชาติพันธุ์อย่างเป็นทางการ
  • thumb
    02 14 17
    31 ส.ค. 2565
    จากองค์ความรู้สู่การพัฒนากลยุทธ์ต้านโรคกุ้งตายด่วน (From research to strategies to control shrimp early mortality syndrome (EMS))
    ปี พ.ศ. 2555 อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลพบการระบาดอย่างรุนแรงของโรคกุ้งตายด่วน ส่งผลให้ผลผลิตกุ้งทั่วประเทศลดลงถึงร้อยละ 50 หน่วยวิจัยฯ ได้ค้นพบแบคทีเรียสาเหตุ และทำวิจัยต่อเนื่อง จนค้นพบกลไกการก่อโรคและการแพร่กระจาย โดยผลการประเมินระหว่างปี พ.ศ. 2562-2564 พบว่าผลงานวิจัยดังกล่าวก่อให้เกิดผลประโยชน์ด้านการบริโภคในประเทศและการส่งออกกุ้งเป็นมูลค่า 104.82 และ 625.29 ล้านบาท ตามลำดับ
  • thumb
    29 ส.ค. 2565
    การพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่กันชนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
    การขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากฐานทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ โดยนำทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน เพื่อให้เกิดกระบวนการสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างโอกาสให้แก่ประชาชนโดยการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาของชุมชนและท้องถิ่นอย่างมีระบบและยั่งยืน รวมทั้งการพัฒนางานวิจัยและการรวบรวมองค์ความรู้ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาของชุมชนและท้องถิ่น
  • thumb
    02 03 17
    29 ส.ค. 2565
    โครงการร้านอาหารปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค สุขภาพชุมชนเขาทองยั่งยืน
    ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ เป็นที่ตั้งของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ห่างจากตัวเมืองราว 15 กิโลเมตร ความเป็นอยู่และอาหารการกินของประชาชนในชุมชน ยังเป็นลักษณะคล้ายกับชุมชนที่ห่างไกลความเจริญจากตัวเมืองทั่วไป โดยวิถีการบริโภคอาหารในพื้นที่มีลักษณะเป็นร้านอาหารของคนในชุมชน ตลาดนัด หาบเร่ แผงลอย ซึ่งยังคงต้องพัฒนาด้านการสุขาภิบาลอาหารและอาหารปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง
  • thumb
    27 มิ.ย. 2565
    "อาหารริมบาทวิถี" ต้องพัฒนาอย่างไร เพื่อสุขภาพคนเมือง
    อาหารริมบาทวิถี หรือ “สตรีทฟู้ด” (Street Food) ในประเทศไทยมีเอกลักษณ์และขึ้นชื่อในเรื่องความหลากหลาย และเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตประชาชนในกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันขยายตัวไปยังจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะเมืองที่เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวทั้ง 4 ภาคของประเทศ
  • thumb
    23 มิ.ย. 2565
    พัฒนาอาหารริมบาทวิถี สะอาด ปลอดภัย ลดหวาน-มัน-เค็ม เพิ่มใยอาหาร กระตุ้นผู้ขายใส่ใจสุขภาพ
    สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยฯ – สสส. ร่วมพัฒนาอาหารริมบาทวิถี สะอาด ปลอดภัย ลดหวาน-มัน-เค็ม เพิ่มใยอาหาร กระตุ้นผู้ขายใส่ใจสุขภาพ เปิด 3 พิกัด ร้านสตรีทฟู้ด ย่านซอยอารีย์ฟู้ดทรัค กทม. ตลาดราชบุตร จ.อุบลราชธานีเกิน 60% ปรับเพิ่มคุณค่าโภชนาการ
จำนวนทั้งหมด 32 รายการ