Zero Hunger

ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร และยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน

มหาวิทยาลัยมหิดลให้ความสำคัญกับการส่งเสริมเรื่องการบริโภคที่ถูกสุขลักษณะและมีคุณค่าทางโภชนาการแก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจากการกำหนดให้ร้านอาหารทุกร้านในศูนย์อาหารของมหาวิทยาลัย (MU Cafeteria) ต้องผ่านการตรวจอย่างเข้มงวดตามมาตรฐานของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยผู้ที่มีส่วนสัมผัสอาหารต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี แต่ละร้านอาหารจะต้องได้รับการสุ่มตรวจตัวอย่างอาหาร เพื่อหาสารปนเปื้อนตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข ในโครงการอาหารปลอดภัย นอกจากนี้ผู้ประกอบการร้านค้าทั้งหมดจะได้รับการฝึกอบรมความรู้ในเรื่องสุขอนามัยเป็นประจำทุกปี มีการตรวจสอบจากคณะกรรมการตามเกณฑ์มาตรฐานการให้บริการ เช่น ร้านค้าต้องปรุงอาหารโดยคำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม ความสะอาด และต้องจำหน่ายอาหารตามราคาที่กำหนด และภายในศูนย์อาหาร มีร้านอาหารทางเลือกให้กับผู้บริโภคที่ทานอาหารมังสวิรัติและผู้บริโภคที่ทานอาหารฮาลาล ด้วยความเป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ จึงมีการส่งเสริมการทำเกษตรแบบยั่งยืนเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและการเข้าถึงแหล่งอาหารให้กับชุมชนผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น วิทยาเขตนครสวรรค์ได้มีโครงการ “ MUNA SMART FARM ” ที่ทางมหาวิทยาลัยทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายนักศึกษากับคนในชุมชน และเป็นที่ปรึกษาด้านวิชาการเกษตร และด้านวางแผนการตลาด พร้อมทั้งให้การรับรองผลิตผลของชุมชนที่ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภายใต้เครื่องหมาย ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร “ MU ORGANIC ” และ โครงการชุมชนร่วมกันบริโภคผักผลไม้ปลอดภัยที่ทางมหาวิทยาลัยได้ร่วมกับ โรงเรียนบ้านประชาสามัคคี ตำบลบางเคียน อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ภายใต้การสนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ ทีมสร้างเสริมสุขภาพนครสวรรค์ ซึ่งใช้โรงเรียนเป็น “ ศูนย์กลาง ” ในการจัดการอาหารปลอดภัย โดยนอกจากมีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มนักเรียนของโรงเรียนแล้วยังมี “ ครอบครัวกลุ่มอาสา ” ร่วมปลูกผักผลไม้ปลอดภัย และต่อยอดขยายผลไปยังชุมชนอื่น ๆ สู่การทำ “ แผนที่อาหารปลอดภัยของชุมชน ” เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตในการบริโภคอาหารปลอดภัยของประชาชน ทางคณะเทคนิคการแพทย์วิทยาเขตศาลายา ได้ดำเนินโครงการพัฒนาเกษตรปลอดภัยของมหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 ตามแนวคิดการตรวจรับรองผลผลิต “ เกษตรปลอดภัย ” ด้วยการยกระดับมาตรฐานการตรวจรับรองผลผลิตทางการเกษตรจากแปลงที่ปลอดจากสารพิษตกค้าง ยาฆ่าแมลง โดยใช้เทคนิคการตรวจวิเคราะห์ที่มีความไว และความจำเพาะสูง ได้แก่ GC-MS/MS หรือ LC-MS/MS ในจังหวัดภาคกลาง รวม 8 จังหวัด (นครปฐม สุพรรณบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์) นอกจากนี้ ยังได้พัฒนาระบบรับรองมาตรฐานคุณภาพผลผลิตทางการเกษตรและอาหารปลอดภัย โดยสุ่มตรวจผักผลไม้จากแปลงเกษตรด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย ซึ่งผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดภัย จะได้รับตราสัญลักษณ์ “ MUMT Recommended ” เพื่อรับรองผลิตภัณฑ์อย่างเป็นทางการ และส่งต่อผลผลิตเกษตรปลอดภัยเข้าสู่โรงพยาบาลต่าง ๆ 9 โรงพยาบาลในจังหวัดนครปฐม ขยายสู่การสนับสนุน นโยบายโรงพยาบาลอาหารปลอดภัยของกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 66 โรงพยาบาล ในเขตสุขภาพที่ 5 โรงเรียน 11 แห่ง และผลผลิตถูกเชื่อมโยงไปสู่การค้าขายในท้องตลาด รวมถึงทำ MOU ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเพื่อเป็นทางเลือกอาหารปลอดภัยสู่ผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น ต่อมาได้ขยายไปสู่พื้นที่ขนาด 10.5 ไร่ ที่มณฑลทหารบก ที่ 17 จังหวัดกาญจนบุรี ภายใต้โครงการ “ Green Army , Green Farmer เพื่อประเทศชาติและประชาชน ” นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยได้สนับสนุนงานวิจัยที่ช่วยเพิ่มผลผลิตเชิงพาณิชย์ ดังเช่น งานวิจัยสารชีวโมเลกุล สําหรับกระตุ้นการวางไข่ในแม่พันธุ์กุ้งโดยไม่ตัดตา และงานวิจัยแม่กุ้งก้ามกราม แปลงเพศ MU1 โดยสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล ซึ่งงานวิจัยทั้งสองนี้ช่วยเพิ่มปริมาณกุ้งให้เกษตรกร และส่งเสริมอุตสาหกรรมกุ้งของประเทศไทย มหาวิทยาลัยมหิดล โดยวิทยาเขตอำนาจเจริญ จัดทำโครงการ " ข้าวเป็นยา " ด้วยการวิจัยทดลองปลูกข้าวสินเหล็กอินทรีย์ ที่มีธาตุเหล็กในเมล็ดสูง และ ข้าวกล้อง กข.43 อินทรีย์ ที่มีค่าน้ำตาลต่ำ โดยข้าวทั้งสองพันธุ์นี้ดีต่อสุขภาพ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำตาลในร่างกาย หรือ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ดีต่อระบบนิเวศ เนื่องจากปลอดภัยจากสารพิษจึงเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และเป็นต้นแบบในการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน

Highlights
  • thumb
    24 ส.ค. 2565
    งานวิจัย เรื่อง "กุ้งก้ามกรามแปลงเพศ MU1"
    เป็นการวิจัยและพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีด้านชีวโมเลกุล โดยการนำกุ้งก้ามกรามเพศผู้ที่ปลอดโรค สุขภาพดี โตเร็ว มากระตุ้นให้เกิดการแปลงเพศเป็นเพศเมียด้วยสารประกอบชีวโมเลกุล (คำขอรับสิทธิบัตรเลขที่ 181006124) ผ่านกรรมวิธีการการผลิตกุ้งแปลงเพศ (คำขอรับสิทธิบัตรเลขที่ 181006125) สำหรับกระตุ้นการแปลงเพศ จนกระทั่งได้กุ้งก้ามกรามเพศผู้ที่มีเพศสภาพภายนอกเป็นเพศเมีย เมื่อนำไปผสมกับพ่อพันธุ์กุ้งก้ามกราม ก็จะให้ลูกก้ามกรามเพศผู้
  • thumb
    27 มิ.ย. 2565
    "อาหารริมบาทวิถี" ต้องพัฒนาอย่างไร เพื่อสุขภาพคนเมือง
    อาหารริมบาทวิถี หรือ “สตรีทฟู้ด” (Street Food) ในประเทศไทยมีเอกลักษณ์และขึ้นชื่อในเรื่องความหลากหลาย และเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตประชาชนในกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันขยายตัวไปยังจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะเมืองที่เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวทั้ง 4 ภาคของประเทศ
  • thumb
    23 มิ.ย. 2565
    พัฒนาอาหารริมบาทวิถี สะอาด ปลอดภัย ลดหวาน-มัน-เค็ม เพิ่มใยอาหาร กระตุ้นผู้ขายใส่ใจสุขภาพ
    สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยฯ – สสส. ร่วมพัฒนาอาหารริมบาทวิถี สะอาด ปลอดภัย ลดหวาน-มัน-เค็ม เพิ่มใยอาหาร กระตุ้นผู้ขายใส่ใจสุขภาพ เปิด 3 พิกัด ร้านสตรีทฟู้ด ย่านซอยอารีย์ฟู้ดทรัค กทม. ตลาดราชบุตร จ.อุบลราชธานีเกิน 60% ปรับเพิ่มคุณค่าโภชนาการ
  • thumb
    03 02
    23 มิ.ย. 2565
    การฝึกอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ปี 2564
    คณะพยาบาลศาสตร์ ได้จัดการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2561 ถึงปัจจุบัน ผู้เข้ารับการอบรมเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จากโรงพยาบาลและสถานศึกษาพยาบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศ
  • thumb
    10 มี.ค. 2565
    มาตรฐาน MU Organic
    เกิดมาตรฐานข้าวอินทรีย์มหิดล ที่เกิดจากการร่วมคิด ระหว่างชาวนาผู้ปลูกข้าว ผู้บริโภค และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จนได้ข้อสรุปในการจัดทำมาตรฐาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเดียวกัน เพื่อแก้ปัญหาการเข้าถึงมาตรฐานของชาวนาอินทรีย์เพื่อการรับรองการผลิต และแก้ปัญหาความไม่มั่นใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อข้าวอินทรีย์
  • thumb
    10 มี.ค. 2565
    กิจกรรมสร้างเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์มหิดล
    ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการบึงบอระเพ็ด มหิดลนครสวรรค์ ได้เห็นปัญหาความมั่นใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อข้าวอินทรีย์ และปัญหาการเข้าถึงมาตรฐานของชาวนาอินทรีย์เพื่อการรับรองการผลิต
  • thumb
    01 02
    10 มี.ค. 2565
    การขยายผลและพัฒนาความช่วยเหลือกลุ่มเด็กปฐมวัยยากจนในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และเด็กปฐมวัยนอกระบบในกรุงเทพฯ
    พัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้กับกลไกสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาร่วมกับภาคีความร่วมมือของหน่วยงาน/องค์กร ในการดูแลช่วยเหลือกลุ่มเด็กปฐมวัย ในเขตกรุงเทพมหานคร
  • thumb
    11 มี.ค. 2565
    ปลดล็อกศักยภาพของเด็กทุกคน
    มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลออสเตรียเพื่อทำการศึกษาตัวแทนของเด็ก ๆ ในศูนย์การเรียนรู้ผู้อพยพ (MLC) ในตำบลพบพระและท่าสองยาง จังหวัด แม่สอด โดยเปรียบเทียบกับเด็ก ๆ ในศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยไทย (ECCD) ในบริเวณใกล้เคียง
  • thumb
    01 02
    11 มี.ค. 2565
    โครงการ 10 ทักษะความปลอดภัย ก่อน 10 ปี ต้องมี 10 อย่าง : Safety Hunter ภารกิจพิชิตจุดเสี่ยง
    ปัจจุบันนับว่าเด็กไทยตกอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงอันตรายอยู่ตลอดเวลา จากข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์จะเห็นได้ว่าในแต่ละปีเด็กๆ ต้องเสียชีวิตจากอุบัติภัย มากกว่า 3,000 ราย ต่อปี และถือเป็นสาเหตุที่ใหญ่ที่สุดของการเสียชีวิตในเด็ก เป็นภัยร้ายใกล้ๆตัวที่เกิดขึ้นได้แม้เพียงเสี้ยววินาที การมีทักษะด้านความปลอดภัยถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตที่เราต้องช่วยกันปลูกฝังให้กับเด็กๆอีกด้วย
  • thumb
    02 03
    2 ก.ย. 2565
    โครงการสำรวจติดตามพฤติกรรมบริโภคเครื่องดื่มที่มีรสหวานฯ
    โครงการวิจัย การสำรวจติดตามพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีรสหวานของคนไทย ภายหลังการออกมาตรการเก็บภาษีสรรพสามิตในเครื่องดื่มที่มีรสหวาน ปีที่ 3 พ.ศ. 2564 ดำเนินการโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการขับเคลื่อนนโยบาย เครือข่ายลดบริโภคหวาน และสื่อสารสร้างความรอบรู้ด้านอาหารเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ โครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีรสหวานของคนไทยต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 (ปี 2564) ภายหลังจากที่มาตรการเก็บภาษีสรรพสามิตในเครื่องดื่มที่มีรสหวาน พร้อมทั้งศึกษาการรับรู้ของคนไทยต่อการออกมาตรการทางภาษีนี้ โดยมีการเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมิย. 2564-มิย.2565 ทั้งหมด 9 จังหวัด เพื่อเป็นตัวแทนระดับประเทศ แต่ละภาคของประเทศจะนำเสนอผลจำแนกตามเขตการปกครอง คือ ในเขตเทศบาล และนอกเขตเทศบาล ซึ่งเก็บข้อมูลทุกคนที่อยู่ในครัวเรือนที่ถูกสุ่ม โดยเก็บจากบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มอายุ ได้แก่ 1) อายุ 6-14 ปี 2) อายุ 15-59 ปี และ 3) อายุ 60 ปีขึ้นไป และในแต่ละกลุ่มอายุได้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ เพศชาย และเพศหญิง ผลการศึกษาสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มที่มีรสหวานของคนไทย ภายหลังการออกมาตรการเก็บภาษีสรรพสามิตในเครื่องดื่มที่มีรสหวาน ปีที่ 3 พ.ศ. 2564 พบว่า แนวโน้มการดื่มโดยรวมเพิ่มขึ้นจากปี 2562 (356.9 มิลลิลิตร และ 395.6 มิลลิลิตร ตามลำดับ) โดยเพศชายมีปริมาณการดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวานเฉลี่ยรวมมากกว่าเพศหญิงทั้งสามปี หากพิจารณาตามกลุ่มอายุ พบว่า ทุกกลุ่มอายุมีการดื่มเพิ่มขึ้นจากปี 2562 โดยกลุ่มวัยทำงานตอนต้นจะมีปริมาณการดื่มทั้งสามปีมากกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ สำหรับเขตที่อยู่อาศัย พบว่า ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาลมีปริมาณการกินเครื่องดื่มที่มีรสหวานเฉลี่ยรวมมากที่สุดในปี 3 และผู้ที่อาศัยอยู่ในภาคกลางจะมีปริมาณการดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวานในทั้งสามปีมากที่สุด ถ้าพิจารณาด้านอาชีพ พบว่า ผู้ที่ไม่ได้ทำงาน อาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ และอาชีพรับจ้าง มีปริมาณการกินเครื่องดื่มที่มีรสหวานเฉลี่ยรวมลดลงตั้งแต่ปี 2561 ถึงปี 2564 ส่วนอาชีพธุรกิจส่วนตัว/ค้าขายมีแนวโน้มปริมาณการกินเครื่องดื่มที่มีรสหวานเฉลี่ยรวมเพิ่มขึ้นทุกปี สำหรับรายได้ พบว่า ผู้ที่มีรายได้ส่วนใหญ่มีปริมาณการกินเครื่องดื่มที่มีรสหวานเฉลี่ยรวมลดลงในปี 2562 และเพิ่มขึ้นในปี 2564 ยกเว้นกลุ่มที่ไม่มีรายได้ที่เพิ่มขึ้นในปี 2562 และลดลงในปี 2564 นอกจากนี้ ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นพฤติกรรมที่อาจมีอิทธิพลต่อการดื่ม ได้แก่ การโฆษณา และราคาเครื่องดื่ม โดยพบว่า เกือบ 1 ใน 5 ของกลุ่มตัวอย่างเห็นโฆษณาเครื่องดื่มแล้วส่งผลต่อการอยากลองเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 18.3) โดยกลุ่มเด็กเล็กเกือบครึ่งเป็นกลุ่มที่เห็นโฆษณาเครื่องดื่มแล้วส่งผลต่อการอยากลองเครื่องดื่มมากที่สุด (ร้อยละ 46.8) ส่วนพฤติกรรมการดื่ม ถ้าหากมีการปรับราคาเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 กลุ่มตัวอย่างกว่า 3 ใน 5 ยังคงไม่เปลี่ยนพฤติกรรมยังคงดื่มเหมือนเดิม (ร้อยละ 60.6) และความรู้เรื่อง “ปริมาณน้ำตาลที่ควรบริโภคต่อวัน คือ ไม่ควรเกิน 6 ช้อนชาต่อวัน” กลุ่มตัวอย่างกว่า 4 ใน 5ยังไม่ทราบข้อมูลการบริโภคที่ถูกต้อง (ร้อยละ 82.9) จากผลการสํารวจในปีที่ 3 นี้ ชี้ให้เห็นว่า แต่กลุ่มที่มีการดื่มสูงยังคงเป็นกลุ่มเด็กวัยเรียนและวัยทำงานตอนต้น และเด็กส่วนใหญ่ต้องเรียนออนไลน์อยู่ที่บ้าน และวัยทำงานยังคงมีการทำงานที่บ้าน ทำให้มีโอกาสดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวานเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับอิทธิพลของสื่อที่อาจจะส่งผลต่อการบริโภค โดยสอดคล้องกับการเรื่องอิทธิพลจากการโฆษณาที่เกือบครึ่งหนึ่งของกลุ่มเด็กวัยเรียนที่ตอบว่าโฆษณาเครื่องดื่มส่งผลต่อการอยากลองเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นมากที่สุด รองลงมา คือ กลุ่มวัยทำงานตอนต้น การเปลี่ยนแปลงปริมาณการดื่มในภาวะวิกฤติเมื่อเปรียบเทียบกับภาวะปกติในปีที่ 1 และ 2 การชะลอการขึ้นภาษีเครื่องดื่มในรอบที่ 3 อาจส่งผลต่อความต่อเนื่องการประสิทธิผลของการใช้มาตรการภาษีของรัฐในการช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มได้เช่นกัน ซึ่งผลการศึกษานี้พบว่า หากราคาเครื่องดื่มเพิ่มไปถึงร้อยละ 20 กลุ่มตัวอย่าง 2 ใน 5 ของคนที่ดื่มจะลดหรือเลิกการดื่มนี้
  • thumb
    10 มี.ค. 2565
    แปลงผักปลอดสารพิษ
    แปลงผักปลอดสารพิษเกิดขึ้นด้วยแนวคิดที่อยากให้มีการบริโภคผักที่ไม่ใช้สารเคมีภายในมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อให้บุคลากร นักศึกษา คนในชุมชนได้กินผักที่มีความปลอดภัย มหาวิทยาลัยมหิดลจึงจัดสรรพื้นที่ซึ่งเดิมเป็นพื้นที่ว่างที่ไม่มีการใช้ประโยชน์ และให้เกษตรกรในพื้นที่เข้ามาดำเนินการปรับปรุงดินและปลูกผักปลอดสารพิษจนถึงปัจจุบัน
จำนวนทั้งหมด 35 รายการ