Research and Innovation for Sustainability

Research and Innovation for Sustainability
Research and Innovation for Sustainability
Goal
World class research on health & well-being and environment
การวิจัยแบบบูรณาการจากสหสาขาวิชาที่มุ่งเน้นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
การจัดหาเงินทุนสำหรับการพัฒนาธุรกิจแนวใหม่
การพัฒนางานวิจัยด้านพลังงานสะอาด ด้านพลังงานทดแทน และด้านทรัพยากรทางทะเล
Strategic Goals
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์
1. เพื่อสร้างงานวิจัยคุณภาพสูงให้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
2. เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่สนับสนุนงานวิจัยให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
3. เพื่อสร้างผลงานวิจัยเชิงนวัตกรรม
Strategic Intiatives
กลยุทธ์
1. สร้างกลุ่มวิจัยหลายรุ่นและสหสาขา (Multi-generation Researcher and Multidisciplinary) ด้วยการปรับ การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลและการตั้งกองทุนสนับสนุน
2. สนับสนุน Global Connectivity ด้วยการสร้างความร่วมมือวิจัยกับสถาบัน/โครงการวิจัยระดับนานาชาติ แบบสหสถาบันที่มี Global Impact
3. สร้างระบบสนับสนุนการวิจัยที่ครบวงจรจากต้นน้ําถึงปลายน้ํา (Research Value Chain) ด้วยการวิจัยแบบ denmand-driven และผลักดันให้เกิดการวิจัยที่ให้ผลลัพธ์ที่งานวิจัยที่มี global and social impact สามารถ นําไปใช้ประโยชน์ในสังคมและเชิงพาณิชย์
4. สร้างระบบนิเวศการวิจัยและนวัตกรรม โดยจัดหาพื้นที่รวม Research & Innovation Complex ที่ประกอบด้วย Open (multidisciplinary) Lab, Technology transfer office, Co-working Space, Business, Co-Product Design, Design Thinking เพื่อเป็นที่จัดกิจกรรม สร้างบรรยากาศการสร้างความ ร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน
5. สนับสนุนการผลักอันดับงานวิจัยเฉพาะสาขา
6. สร้างฐานศาสตร์แขนงใหม่เพื่อให้ทันต่อความต้องการของประเทศ
7. เพิ่มจํานวนนักวิจัยสําเร็จรูปอย่างรวดเร็ว
Case Study
  • thumb
    15
    2 ก.ย. 2565
    การพัฒนาระบบการประเมินผลกระทบของระยะห่างจากชุมชนต่อสถานภาพและการกระจายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมด้วยกล้องดักถ่ายสัตว์ป่าในพื้นที่เป้าหมายขยายงานอนุรักษ์ ลุ่มน้ำตาหริ่ว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว เพื่อการวางแผนและประเมินการอนุรักษ์
    ผู้วิจัยศึกษางานอนุรักษ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 15 ชนิด ที่อยู่ในลุ่มน้ำย่อยวังโป่ง ตาหัน สีละมัน และคลองพลู จังหวัดจันทบุรี ความสง่างามของชนิดพันธุ์ ทำให้กวางป่าและกระทิงมีศักยภาพในการเป็นสิ่งมีชีวิตเรือธง (Flagship species) เพื่อสร้างพฤติกรรมอนุรักษ์ในชุมชน ในขณะเดียวกันเสือลายเมฆรวมถึงหมาในซึ่งเป็นผู้ล่าระดับบนก็มีศักยภาพในการเป็นสิ่งมีชีวิตให้ร่มเงาแก่สิ่งมีชีวิตชนิดอื่น (Umbrella species) ได้ต่อไป
  • thumb
    13
    24 ม.ค. 2566
    PM2.5 FOOTPRINT
    Fine particulate matter (PM2.5 or fine particulate matter with a diameter up to 2.5 microns) is one of the most important causes of premature deaths. The World Health Organization (WHO) estimated that outdoor air pollution caused 4.2 million premature deaths globally in 2016 due to PM2.5 exposure. The PM2.5 exposure could lead to cardiovascular and respiratory disease, and cancers (WHO, 2021). In Thailand, overall PM2.5 concentrations have been reduced continuously. Nonetheless, the annual average PM2.5 concentrations in Thailand have still exceeded the World Health Organization standards throughout the past 10 years. Transport sector is one of the major sources of PM2.5 emissions. Understanding the potential health impacts and costs of PM2.5 formation from different modes of transport will help raising the awareness of the public due to the realisation on the PM2.5 footprint of their actions. PM2.5 footprint is considered as the health impacts from PM2.5 formation throughout life cycle of products and organisations. PM2.5 footprint is quantified by multiplying emissions with characterisation factors. Afterwards, the health costs could be obtained by economic evaluation of the health impacts. The PM2.5 Footprint Calculator v1.01 was developed as a tool for enhancing environmentally sustainable passenger transport in Thailand. The PM2.5 Footprint Calculator v1.01 can determine primary and secondary PM2.5 emissions (PM2.5, NOx, NH3, and SO2) and assess health impacts and costs of passenger transport by road, water and rail in Thailand. The calculator consists of primary and secondary PM2.5 emission inventory (for passenger transport), city-specific characterisation factors, and health cost conversion factor. The details of emission inventory, impact characterisation and economic valuation can be seen the background report of PM2.5 Footprint Calculator v1.01 (Prapaspongsa et al., 2021). Features of the current version and future updates of the PM2.5 footprint calculator are also documented in the report. The PM2.5 Footprint Calculator v1.01 is provided in two versions including Web-Based PM2.5 Footprint Calculator and PM2.5 Footprint Calculator (Microsoft Excel Program). Users can directly apply the Web-Based PM2.5 Footprint Calculator via this PM2.5 footprint website or download the PM2.5 Footprint Calculator (Microsoft Excel Program) from this website for own calculations. The Web-Based PM2.5 Footprint Calculator computes the health impacts and costs from "well-to-wheel" including emissions from upstream fuel and electricity production; and exhaust emissions from fuel combustion. The PM2.5 Footprint Calculator (Microsoft Excel Program) can assess health impacts and costs both from "well-to-wheel" and "tank-to-wheel”. In the tank-to-wheel scope, the exhaust emissions from fuel combustion (indicated as "vehicle use" in this excel) are considered.
  • thumb
    03
    27 มิ.ย. 2565
    โครงการ นวัตกรรมชุดตรวจแอนติเจนจำเพาะต่อโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019
    ชุดตรวจแบบรวดเร็วเพื่อตรวจหาแอนติเจนที่จำเพาะต่อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ด้วยหลักการอิมมูโนโครมาโตกราฟีเพื่อตรวจหาแอนติเจนจำเพาะของไวรัส ผลิตและจัดจำหน่ายชุดตรวจแอนติเจนจำเพาะต่อโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2564
  • thumb
    10 พ.ย. 2565
    นักวิจัยผุดไอเดีย นำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ผลิตขั้วไฟฟ้าของตัวเก็บประจุยิ่งยวดร่วมกับกรดเลวูลินิค
    ฟอสซิลถูกนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญในการผลิตพลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อน และการผลิตข้าวของเครื่องใช้มากมาย อย่างไรก็ตาม การใช้ฟอสซิลยังมีข้อจำกัดต่าง ๆ มากมาย อาทิ การเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป และผลกระทบที่เกิดจากการเผาไหม้ คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจก ซึ่งคงค้างอยู่ในชั้นบรรยากาศโลก ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบนิเวศของโลก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวัฒน์ นาคะสรรค์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะผู้วิจัย จึงมีความสนใจในการทำการศึกษาวิจัยเพื่อหาแนวทางในการส่งเสริมการลดการใช้ฟอสซิล โครงการวิจัยนี้ ผู้วิจัยจึงนำเหง้ามันสำปะหลังมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตกรดเลวูลินิค โดยนำมาปรับสภาพเบื้องต้นด้วยด่าง เพื่อดึงองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เซลลูโลสออก ซึ่งจะได้ของแข็งที่มีเซลูโลสเป็นองค์ประกอบหลัก ผลการศึกษาดังกล่าวพบว่า จะทำให้ปริมาณการใช้ฟอสซิลภายในประเทศลดลง ประเทศไทยมีขั้วไฟฟ้าของตัวเก็บประจุยิ่งยวดที่ผลิตได้จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ซึ่งจะเป็นขั้วไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพดีและมีราคาถูกกว่าขั้วไฟฟ้าทั่วไปในท้องตลาด และสามารถสร้างมูลค่าให้กับเหง้ามันสำปะหลังได้ ซึ่งจะทำให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังมีรายได้มากขึ้น
  • thumb
    02 03
    2 ก.ย. 2565
    โครงการสำรวจติดตามพฤติกรรมบริโภคเครื่องดื่มที่มีรสหวานฯ
    โครงการวิจัย การสำรวจติดตามพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีรสหวานของคนไทย ภายหลังการออกมาตรการเก็บภาษีสรรพสามิตในเครื่องดื่มที่มีรสหวาน ปีที่ 3 พ.ศ. 2564 ดำเนินการโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการขับเคลื่อนนโยบาย เครือข่ายลดบริโภคหวาน และสื่อสารสร้างความรอบรู้ด้านอาหารเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ โครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีรสหวานของคนไทยต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 (ปี 2564) ภายหลังจากที่มาตรการเก็บภาษีสรรพสามิตในเครื่องดื่มที่มีรสหวาน พร้อมทั้งศึกษาการรับรู้ของคนไทยต่อการออกมาตรการทางภาษีนี้ โดยมีการเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมิย. 2564-มิย.2565 ทั้งหมด 9 จังหวัด เพื่อเป็นตัวแทนระดับประเทศ แต่ละภาคของประเทศจะนำเสนอผลจำแนกตามเขตการปกครอง คือ ในเขตเทศบาล และนอกเขตเทศบาล ซึ่งเก็บข้อมูลทุกคนที่อยู่ในครัวเรือนที่ถูกสุ่ม โดยเก็บจากบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มอายุ ได้แก่ 1) อายุ 6-14 ปี 2) อายุ 15-59 ปี และ 3) อายุ 60 ปีขึ้นไป และในแต่ละกลุ่มอายุได้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ เพศชาย และเพศหญิง ผลการศึกษาสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มที่มีรสหวานของคนไทย ภายหลังการออกมาตรการเก็บภาษีสรรพสามิตในเครื่องดื่มที่มีรสหวาน ปีที่ 3 พ.ศ. 2564 พบว่า แนวโน้มการดื่มโดยรวมเพิ่มขึ้นจากปี 2562 (356.9 มิลลิลิตร และ 395.6 มิลลิลิตร ตามลำดับ) โดยเพศชายมีปริมาณการดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวานเฉลี่ยรวมมากกว่าเพศหญิงทั้งสามปี หากพิจารณาตามกลุ่มอายุ พบว่า ทุกกลุ่มอายุมีการดื่มเพิ่มขึ้นจากปี 2562 โดยกลุ่มวัยทำงานตอนต้นจะมีปริมาณการดื่มทั้งสามปีมากกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ สำหรับเขตที่อยู่อาศัย พบว่า ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาลมีปริมาณการกินเครื่องดื่มที่มีรสหวานเฉลี่ยรวมมากที่สุดในปี 3 และผู้ที่อาศัยอยู่ในภาคกลางจะมีปริมาณการดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวานในทั้งสามปีมากที่สุด ถ้าพิจารณาด้านอาชีพ พบว่า ผู้ที่ไม่ได้ทำงาน อาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ และอาชีพรับจ้าง มีปริมาณการกินเครื่องดื่มที่มีรสหวานเฉลี่ยรวมลดลงตั้งแต่ปี 2561 ถึงปี 2564 ส่วนอาชีพธุรกิจส่วนตัว/ค้าขายมีแนวโน้มปริมาณการกินเครื่องดื่มที่มีรสหวานเฉลี่ยรวมเพิ่มขึ้นทุกปี สำหรับรายได้ พบว่า ผู้ที่มีรายได้ส่วนใหญ่มีปริมาณการกินเครื่องดื่มที่มีรสหวานเฉลี่ยรวมลดลงในปี 2562 และเพิ่มขึ้นในปี 2564 ยกเว้นกลุ่มที่ไม่มีรายได้ที่เพิ่มขึ้นในปี 2562 และลดลงในปี 2564 นอกจากนี้ ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นพฤติกรรมที่อาจมีอิทธิพลต่อการดื่ม ได้แก่ การโฆษณา และราคาเครื่องดื่ม โดยพบว่า เกือบ 1 ใน 5 ของกลุ่มตัวอย่างเห็นโฆษณาเครื่องดื่มแล้วส่งผลต่อการอยากลองเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 18.3) โดยกลุ่มเด็กเล็กเกือบครึ่งเป็นกลุ่มที่เห็นโฆษณาเครื่องดื่มแล้วส่งผลต่อการอยากลองเครื่องดื่มมากที่สุด (ร้อยละ 46.8) ส่วนพฤติกรรมการดื่ม ถ้าหากมีการปรับราคาเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 กลุ่มตัวอย่างกว่า 3 ใน 5 ยังคงไม่เปลี่ยนพฤติกรรมยังคงดื่มเหมือนเดิม (ร้อยละ 60.6) และความรู้เรื่อง “ปริมาณน้ำตาลที่ควรบริโภคต่อวัน คือ ไม่ควรเกิน 6 ช้อนชาต่อวัน” กลุ่มตัวอย่างกว่า 4 ใน 5ยังไม่ทราบข้อมูลการบริโภคที่ถูกต้อง (ร้อยละ 82.9) จากผลการสํารวจในปีที่ 3 นี้ ชี้ให้เห็นว่า แต่กลุ่มที่มีการดื่มสูงยังคงเป็นกลุ่มเด็กวัยเรียนและวัยทำงานตอนต้น และเด็กส่วนใหญ่ต้องเรียนออนไลน์อยู่ที่บ้าน และวัยทำงานยังคงมีการทำงานที่บ้าน ทำให้มีโอกาสดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวานเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับอิทธิพลของสื่อที่อาจจะส่งผลต่อการบริโภค โดยสอดคล้องกับการเรื่องอิทธิพลจากการโฆษณาที่เกือบครึ่งหนึ่งของกลุ่มเด็กวัยเรียนที่ตอบว่าโฆษณาเครื่องดื่มส่งผลต่อการอยากลองเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นมากที่สุด รองลงมา คือ กลุ่มวัยทำงานตอนต้น การเปลี่ยนแปลงปริมาณการดื่มในภาวะวิกฤติเมื่อเปรียบเทียบกับภาวะปกติในปีที่ 1 และ 2 การชะลอการขึ้นภาษีเครื่องดื่มในรอบที่ 3 อาจส่งผลต่อความต่อเนื่องการประสิทธิผลของการใช้มาตรการภาษีของรัฐในการช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มได้เช่นกัน ซึ่งผลการศึกษานี้พบว่า หากราคาเครื่องดื่มเพิ่มไปถึงร้อยละ 20 กลุ่มตัวอย่าง 2 ใน 5 ของคนที่ดื่มจะลดหรือเลิกการดื่มนี้
  • thumb
    03 01
    10 มี.ค. 2565
    การศึกษาวิจัยแบบพหุสาขา เพื่อหาเครื่องมือใหม่ และมาตรการการกำจัดไข้มาลาเรียจากประเทศไทย
    ไข้มาลาเรียเป็นโรคติดต่อนำโดยยุงก้นปล่อง เคยเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของประเทศไทย เคยมีผู้ป่วยถึง เกือบ500,000คนช่วงปีพ.ศ.2524 โดยมีอัตราการเสียชีวิตมากกว่า 5%
  • thumb
    17 04
    10 มี.ค. 2565
    การอบรมเชิงปฏิบัติการ: การสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
    ปัจจุบัน การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นประเด็นที่ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญ จากการที่องค์การสหประชาชาติกำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ที่ประกอบด้วย 17 เป้าหมาย
  • thumb
    11 มี.ค. 2565
    การประเมินผลกระทบของมลพิษทางอากาศต่อสุขภาพในประเทศไทย (TAPHIA)
    การดำเนินงานของโครงการวิจัย (TAPHIA) จะเริ่มดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่เกี่ยวกับความเข้มข้นของมลพิษทางอากาศ ข้อมูลประชากร รวมไปถึงสถิติการการเจ็บป่วยและการตาย นอกจากนี้เราจะเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่ ๆ
  • thumb
    15 13
    7 ต.ค. 2565
    นิเวศวิทยาและประชากรช้างป่า (Elephas maximus) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวงและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว
    โครงการศึกษานิเวศวิทยาและประชากรช้างป่า (Elephas maximus) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวงและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินและเปรียบเทียบประชากร การกระจาย และความต้องการทางนิเวศวิทยาของช้างป่า เพื่อใช้ในการวางแผนการจัดการและการอนุรักษ์ และการลดผลกระทบระหว่างช้างป่าและชาวบ้านในการอยู่ร่วมกันโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่น และสังเคราะห์กลยุทธ์การสื่อสารและพัฒนาสื่อเสริมสร้างความเข้าใจและความตระหนักในการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่าด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น โดยทำการสำรวจโดยตรงและสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบ ช่วงเวลา และสถานที่ทำกิจกรรมของช้างป่า ตลอดจนผลกระทบในพื้นที่ร่วมกับการติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่าบริเวณรอยต่อระหว่างพื้นที่เกษตรกรรมกับแนวเขตของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว พบว่าช้างป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ช้างป่าส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าชั้นกลาง (75%) พบพฤติกรรมการหากินมากที่สุดเวลา 15.01-19.00 น. พบธาตุแคลเซียมในกองมูลมากที่สุด (62.81%) พืชอาหาร พบธาตุเหล็ก (Fe) มากที่สุด (88.54%) ส่วน ขป ภูเขียว มีการกระจายใกล้เคียงกันทั้งในพื้นที่ป่าชั้นใน (34%) ป่าชั้นกลาง (30.8%) และป่าชั้นนอก (28.6%) พบการทำกิจกรรมมากที่สุดระหว่าง 22.01-24.00 น. พืชอาหารพบธาตุไนโตรเจน (N) มากที่สุด (56.16%) จากการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุแบบโลจิสติกในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จำนวน 66 ตัวอย่าง มีพื้นที่เหมาะสมมากที่สุด 169.58 ตร.กม. (18.62%) เป็นพื้นที่ราบด้านบนเทือกเขา พื้นที่เหมาะสมมาก 425.26 ตร.กม. (46.69%) พื้นที่ที่เหมาะสมปานกลาง 279.57 ตร.กม. (30.69%) ส่วนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว มีพื้นที่เหมาะสมมากที่สุด 168.24 ตร.กม. (6.5%) พื้นที่เหมาะสมมาก 983.62 ตร.กม. (37.99%) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง 704.77 ตร.กม. (27.22%)
  • thumb
    5 ก.ย. 2565
    การศึกษาการใช้ประโยชน์จากใบสับปะรดเหลือทิ้ง มุ่งสู่เป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ และใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
    งานวิจัยนี้สร้างมูลค่าเพิ่มจากของเหลือทิ้งทางการเกษตรคือ ใบสับปะรดที่ผ่านการดัดแปรเพื่อเสริมแรงพลาสติกและยางให้มีความแข็งแรง ทนอุณหภูมิ และลดการใช้งานวัสดุจากปิโตรเลียม และใช้เป็นวัสดุรองรับดูดซับโลหะหนักในน้ำเสีย หรือตัวเร่งปฏิกิริยาในการกำจัดสารอินทรีย์ในน้ำ ให้ง่ายต่อการแยก หรือนำกลับมาใช้ใหม่ โดยบางส่วนได้มีการขยายผลเชิงพาณิชย์ผ่านบริษัทสตาร์ทอัพแล้ว
  • thumb
    02
    3 ก.ย. 2565
    “ผำ” พืชจิ๋วพื้นบ้าน อาหารแห่งอนาคตสู้วิกฤตด้านอาหารและสิ่งแวดล้อม
    การพัฒนาศักยภาพของผำด้วยการเพาะเลี้ยงผำด้วยระบบเกษตรแม่นยำ ให้เป็น “อาหารแห่งอนาคต” สามารถต่อยอดสู่อุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ และเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ของประเทศไทย โดยดำเนินการในรูปแบบของธุรกิจสตาร์ทอัพ
  • thumb
    15 17
    2 ก.ย. 2565
    การวิเคราะห์ทางพันธุกรรมของการผสมพันธุ์ระหว่างชะนีมือขาว (Hylobates lar) และชะนีซ้อน (Hylobatespilatus) ในเขตสัมผัสในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ประเทศไทย
    การศึกษาพันธุกรรมด้วยไมโทคอนเดรียและไมโครแซทเทลไลท์ดีเอ็นเอ ของชะนีมือขาว ชะนีมงกุฎและชะนีลูกผสมในพื้นที่ซ้อนทับอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ พบว่า ชะนีส่วนมากในพื้นที่ซ้อนทับยังคงจับคู่กับสปีชีส์เดียวกันมากกว่าการจับคู่ข้ามสปีชีส์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีกลไกการแบ่งแยกทางการสืบพันธุ์ (reproductive isolation) ที่ป้องกันการผสมพันธุ์ข้ามชนิดกัน และรักษาการแบ่งแยกสปีชีส์ของชะนีมือขาวและชะนีมงกุฎไว้ได้
จำนวนทั้งหมด 121 รายการ