Research and Innovation for Sustainability

Research and Innovation for Sustainability
Research and Innovation for Sustainability
Goal
World class research on health & well-being and environment
การวิจัยแบบบูรณาการจากสหสาขาวิชาที่มุ่งเน้นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
การจัดหาเงินทุนสำหรับการพัฒนาธุรกิจแนวใหม่
การพัฒนางานวิจัยด้านพลังงานสะอาด ด้านพลังงานทดแทน และด้านทรัพยากรทางทะเล
Strategic Goals
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์
1. เพื่อสร้างงานวิจัยคุณภาพสูงให้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
2. เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่สนับสนุนงานวิจัยให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
3. เพื่อสร้างผลงานวิจัยเชิงนวัตกรรม
Strategic Intiatives
กลยุทธ์
1. สร้างกลุ่มวิจัยหลายรุ่นและสหสาขา (Multi-generation Researcher and Multidisciplinary) ด้วยการปรับ การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลและการตั้งกองทุนสนับสนุน
2. สนับสนุน Global Connectivity ด้วยการสร้างความร่วมมือวิจัยกับสถาบัน/โครงการวิจัยระดับนานาชาติ แบบสหสถาบันที่มี Global Impact
3. สร้างระบบสนับสนุนการวิจัยที่ครบวงจรจากต้นน้ําถึงปลายน้ํา (Research Value Chain) ด้วยการวิจัยแบบ denmand-driven และผลักดันให้เกิดการวิจัยที่ให้ผลลัพธ์ที่งานวิจัยที่มี global and social impact สามารถ นําไปใช้ประโยชน์ในสังคมและเชิงพาณิชย์
4. สร้างระบบนิเวศการวิจัยและนวัตกรรม โดยจัดหาพื้นที่รวม Research & Innovation Complex ที่ประกอบด้วย Open (multidisciplinary) Lab, Technology transfer office, Co-working Space, Business, Co-Product Design, Design Thinking เพื่อเป็นที่จัดกิจกรรม สร้างบรรยากาศการสร้างความ ร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน
5. สนับสนุนการผลักอันดับงานวิจัยเฉพาะสาขา
6. สร้างฐานศาสตร์แขนงใหม่เพื่อให้ทันต่อความต้องการของประเทศ
7. เพิ่มจํานวนนักวิจัยสําเร็จรูปอย่างรวดเร็ว
Case Study
  • thumb
    03 17
    15 ก.ย. 2566
    ความร่วมมือทางด้านวิชาการและการวิจัยนวัตกรรมอาหาร ระหว่างวิทยาลัยนานาชาติ และ บริษัท ต้นกล้าฟ้าใส ฟู้ดแคร์ เซ็นเตอร์ จำกัด
    วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล และ บริษัท ต้นกล้าฟ้าใส ฟู้ดแคร์ เซ็นเตอร์ จำกัด ได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านวิชาการและวิจัยเพื่อร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกันเพื่อการจำหน่าย รวมทั้งเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ภาคปฏิบัติของนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในด้านการวิจัยอาหาร การผลิต และการตลาด
  • thumb
    03 04 17
    4 เม.ย. 2567
    เครือข่ายความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขั้นสูงสำหรับเวชศาสตร์เขตร้อน
    เป้าหมายโดยรวมของโครงการนี้คือการเสริมสร้างความสามารถของมหาวิทยาลัยมหิดลและเครือข่ายมหาวิทยาลัยอื่นๆ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการใช้กระบวนการแบบ One Health เพื่อศึกษาและวิจัยการจัดการกับโรคเขตร้อนและโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน (zoonoses) ที่มีความสำคัญ
  • thumb
    4 เม.ย. 2567
    สารคดีชุด “SOME ONE หนึ่งในหลาย”
    สารคดีชุด “SOME ONE หนึ่งในหลาย” สารคดีที่มุ่งส่งเสริมความเข้าใจของบุคคล ชุมชน และสังคมที่อยู่นอกเหนือจากกรอบสังคมที่คุ้นเคย ผ่านแนวคิด “สังคมพหุนิยม” หรือ Pluralism ซึ่งเป็นแนวคิดที่ยอมรับความหลากหลายในสังคม ให้ความสำคัญแก่ “ความแตกต่างหลากหลาย” รวมถึงบทบาทที่ถูก “ละเลย” และ “ละเมิด” ทั้งในระดับปัจเจกและสังคม เพื่อสร้างการรับรู้ เคารพ และยอมรับในสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้คนในกลุ่มวัฒนธรรมต่าง ๆ ด้วยขันติธรรม และเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเปิดกว้างทางความคิดที่จะนำไปสู่สังคมสันติสุขอย่างยั่งยืน
  • thumb
    12 06 11
    2 เม.ย. 2567
    นวัตกรรมต้นแบบถังดักไขมันเพื่อกำจัดไขมันจากการแปรรูปอาหารและอาหารเหลือทิ้ง
    การพัฒนาถังดักไขมันในรูปแบบใหม่ให้สามารถกำจัดไขมันได้ในตัว เพื่อลดการสะสมของน้ำมันในถังดักไขมัน ลดภาระการบำรุงรักษา อีกทั้งยังสามารถลดและป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากน้ำทิ้งได้
  • thumb
    2 เม.ย. 2567
    การประยุกต์ใช้ Google Earth Engine เพื่องานด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    การประยุกต์ใช้ Google Earth Engine ในงานด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถประยุกต์เครื่องมือวิเคราะห์ที่มีให้ใน Google Earth Engine ช่วยให้การตัดสินใจในการทำงานเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • thumb
    12 07 13
    2 เม.ย. 2567
    โครงการพัฒนาสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้เป็นสำนักงานสีเขียว (Green Office) เพื่อขอการรับรองสำนักงานสีเขียว ประจำปี 2566
    การพัฒนาสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้เป็นสำนักงานสีเขียว (Green Office) โดยการตรวจประเมินเบื้องต้น (Pre-Audit) ให้คำแนะนำในการดำเนินงาน เพื่อเตรียมความพร้อม สำนักงาน/อาคารของ กฟภ. ที่ขอรับการรับรองสำนักงานสีเขียว จำนวน 11 แห่ง และตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office) ระดับประเทศ ผ่านระบบออนไลน์ (Online) จำนวน 62 แห่ง และตรวจประเมินในพื้นที่จริง (Onsite) อย่างน้อย จำนวน 11 แห่ง ตามเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียวของกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
  • thumb
    21 มี.ค. 2567
    จากเก่าสู่เก๋า: นวัตกรรมอาหารไทยโบราณ – มรดกทางวัฒนธรรมที่ล้ำค่าของมณฑลนครชัยศรี
    นวัตกรชุมชน นวัตกรรมอาหารไทยโบราณ มณฑลนครชัยศรี community innovator, traditional Thai food innovation, Nakhon Chai Si County
  • thumb
    03
    19 มี.ค. 2567
    ระบบกรอบงานอัตโนมัติเพื่อการเรียนรู้ปัญญาประดิษฐ์แบบสหพันธรัฐสำหรับรูปภาพทางการแพทย์
    “ระบบกรอบงานอัตโนมัติเพื่อการเรียนรู้ปัญญาประดิษฐ์แบบสหพันธรัฐสำหรับรูปภาพทางการแพทย์” เป็นระบบเพื่อใช้ข้อมูลรูปภาพเอกซเรย์ทรวงอกและผลวินิจฉัยจากสถาบันทางการแพทย์ต่าง ๆ นำมาฝึกฝนแบบจำลองปัญญาประดิษฐ์เชิงลึกโดยไม่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลรูปภาพทางการแพทย์ระหว่างสถาบันทางการแพทย์ เพื่อทำให้แบบจำลองปัญญาประดิษฐ์ส่วนกลางมีความสามารถและแม่นยำสูงเนื่องจากได้เรียนรู้และฝึกฝนจากชุดข้อมูลที่มีความหลากหลาย ตลอดจนสามารถเอาผลลัพธ์จากแบบจำลองปัญญาประดิษฐ์กลางไปใช้ในการสร้างระบบส่วนกลางและสนับสนุนสถาบันทางการแพทย์ที่ไม่มีระบบปัญญาประดิษฐ์ได้
  • thumb
    01 02 03
    5 มี.ค. 2567
    การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวอินทรีย์ผงเพื่อเป็นส่วนผสมอาหารในอุตสาหกรรม และผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าวอินทรีย์อัดเม็ด
    การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวอินทรีย์ผงเพื่อเป็นส่วนผสมอาหารในอุตสาหกรรม และผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าวอินทรีย์อัดเม็ด
  • thumb
    15 13
    10 ม.ค. 2567
    การจัดทำแผนผังภูมินิเวศแหล่งฟอสซิลเขาน้อยและป่าพน อุทยานธรณีโลกสตูล
    อุทยานธรณีโลกสตูลได้รับการรับรองเป็นอุทยานธรณีโลกแห่งแรกของประเทศไทยจากยูเนสโก (UNESCO) เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2561 และคณะกรรมการสภาอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO Global Geoparks Council) ได้มีมติเห็นชอบให้อุทยานธรณีโลกสตูลผ่านการประเมินซ้ำเพื่อเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก และได้รับสถานะ Green Card เมื่อปี 2566 เขาน้อยและป่าพนเป็นแหล่งธรณีและฟอสซิลที่มีความสำคัญอย่างมาก แต่ปัจจุบันยังขาดการจัดการและสิ่งอำนวยความสะดวกในการให้ความรู้แก่ผู้มาเยือน ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) จัดทำผังภูมินิเวศแหล่งฟอสซิลเขาน้อย และป่าพน ในอุทยานธรณีสตูล และ 2) พัฒนาเส้นทางการเรียนรู้แหล่งฟอสซิลเขาน้อย และป่าพน การจัดทำผังภูมินิเวศได้ใช้หลักการในเรื่องการอนุรักษ์แหล่งทรัพยากรทางธรณีที่สำคัญและการแบ่งพื้นที่ตามภูมิประเทศ ชีวภาพ ภูมิสังคมและภูมิวัฒนธรรม โดยการใช้แผนที่แสดงลักษณะทางกายภาพ การบินสำรวจภาพมุมสูงโดยโดรน แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน แผนที่ชั้นหิน และขอบเขตประกาศแหล่งอนุรักษ์ซากดึกดำบรรพ์ มาซ้อนทับและกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในแต่ละเขต การจัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติและสิ่งอำนวยความสะดวกโดยการวิเคราะห์สภาพพื้นที่ ศักยภาพและข้อจำกัด และการวิเคราะห์ผู้ใช้งาน การจัดทำคู่มือเส้นทางการท่องเที่ยวอุทยานธรณีโลกสตูล เขาน้อยและป่าพน โดยการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องของอุทยานธรณีสตูล รายละเอียดและข้อมูลเขาน้อยและป่าพน นำมาออกแบบบนหลักการที่ยังคงความถูกต้องทางวิชาการ เข้าใจง่ายและน่าสนใจ การประชุมรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนร่วม และการฝึกอบรมมัคคุเทศก์น้อยโรงเรียนกำแพงและป่าพน ผลการศึกษาได้จัดทำผังภูมินิเวศของพื้นที่เขาน้อย โดยมีพื้นที่สงวนเท่ากับ 6,511.85 ตารางเมตร (4.070 ไร่) พื้นที่อนุรักษ์ 72,834.55 ตารางเมตร (45.522 ไร่) และพื้นที่พัฒนา 1,440.07 ตารางเมตร (0.900 ไร่) และผังเฉพาะป่าพนมีพื้นที่สงวนเท่ากับ 6,339.25 ตารางเมตร (3.962 ไร่) พื้นที่อนุรักษ์ 43,769.47 ตารางเมตร (27.356 ไร่) และพื้นที่พัฒนา 29,532.45 ตารางเมตร (18.458 ไร่) ตามลำดับ โดยพื้นที่สงวนครอบคลุมพื้นที่หินที่บ่งบอกอายุหินที่แตกต่างกัน แหล่งฟอสซิล หินสาหร่าย พื้นที่อนุรักษ์คือ พื้นที่ที่ต่อเนื่องจากพื้นที่สงวน และพื้นที่พัฒนาคือ พื้นที่ที่จะเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติ พื้นที่ที่จะใช้ก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก โดยการออกแบบให้กลมกลืนกับธรรมชาติและเบียดเบียนธรรมชาติน้อยที่สุด ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายคือ ควรเร่งรัดการจัดทำแผน 5 ปี (พ.ศ.2567-2571) ของอุทยานธรณีโลกสตูล เพื่อปรับแผนให้เข้ากับแผนจังหวัดและแผนพัฒนาท้องถิ่นให้ทันกับปีงบประมาณ พ.ศ.2567 จะทำให้งานขับเคลื่อนได้ต่อเนื่อง ภายใต้แนวคิดของแผนผังภูมินิเวศ จะมองพื้นที่แหล่งฟอสซิลเป็นแหล่งธรณีที่ยึดโยงกับประชาชน (Man) ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่แหล่งฟอสซิล กับ ชีวมณฑล (Biosphere) ที่อยู่ร่วมกัน ดังนั้นจึงต้องให้ความสำคัญกับแนวคิดของการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนผ่านการจัดการพื้นที่สงวน พื้นที่อนุรักษ์และพื้นที่ใช้ประโยชน์อื่น ๆ อย่างเหมาะสมและสมดุล การมีส่วนร่วมของชุมชนต้องมีอยู่ในระดับที่สูง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการรับรู้ เข้าใจ และสร้างความตระหนักต่อบทบาทหน้าที่ของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ให้มากที่สุด จึงจะทำให้การขับเคลื่อนงานของอุทยานธรณีโลกเป็นไปอย่างตรงและบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ การออกแบบเส้นทางศึกษาธรรมชาติและสิ่งอำนวยความสะดวกเขาน้อย โดยการนำ Prehistoric scenery ของยุคออร์โดวิเชี่ยนมาใช้สร้างความสนใจให้กับโครงการ โดยการใช้ลักษณะภูมิทัศน์เดิมของพื้นที่ในส่วนด้านหน้าเป็นพื้นทีที่ช่วยบอกเล่าเรื่องราว และอาจะมีการเพิ่มองค์ประกอบภูมิทัศน์บางส่วนเพื่อช่วยส่งเสริมบรรยากาศในการเรียนรู้ โดยพื้นที่แหล่งฟอสซิลเขาน้อยจะใช้แนวคิด The Prehistoric Scenery of Nature และสำหรับป่าพน โดยการนำแนวความคิด The Journey of Natural Nature: Local-Natural trail- Enhance เน้นให้คนในชุมชน ท้องถิ่นเน้นร่วมกิจกรรม local guide, local food, local craft, local plants, local nature คู่มือเส้นทางการท่องเที่ยวอุทยานธรณีโลกสตูล เขาน้อยและป่าพน ประกอบด้วยอุทยานธรณีโลกสตูล ตารางธรณีกาล เขาน้อย และป่าพน คำสำคัญ: อุทยานธรณีสตูล เขาน้อย ป่าพน แผนผังภูมินิเวศ เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ฟอสซิล สโตรมาโตไลต์
  • thumb
    09 07 12
    20 ต.ค. 2566
    เส้นใยใบสับปะรดสำหรับสิ่งทอและอุตสาหกรรม
    TEAnity Team มุ่งมั่นในการผู้นำในการผลิตเส้นใยใบสับปะรดสำหรับงานอุตสาหกรรมต่างๆ และการจัดการของเหลืองทิ้งจากแปลงสับปะรดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
จำนวนทั้งหมด 106 รายการ