Research and Innovation for Sustainability

Research and Innovation for Sustainability
Research and Innovation for Sustainability
Goal
World class research on health & well-being and environment
การวิจัยแบบบูรณาการจากสหสาขาวิชาที่มุ่งเน้นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
การจัดหาเงินทุนสำหรับการพัฒนาธุรกิจแนวใหม่
การพัฒนางานวิจัยด้านพลังงานสะอาด ด้านพลังงานทดแทน และด้านทรัพยากรทางทะเล
Strategic Goals
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์
1. เพื่อสร้างงานวิจัยคุณภาพสูงให้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
2. เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่สนับสนุนงานวิจัยให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
3. เพื่อสร้างผลงานวิจัยเชิงนวัตกรรม
Strategic Intiatives
กลยุทธ์
1. สร้างกลุ่มวิจัยหลายรุ่นและสหสาขา (Multi-generation Researcher and Multidisciplinary) ด้วยการปรับ การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลและการตั้งกองทุนสนับสนุน
2. สนับสนุน Global Connectivity ด้วยการสร้างความร่วมมือวิจัยกับสถาบัน/โครงการวิจัยระดับนานาชาติ แบบสหสถาบันที่มี Global Impact
3. สร้างระบบสนับสนุนการวิจัยที่ครบวงจรจากต้นน้ําถึงปลายน้ํา (Research Value Chain) ด้วยการวิจัยแบบ denmand-driven และผลักดันให้เกิดการวิจัยที่ให้ผลลัพธ์ที่งานวิจัยที่มี global and social impact สามารถ นําไปใช้ประโยชน์ในสังคมและเชิงพาณิชย์
4. สร้างระบบนิเวศการวิจัยและนวัตกรรม โดยจัดหาพื้นที่รวม Research & Innovation Complex ที่ประกอบด้วย Open (multidisciplinary) Lab, Technology transfer office, Co-working Space, Business, Co-Product Design, Design Thinking เพื่อเป็นที่จัดกิจกรรม สร้างบรรยากาศการสร้างความ ร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน
5. สนับสนุนการผลักอันดับงานวิจัยเฉพาะสาขา
6. สร้างฐานศาสตร์แขนงใหม่เพื่อให้ทันต่อความต้องการของประเทศ
7. เพิ่มจํานวนนักวิจัยสําเร็จรูปอย่างรวดเร็ว
Case Study
  • thumb
    03
    13 พ.ค. 2566
    การประเมินระบบการดูแลผู้สูงอายุที่กระดูกสะโพกหักที่ผ่าตัดเร็วโดยทีมสหสาขาวิชาชีพในโรงพยาบาลนำร่องของประเทศไทยและผลกระทบของการระบาดของโควิด-19 ต่อระบบการดูแลผู้สูงอายุที่กระดูกสะโพกหัก
    การศึกษาผลกระทบของการระบาดโควิด-19 ต่อระบบการดูแลผู้สูงอายุที่กระดูกสะโพกหักที่ผ่าตัดเร็วในบริบทของโรงพยาบาลต่างรูปแบบและต่อผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วย และพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายอันจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ระบบการดูแลผู้สูงอายุที่กระดูกสะโพกหัก
  • thumb
    13 พ.ค. 2566
    การศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างอาการโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้และมลพิษในอากาศ ในชุมชนบางกอกน้อย ในโครงการสร้างรูปแบบชุมชนสุขภาพดี
    การสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับมลพิษในอากาศและโรคภูมิแพ้ให้แก่ประชากรในชุมชนบางกอกน้อย และพัฒนาระบบการแจ้งเตือน AQI พร้อมคำแนะนำในการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม และศึกษาความสัมพันธ์ของอาการโรคจมูกอักเสบกับระดับ AQI และ ฝุ่นละอองเล็ก PM 2.5
  • thumb
    9 พ.ค. 2566
    การจัดการเรียนรู้ โดยใช้เกมกระดาน “Mangrove Survivor” เพื่อส่งเสริมความเข้าใจและความตะหนักเรื่องระบบนิเวศป่าชายเลน
    Mangrove Survivor Board game ใช้ส่งเสริมความเข้าใจเรื่องป่าชายเลนซึ่งเป็นระบบนิเวศที่เชื่อมโยงพื้นดินและน้ำทะเลเข้าด้วยกัน ตัวเกมมีต้นทุนที่ในการผลิตต่ำจึงสามารถนำไปใช้ในในทุกบริบท ทั้งในและนอกห้องเรียน
  • thumb
    15 04
    11 มี.ค. 2565
    Animal Speak by Mahidol
    Animal Speak by Mahidol เป็นรายการที่สร้างความเข้าใจเรื่องสัตว์ ทำให้ผู้ชมและเด็ก ๆ เข้าใจธรรมชาติของสัตว์ สามารถอยู่ร่วมกันได้กับสิ่งมีชีวิตในโลก ปลูกฝั่งเรื่องความรับผิดชอบให้แก่เด็ก ๆ
  • thumb
    15 17
    10 ส.ค. 2565
    พฤติกรรมและบริบทเฉพาะของชะนีมือขาว (WHITE-HANDED GIBBONS)
    ดร.จันทร์เพ็ญ ศรลัมพ์ ได้มีการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่องตั้งแต่การติดตามศึกษาพืชอาหารของชะนี การกระจายเมล็ด และพลวัตป่า และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ณ แปลงศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพมอสิงโต และเรื่องนิเวศวิทยาและพฤติกรรมของชะนีมือขาวในอุทยานแหงชาติเขาใหญ่ ประเทศไทย เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 2012 และมีการดำเนินโครงการวิจัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันโครงการวิจัยที่กำลังดำเนินการ คือ ความแปรผันของเสียงร้องกับบริบทเฉพะของชะนีมือขาว โดยมี Dr. Ulrich H. Reichard จาก Southern Illinois University, USA เป็นหัวหน้าโครงการ
  • thumb
    10 ส.ค. 2565
    สร้างฝายชะลอน้ำ (CHECK DAM) แล้วได้ประโยชน์อย่างไร
    วิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดลเดิมประสบปัญหาการพังทลายของหน้าดิน เนื่องจากการชะล้างของน้ำฝน ในช่วงฤดูฝนได้ไหลเข้าท่วมสู่อำเภอไทรโยค เนื่องจากสถานที่ตั้งของวิทยาเขตกาญจนบุรีอยู่บนที่ราบเชิงเขา ทำให้สถานที่ราชการ บ้านเรือนประชาชน ถนน ได้รับความเสียหายส่งผลให้เกิดความเดือดร้อนของชุมชนในพื้นที่เทศบาลตำบลวังโพ อำเภอไทรโยค ในปี 2553 วิทยาเขตกาญจนบุรี ได้มีความร่วมมือกับ SCGP โรงงานวังศาลา ได้เข้ามาศึกษาและสำรวจการพังทลายของชั้นดินบริเวณวิทยาเขตกาญจนบุรี เพื่อร่วมหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาโดยเห็นควรให้มีการจัดสร้างฝายชะลอน้ำในพื้นที่ของวิทยาเขตกาญจนบุรี เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ทั้งนี้วิทยาเขตกาญจนบุรีจึงได้มีความร่วมมือกับทาง SCGP โรงงานวังศาลา และทุกภาคส่วนในอำเภอไทรโยค ในการเริ่มสร้างฝายชะลอน้ำขึ้นในพื้นที่ของวิทยาเขตกาญจนบุรี มาเป็นลำดับในทุกปี โดย ณ ปัจจุบัน มีฝายชะลอน้ำทั้งหมดจำนวน 427 ฝาย วัตถุประสงค์หลักของการสร้างฝายในพื้นที่มิได้เพื่อการกักเก็บน้ำเนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นเขาหินปูน มีรูพรุนใต้พื้นดินเป็นจำนวนมากไม่สามารถเก็บน้ำได้ แต่การสร้างฝายเพือชะลอน้ำ และลดความรุนแรงของน้ำเพื่อไม้ให้สูญเสียหน้าดิน อีกทั้งยังต้องการให้พื้นป่ามีความชุ่มชื้นที่ยาวนานขึ้น โดยส่วนใหญ่ฝายชะลอน้ำสร้างจากวัสดุธรรมชาติ เช่น เศษไม้ ปลายไม้ หิน สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติและไม่ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศ
  • thumb
    03 04
    23 ม.ค. 2566
    การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ของผิวกระจกตาโดยไม่ต้องอาศัย การเพาะเลี้ยงและใช้ สเต็มเซลล์ปริมาณน้อย (วิธี SLET: Simple Limbal Epithelial Transplantation)
    ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด ปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ผิวกระจกตาด้วยวิธี SLET สามารถกลับมามองเห็นได้ ใช้ชีวิตได้อีกครั้ง
  • thumb
    13
    20 ต.ค. 2565
    ความผันแปรของลมมรสุมฤดูร้อนในทวีปเอเชียสมัยโฮโลซีน : การศึกษาเพื่อสังเคราะห์ข้อมูลที่บันทึกในหินงอกและวงปีไม้จากประเทศไทยและจีน
    วงปีไม้สักและหินงอก สามารถเทียบเคียงประกอบการสร้างเส้นภูมิอากาศในอดีตย้อนหลังได้ถึง 3 ศตวรรษ รวมถึงแสดงถึงความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในพื้นที่ห่างไกล เช่น ปรากฏการณ์เอนโซ่ได้
  • thumb
    03 09 17
    23 พ.ย. 2565
    คิดค้นและพัฒนานวัตกรรม "เครื่องนวดเท้าช่วยเลิกบุหรี่"
    นวัตกรรมเครื่องนวดกดจุดเท้า เพื่อเลิกบุหรี่นี้ไม่ถือเป็นเครื่องมือแพทย์ โดยอุปกรณ์เสริมที่ใช้ตัวนำไฟฟ้า มาติดกับตัวรองเท้าในบริเวณนิ้วโป้งเท้าหรือแผ่นนวดใช้กระแสไฟฟ้าเพียง 3 โวลต์ ไม่เป็นอันตรายต่อ ผู้ใช้ โดยกระแสไฟฟ้าไปกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น เกิดการผ่อนคลาย และกระตุ้นจุดรับรสชาติและความรู้สึกที่ทำให้รสชาติบุหรี่เปลี่ยนมีการมึนงง คลื่นไส้เวลาที่สูบบุหรี่ ซึ่งอาจต่อยอดนำไปประยุกต์ใช้ในการบำบัดการเสพติดอื่น ๆ ได้ เช่น การเสพติดสุรา นวัตกรรมนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการช่วยเลิกบุหรี่ให้แก่ผู้สูบบุหรี่ที่อยากเลิกและต้องการตัวช่วย นวัตกรรมนี้ได้เสนอเป็นโครงการพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคม เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ และจะนำไปบูรณาการ เพื่อใช้ในการส่งเสริมสุขภาวะของคนไทยในระดับนโยบายต่อไป ซึ่งจากการพัฒนานวัตกรรมโดยเอาประโยชน์ของปวงชนเป็นตัวตั้งนี้ ถือเป็นพันธกิจสำคัญของมหาวิทยาลัยมหิดลตามปณิธานแห่งการเป็น "ปัญญาของแผ่นดิน" ที่สร้างสรรค์องค์ความรู้เพื่อสังคมและประเทศชาติ
  • thumb
    10 พ.ย. 2565
    นักวิจัยผุดไอเดีย นำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ผลิตขั้วไฟฟ้าของตัวเก็บประจุยิ่งยวดร่วมกับกรดเลวูลินิค
    ฟอสซิลถูกนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญในการผลิตพลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อน และการผลิตข้าวของเครื่องใช้มากมาย อย่างไรก็ตาม การใช้ฟอสซิลยังมีข้อจำกัดต่าง ๆ มากมาย อาทิ การเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป และผลกระทบที่เกิดจากการเผาไหม้ คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจก ซึ่งคงค้างอยู่ในชั้นบรรยากาศโลก ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบนิเวศของโลก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวัฒน์ นาคะสรรค์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะผู้วิจัย จึงมีความสนใจในการทำการศึกษาวิจัยเพื่อหาแนวทางในการส่งเสริมการลดการใช้ฟอสซิล โครงการวิจัยนี้ ผู้วิจัยจึงนำเหง้ามันสำปะหลังมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตกรดเลวูลินิค โดยนำมาปรับสภาพเบื้องต้นด้วยด่าง เพื่อดึงองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เซลลูโลสออก ซึ่งจะได้ของแข็งที่มีเซลูโลสเป็นองค์ประกอบหลัก ผลการศึกษาดังกล่าวพบว่า จะทำให้ปริมาณการใช้ฟอสซิลภายในประเทศลดลง ประเทศไทยมีขั้วไฟฟ้าของตัวเก็บประจุยิ่งยวดที่ผลิตได้จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ซึ่งจะเป็นขั้วไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพดีและมีราคาถูกกว่าขั้วไฟฟ้าทั่วไปในท้องตลาด และสามารถสร้างมูลค่าให้กับเหง้ามันสำปะหลังได้ ซึ่งจะทำให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังมีรายได้มากขึ้น
  • thumb
    03 09 17
    9 มิ.ย. 2565
    สภาพแวดล้อมเสมือนสำหรับการฝึกฝนผ่าตัดทางทันตกรรม
    ระบบจำลองทางทันตกรรมภายในความเป็นจริงเสมือนที่จำลองสภาพแวดล้อมของห้องผ่าตัดทางทันตกรรมแบบสามมิติ
  • thumb
    03 12 17
    11 มี.ค. 2565
    ประเทศไทยปลอดไขมันทรานส์
    งานวิจัยเรื่อง “ประเทศไทย, ประเทศปลอดไขมันทรานส์” ดำเนินการโดยสถาบันโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดลพบว่าความเข้มข้นของกรดไขมันทรานส์ในอาหารต่าง ๆ สูงกว่าค่ามาตรฐาน WHO (> 0.5 กรัม / มื้อ) เพิ่มความเสี่ยงของ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
จำนวนทั้งหมด 105 รายการ