Research and Innovation for Sustainability

Research and Innovation for Sustainability
Research and Innovation for Sustainability
Goal
World class research on health & well-being and environment
การวิจัยแบบบูรณาการจากสหสาขาวิชาที่มุ่งเน้นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
การจัดหาเงินทุนสำหรับการพัฒนาธุรกิจแนวใหม่
การพัฒนางานวิจัยด้านพลังงานสะอาด ด้านพลังงานทดแทน และด้านทรัพยากรทางทะเล
Strategic Goals
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์
1. เพื่อสร้างงานวิจัยคุณภาพสูงให้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
2. เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่สนับสนุนงานวิจัยให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
3. เพื่อสร้างผลงานวิจัยเชิงนวัตกรรม
Strategic Intiatives
กลยุทธ์
1. สร้างกลุ่มวิจัยหลายรุ่นและสหสาขา (Multi-generation Researcher and Multidisciplinary) ด้วยการปรับ การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลและการตั้งกองทุนสนับสนุน
2. สนับสนุน Global Connectivity ด้วยการสร้างความร่วมมือวิจัยกับสถาบัน/โครงการวิจัยระดับนานาชาติ แบบสหสถาบันที่มี Global Impact
3. สร้างระบบสนับสนุนการวิจัยที่ครบวงจรจากต้นน้ําถึงปลายน้ํา (Research Value Chain) ด้วยการวิจัยแบบ denmand-driven และผลักดันให้เกิดการวิจัยที่ให้ผลลัพธ์ที่งานวิจัยที่มี global and social impact สามารถ นําไปใช้ประโยชน์ในสังคมและเชิงพาณิชย์
4. สร้างระบบนิเวศการวิจัยและนวัตกรรม โดยจัดหาพื้นที่รวม Research & Innovation Complex ที่ประกอบด้วย Open (multidisciplinary) Lab, Technology transfer office, Co-working Space, Business, Co-Product Design, Design Thinking เพื่อเป็นที่จัดกิจกรรม สร้างบรรยากาศการสร้างความ ร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน
5. สนับสนุนการผลักอันดับงานวิจัยเฉพาะสาขา
6. สร้างฐานศาสตร์แขนงใหม่เพื่อให้ทันต่อความต้องการของประเทศ
7. เพิ่มจํานวนนักวิจัยสําเร็จรูปอย่างรวดเร็ว
Case Study
  • thumb
    15
    2 ก.ย. 2565
    การพัฒนาระบบการประเมินผลกระทบของระยะห่างจากชุมชนต่อสถานภาพและการกระจายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมด้วยกล้องดักถ่ายสัตว์ป่าในพื้นที่เป้าหมายขยายงานอนุรักษ์ ลุ่มน้ำตาหริ่ว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว เพื่อการวางแผนและประเมินการอนุรักษ์
    ผู้วิจัยศึกษางานอนุรักษ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 15 ชนิด ที่อยู่ในลุ่มน้ำย่อยวังโป่ง ตาหัน สีละมัน และคลองพลู จังหวัดจันทบุรี ความสง่างามของชนิดพันธุ์ ทำให้กวางป่าและกระทิงมีศักยภาพในการเป็นสิ่งมีชีวิตเรือธง (Flagship species) เพื่อสร้างพฤติกรรมอนุรักษ์ในชุมชน ในขณะเดียวกันเสือลายเมฆรวมถึงหมาในซึ่งเป็นผู้ล่าระดับบนก็มีศักยภาพในการเป็นสิ่งมีชีวิตให้ร่มเงาแก่สิ่งมีชีวิตชนิดอื่น (Umbrella species) ได้ต่อไป
  • thumb
    13 02
    1 ก.ย. 2565
    โครงการพลิกฟื้นวิถีสังคมและระบบนิเวศสังคมกลุ่มชาติพันธุ์ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก Climate change Resilience of Indigenous SocioEcological systems (RISE)
    ปฏิญญาสากลว่าด้วยเรื่องสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ประกาศโดยสหประชาชาติให้ความสำคัญกับสิทธิในการอยู่อาศัยในแผ่นดิน เขตแดน และใช้ประโยชน์ทรัพยากรซึ่งกลุ่มชาติพันธุ์นั้นได้อยู่กินมาตั้งแต่บรรพกาลได้ครอบครอง ได้อาศัย ใช้ประโยชน์มาตั้งแต่อดีต ในบริบทนี้กลุ่มชาติพันธุ์มีสิทธิกินอยู่ มีสิทธิหาอาหาร และดำเนินวิถีชีวิตตามประเพณีต่อเนื่อง ทำให้การดูแลระบบอาหารดั้งเดิมตามประเพณีอย่างยั่งยืนนั้น เป็นประเด็นสำคัญเร่งด่วนซึ่งที่ประชุมสหประชาชาติได้ให้ความสำคัญ โดยกำหนดเป็นวาระสำคัญอย่างถาวร (United Nations Permanent Forum of Indigenous Peoples’ Issues: UNPFII) เพื่อกลุ่มชาติพันธุ์อย่างเป็นทางการ
  • thumb
    04 11 15
    31 ส.ค. 2565
    SIREEPARK 360 Virtual Tour
    ม.มหิดล เปิดโลกเมตาเวิร์สท่องอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติครั้งแรก แม้วิกฤติ COVID-19 จะทำให้ “แลนด์มาร์ค” (landmark) หรือสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าประทับใจหลายจุดในประเทศไทยต้องหลับใหลงดเปิดให้บริการเยี่ยมชม แต่ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลจะไม่ทำให้ระยะทาง เวลา หรืออุปสรรคใดๆ มาคอยขวางกั้น “ห้องเรียนธรรมชาติ” จากสมุนไพรนานาชนิด สู่โลกแห่งการเรียนรู้ที่ไร้ขีดจำกัด นับเป็นครั้งแรกของ “อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ” แห่งโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นหนึ่งใน “แลนด์มาร์ค” ที่สำคัญของจังหวัดนครปฐม ที่จะได้ “ย่อโลก” สมุนไพรนานาชนิด และธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ ในพื้นที่ 140 ไร่ ซึ่งนับเป็นความภาคภูมิใจของ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะ “ปัญญาของแผ่นดิน” เข้าสู่ “โลกแห่งเมตาเวิร์ส” เพื่อการเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุดในโลกเสมือนจริง
  • thumb
    02 14 17
    31 ส.ค. 2565
    จากองค์ความรู้สู่การพัฒนากลยุทธ์ต้านโรคกุ้งตายด่วน (From research to strategies to control shrimp early mortality syndrome (EMS))
    ปี พ.ศ. 2555 อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลพบการระบาดอย่างรุนแรงของโรคกุ้งตายด่วน ส่งผลให้ผลผลิตกุ้งทั่วประเทศลดลงถึงร้อยละ 50 หน่วยวิจัยฯ ได้ค้นพบแบคทีเรียสาเหตุ และทำวิจัยต่อเนื่อง จนค้นพบกลไกการก่อโรคและการแพร่กระจาย โดยผลการประเมินระหว่างปี พ.ศ. 2562-2564 พบว่าผลงานวิจัยดังกล่าวก่อให้เกิดผลประโยชน์ด้านการบริโภคในประเทศและการส่งออกกุ้งเป็นมูลค่า 104.82 และ 625.29 ล้านบาท ตามลำดับ
  • thumb
    15
    29 ส.ค. 2565
    งานวิจัย เรื่อง "การค้นหาและพัฒนาดีเอ็นเอเครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์ของน้อยหน่าเครือด้วยเทคโนโลยี การวิเคราะห์ลำดับเบสยุคใหม่"
    น้อยหน่าเครือ (Kadsura spp.) ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพืชที่อยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ และเป็นผลไม้มีคุณค่าทางอาหารสูงและมีคุณสมบัติทางยาในหลาย ๆ ดังนั้น การศึกษาวิจัยความหลากหลายทางพันธุกรรมและการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน จึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป
  • thumb
    06 14
    25 ส.ค. 2565
    การบำบัดน้ำจากบ่อเลี้ยงกุ้งเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
    น้ำที่ผ่านการบำบัดแล้ว สามารถนำกลับมาเลี้ยงกุ้งได้อีก โดยไม่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและความแข็งแรงของกุ้ง เป็นการรักษาสภาพแวดล้อม สมดุลทางธรรมชาติและสัตว์น้ำตลอดจนสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน
  • thumb
    04 17
    24 ส.ค. 2565
    โครงการสัมมนาวิชาการ การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ครั้งที่ 7 : นวัตกรรมการสอนและการเรียนรู้ในโลกยุคดิจิทัล
    สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการจัดโครงการงานสัมมนาวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนครั้งที่ 3 ได้จัดขึ้นภายใต้ theme หลัก คือ นวัตกรรมการสอนและการเรียนรู้ในโลกยุคดิจิทัล โดยมีภาคีหลักในการจัดสัมมนาวิชาการ คือ สถาบันคลังสมองของชาติ สำนักนวัตกรรมการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น สถาบันการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • thumb
    24 ส.ค. 2565
    การพัฒนามันสำปะหลังพันธุ์พิรุณ
    พัฒนาและคัดเลือกสายพันธุ์มันสำปะหลังให้มีปริมาณแป้งและผลผลิตที่สูงขึ้น รวมทั้งมีความต้านทานต่อโรคใบด่าง โดยการคัดเลือกนั้นจะเป็นการผสมผสานการคัดเลือกและพัฒนาสายพันธุ์มันสำปะหลังแบบดั้งเดิม ร่วมกับการนำเครื่องหมายโมเลกุลที่สัมพันธ์กับลักษณะดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการคัดเลือก
  • thumb
    24 ส.ค. 2565
    งานวิจัย เรื่อง "กุ้งก้ามกรามแปลงเพศ MU1"
    เป็นการวิจัยและพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีด้านชีวโมเลกุล โดยการนำกุ้งก้ามกรามเพศผู้ที่ปลอดโรค สุขภาพดี โตเร็ว มากระตุ้นให้เกิดการแปลงเพศเป็นเพศเมียด้วยสารประกอบชีวโมเลกุล (คำขอรับสิทธิบัตรเลขที่ 181006124) ผ่านกรรมวิธีการการผลิตกุ้งแปลงเพศ (คำขอรับสิทธิบัตรเลขที่ 181006125) สำหรับกระตุ้นการแปลงเพศ จนกระทั่งได้กุ้งก้ามกรามเพศผู้ที่มีเพศสภาพภายนอกเป็นเพศเมีย เมื่อนำไปผสมกับพ่อพันธุ์กุ้งก้ามกราม ก็จะให้ลูกก้ามกรามเพศผู้
  • thumb
    05 01 04
    24 ก.ค. 2565
    การส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการสตรีและเสริมสร้างภาวะผู้นำของสตรีข้ามเพศในภาคธุรกิจ (Capacity Building for Female Entrepreneurs and Leadership Learning Program for Transwomen in Business Organizations)
    โครงการที่มุ่งเป้าการพัฒนาควาสมเป็นผู้นำองค์กร และ ทักษะในการประกอบการยุคใหม่ทั้งดิจิตัลเทตโนโลยี การบริหารองค์กร และ การจัดการทรัพยากรเพื่อผู้ประกอบการสตรี และ ผู้นำสตรีข้ามเพศ
  • thumb
    8 ก.ค. 2565
    โครงการทบทวนสถานการณ์สุขภาวะเด็กไทยและความเหลื่อมล้ำตามกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
    การปกป้องเด็กจากความรุนแรงในทุกรูปแบบ เป็นสิทธิพื้นฐานที่ระบุไว้ในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็ก (United Nations Convention on the Right of the Child: CRC) ซึ่งประกอบด้วยสิทธิของเด็ก 4 ด้านด้วยกัน ได้แก่ สิทธิที่จะมีชีวิตรอด สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา และสิทธิที่จะมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ถูกบรรจุไว้ในวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ.2030 (The 2030 Agenda for Sustainable Development) โดยเด็กทุกคนต้องได้รับการปกป้องคุ้มครองสิทธิในการดำรงชีวิตอย่างปราศจากความหวาดกลัว การถูกละเลย การถูกทารุณกรรม และการถูกแสวงหาผลประโยชน์ ทั้งนี้ รวมไปถึงความรุนแรงและการปฏิบัติที่เป็นอันตราย เช่น การบังคับให้แต่งงานในวัยเด็ก การขลิบอวัยวะเพศ การใช้แรงงานเด็ก การจ้างงาน และใช้เด็กในการทหารด้วย
  • thumb
    03 16 17
    7 ก.ค. 2565
    โครงการวัคซีนเพื่อรับมือปัญหา: การศึกษาภูมิคุ้มกันในโลกดิจิทัล (Digital Resilience) และ Cyberbullying ของกลุ่มนักเรียนระดับมัธยมศึกษาใน 5 ภูมิภาคของประเทศไทย
    ปัญหาการรังแกกันในพื้นที่ออนไลน์ (Cyberbullying) ในกลุ่มเยาวชนอยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วง จากงานวิจัยพบว่าเยาวชนเป็นผู้กระทำ ร้อยละ 43 เป็นผู้ถูกกระทำ ร้อยละ 49 และเป็นผู้พบเห็น ถึงร้อยละ 76 ซึ่งรูปแบบความรุนแรงที่พบมากที่สุด คือ การถูกด่าทอ โจมตี ข่มขู่ออนไลน์ ซึ่งจากการวิจัยยังพบว่าพฤติกรรมการรังแกในพื้นที่ออนไลน์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ มากมาย เช่น ผู้ถูกรังแกมีแนวโน้มที่จะมีเกรดเฉลี่ยน้อย มีแนวโน้มที่จะขาดเรียน ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่มีการป้องกัน อยู่ในภาวะซึมเศร้าที่สูงกว่ากลุ่มที่ไม่ถูกรังแก และจากการศึกษาหลาย ๆ ชิ้นก็สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการถูกรังแกในพื้นที่ออนไลน์นั้น นำไปสู่ผลกระทบในมิติสุขภาพ คือ ทำให้เกิดความเครียด วิตกกังวล หดหู่ และไม่สบายใจ ความรู้สึกเหล่านี้ก็จะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว อาจทำให้นอนไม่หลับ คิดมาก และในกรณีที่ร้ายแรงมาก อาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ในที่สุด จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้เห็นถึงความไม่ปลอดภัยของโลกออนไลน์ที่สามารถคุกคามสุขภาวะของผู้ใช้สื่อออนไลน์ได้ ถ้าผู้ใช้เหล่านั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเยาวชนที่ขาดภูมิคุ้มกันในการใช้สื่ออย่างปลอดภัย การรับมือกับความไม่ปลอดภัยในโลกออนไลน์รูปแบบต่าง ๆ จำเป็นต้องใช้องค์ความรู้ ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น การส่งเสริมให้เยาวชนแค่มี “ทักษะการรู้เท่าสื่อ” เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอแล้วสำหรับโลกยุคดิจิทัลที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน การมีภูมิคุ้มกันในโลกดิจิทัล (Digital Resilience) จึงอาจจะเป็นในวิธีการใหม่ที่จะช่วยส่งเสริมให้เยาวชนเกิดการใช้สื่อออนไลน์ได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ และสร้างให้พวกเขาเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีวัคซีนที่จะสามารถรับมือกับปัญหาความไม่ปลอดภัยในโลกออนไลน์ได้ ซึ่งทักษะที่สำคัญของคนที่มีภูมิคุ้มกันในโลกดิจิทัล คือ ทักษะการคิดวิเคราะห์ มีความรับผิดชอบต่อสังคมออนไลน์ รู้วิธีและแหล่งที่จะขอความช่วยเหลือ รู้จักที่จะปกป้องผู้อื่น และรู้กฎหมายสื่อออนไลน์
จำนวนทั้งหมด 105 รายการ