Research and Innovation for Sustainability

Research and Innovation for Sustainability
Research and Innovation for Sustainability
Goal
World class research on health & well-being and environment
การวิจัยแบบบูรณาการจากสหสาขาวิชาที่มุ่งเน้นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
การจัดหาเงินทุนสำหรับการพัฒนาธุรกิจแนวใหม่
การพัฒนางานวิจัยด้านพลังงานสะอาด ด้านพลังงานทดแทน และด้านทรัพยากรทางทะเล
Strategic Goals
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์
1. เพื่อสร้างงานวิจัยคุณภาพสูงให้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
2. เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่สนับสนุนงานวิจัยให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
3. เพื่อสร้างผลงานวิจัยเชิงนวัตกรรม
Strategic Intiatives
กลยุทธ์
1. สร้างกลุ่มวิจัยหลายรุ่นและสหสาขา (Multi-generation Researcher and Multidisciplinary) ด้วยการปรับ การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลและการตั้งกองทุนสนับสนุน
2. สนับสนุน Global Connectivity ด้วยการสร้างความร่วมมือวิจัยกับสถาบัน/โครงการวิจัยระดับนานาชาติ แบบสหสถาบันที่มี Global Impact
3. สร้างระบบสนับสนุนการวิจัยที่ครบวงจรจากต้นน้ําถึงปลายน้ํา (Research Value Chain) ด้วยการวิจัยแบบ denmand-driven และผลักดันให้เกิดการวิจัยที่ให้ผลลัพธ์ที่งานวิจัยที่มี global and social impact สามารถ นําไปใช้ประโยชน์ในสังคมและเชิงพาณิชย์
4. สร้างระบบนิเวศการวิจัยและนวัตกรรม โดยจัดหาพื้นที่รวม Research & Innovation Complex ที่ประกอบด้วย Open (multidisciplinary) Lab, Technology transfer office, Co-working Space, Business, Co-Product Design, Design Thinking เพื่อเป็นที่จัดกิจกรรม สร้างบรรยากาศการสร้างความ ร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน
5. สนับสนุนการผลักอันดับงานวิจัยเฉพาะสาขา
6. สร้างฐานศาสตร์แขนงใหม่เพื่อให้ทันต่อความต้องการของประเทศ
7. เพิ่มจํานวนนักวิจัยสําเร็จรูปอย่างรวดเร็ว
Case Study
  • thumb
    6 ก.ค. 2565
    โครงการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสิทธิประโยชน์ในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ของผู้พิการ
    การเข้าถึงการสื่อสารวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ของผู้พิการเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่อาจกล่าวได้ว่า ในอดีตผู้ประกอบการหรือผู้ผลิตรายการไม่ได้คำนึงถึง หรืออาจจะคำนึงเป็นกลุ่มสุดท้าย อาจเป็นเพราะสื่อกระจายเสียงของไทยดำเนินการเชิงพาณิชย์เป็นส่วนใหญ่ ทำให้ผู้ประกอบการคำนึงถึงผู้ชมทั่วไป มุ่งผลิตรายการตอบสนองคนทั่วไป เพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจที่แปรผันตามจำนวนผู้ชมรายการ ทำให้ผู้พิการที่มีจำนวนน้อยมากเปรียบเทียบเชิงปริมาณกับคนทั่วไปถูกละเลยและถูกละเมิดมาโดยตลอด เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและแผนแม่บท และขยายแนวคิดในเรื่องการรู้เท่าสื่อและร่วมกันสร้างสังคมที่เท่าเทียม ปราศจากการเลือกปฏิบัติ และสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขบนความแตกต่างการนับถือกันและกันในฐานะเพื่อนมนุษย์ สำนักพัฒนาองค์กรวิชาชีพและส่งเสริมการบริการอย่างทั่วถึง (ชส.) จึงเห็นความสำคัญของการดำเนินโครงการพัฒนาชุดการเรียนรู้สำหรับผู้พิการเพื่อสร้างเสริมความตระหนักในเทคโนโลยีการเข้าถึง หรือรับรู้ และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เพื่อส่งเสริมให้ผู้พิการมีความรู้ ความเข้าใจ ในสิทธิและประโยชน์ในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารรวมตลอดถึงการใช้ประโยชน์จากสื่อได้อย่างรู้เท่าทัน และเพื่อให้ผู้พิการตระหนักในสิทธิของตนเอง สามารถเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร ผ่านกิจการโทรทัศน์ได้อย่างเท่าเทียมต่อไป
  • thumb
    30 มิ.ย. 2565
    โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมในการออกแบบนวัตกรรมถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะสำหรับทุกคน
    ที่ผ่านมาผู้พิการทางการเห็นมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะค่อนข้างน้อย อันเนื่องมากจากถังขยะที่ใช้หลักการของสีเป็นตัวแบ่งแยกขยะ ซึ่งเป็นข้อจำกัดยิ่งสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องหรือพิการทางการเห็น จึงได้มีการจัดทำโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมในการออกแบบนวัตกรรมถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะสำหรับทุกคนเป็นผลผลิตหลัก ซึ่งได้มีการยื่นจดอนุสิทธิบัตรในชื่อ “ระบบการแยกถังขยะด้วยเสียง” ตามหนังสือสำคัญการจดทะเบียนอนุสิทธิบัตร เลขที่ 17547 ออกให้ ณ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2564 มีวัตถุประสงค์โครงการ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทิ้งขยะและปัญหาในการคัดแยกขยะของคนพิการทางการเห็น 2) เพื่อออกแบบนวัตกรรมถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะสำหรับทุกคน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจและพฤติกรรมหลังการใช้นวัตกรรมถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะ โครงการนี้เกิดประโยชน์ของโครงการ ดังนี้ 1) ได้นวัตกรรมถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะสำหรับทุกคนที่คนพิการทางการเห็นใช้งานได้จริง คัดแยกขยะได้จริงเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของคนพิการทางการเห็น 2) ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมการทิ้งขยะและปัญหาการคัดแยกขยะของคนพิการทางการเห็น 3) สร้างจิตสำนึกในการคัดแยกขยะให้กับคนพิการทางการเห็น 4) กระตุ้นให้คนทั่วไปเกิดจิตสำนึกในการคัดแยกขยะมากขึ้นเพื่อเห็นตัวอย่างจากการปฏิบัติของคนพิการทางการเห็นที่ยังสามารถคัดแยกขยะได้ 5) เปิดโอกาสให้คนพิการทางการเห็นได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาของสังคมเท่าเทียมกับคนทั่วไป 6) การเผยแพร่ผลการศึกษาในวารสารวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ
  • thumb
    03
    27 มิ.ย. 2565
    ศูนย์เรียนรู้ สร้างเสริมสุขภาวะ รพ.ศิริราช - นิทรรศการสุขภาวัฒนะ
    นิทรรศการสุขภาวัฒนะ จุดบริการความรู้ด้านสุขภาพ ใช้เทคโนโลยีหลายชนิด นำเสนอเนื้อหาวิชาการให้ง่ายต่อการเข้าใจ สร้างประสบการณ์ที่ดีในการเรียนรู้ ประกอบด้วยเนื้อหาพื้นฐานด้านสุขภาพ 23 หัวข้อ แบ่งเป็น 3 หมวด ได้แก่ การปฎิบัติตัว กลุ่มโรคที่พบบ่อย และการดูแลสุขภาพช่วงวัย
  • thumb
    03
    27 มิ.ย. 2565
    การศึกษาแบบจำลองการติดเชื้อไวรัสเด็งกี่ในสภาวะควบคุม ประเทศไทย (The Controlled Dengue Human Infection Model in Thailand)
    การสร้างระบบการคัดเลือกวัคซีนทดสอบ หรือ ยาต้านไวรัสไข้เลือดออกในมนุษย์ โดยการให้อาสาสมัครที่ได้รับเชื้อไวรัสเด็งกี่อ่อนฤทธิ์ เป็นแบบจำลองหรือตัวแทนของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่มีการติดเชื้อในธรรมชาติ และทำการศึกษาวิเคราะห์ประสิทธิภาพของยาหรือวัคซีนทดสอบ จากตัวอย่างเลือดของอาสาสมัครในการยับยั้งการเพิ่มจานวนของไวรัสเด็งกี่ และภูมิต้านทานที่มีการเปลี่ยนแปลงหลังจากได้รับยาหรือวัคซีนนั้นๆ เพื่อคัดเลือกยาหรือวัคซีนทดสอบที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด ก่อนที่จะนาไปทดสอบทางคลินิกในอาสาสมัครจานวนมาก ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาและต้นทุน รวมถึงเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการพัฒนายาต้านไวรัสและวัคซีน
  • thumb
    03
    27 มิ.ย. 2565
    งานวิจัยบูรณาการแบบมุ่งเป้าสู่กลยุทธ์ในการป้องกันและรักษาโรคไข้เลือดออกที่มีประสิทธิภาพ
    งานวิจัยบูรณาการแบบมุ่งเป้าสู่กลยุทธ์ในการป้องกันและรักษาโรคไข้เลือดออกที่มีประสิทธิภาพ - โครงการย่อย: ยาต้านไวรัสออกฤทธิ์กว้าง: การเตรียมพร้อมต่อโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ (Broad-spectrum antivirals: a preparedness for emerging infectious diseases) - การวิจัยขั้นพื้นฐานเพื่อค้นหาตัวบ่งชี้ทางชีวภาพที่ใช้ในการวินิจฉัยและยาต้านไวรัสที่ใช้ในการรักษาโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น (Fundamental research towards identifying potential biomarkers and antiviral drugs for improvement in dengue prognosis and treatment)
  • thumb
    03
    27 มิ.ย. 2565
    CHATBOT ให้คำแนะนำปัญหาการติดเกม
    "น้องติ๊กต็อก" แชตบอตแมวนักจิตวิทยา เยียวยาลูกหลานติดเกม
  • thumb
    03
    27 มิ.ย. 2565
    โครงการ นวัตกรรมชุดตรวจแอนติเจนจำเพาะต่อโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019
    ชุดตรวจแบบรวดเร็วเพื่อตรวจหาแอนติเจนที่จำเพาะต่อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ด้วยหลักการอิมมูโนโครมาโตกราฟีเพื่อตรวจหาแอนติเจนจำเพาะของไวรัส ผลิตและจัดจำหน่ายชุดตรวจแอนติเจนจำเพาะต่อโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2564
  • thumb
    03
    23 มิ.ย. 2565
    การพัฒนารูปแบบในการส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในนักเรียนมัธยมศึกษา
    สถานการณ์ปัจจุบัน ประชากรทุกช่วงวัยมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาสุขภาพจิตสูงขึ้น โดยเฉพาะในเด็กและวัยรุ่น คณะพยาบาลศาสตร์ ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ได้ร่วมกันพัฒนานวัตกรรม Mobile Application ภายใต้ชื่อ “MU My mind” ไปใช้ในการคัดกรองปัญหาสุขภาพจิต ส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจ และป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในนักเรียนมัธยมศึกษา ในอ.พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
  • thumb
    13 07 12
    9 มี.ค. 2565
    คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization)
    การจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization) เป็นวิธีการประเภทหนึ่งในการแสดงข้อมูลปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากการดำเนินงานขององค์กร
  • thumb
    03 04 17
    10 มี.ค. 2565
    การอบรมวิชาการคุณภาพชีวิตดี ๆ ที่ผู้ป่วยธาลัสซีเมียก็มีได้ และการให้บริการปรึกษาทางพันธุศาสตร์แก่หญิงตั้งครรภ์และสามีที่มีความเสี่ยงต่อการมีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมีย
    โรคธาลัสซีเมียเป็นโรคโลหิตจางเรื้อรังถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่พบบ่อยที่สุดในโลกรวมถึงประเทศไทย ประมาณร้อยละ 5.2 ของประชากรโลกเป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติ
  • thumb
    10 มี.ค. 2565
    มาตรฐาน MU Organic
    เกิดมาตรฐานข้าวอินทรีย์มหิดล ที่เกิดจากการร่วมคิด ระหว่างชาวนาผู้ปลูกข้าว ผู้บริโภค และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จนได้ข้อสรุปในการจัดทำมาตรฐาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเดียวกัน เพื่อแก้ปัญหาการเข้าถึงมาตรฐานของชาวนาอินทรีย์เพื่อการรับรองการผลิต และแก้ปัญหาความไม่มั่นใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อข้าวอินทรีย์
  • thumb
    10 มี.ค. 2565
    กิจกรรมสร้างเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์มหิดล
    ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการบึงบอระเพ็ด มหิดลนครสวรรค์ ได้เห็นปัญหาความมั่นใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อข้าวอินทรีย์ และปัญหาการเข้าถึงมาตรฐานของชาวนาอินทรีย์เพื่อการรับรองการผลิต
จำนวนทั้งหมด 105 รายการ