การบรรเทาและรับมือผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นเรื่องของทุกภาคส่วน โดยมหาวิทยาลัยเป็นองค์กรทางการศึกษาที่สำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาแผนการลดก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อผลกระทบ
การบรรเทาและรับมือผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นเรื่องของทุกภาคส่วน โดยมหาวิทยาลัยเป็นองค์กรทางการศึกษาที่สำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาแผนการลดก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อผลกระทบ
ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ
ปรากฎการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ มี
ความชัดเจนและรุนแรงขึ้นเรื่อยมาตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษที่ 20 นำมาสู่
ความร่วมมือในการลด และดูดซับก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน โดยทั้ง 195 ประเทศ ที่เข้าร่วม
ความตกลงปารีส หรือ Paris Agreement ในการประชุม COP21 ภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change - UNFCCC) ได้จัดทำการมีส่วนร่วมที่เป็นประเทศกำหนด (Nationally Determined Contribution – NDC) และกำหนดเป้าหมายการลด และดูซับก๊าซเรือนกระจก ปี พ.ศ. 2573 โดยประเทศไทยได้กำหนดเป้าหมายที่ร้อยละ 30-40 เปรียบเทียบกับกรณีปกติ (BAU) ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว พร้อมทั้งวางแผนการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ผ่านกองทุนสิ่งแวดล้อม ดำเนินโครงการ “การพัฒนาศักยภาพสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาแผนงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด” ในพื้นที่ 51 จังหวัด เพื่อจัดทำแผนการลดก๊าซเรือนกระจก และแผนปฏิบัติการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้รับผิดชอบจังหวัดสมุทรสงคราม
การดำเนินการ
ภายใต้การดำเนินงานโครงการ จังหวัดสมุทรสงครามได้แต่งตั้งคณะทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจังหวัดสมุทรสงคราม ประกอบด้วย 34 หน่วยงานทั้งในพื้นที่ และหน่วยงานจากส่วนกลางเข้าร่วม โดยมีการประชุมทั้งสิ้น 5 ครั้ง ซึ่งสรุปผลลัพธ์ และแผนการดำเนินงานสำหรับแต่ละการประชุมได้ดังนี้
|
ผลลัพธ์ |
แผนการดำเนินงาน |
ประชุมครั้งที่ 1 (8 มีนาคม 2566) |
|
|
ประชุมครั้งที่ 2 (8 มิถุนายน 2566) |
|
|
ประชุมครั้งที่ 3 (8 กันยายน 2566) |
|
|
ประชุมครั้งที่ 4 (24 พฤศจิกายน 2566) |
|
|
ประชุมครั้งที่ 5 (12 มกราคม 2567) |
|
|
ผลการดำเนินงาน
ในปี พ.ศ. 2562 (ปีฐาน) จังหวัดสมุทรสงครามมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับ 543,835 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยเรียงลำดับภาคส่วนที่ปล่อยมากที่สุดถึงน้อยที่สุด ได้แก่ ภาคขนส่ง (ร้อยละ 52.03)
ภาคพลังงาน (ร้อยละ 43.31) ภาคการจัดการของเสีย (ร้อยละ 8.00) และ
ภาคเกษตร ป่าไม้ และการใช้ประโยชน์ที่ดิน ตามลำดับ ทั้งนี้ ไม่มีกระบวนการอุตสาหกรรมที่เข้าข่ายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในพื้นที่ ทั้งนี้ การคาดการณ์ในปี พ.ศ. 2573 จะปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม 1,049,412 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ด้วยอัตราการเติบโตร้อยละ 6.16 ต่อปี ซึ่งในกรณีดำเนินมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกทั้ง 17 มาตรการ สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเทียบกับกรณีปกติ (BAU) ในปี 2573 ร้อยละ 10.6
ในกรณีที่จังหวัดดำเนินมาตรการเพิ่มเติม ได้แก่ การจัดตั้งศูนย์คัดแยกขยะเพื่อสนับสนุนการปรับเปลี่ยนการกำจัดขยะ โดยการเผาด้วยระบบ RDF หรือ การรวบรวมก๊าซมีเทนจากหลุมฝังกลบขยะเพื่อนำมาผลิตไฟฟ้า จะสามารถลดการปลดปล่อยได้ร้อยละ 12.0 และร้อยละ 13.2 ตามลำดับ
จากการวิเคราะห์ข้อมูลแผนที่ในรายงานแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ สามารถสรุปลักษณะความเสี่ยงของจังหวัดสมุทรสงคราม ดังนี้ สาขาการจัดการน้ำ อุทกภัยและภัยแล้ง (มีความเสี่ยงต่ำมาก) สาขาการเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร (ไม่มีความเสี่ยง) สาขาการท่องเที่ยว (ไม่มีความเสี่ยง) สาขาสาธารณสุข (มีความเสี่ยงโรคไข้เลือดออก) สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ (มีความเสี่ยงต่ำ) สาขาการตั้งถิ่นฐานและความมั่นคงของมนุษย์ (ไม่มีความเสี่ยง และมีความเสี่ยงต่ำมากในอนาคต (ปี ค.ศ. 2099 หรือ พ.ศ. 2642 โดยสรุปผลจากการพยากรณ์ตามสภาพการณ์ภูมิอากาศด้วยสถานการณ์ RCP 4.5 และ RCP 8.5) เมื่อวิเคราะห์ดัชนีความเสี่ยงจากปัจจัยที่กำหนดเองสาขาต่างๆ ทั้ง 6 สาขามีค่าอยู่ในช่วงค่อนข้างต่ำ หากเมื่อประเมินความเสี่ยงโดยพิจารณาข้อมูลเชิงพื้นที่ ในรายสาขาทั้ง 6 สาขาโดยแท้จริงแล้วจังหวัดสมุทรสงครามมีความเสี่ยงหลัก 2 ประเด็น ได้แก่
การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลส่งผลให้เกิดการรุกล้ำน้ำเค็มและน้ำทะเลหนุนสูง ทั้งนี้ ในแผนนำเสนอโครงการ จำแนกเป็นมาตรการ/ แนวทางปรับตัวเชิงกายภาพและโครงสร้างพื้นฐาน มาตรการ/ แนวทางสังคม มาตรการ/ แนวทางเชิงสถาบัน
การนำไปใช้ประโยชน์
ผลของโครงการ คือ แผนการลดก๊าซเรือนกระจก และแผนปฏิบัติการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำหรับ จังหวัดสมุทรสงคราม ประกอบกับอีก 76 จังหวัด เป็นข้อมูลให้องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนการบรรลุ Nationally Determined Contribution ในการลดก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 30-40 ภายใน พ.ศ. 2573 รวมทั้ง เตรียมรับมือผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต
ผลงานตีพิมพ์
รายงานสำหรับผู้บริหาร (Executive Summary) โครงการการพัฒนาศักยภาพสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด เพื่อพัฒนาแผนงาน
ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด (จังหวัดสมุทรสงคราม)
https://samutsongkhram.mnre.go.th/th/information/more/1869
(หัวข้อ รายงานสำหรับผู้บริหาร (Executive Summary))
ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น
โครงการมีความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐ เอกชน และ NGO อย่างครบถ้วน ผ่านกลไกการทำงานของจังหวัด ด้วยคณะทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจังหวัดสมุทรสงคราม ประกอบด้วย 34 หน่วยงานทั้งในพื้นที่ และหน่วยงานจากส่วนกลางเข้าร่วม
ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลกระทบทั่วโลก
ทุกหน่วยงานภาครัฐ เอกชน NGO ประชาชน ในจังหวัดสสมุทรสงคราม