Case Study

ผลการค้นหาทั้งหมด 231 รายการ
  • thumb
    21 มี.ค. 2567
    จากเก่าสู่เก๋า: นวัตกรรมอาหารไทยโบราณ – มรดกทางวัฒนธรรมที่ล้ำค่าของมณฑลนครชัยศรี
    นวัตกรชุมชน นวัตกรรมอาหารไทยโบราณ มณฑลนครชัยศรี community innovator, traditional Thai food innovation, Nakhon Chai Si County
  • thumb
    03
    19 มี.ค. 2567
    ระบบกรอบงานอัตโนมัติเพื่อการเรียนรู้ปัญญาประดิษฐ์แบบสหพันธรัฐสำหรับรูปภาพทางการแพทย์
    “ระบบกรอบงานอัตโนมัติเพื่อการเรียนรู้ปัญญาประดิษฐ์แบบสหพันธรัฐสำหรับรูปภาพทางการแพทย์” เป็นระบบเพื่อใช้ข้อมูลรูปภาพเอกซเรย์ทรวงอกและผลวินิจฉัยจากสถาบันทางการแพทย์ต่าง ๆ นำมาฝึกฝนแบบจำลองปัญญาประดิษฐ์เชิงลึกโดยไม่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลรูปภาพทางการแพทย์ระหว่างสถาบันทางการแพทย์ เพื่อทำให้แบบจำลองปัญญาประดิษฐ์ส่วนกลางมีความสามารถและแม่นยำสูงเนื่องจากได้เรียนรู้และฝึกฝนจากชุดข้อมูลที่มีความหลากหลาย ตลอดจนสามารถเอาผลลัพธ์จากแบบจำลองปัญญาประดิษฐ์กลางไปใช้ในการสร้างระบบส่วนกลางและสนับสนุนสถาบันทางการแพทย์ที่ไม่มีระบบปัญญาประดิษฐ์ได้
  • thumb
    01 02 03
    5 มี.ค. 2567
    การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวอินทรีย์ผงเพื่อเป็นส่วนผสมอาหารในอุตสาหกรรม และผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าวอินทรีย์อัดเม็ด
    การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวอินทรีย์ผงเพื่อเป็นส่วนผสมอาหารในอุตสาหกรรม และผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าวอินทรีย์อัดเม็ด
  • thumb
    14 ก.พ. 2567
    การพัฒนาต้นแบบการควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
    1.ลดพฤติกรรมเสี่ยงลดโรคเรื้อรังโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน “การสร้างกลไกและเสริมความเข้มแข็งให้ชุมชนขับเคลื่อนแก้ปัญหาโรคเรื้อรัง โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย แก้ปัญหาด้วยแนวทางหลากหลาย 3อ.3ส. ติดตามประเมินและถอดบทเรียน มุ่งสู่การลดพฤติกรรมเสี่ยง ลดโรคเรื้อรังอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน” 2. นวัตกรรมดิจิทัลเพื่อบริการสุขภาพชุมชนด้วยการส่งเสริมและป้องกันโรคด้วย Health Literacy ของประชาชน “ปลูกสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการใช้นวัตกรรมดิจิทัลเป็นเครื่องมือการเข้าใจปัญหาสุขภาพด้วยแกนนำชุมชน รู้เร็วและรู้จริง นำไปสู่การจัดบริการส่งเสริมและป้องกันโรคได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และบริบท”
  • thumb
    15 13
    10 ม.ค. 2567
    การจัดทำแผนผังภูมินิเวศแหล่งฟอสซิลเขาน้อยและป่าพน อุทยานธรณีโลกสตูล
    อุทยานธรณีโลกสตูลได้รับการรับรองเป็นอุทยานธรณีโลกแห่งแรกของประเทศไทยจากยูเนสโก (UNESCO) เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2561 และคณะกรรมการสภาอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO Global Geoparks Council) ได้มีมติเห็นชอบให้อุทยานธรณีโลกสตูลผ่านการประเมินซ้ำเพื่อเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก และได้รับสถานะ Green Card เมื่อปี 2566 เขาน้อยและป่าพนเป็นแหล่งธรณีและฟอสซิลที่มีความสำคัญอย่างมาก แต่ปัจจุบันยังขาดการจัดการและสิ่งอำนวยความสะดวกในการให้ความรู้แก่ผู้มาเยือน ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) จัดทำผังภูมินิเวศแหล่งฟอสซิลเขาน้อย และป่าพน ในอุทยานธรณีสตูล และ 2) พัฒนาเส้นทางการเรียนรู้แหล่งฟอสซิลเขาน้อย และป่าพน การจัดทำผังภูมินิเวศได้ใช้หลักการในเรื่องการอนุรักษ์แหล่งทรัพยากรทางธรณีที่สำคัญและการแบ่งพื้นที่ตามภูมิประเทศ ชีวภาพ ภูมิสังคมและภูมิวัฒนธรรม โดยการใช้แผนที่แสดงลักษณะทางกายภาพ การบินสำรวจภาพมุมสูงโดยโดรน แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน แผนที่ชั้นหิน และขอบเขตประกาศแหล่งอนุรักษ์ซากดึกดำบรรพ์ มาซ้อนทับและกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในแต่ละเขต การจัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติและสิ่งอำนวยความสะดวกโดยการวิเคราะห์สภาพพื้นที่ ศักยภาพและข้อจำกัด และการวิเคราะห์ผู้ใช้งาน การจัดทำคู่มือเส้นทางการท่องเที่ยวอุทยานธรณีโลกสตูล เขาน้อยและป่าพน โดยการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องของอุทยานธรณีสตูล รายละเอียดและข้อมูลเขาน้อยและป่าพน นำมาออกแบบบนหลักการที่ยังคงความถูกต้องทางวิชาการ เข้าใจง่ายและน่าสนใจ การประชุมรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนร่วม และการฝึกอบรมมัคคุเทศก์น้อยโรงเรียนกำแพงและป่าพน ผลการศึกษาได้จัดทำผังภูมินิเวศของพื้นที่เขาน้อย โดยมีพื้นที่สงวนเท่ากับ 6,511.85 ตารางเมตร (4.070 ไร่) พื้นที่อนุรักษ์ 72,834.55 ตารางเมตร (45.522 ไร่) และพื้นที่พัฒนา 1,440.07 ตารางเมตร (0.900 ไร่) และผังเฉพาะป่าพนมีพื้นที่สงวนเท่ากับ 6,339.25 ตารางเมตร (3.962 ไร่) พื้นที่อนุรักษ์ 43,769.47 ตารางเมตร (27.356 ไร่) และพื้นที่พัฒนา 29,532.45 ตารางเมตร (18.458 ไร่) ตามลำดับ โดยพื้นที่สงวนครอบคลุมพื้นที่หินที่บ่งบอกอายุหินที่แตกต่างกัน แหล่งฟอสซิล หินสาหร่าย พื้นที่อนุรักษ์คือ พื้นที่ที่ต่อเนื่องจากพื้นที่สงวน และพื้นที่พัฒนาคือ พื้นที่ที่จะเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติ พื้นที่ที่จะใช้ก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก โดยการออกแบบให้กลมกลืนกับธรรมชาติและเบียดเบียนธรรมชาติน้อยที่สุด ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายคือ ควรเร่งรัดการจัดทำแผน 5 ปี (พ.ศ.2567-2571) ของอุทยานธรณีโลกสตูล เพื่อปรับแผนให้เข้ากับแผนจังหวัดและแผนพัฒนาท้องถิ่นให้ทันกับปีงบประมาณ พ.ศ.2567 จะทำให้งานขับเคลื่อนได้ต่อเนื่อง ภายใต้แนวคิดของแผนผังภูมินิเวศ จะมองพื้นที่แหล่งฟอสซิลเป็นแหล่งธรณีที่ยึดโยงกับประชาชน (Man) ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่แหล่งฟอสซิล กับ ชีวมณฑล (Biosphere) ที่อยู่ร่วมกัน ดังนั้นจึงต้องให้ความสำคัญกับแนวคิดของการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนผ่านการจัดการพื้นที่สงวน พื้นที่อนุรักษ์และพื้นที่ใช้ประโยชน์อื่น ๆ อย่างเหมาะสมและสมดุล การมีส่วนร่วมของชุมชนต้องมีอยู่ในระดับที่สูง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการรับรู้ เข้าใจ และสร้างความตระหนักต่อบทบาทหน้าที่ของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ให้มากที่สุด จึงจะทำให้การขับเคลื่อนงานของอุทยานธรณีโลกเป็นไปอย่างตรงและบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ การออกแบบเส้นทางศึกษาธรรมชาติและสิ่งอำนวยความสะดวกเขาน้อย โดยการนำ Prehistoric scenery ของยุคออร์โดวิเชี่ยนมาใช้สร้างความสนใจให้กับโครงการ โดยการใช้ลักษณะภูมิทัศน์เดิมของพื้นที่ในส่วนด้านหน้าเป็นพื้นทีที่ช่วยบอกเล่าเรื่องราว และอาจะมีการเพิ่มองค์ประกอบภูมิทัศน์บางส่วนเพื่อช่วยส่งเสริมบรรยากาศในการเรียนรู้ โดยพื้นที่แหล่งฟอสซิลเขาน้อยจะใช้แนวคิด The Prehistoric Scenery of Nature และสำหรับป่าพน โดยการนำแนวความคิด The Journey of Natural Nature: Local-Natural trail- Enhance เน้นให้คนในชุมชน ท้องถิ่นเน้นร่วมกิจกรรม local guide, local food, local craft, local plants, local nature คู่มือเส้นทางการท่องเที่ยวอุทยานธรณีโลกสตูล เขาน้อยและป่าพน ประกอบด้วยอุทยานธรณีโลกสตูล ตารางธรณีกาล เขาน้อย และป่าพน คำสำคัญ: อุทยานธรณีสตูล เขาน้อย ป่าพน แผนผังภูมินิเวศ เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ฟอสซิล สโตรมาโตไลต์
  • thumb
    04 01 17
    29 พ.ย. 2566
    โครงการพัฒนาระบบทุนการศึกษา (ทุนเปรมดนตรี)
    กองทุนเปรมดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นด้วยความเห็นชอบของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อดีตประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ซึ่งเป็นผู้ที่มีคุณูปการต่อการศึกษาของไทย รวมทั้งการศึกษาดนตรีเป็นอย่างมาก โดยได้สนับสนุนเงินบริจาคเพื่อจัดตั้งกองทุนเปรมดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ เพื่อนำดอกผลมาส่งเสริมและสนับสนุนเป็นทุนการศึกษาด้านดุริยางคศาสตร์ของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยปีนี้ กองทุนฯได้นำเงินดอกผลมาจัดสรรเป็นทุนการศึกษาในปี 2564 เป็นปีแรก ผู้ที่ได้รับทุนผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการพิจารณา และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยดุริยางคศิลป์
  • thumb
    13 11 15
    1 พ.ย. 2566
    สวนมุมสวย
    กระตุ้นการพัฒนา/ปรับปรุงพื้นที่ว่างที่ไม่มีการใช้ประโยชน์หรือพื้นที่สีเขียวเดิมที่มีสภาพเสื่อมโทรมให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อกิจกรรมการศึกษา กีฬาหรือนันทนาการ รวมทั้งเพิ่มการเชื่อมต่อพื้นที่สีเขียวภายในมหาวิทยาลัย รวมทั้งช่วยเพิ่มการดูดกลับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยจากกิจกรรมต่างๆ
  • thumb
    31 ต.ค. 2566
    Mahidol Eco Park
    Mahidol Eco Park สวนสาธารณะเพื่อการเรียนรู้ พักผ่อนหย่อนใจท่ามกลางธรรมชาติอย่างบูรณาการ พื้นที่สีเขียวใจกลางพื้นที่โซนการศึกษา เอื้อให้นักศึกษาและบุคลากรได้ใช้โยชน์อย่างเต็มที่
  • thumb
    03
    27 ต.ค. 2566
    ความปลอดภัยในการสัญจรภายในมหาวิทยาลัย
    มหาวิทยาลัยมหิดลดำเนินโครงการรณรงค์การสวมหมวกกนิรภัย ปรับสภาพแวดล้อมบนท้องถนนโดยทาทางข้ามถนนสายหลักและถนนสายรองภายในมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ใช้ถนนและผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์
  • thumb
    01 17
    25 ต.ค. 2566
    โครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชา ตามแนวพระราชดำริ
    โครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชา ถือกำเนิดจากพระราชปณิธาณในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่จะพัฒนาระบบการศึกษาที่มีคุณภาพให้แก่เยาวชนกัมพูชา เสมือนเป็นของขวัญพระราชทานที่ยั่งยืนแก่ประชาชนแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งเป็นเพื่อนกันมายาวนาน ของขวัญ ล้ำค่านี้คือ ระบบการศึกษาทั้งสายสามัญ และสายวิชาชีพ ทำให้เกิดโรงเรียนซึ่งจัดการเรียนการสอนสองระบบ หรือ dual system อันเป็นต้นแบบของการเรียนการสอนปัจจุบัน นอกเหนือไปจากนั้นยังทรงห่วงใยในเรื่องสุขภาพอนามัยของนักเรียน ทรงเน้นว่า การศึกษาที่ดีจะต้องควบคู่ไปกับนักเรียน นักศึกษาที่มีสุขอนามัยที่ดีด้วย
  • thumb
    09 07 12
    20 ต.ค. 2566
    เส้นใยใบสับปะรดสำหรับสิ่งทอและอุตสาหกรรม
    TEAnity Team มุ่งมั่นในการผู้นำในการผลิตเส้นใยใบสับปะรดสำหรับงานอุตสาหกรรมต่างๆ และการจัดการของเหลืองทิ้งจากแปลงสับปะรดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
จำนวนทั้งหมด 231 รายการ