Case Study

ผลการค้นหาทั้งหมด 227 รายการ
  • thumb
    10 มี.ค. 2565
    ร่วมปกป้องระบบนิเวศชายฝั่งและทะเล
    IUCN เป็นองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดในโลก ในเอเชียเราทำงานร่วมกับพันธมิตรที่หลากหลายจากภาคต่าง ๆ เพื่อส่งมอบโครงการระดับโลกขององค์กรในโครงการริเริ่มที่ชี้นำโดยวิสัยทัศน์และพันธกิจร่วมของสหภาพโครงการของ IUCN
  • thumb
    16 15
    10 มี.ค. 2565
    Lecturer Workshop on Teaching Human Rights
    Since 2017, the Institute of Human Rights and Peace Studies, Mahidol University, as a convener of the Human Rights Education theme of the ASEAN University Network (AUN-HRE), and the SHAPE-SEA Program have been co-organizing annual Regional Lecturer Workshops for university lecturers from ASEAN countries with an aim to strengthen knowledge and capacity for academics and government personnel in international human rights laws.
  • thumb
    03 04 17
    27 ต.ค. 2565
    โรงเรียนส่งเสริมกิจกรรมทางกายในประเทศไทย
    การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียนให้เป็นไปได้ตามเป้าหมายสูงสุด คือ “เด็กนักเรียนทุกคนได้รับโอกาสและมีกิจกรรมทางกายอย่างมีคุณภาพและเพียงพอ”
  • thumb
    02 03
    2 ก.ย. 2565
    โครงการสำรวจติดตามพฤติกรรมบริโภคเครื่องดื่มที่มีรสหวานฯ
    โครงการวิจัย การสำรวจติดตามพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีรสหวานของคนไทย ภายหลังการออกมาตรการเก็บภาษีสรรพสามิตในเครื่องดื่มที่มีรสหวาน ปีที่ 3 พ.ศ. 2564 ดำเนินการโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการขับเคลื่อนนโยบาย เครือข่ายลดบริโภคหวาน และสื่อสารสร้างความรอบรู้ด้านอาหารเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ โครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีรสหวานของคนไทยต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 (ปี 2564) ภายหลังจากที่มาตรการเก็บภาษีสรรพสามิตในเครื่องดื่มที่มีรสหวาน พร้อมทั้งศึกษาการรับรู้ของคนไทยต่อการออกมาตรการทางภาษีนี้ โดยมีการเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมิย. 2564-มิย.2565 ทั้งหมด 9 จังหวัด เพื่อเป็นตัวแทนระดับประเทศ แต่ละภาคของประเทศจะนำเสนอผลจำแนกตามเขตการปกครอง คือ ในเขตเทศบาล และนอกเขตเทศบาล ซึ่งเก็บข้อมูลทุกคนที่อยู่ในครัวเรือนที่ถูกสุ่ม โดยเก็บจากบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มอายุ ได้แก่ 1) อายุ 6-14 ปี 2) อายุ 15-59 ปี และ 3) อายุ 60 ปีขึ้นไป และในแต่ละกลุ่มอายุได้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ เพศชาย และเพศหญิง ผลการศึกษาสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มที่มีรสหวานของคนไทย ภายหลังการออกมาตรการเก็บภาษีสรรพสามิตในเครื่องดื่มที่มีรสหวาน ปีที่ 3 พ.ศ. 2564 พบว่า แนวโน้มการดื่มโดยรวมเพิ่มขึ้นจากปี 2562 (356.9 มิลลิลิตร และ 395.6 มิลลิลิตร ตามลำดับ) โดยเพศชายมีปริมาณการดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวานเฉลี่ยรวมมากกว่าเพศหญิงทั้งสามปี หากพิจารณาตามกลุ่มอายุ พบว่า ทุกกลุ่มอายุมีการดื่มเพิ่มขึ้นจากปี 2562 โดยกลุ่มวัยทำงานตอนต้นจะมีปริมาณการดื่มทั้งสามปีมากกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ สำหรับเขตที่อยู่อาศัย พบว่า ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาลมีปริมาณการกินเครื่องดื่มที่มีรสหวานเฉลี่ยรวมมากที่สุดในปี 3 และผู้ที่อาศัยอยู่ในภาคกลางจะมีปริมาณการดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวานในทั้งสามปีมากที่สุด ถ้าพิจารณาด้านอาชีพ พบว่า ผู้ที่ไม่ได้ทำงาน อาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ และอาชีพรับจ้าง มีปริมาณการกินเครื่องดื่มที่มีรสหวานเฉลี่ยรวมลดลงตั้งแต่ปี 2561 ถึงปี 2564 ส่วนอาชีพธุรกิจส่วนตัว/ค้าขายมีแนวโน้มปริมาณการกินเครื่องดื่มที่มีรสหวานเฉลี่ยรวมเพิ่มขึ้นทุกปี สำหรับรายได้ พบว่า ผู้ที่มีรายได้ส่วนใหญ่มีปริมาณการกินเครื่องดื่มที่มีรสหวานเฉลี่ยรวมลดลงในปี 2562 และเพิ่มขึ้นในปี 2564 ยกเว้นกลุ่มที่ไม่มีรายได้ที่เพิ่มขึ้นในปี 2562 และลดลงในปี 2564 นอกจากนี้ ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นพฤติกรรมที่อาจมีอิทธิพลต่อการดื่ม ได้แก่ การโฆษณา และราคาเครื่องดื่ม โดยพบว่า เกือบ 1 ใน 5 ของกลุ่มตัวอย่างเห็นโฆษณาเครื่องดื่มแล้วส่งผลต่อการอยากลองเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 18.3) โดยกลุ่มเด็กเล็กเกือบครึ่งเป็นกลุ่มที่เห็นโฆษณาเครื่องดื่มแล้วส่งผลต่อการอยากลองเครื่องดื่มมากที่สุด (ร้อยละ 46.8) ส่วนพฤติกรรมการดื่ม ถ้าหากมีการปรับราคาเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 กลุ่มตัวอย่างกว่า 3 ใน 5 ยังคงไม่เปลี่ยนพฤติกรรมยังคงดื่มเหมือนเดิม (ร้อยละ 60.6) และความรู้เรื่อง “ปริมาณน้ำตาลที่ควรบริโภคต่อวัน คือ ไม่ควรเกิน 6 ช้อนชาต่อวัน” กลุ่มตัวอย่างกว่า 4 ใน 5ยังไม่ทราบข้อมูลการบริโภคที่ถูกต้อง (ร้อยละ 82.9) จากผลการสํารวจในปีที่ 3 นี้ ชี้ให้เห็นว่า แต่กลุ่มที่มีการดื่มสูงยังคงเป็นกลุ่มเด็กวัยเรียนและวัยทำงานตอนต้น และเด็กส่วนใหญ่ต้องเรียนออนไลน์อยู่ที่บ้าน และวัยทำงานยังคงมีการทำงานที่บ้าน ทำให้มีโอกาสดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวานเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับอิทธิพลของสื่อที่อาจจะส่งผลต่อการบริโภค โดยสอดคล้องกับการเรื่องอิทธิพลจากการโฆษณาที่เกือบครึ่งหนึ่งของกลุ่มเด็กวัยเรียนที่ตอบว่าโฆษณาเครื่องดื่มส่งผลต่อการอยากลองเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นมากที่สุด รองลงมา คือ กลุ่มวัยทำงานตอนต้น การเปลี่ยนแปลงปริมาณการดื่มในภาวะวิกฤติเมื่อเปรียบเทียบกับภาวะปกติในปีที่ 1 และ 2 การชะลอการขึ้นภาษีเครื่องดื่มในรอบที่ 3 อาจส่งผลต่อความต่อเนื่องการประสิทธิผลของการใช้มาตรการภาษีของรัฐในการช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มได้เช่นกัน ซึ่งผลการศึกษานี้พบว่า หากราคาเครื่องดื่มเพิ่มไปถึงร้อยละ 20 กลุ่มตัวอย่าง 2 ใน 5 ของคนที่ดื่มจะลดหรือเลิกการดื่มนี้
  • thumb
    10 11
    22 ส.ค. 2565
    รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564
    รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย เป็นรายงานประจำปีที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ (กผส.) มีหน้าที่จัดทำขึ้นตามที่พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ได้กำหนดไว้ในมาตรา 9 (10) เพื่อเสนอรายงานสถานการณ์เกี่ยวกับผู้สูงอายุของประเทศต่อคณะรัฐมนตรีเป็นประจำทุกปี คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ได้มอบหมายให้มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ดำเนินการจัดทำรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยประจำปี นับตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยประจำปี 2563 ฉบับนี้ ได้รวบรวมสถิติข้อมูลสถานการณ์การสูงอายุของประชากรไทยในปัจจุบัน และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอายุของประชากรที่เกิดขึ้นในอดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อฉายภาพสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
  • thumb
    11 13
    24 ม.ค. 2566
    โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งถือเป็นแกนสำคัญของการพัฒนาและขยายเมือง การพัฒนาเมืองแบบ Transit Oriented Development (TOD)
    โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งถือเป็นแกนสำคัญของการพัฒนาและขยายเมือง การพัฒนาเมืองแบบ Transit Oriented Development (TOD) หรือหนึ่งในแนวคิดการพัฒนาเมืองและชุมชนเมืองควบคู่ไปกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง โดยเน้นการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งสาธารณะที่เป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อการเดินทาง มีการกำหนดรูปแบบการใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อสร้างชุมชนคุณภาพ น่าอยู่อาศัย น่าลงทุนธุรกิจ เพื่อส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมการเดินทาง เข้า-ออกพื้นที่ด้วยระบบขนส่งสาธารณะ และส่งเสริมการเดินทางในพื้นที่ด้วยการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ หรือใช้การเดินทางสาธารณะ (1) Concept การบริหารเมืองของ TOD คือ การปรับเปลี่ยนการขยายตัวของเมืองแบบกระจัดการจายให้เป็นเมืองกระชับ ด้วยการพัฒนาพื้นที่อย่างมีขอบเขตและแนวทางซึ่งจะช่วยลดภาวะการเติบโตของเมืองอย่างไร้ทิศทาง Transit Oriented Development (TOD) จะช่วยแก้ปัญหาเมือง และมีประโยชน์ต่อชุมชน ดังนี้ ภาครัฐจะมีแนวทางในการบริหารจัดการเมืองที่ชัดเจน และเป็นรูปธรรม การเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางจากรถยนต์ส่วนตัวมาเป็นขนส่งสาธารณะ จะช่วยลดการก่อให้เกิดมลพิษด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสาธารณะ รวมถึงการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเดินเท้า หรือการปั่นจักรยาน ภายในบริเวณโดยรอบของการขนส่งสาธารณะเพื่อลดการเดินทางโดยใช้เครื่องยนต์ และส่งผลดีต่อสุขภาพ นอกจากนี้ ทางด้านเศรษฐกิจท้องถิ่นก็จะมีการพัฒนาให้ลงตัวกับทุก Life Style การใช้ชีวิต ทั้งย่านพักอาศัย ย่านการค้า ย่านธุรกิจ และพื้นที่สาธารณะ มีระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการครบที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ลดการใช้พลังงาน และเสริมสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีในชุมชน
  • thumb
    03 11
    31 ส.ค. 2565
    ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค)
    ศูนย์การศึกษาวิจัยองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางกายในมิติทางประชากรและสังคมที่มุ่งเน้นการศึกษาและวิเคราะห์ปรากฏการณ์และพฤติกรรม โดยใช้องค์ความรู้และระเบียบวิธีวิจัยที่มีมาตรฐานระดับสากลเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม พันธกิจ (Mission) 1. ทบทวนสถานการณ์และองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้านกิจกรรมทางกายเพื่อใช้ในประกอบการจัดทำแผนและแนวทางในการขับเคลื่อนนโยบายด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประชากรไทย 2. เชื่อมประสานภาคีทำงานด้านกิจกรรมทางกาย ตลอดจนวิเคราะห์ประเด็น และโจทย์การวิจัยเพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 3. พัฒนาฐานข้อมูล เครื่องมือรวบรวมข้อมูลทางสังคม การติดตามและประเมินผล ตลอดจนการวิเคราะห์แนวโน้ม ด้านกิจกรรมทางกายที่มีมาตรฐานทางวิชาการระดับสากล เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์และศึกษาเปรียบเทียบ ตลอดจนเฝ้าระวังกิจกรรมทางกาย 4. พัฒนาและเผยแพร่ผลผลิตทางวิชาการ ตลอดจนนวัตกรรมทางด้านสังคมศาสตร์ที่มีคุณภาพสูงเพื่อสนับสนุนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของคนไทยทุกช่วงวัย การดำเนินกิจกรรมทางวิชาการของศูนย์ได้มีการกำหนดเป้าหมายเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และผลผลิตทางวิชาการด้านกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพและมาตรฐานเพื่อนำไปสู่การสร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคม โดยมุ่งเน้นที่ผลผลิตหลัก 4 มิติ ประกอบด้วย 1) T: Tool คือ เครื่องมือและต้นแบบสำหรับการวิจัย 2) P: Publication คือ ผลการวิจัยที่เผยแพร่ 3) A: Analysis คือ ชุดข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ 4) K: Knowledge คือ ความรู้สู่การปฏิบัติ โดยตั้งเป้าหมายให้เกิดรูปธรรมภายใต้ขอบเขตดังกล่าวทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว
  • thumb
    13
    24 ม.ค. 2566
    PM2.5 FOOTPRINT
    Fine particulate matter (PM2.5 or fine particulate matter with a diameter up to 2.5 microns) is one of the most important causes of premature deaths. The World Health Organization (WHO) estimated that outdoor air pollution caused 4.2 million premature deaths globally in 2016 due to PM2.5 exposure. The PM2.5 exposure could lead to cardiovascular and respiratory disease, and cancers (WHO, 2021). In Thailand, overall PM2.5 concentrations have been reduced continuously. Nonetheless, the annual average PM2.5 concentrations in Thailand have still exceeded the World Health Organization standards throughout the past 10 years. Transport sector is one of the major sources of PM2.5 emissions. Understanding the potential health impacts and costs of PM2.5 formation from different modes of transport will help raising the awareness of the public due to the realisation on the PM2.5 footprint of their actions. PM2.5 footprint is considered as the health impacts from PM2.5 formation throughout life cycle of products and organisations. PM2.5 footprint is quantified by multiplying emissions with characterisation factors. Afterwards, the health costs could be obtained by economic evaluation of the health impacts. The PM2.5 Footprint Calculator v1.01 was developed as a tool for enhancing environmentally sustainable passenger transport in Thailand. The PM2.5 Footprint Calculator v1.01 can determine primary and secondary PM2.5 emissions (PM2.5, NOx, NH3, and SO2) and assess health impacts and costs of passenger transport by road, water and rail in Thailand. The calculator consists of primary and secondary PM2.5 emission inventory (for passenger transport), city-specific characterisation factors, and health cost conversion factor. The details of emission inventory, impact characterisation and economic valuation can be seen the background report of PM2.5 Footprint Calculator v1.01 (Prapaspongsa et al., 2021). Features of the current version and future updates of the PM2.5 footprint calculator are also documented in the report. The PM2.5 Footprint Calculator v1.01 is provided in two versions including Web-Based PM2.5 Footprint Calculator and PM2.5 Footprint Calculator (Microsoft Excel Program). Users can directly apply the Web-Based PM2.5 Footprint Calculator via this PM2.5 footprint website or download the PM2.5 Footprint Calculator (Microsoft Excel Program) from this website for own calculations. The Web-Based PM2.5 Footprint Calculator computes the health impacts and costs from "well-to-wheel" including emissions from upstream fuel and electricity production; and exhaust emissions from fuel combustion. The PM2.5 Footprint Calculator (Microsoft Excel Program) can assess health impacts and costs both from "well-to-wheel" and "tank-to-wheel”. In the tank-to-wheel scope, the exhaust emissions from fuel combustion (indicated as "vehicle use" in this excel) are considered.
  • thumb
    10 มี.ค. 2565
    แปลงผักปลอดสารพิษ
    แปลงผักปลอดสารพิษเกิดขึ้นด้วยแนวคิดที่อยากให้มีการบริโภคผักที่ไม่ใช้สารเคมีภายในมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อให้บุคลากร นักศึกษา คนในชุมชนได้กินผักที่มีความปลอดภัย มหาวิทยาลัยมหิดลจึงจัดสรรพื้นที่ซึ่งเดิมเป็นพื้นที่ว่างที่ไม่มีการใช้ประโยชน์ และให้เกษตรกรในพื้นที่เข้ามาดำเนินการปรับปรุงดินและปลูกผักปลอดสารพิษจนถึงปัจจุบัน
  • thumb
    17 03
    22 ส.ค. 2565
    Parenting in Displacement Study on Thailand-Myanmar Border
    Parenting in Displacement: Testing a wraparound model of support for migrant and displaced families from Myanmar This Scope of Work relates to research activities conducted by the Institute for Population and Social Research (IPSR) at Mahidol University as part of the GPI study, “Parenting in Displacement: Testing a wraparound model of support for migrant and displaced families from Myanmar” The study will test a wraparound approach to improving systems, population, and individual caregiver and child level outcomes among migrant and displaced families on the Thai-Myanmar border. Study objectives are to: 1. Evaluate the effectiveness and cost-effectiveness of a population-level media campaign adapted from PLH to increase knowledge and skills around positive and playful parenting, reduce acceptance of violence against children, decrease harsh parenting, and promote caregiver and child wellbeing. 2. Evaluate the effectiveness and cost effectiveness of a trauma-informed adaptation of PLH for higher-need caregivers whose outcomes do not improve after delivery of the media campaign. 3. Design, implement, and evaluate strategies to strengthen formal and informal systems for service delivery and sustainability in a volatile displacement context.
  • thumb
    06 14
    27 ก.ย. 2565
    Master of Engineering Program in Environmental and Water Resources Engineering (International Program)
    Name of Degree and Program Full Title Thai : วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ) Abbreviation Thai : วศ.ม. (วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ) Full Title English : Master of Engineering (Environmental and Water Resources Engineering) Abbreviation English : M.Eng. (Environmental and Water Resources Engineering)
จำนวนทั้งหมด 227 รายการ