Case Study

ผลการค้นหาทั้งหมด 275 รายการ
  • thumb
    27 มิ.ย. 2565
    "อาหารริมบาทวิถี" ต้องพัฒนาอย่างไร เพื่อสุขภาพคนเมือง
    อาหารริมบาทวิถี หรือ “สตรีทฟู้ด” (Street Food) ในประเทศไทยมีเอกลักษณ์และขึ้นชื่อในเรื่องความหลากหลาย และเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตประชาชนในกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันขยายตัวไปยังจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะเมืองที่เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวทั้ง 4 ภาคของประเทศ
  • thumb
    10 พ.ย. 2565
    นักวิจัยผุดไอเดีย นำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ผลิตขั้วไฟฟ้าของตัวเก็บประจุยิ่งยวดร่วมกับกรดเลวูลินิค
    ฟอสซิลถูกนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญในการผลิตพลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อน และการผลิตข้าวของเครื่องใช้มากมาย อย่างไรก็ตาม การใช้ฟอสซิลยังมีข้อจำกัดต่าง ๆ มากมาย อาทิ การเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป และผลกระทบที่เกิดจากการเผาไหม้ คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจก ซึ่งคงค้างอยู่ในชั้นบรรยากาศโลก ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบนิเวศของโลก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวัฒน์ นาคะสรรค์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะผู้วิจัย จึงมีความสนใจในการทำการศึกษาวิจัยเพื่อหาแนวทางในการส่งเสริมการลดการใช้ฟอสซิล โครงการวิจัยนี้ ผู้วิจัยจึงนำเหง้ามันสำปะหลังมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตกรดเลวูลินิค โดยนำมาปรับสภาพเบื้องต้นด้วยด่าง เพื่อดึงองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เซลลูโลสออก ซึ่งจะได้ของแข็งที่มีเซลูโลสเป็นองค์ประกอบหลัก ผลการศึกษาดังกล่าวพบว่า จะทำให้ปริมาณการใช้ฟอสซิลภายในประเทศลดลง ประเทศไทยมีขั้วไฟฟ้าของตัวเก็บประจุยิ่งยวดที่ผลิตได้จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ซึ่งจะเป็นขั้วไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพดีและมีราคาถูกกว่าขั้วไฟฟ้าทั่วไปในท้องตลาด และสามารถสร้างมูลค่าให้กับเหง้ามันสำปะหลังได้ ซึ่งจะทำให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังมีรายได้มากขึ้น
  • thumb
    04 05
    3 พ.ย. 2565
    โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง“การเรียนรู้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs”
    โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง“การเรียนรู้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs” จัดขึ้นเพื่อตอบรับการผลักดันเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals, SDGs) ของสภามหาวิทยาลัยและทีมผู้บริหาร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรสายสนับสนุนได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน สร้างเครือข่ายกลุ่มเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปประยุกต์ใช้ในการทำงานให้เกิดความยั่งยืนต่อส่วนงาน มหาวิทยาลัยและประเทศชาติ
  • thumb
    02 03
    2 ก.ย. 2565
    โครงการสำรวจติดตามพฤติกรรมบริโภคเครื่องดื่มที่มีรสหวานฯ
    โครงการวิจัย การสำรวจติดตามพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีรสหวานของคนไทย ภายหลังการออกมาตรการเก็บภาษีสรรพสามิตในเครื่องดื่มที่มีรสหวาน ปีที่ 3 พ.ศ. 2564 ดำเนินการโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการขับเคลื่อนนโยบาย เครือข่ายลดบริโภคหวาน และสื่อสารสร้างความรอบรู้ด้านอาหารเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ โครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีรสหวานของคนไทยต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 (ปี 2564) ภายหลังจากที่มาตรการเก็บภาษีสรรพสามิตในเครื่องดื่มที่มีรสหวาน พร้อมทั้งศึกษาการรับรู้ของคนไทยต่อการออกมาตรการทางภาษีนี้ โดยมีการเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมิย. 2564-มิย.2565 ทั้งหมด 9 จังหวัด เพื่อเป็นตัวแทนระดับประเทศ แต่ละภาคของประเทศจะนำเสนอผลจำแนกตามเขตการปกครอง คือ ในเขตเทศบาล และนอกเขตเทศบาล ซึ่งเก็บข้อมูลทุกคนที่อยู่ในครัวเรือนที่ถูกสุ่ม โดยเก็บจากบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มอายุ ได้แก่ 1) อายุ 6-14 ปี 2) อายุ 15-59 ปี และ 3) อายุ 60 ปีขึ้นไป และในแต่ละกลุ่มอายุได้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ เพศชาย และเพศหญิง ผลการศึกษาสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มที่มีรสหวานของคนไทย ภายหลังการออกมาตรการเก็บภาษีสรรพสามิตในเครื่องดื่มที่มีรสหวาน ปีที่ 3 พ.ศ. 2564 พบว่า แนวโน้มการดื่มโดยรวมเพิ่มขึ้นจากปี 2562 (356.9 มิลลิลิตร และ 395.6 มิลลิลิตร ตามลำดับ) โดยเพศชายมีปริมาณการดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวานเฉลี่ยรวมมากกว่าเพศหญิงทั้งสามปี หากพิจารณาตามกลุ่มอายุ พบว่า ทุกกลุ่มอายุมีการดื่มเพิ่มขึ้นจากปี 2562 โดยกลุ่มวัยทำงานตอนต้นจะมีปริมาณการดื่มทั้งสามปีมากกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ สำหรับเขตที่อยู่อาศัย พบว่า ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาลมีปริมาณการกินเครื่องดื่มที่มีรสหวานเฉลี่ยรวมมากที่สุดในปี 3 และผู้ที่อาศัยอยู่ในภาคกลางจะมีปริมาณการดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวานในทั้งสามปีมากที่สุด ถ้าพิจารณาด้านอาชีพ พบว่า ผู้ที่ไม่ได้ทำงาน อาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ และอาชีพรับจ้าง มีปริมาณการกินเครื่องดื่มที่มีรสหวานเฉลี่ยรวมลดลงตั้งแต่ปี 2561 ถึงปี 2564 ส่วนอาชีพธุรกิจส่วนตัว/ค้าขายมีแนวโน้มปริมาณการกินเครื่องดื่มที่มีรสหวานเฉลี่ยรวมเพิ่มขึ้นทุกปี สำหรับรายได้ พบว่า ผู้ที่มีรายได้ส่วนใหญ่มีปริมาณการกินเครื่องดื่มที่มีรสหวานเฉลี่ยรวมลดลงในปี 2562 และเพิ่มขึ้นในปี 2564 ยกเว้นกลุ่มที่ไม่มีรายได้ที่เพิ่มขึ้นในปี 2562 และลดลงในปี 2564 นอกจากนี้ ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นพฤติกรรมที่อาจมีอิทธิพลต่อการดื่ม ได้แก่ การโฆษณา และราคาเครื่องดื่ม โดยพบว่า เกือบ 1 ใน 5 ของกลุ่มตัวอย่างเห็นโฆษณาเครื่องดื่มแล้วส่งผลต่อการอยากลองเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 18.3) โดยกลุ่มเด็กเล็กเกือบครึ่งเป็นกลุ่มที่เห็นโฆษณาเครื่องดื่มแล้วส่งผลต่อการอยากลองเครื่องดื่มมากที่สุด (ร้อยละ 46.8) ส่วนพฤติกรรมการดื่ม ถ้าหากมีการปรับราคาเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 กลุ่มตัวอย่างกว่า 3 ใน 5 ยังคงไม่เปลี่ยนพฤติกรรมยังคงดื่มเหมือนเดิม (ร้อยละ 60.6) และความรู้เรื่อง “ปริมาณน้ำตาลที่ควรบริโภคต่อวัน คือ ไม่ควรเกิน 6 ช้อนชาต่อวัน” กลุ่มตัวอย่างกว่า 4 ใน 5ยังไม่ทราบข้อมูลการบริโภคที่ถูกต้อง (ร้อยละ 82.9) จากผลการสํารวจในปีที่ 3 นี้ ชี้ให้เห็นว่า แต่กลุ่มที่มีการดื่มสูงยังคงเป็นกลุ่มเด็กวัยเรียนและวัยทำงานตอนต้น และเด็กส่วนใหญ่ต้องเรียนออนไลน์อยู่ที่บ้าน และวัยทำงานยังคงมีการทำงานที่บ้าน ทำให้มีโอกาสดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวานเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับอิทธิพลของสื่อที่อาจจะส่งผลต่อการบริโภค โดยสอดคล้องกับการเรื่องอิทธิพลจากการโฆษณาที่เกือบครึ่งหนึ่งของกลุ่มเด็กวัยเรียนที่ตอบว่าโฆษณาเครื่องดื่มส่งผลต่อการอยากลองเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นมากที่สุด รองลงมา คือ กลุ่มวัยทำงานตอนต้น การเปลี่ยนแปลงปริมาณการดื่มในภาวะวิกฤติเมื่อเปรียบเทียบกับภาวะปกติในปีที่ 1 และ 2 การชะลอการขึ้นภาษีเครื่องดื่มในรอบที่ 3 อาจส่งผลต่อความต่อเนื่องการประสิทธิผลของการใช้มาตรการภาษีของรัฐในการช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มได้เช่นกัน ซึ่งผลการศึกษานี้พบว่า หากราคาเครื่องดื่มเพิ่มไปถึงร้อยละ 20 กลุ่มตัวอย่าง 2 ใน 5 ของคนที่ดื่มจะลดหรือเลิกการดื่มนี้
  • thumb
    10 11
    22 ส.ค. 2565
    รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564
    รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย เป็นรายงานประจำปีที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ (กผส.) มีหน้าที่จัดทำขึ้นตามที่พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ได้กำหนดไว้ในมาตรา 9 (10) เพื่อเสนอรายงานสถานการณ์เกี่ยวกับผู้สูงอายุของประเทศต่อคณะรัฐมนตรีเป็นประจำทุกปี คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ได้มอบหมายให้มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ดำเนินการจัดทำรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยประจำปี นับตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยประจำปี 2563 ฉบับนี้ ได้รวบรวมสถิติข้อมูลสถานการณ์การสูงอายุของประชากรไทยในปัจจุบัน และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอายุของประชากรที่เกิดขึ้นในอดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อฉายภาพสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
  • thumb
    03 01
    10 มี.ค. 2565
    การศึกษาวิจัยแบบพหุสาขา เพื่อหาเครื่องมือใหม่ และมาตรการการกำจัดไข้มาลาเรียจากประเทศไทย
    ไข้มาลาเรียเป็นโรคติดต่อนำโดยยุงก้นปล่อง เคยเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของประเทศไทย เคยมีผู้ป่วยถึง เกือบ500,000คนช่วงปีพ.ศ.2524 โดยมีอัตราการเสียชีวิตมากกว่า 5%
  • thumb
    17 04
    10 มี.ค. 2565
    การอบรมเชิงปฏิบัติการ: การสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
    ปัจจุบัน การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นประเด็นที่ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญ จากการที่องค์การสหประชาชาติกำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ที่ประกอบด้วย 17 เป้าหมาย
  • thumb
    11 มี.ค. 2565
    การประเมินผลกระทบของมลพิษทางอากาศต่อสุขภาพในประเทศไทย (TAPHIA)
    การดำเนินงานของโครงการวิจัย (TAPHIA) จะเริ่มดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่เกี่ยวกับความเข้มข้นของมลพิษทางอากาศ ข้อมูลประชากร รวมไปถึงสถิติการการเจ็บป่วยและการตาย นอกจากนี้เราจะเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่ ๆ
  • thumb
    10 04
    28 ต.ค. 2565
    โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาเชิงระบบเพื่อการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาของเด็กนอกระบบ
    พัฒนาเด็กและเยาวชนให้เติบโตเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และมีความใส่ใจในการทำความเข้าใจสถานการณ์ของเด็กและเยาวชนนอกระบบภายใต้บริบทครอบครัวและสังคมที่มีความสลับซับซ้อน
  • thumb
    16 17
    27 ต.ค. 2565
    โครงการจากใจสู่ใจ (ระยะที่ 4) คุณค่า ความสุข และพลังภายในที่แท้จริง เพื่อชีวิตหลังกำแพง
    โครงการจากใจสู่ใจ ระยะที่ 4 คุณค่า ความสุข และพลังภายในที่แท้จริง เพื่อชีวิตหลังกำแพง โดยศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับเรือนจำกลางขอนแก่น
  • thumb
    15 13
    7 ต.ค. 2565
    นิเวศวิทยาและประชากรช้างป่า (Elephas maximus) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวงและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว
    โครงการศึกษานิเวศวิทยาและประชากรช้างป่า (Elephas maximus) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวงและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินและเปรียบเทียบประชากร การกระจาย และความต้องการทางนิเวศวิทยาของช้างป่า เพื่อใช้ในการวางแผนการจัดการและการอนุรักษ์ และการลดผลกระทบระหว่างช้างป่าและชาวบ้านในการอยู่ร่วมกันโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่น และสังเคราะห์กลยุทธ์การสื่อสารและพัฒนาสื่อเสริมสร้างความเข้าใจและความตระหนักในการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่าด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น โดยทำการสำรวจโดยตรงและสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบ ช่วงเวลา และสถานที่ทำกิจกรรมของช้างป่า ตลอดจนผลกระทบในพื้นที่ร่วมกับการติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่าบริเวณรอยต่อระหว่างพื้นที่เกษตรกรรมกับแนวเขตของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว พบว่าช้างป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ช้างป่าส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าชั้นกลาง (75%) พบพฤติกรรมการหากินมากที่สุดเวลา 15.01-19.00 น. พบธาตุแคลเซียมในกองมูลมากที่สุด (62.81%) พืชอาหาร พบธาตุเหล็ก (Fe) มากที่สุด (88.54%) ส่วน ขป ภูเขียว มีการกระจายใกล้เคียงกันทั้งในพื้นที่ป่าชั้นใน (34%) ป่าชั้นกลาง (30.8%) และป่าชั้นนอก (28.6%) พบการทำกิจกรรมมากที่สุดระหว่าง 22.01-24.00 น. พืชอาหารพบธาตุไนโตรเจน (N) มากที่สุด (56.16%) จากการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุแบบโลจิสติกในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จำนวน 66 ตัวอย่าง มีพื้นที่เหมาะสมมากที่สุด 169.58 ตร.กม. (18.62%) เป็นพื้นที่ราบด้านบนเทือกเขา พื้นที่เหมาะสมมาก 425.26 ตร.กม. (46.69%) พื้นที่ที่เหมาะสมปานกลาง 279.57 ตร.กม. (30.69%) ส่วนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว มีพื้นที่เหมาะสมมากที่สุด 168.24 ตร.กม. (6.5%) พื้นที่เหมาะสมมาก 983.62 ตร.กม. (37.99%) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง 704.77 ตร.กม. (27.22%)
  • thumb
    04 02 17
    30 ก.ย. 2565
    โครงการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับระดับอุดมศึกษา ชื่อหลักสูตร ผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ (ด้านการเกษตร)
    การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพของมนุษย์ทั้งในด้านความรู้ ความคิด คุณธรรมจริยธรรม การประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้เป็นคนดีมีปัญญามีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสามารถในการแข่งขันการเพิ่มศักยภาพของผู้เรียนให้สูงขึ้นสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขบนพื้นฐานของความเป็นไทยและสากล รวมทั้งมีความสามารถในการประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อตามความถนัดและความสามารถของแต่ละบุคคล โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์ ในการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับระดับอุดมศึกษา ดำเนินการภายใต้ชื่อหลักสูตร “ผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ (ด้านการเกษตร)” ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์
จำนวนทั้งหมด 275 รายการ