Case Study

ผลการค้นหาทั้งหมด 275 รายการ
  • thumb
    02 12
    21 ก.ย. 2565
    “รักษ์” ผักปลอดสาร U2T ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ
    “รักษ์” ผักปลอดสาร เป็นการนำทุนสังคม ของชุมชนเดิมมาต่อยอดพัฒนา ด้วยการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ผลิตภายในชุมชน ให้ความรู้ ถ่ายทอด ฝึกปฏิบัติ หนุนเสริมยกระดับการผลิตให้มีมาตรฐาน และมีการต่อยอดการทำตลาดในพื้นที่แบบต่อเนื่อง เพื่อสร้างแหล่งอาหารปลอดภัยให้แก่คนในชุมชน และสร้างกลไกลการขับเคลื่อนบูรณาการ แบบมีส่วนร่วม และนำไปประยุกต์ใช้ของชุมชนแบบยั่งยืน
  • thumb
    04
    23 ก.ค. 2565
    การพัฒนาการศึกษาและทักษะด้านการจัดการเพื่อการพัฒนาอย่างอย่างยั่งยืน (The Development of Management Education and Skills for Sustainable Development)
    โครงการเพื่อพัฒนาการ สำหรับการศึกษาด้านการจัดการเพื่อการพัฒนาอย่างอย่างยั่งยืนมีวัตถุประสงค์ในการเสริมสร้างทักษะ และ ความรู้ที่เหมาะสม และ เกี่ยวข้องกับการจัดการธุรกิจและองค์กรตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมไปถึงการส่งเสริมการเข้าถึงการศึกษาด้านการจัดการที่มีคุณภาพแก่บุคคลทั่วไป
  • thumb
    04 10
    8 ก.ย. 2565
    กิจกรรม “จิตอาสาอ่านหนังสือให้คนตาบอด”
    กิจกรรม “จิตอาสาอ่านหนังสือให้คนตาบอด” ผ่านแอปพลิเคชั่น Read for the Blind จะช่วยส่งเสริมกิจกรรมจิตอาสาภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ให้มีความปลอดภัยเป็นประโยชน์ต่อสังคม และตอบสนองกิจกรรมเสริมหลักสูตรของมหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้กิจกรรมจิตอาสา (Volunteer)
  • thumb
    12 08 11
    6 ก.ย. 2565
    โครงการ “สานเสวนา Social Co-production กับการยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน”
    บทบาทของภาคประชาชนตามแนวคิดประชารัฐนี้ จะปรับเปลี่ยนจากการเป็นผู้รอรับสินค้าและบริการ (user/consumer) จากภาครัฐแต่เพียงฝ่ายเดียว ไปสู่การเข้าไปมีส่วนร่วมกับประชาชน (citizen participation) และภาคส่วนอื่น ๆ เนื่องจากจะเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง อันจะเป็นการออกแบบและส่งมอบสินค้าและบริการสาธารณะได้ตรงกับความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้/รับบริการ และการให้โอกาสประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบ จัดหา และส่งมอบสินค้าและบริการสาธารณะของตนเองตั้งแต่ต้น ย่อมจะทำให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป ดังนั้น การจัดการขยะในชุมชนจำเป็นจะต้องร่วมมือกันระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ตามแนวทางที่เรียกกันว่า “Coproduction” หรือ “การร่วมผลิต” เพื่อให้การจัดการกับปัญหาขยะในพื้นที่เกิดประสิทธิภาพและมีความยั่งยืนต่อไป
  • thumb
    5 ก.ย. 2565
    การศึกษาการใช้ประโยชน์จากใบสับปะรดเหลือทิ้ง มุ่งสู่เป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ และใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
    งานวิจัยนี้สร้างมูลค่าเพิ่มจากของเหลือทิ้งทางการเกษตรคือ ใบสับปะรดที่ผ่านการดัดแปรเพื่อเสริมแรงพลาสติกและยางให้มีความแข็งแรง ทนอุณหภูมิ และลดการใช้งานวัสดุจากปิโตรเลียม และใช้เป็นวัสดุรองรับดูดซับโลหะหนักในน้ำเสีย หรือตัวเร่งปฏิกิริยาในการกำจัดสารอินทรีย์ในน้ำ ให้ง่ายต่อการแยก หรือนำกลับมาใช้ใหม่ โดยบางส่วนได้มีการขยายผลเชิงพาณิชย์ผ่านบริษัทสตาร์ทอัพแล้ว
  • thumb
    02
    3 ก.ย. 2565
    “ผำ” พืชจิ๋วพื้นบ้าน อาหารแห่งอนาคตสู้วิกฤตด้านอาหารและสิ่งแวดล้อม
    การพัฒนาศักยภาพของผำด้วยการเพาะเลี้ยงผำด้วยระบบเกษตรแม่นยำ ให้เป็น “อาหารแห่งอนาคต” สามารถต่อยอดสู่อุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ และเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ของประเทศไทย โดยดำเนินการในรูปแบบของธุรกิจสตาร์ทอัพ
  • thumb
    15 17
    2 ก.ย. 2565
    การวิเคราะห์ทางพันธุกรรมของการผสมพันธุ์ระหว่างชะนีมือขาว (Hylobates lar) และชะนีซ้อน (Hylobatespilatus) ในเขตสัมผัสในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ประเทศไทย
    การศึกษาพันธุกรรมด้วยไมโทคอนเดรียและไมโครแซทเทลไลท์ดีเอ็นเอ ของชะนีมือขาว ชะนีมงกุฎและชะนีลูกผสมในพื้นที่ซ้อนทับอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ พบว่า ชะนีส่วนมากในพื้นที่ซ้อนทับยังคงจับคู่กับสปีชีส์เดียวกันมากกว่าการจับคู่ข้ามสปีชีส์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีกลไกการแบ่งแยกทางการสืบพันธุ์ (reproductive isolation) ที่ป้องกันการผสมพันธุ์ข้ามชนิดกัน และรักษาการแบ่งแยกสปีชีส์ของชะนีมือขาวและชะนีมงกุฎไว้ได้
  • thumb
    04
    2 ก.ย. 2565
    ม.มหิดล – NECTEC – ม.นเรศวร ร่วมส่งเสริม “เยาวชนไทยทรงดำ” สร้างสรรค์ “พิพิธภัณฑ์ดิจิทัล” เปิดโลกแห่งการเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด
    ส่งเสริม “เยาวชนไทยทรงดำ” สร้างสรรค์ “พิพิธภัณฑ์ดิจิทัล” เปิดโลกแห่งการเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด
  • thumb
    17 03
    22 ส.ค. 2565
    Parenting in Displacement Study on Thailand-Myanmar Border
    Parenting in Displacement: Testing a wraparound model of support for migrant and displaced families from Myanmar This Scope of Work relates to research activities conducted by the Institute for Population and Social Research (IPSR) at Mahidol University as part of the GPI study, “Parenting in Displacement: Testing a wraparound model of support for migrant and displaced families from Myanmar” The study will test a wraparound approach to improving systems, population, and individual caregiver and child level outcomes among migrant and displaced families on the Thai-Myanmar border. Study objectives are to: 1. Evaluate the effectiveness and cost-effectiveness of a population-level media campaign adapted from PLH to increase knowledge and skills around positive and playful parenting, reduce acceptance of violence against children, decrease harsh parenting, and promote caregiver and child wellbeing. 2. Evaluate the effectiveness and cost effectiveness of a trauma-informed adaptation of PLH for higher-need caregivers whose outcomes do not improve after delivery of the media campaign. 3. Design, implement, and evaluate strategies to strengthen formal and informal systems for service delivery and sustainability in a volatile displacement context.
  • thumb
    03 11
    31 ส.ค. 2565
    ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค)
    ศูนย์การศึกษาวิจัยองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางกายในมิติทางประชากรและสังคมที่มุ่งเน้นการศึกษาและวิเคราะห์ปรากฏการณ์และพฤติกรรม โดยใช้องค์ความรู้และระเบียบวิธีวิจัยที่มีมาตรฐานระดับสากลเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม พันธกิจ (Mission) 1. ทบทวนสถานการณ์และองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้านกิจกรรมทางกายเพื่อใช้ในประกอบการจัดทำแผนและแนวทางในการขับเคลื่อนนโยบายด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประชากรไทย 2. เชื่อมประสานภาคีทำงานด้านกิจกรรมทางกาย ตลอดจนวิเคราะห์ประเด็น และโจทย์การวิจัยเพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 3. พัฒนาฐานข้อมูล เครื่องมือรวบรวมข้อมูลทางสังคม การติดตามและประเมินผล ตลอดจนการวิเคราะห์แนวโน้ม ด้านกิจกรรมทางกายที่มีมาตรฐานทางวิชาการระดับสากล เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์และศึกษาเปรียบเทียบ ตลอดจนเฝ้าระวังกิจกรรมทางกาย 4. พัฒนาและเผยแพร่ผลผลิตทางวิชาการ ตลอดจนนวัตกรรมทางด้านสังคมศาสตร์ที่มีคุณภาพสูงเพื่อสนับสนุนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของคนไทยทุกช่วงวัย การดำเนินกิจกรรมทางวิชาการของศูนย์ได้มีการกำหนดเป้าหมายเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และผลผลิตทางวิชาการด้านกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพและมาตรฐานเพื่อนำไปสู่การสร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคม โดยมุ่งเน้นที่ผลผลิตหลัก 4 มิติ ประกอบด้วย 1) T: Tool คือ เครื่องมือและต้นแบบสำหรับการวิจัย 2) P: Publication คือ ผลการวิจัยที่เผยแพร่ 3) A: Analysis คือ ชุดข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ 4) K: Knowledge คือ ความรู้สู่การปฏิบัติ โดยตั้งเป้าหมายให้เกิดรูปธรรมภายใต้ขอบเขตดังกล่าวทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว
  • thumb
    04 11 15
    31 ส.ค. 2565
    SIREEPARK 360 Virtual Tour
    ม.มหิดล เปิดโลกเมตาเวิร์สท่องอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติครั้งแรก แม้วิกฤติ COVID-19 จะทำให้ “แลนด์มาร์ค” (landmark) หรือสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าประทับใจหลายจุดในประเทศไทยต้องหลับใหลงดเปิดให้บริการเยี่ยมชม แต่ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลจะไม่ทำให้ระยะทาง เวลา หรืออุปสรรคใดๆ มาคอยขวางกั้น “ห้องเรียนธรรมชาติ” จากสมุนไพรนานาชนิด สู่โลกแห่งการเรียนรู้ที่ไร้ขีดจำกัด นับเป็นครั้งแรกของ “อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ” แห่งโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นหนึ่งใน “แลนด์มาร์ค” ที่สำคัญของจังหวัดนครปฐม ที่จะได้ “ย่อโลก” สมุนไพรนานาชนิด และธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ ในพื้นที่ 140 ไร่ ซึ่งนับเป็นความภาคภูมิใจของ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะ “ปัญญาของแผ่นดิน” เข้าสู่ “โลกแห่งเมตาเวิร์ส” เพื่อการเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุดในโลกเสมือนจริง
  • thumb
    31 ส.ค. 2565
    อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติรับเกียรติบัตรแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพภูมิปัญญาไทยและสมุนไพร ระดับ “ดีเยี่ยม”
    โครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับเกียรติบัตรแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพภูมิปัญญาไทยและสมุนไพร ระดับ “ดีเยี่ยม”
จำนวนทั้งหมด 275 รายการ