“รักษ์” ผักปลอดสาร U2T ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ

detail

“รักษ์” ผักปลอดสาร เป็นการใช้โอกาสจากโครงการ U2T เชื่อมโยงต้นทุนเดิมของชุมชนในการผลิตผักในครัวเรือน พัฒนาประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิชาการ สู่การผลิตผักที่มีความปลอดภัย  สร้างมูลค่าและคุณค่า กับชุมชน โดยการมีส่วนร่วม พึ่งพาตนเอง เสริมสร่างความเข้มแข็งแบบเครือข่าย และการจัดการที่มุ่งเน้นสู่ความยั่งยืน

               “รักษ์” ผักปลอดสาร เป็นการนำทุนสังคม ของชุมชนเดิมมาต่อยอดพัฒนา ด้วยการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ผลิตภายในชุมชน ให้ความรู้ ถ่ายทอด ฝึกปฏิบัติ หนุนเสริมยกระดับการผลิตให้มีมาตรฐาน และมีการต่อยอดการทำตลาดในพื้นที่แบบต่อเนื่อง เพื่อสร้างแหล่งอาหารปลอดภัยให้แก่คนในชุมชน  และสร้างกลไกลการขับเคลื่อนบูรณาการ แบบมีส่วนร่วม และนำไปประยุกต์ใช้ของชุมชนแบบยั่งยืน

               โดยมีการดำเนินการบูรณาการร่วมกับกลุ่มคนผู้ปลูกผักในครัวเรือนที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 18 ครัวเรือน โดยผ่านการเชิญชวน แนะนำจากผู้นำชุมชนทั้ง 12 หมู่บ้านของตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ และทางองคืการบริหารส่วนตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ ผ่านการขับเคลื่อนโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) หรือ U2T ปีงบประมาณ 2565 ในพื้นที่ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ จากการนำของศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ เข้าไปสำรวจค้นหาต้นทุนเดิมของทางชุมชนที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาบนฐานทรัพยากร BCG และสร้างทีมพัฒนา หาความร่วมมือ จัดกระบวนการและวางแนวทางการพัฒนา บนฐานของการสร้างการมีส่วนร่วม และการยอมรับเกิดความร่วมมือของชุมชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตั้งแต่การระดมสมองของทีมงานพัฒนาที่มาจากชุมชนและบัณฑิต สังเกต เข้าไปสำรวจจัดเก็บข้อมูลทุนชุมชน  ถอดบทเรียนการค้นหาปัญหาและข้อมูล เสนอแนะวางแนวทางการแก้ปัญหาพัฒนา ตลอดจนการวางกระบวนการมีส่วนร่วมร่วมคิด ร่วมทำ และสาธิต ถ่ายทอดให้ความรู้การผลิต การตลาด และพาทำ รวมถึงการเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำปรึกษาการแก้ปัญหาและพัฒนา รวมถึงการวางแนวทางการแก้ปัญหาและพัฒน และมีการใช้โซเชียลมีเดียเป็นตัวกลางในการเชื่อมและขับเคลื่อน การแก้ปัญหาพัฒนาไปพร้อม ๆ กันร่วมด้วย โดยผ่านช่องทางไลน์กลุ่ม  เพื่อให้เกิดการพัฒนาการผลิต ยกระดับการผลิตที่สร้างมูลค่า และสร้างคุณค่า เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และผลดีต่อสุขภาพของผู้ผลิต และผู้บริโภค ภายในชุมชน

                ตัวอย่างกิจกรรมที่เข้าไปดำเนินการที่ผ่านมา ในกระบวนการวางแนวทางการพัฒนา คือการเข้าไปสำรวจข้อมูลของทีมงาน และนำข้อมูลที่ได้จากการจัดเก็บ สอบถาม สังเกต มาช่วยกัน Brainstorm วางแผนการพัฒนา โดยเริ่มจากการเสนอโจทย์ให้กับพื้นที่เป้าหมาย ผ่านผู้นำ หาความร่วมมือ และให้ผู้นำเป็นสื่อกลางในการเชิญชวนกลุ่มเป้าหมาย คือกลุ่มชาวบ้านที่ปลูกผักไว้รับประทานเอง เมื่อผักรับประทานในครอบครัวแล้วมักจะนำมาขายบริเวณหน้าบ้านตนเอง หลังจากนั้นได้นัดหมายกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการชักชวนเสนอแนะจากผู้นำชุมชน และทีมงาน มาพูดคุยถอดบทเรียนกัน เพื่อค้นหาปัญหา และความต้องการที่แท้จริง และวางแผน จัดกระบวนการพัฒนาที่เหมาะสม โดยมุ่งเป้าที่การมีส่วนร่วม และเกิดความยั่งยืน ทำให้ได้ขั้นตอนการพัฒนากลุ่มเป้าหมาย ชาวบ้านที่ปลูกผักดังกล่าว ที่สนใจเข้าร่วม จำนวน 18 ครัวเรือน  โดยการให้ความรู้การผลิตผักแบบปลอดสารพิษ ที่ลดการใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมี และใช้สารชีวภัณฑ์ทดแทน เช่น บิวเวอเรีย เมตาไรเชียม ไตรโคเดอร์มา มีการอบรมการฝึกขยายเชื้อ แนะนำการนำไปใช้ในแปลงผลิต เพื่อป้องกันกำจัด โรค แมลง ทดแทนการใช้สารเคมีต่าง ๆ หรือในการบำรุง เพิ่มผลผลิต เช่น การทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง การทำจุลินทรีย์จาวปลวก และการทำปุ๋ยหมักต่างๆ อย่างง่ายเพื่อไว้ใช้เอง มีกระบวนการติดตามตรวจเยี่ยมแปลงของกลุ่มเป้าหมาย และสร้างช่องทางการให้คำแนะนำปรึกษาผ่าน กลุ่มไลน์ นอกจากการให้ความรู้ในการผลิตที่ดีแล้วเพื่อการยกระดับการผลิตและการสร้างคุณค่า ทางโครงการยังมีการหนุนเสริมความรู้เกี่ยวกับการทำการตลาดที่ใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ใบตองมาทำเป็นกระทงใส่พืชผัก จำหน่าย การสนับสนุนการใช้ถุงผ้า การใช้ตอกแทนยางวงในการมัด เป็นต้น ทั้งนี้ทางโครงการได้ร่วมกับทางองการบริหารส่วนตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ ได้สร้างช่องทางการจำหน่ายภายในชุมชน โดยมีจุดจำหน่ายประจำบริเวณหน้าที่ทำการองการบริหารส่วนตำบล ทุกวันอาทิตย์ เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายผู้ผลิตที่เข้าร่วมพัฒนากับทางโครงการ มีพื้นที่จำหน่ายประจำ สร้างรายได้เพิ่มให้กับครอบครัว และสร้างพื้นที่อาหารปลอดภัยให้กับคนในชุมชน 

Partners/Stakeholders

1.ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

2.เจ้าหน้าที่โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) หรือ U2T ปีงบประ มาณ 2565

4.ผู้นำชุมชนตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์

5.นายกองค์การบริหารส่วนตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์

6.กลุ่มชาวบ้านผู้ปลูกผัก 18 ครัวเรือน ของตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ

7.กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ผู้ดำเนินการหลัก
พินณารักษ์ พันธุมาศ
ส่วนงานหลัก
ผู้ดำเนินการร่วม
อติพร อุ่นเป็นนิจย์ ศรัณย์รัชต์ พูลพันธ์ ภัคพล อ่อนแก้ว ดรุณี เอี่ยมอุดม นันทวัฒน์ ชูแผ้ว สุวิชญา พงษ์กสิกรณ์ นพเก้า กุลาวงษ์ นายดนัย อินทวัน วัชรพล สอนจีน สุชาดา เกตุพุ่ม ทีมงานเจ้าหน้าที่โครงการ U2T ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์