Partnerships For The Goals

เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงาน และฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

มหาวิทยาลัยมหิดลส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระดับสากลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน อย่างต่อเนื่อง เริ่มต้นจากสร้างหลักสูตรเฉพาะด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้นักศึกษาในทุกระดับการศึกษา รวมถึงระดับประกาศนียบัตร และบุคลากรมหาวิทยาลัยทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่นักศึกษาและบุคลากรทุกคนเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรระยะสั้น เช่น Sustainable Transportation โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งสามารถเรียนรู้ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายผ่านช่องทาง Mahidol University Extension (MUx) เป็นต้น การสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ในระดับมหาวิทยาลัยส่งผลให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ความเข้าใจไปประยุกต์ใช้ และเห็นความสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับสังคม ประเทศ และนานาชาติ เช่น คณาจารย์และนักศึกษาของวิทยาลัยนานาชาติมหิดลเข้าร่วม Asia Pacific Day for the Ocean จัดโดยคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP) เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเสวนาเรื่องการอนุรักษ์ท้องทะเลผ่านการประมงและการขนส่งที่ยั่งยืน รวมไปถึงการกำจัดมลภาวะทางทะเลผ่านความร่วมมือระดับภูมิภาคที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีการเข้าร่วมประชุม United Nation High-Level Forum on Green Economy ที่มุ่งเน้นหลักการสำคัญ และแนวโน้มในกระบวนการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจสีเขียว ตลอดจนเครื่องมือและวิธีการสำหรับการดำเนินการเชิงเศรษฐศาสตร์ธุรกิจสีเขียวในเชิงรุก เป็นต้น มหาวิทยาลัยมหิดลมุ่งสร้างความร่วมมือด้านการศึกษากับหลายประเทศ เช่น มีการมอบทุนการศึกษาร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตนอร์เวย์ประจำประเทศไทย (Mahidol – Norway Scholarships) เพื่อเปิดโอกาสให้บุคลากรจากประเทศเมียนมาร์ ได้ศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก โครงการฝึกอบรมบุคลากรทางการแพทย์จากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตามพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อบรมให้ความรู้และทักษะในการส่งเสริมสุขภาพ การรักษาโรค การดูแลผู้ป่วย และการใช้ยา ตลอดจนทักษะในกระบวนการทำงานเป็นทีมแก่บุคลากรทางการแพทย์จากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2543 จนถึงปัจจุบัน มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมไปแล้วทั้งสิ้นจำนวน 1,144 ราย มหาวิทยาลัยมหิดลมีการจัดทำข้อตกลงความร่วมมือกับสถาบันศึกษาในต่างประเทศ โดยมุ่งให้ความสำคัญกับคู่ร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic partnership) อย่างต่อเนื่อง เพื่อดำเนินกิจกรรมทางวิชาการและการวิจัย รวมถึงการสร้างหลักสูตร Joint degree และ Double Degree ร่วมกัน และสนับสนุนการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากรทั้งสายวิชาการและสนับสนุน (Inbound and Outbound) เพื่อเปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนด้านวิชาการ วิชาชีพ สังคม และวัฒนธรรมในระดับนานาชาติ (Internationalization) นอกจากนี้ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ร่วมกับ กระทรวงการต่างประเทศ ได้จัดตั้งศูนย์อาเซียนเพื่อการศึกษาและการหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน (ASEAN Centre for Sustainable Development Studies and Dialogue : ACSDSD) ซึ่งศูนย์ฯ ทำหน้าที่สนับสนุนการประสานงานกับองค์กรต่าง ๆ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนของประชาคมอาเซียนการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สำคัญ เช่น การใช้ data technology ในการปกป้องดูแลทะเล ความเท่าเทียมทางเพศและศักยภาพของสตรีในที่ทำงาน การเรียนรู้การจำแนกประเภทขยะภายในโรงเรียน เป็นต้น

Highlights
  • thumb
    16 10 17
    1 ก.ย. 2565
    มหาวิทยาลัยมหิดลกับการมีส่วนร่วมในการหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
    โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา และสภาประชาสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ เห็นความสำคัญของกระบวนการพูดคุยสันติภาพสำคัญต่อการแก้ปัญหาพื้นที่จังหวัดชายแอนภาคใต้อย่างยั่งยืน จึงได้ใช้กระบวนการสานเสวนาสร้างพื้นที่แห่งความร่วมมือระหว่างตัวแสดงที่มีอิทธิพลและบทบาทในการแก้ปัญหาทางสังคมการเมือง ได้แก่ ภาคประชาสังคมและนักการเมือง โดยได้ดำเนินการต่อเนื่องหลายปีด้วยความสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยมหิดล จนสามารถจัดทำ “ข้อตกลงร่วมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ระหว่างนักการเมืองกับภาคประชาสังคม” และงานแรกที่ร่วมกันผลักดันคือ “การตั้งคณะกรรมาธิการกระบวนการพูดคุยสันติภาพ” ผ่านกลไกรัฐสภา
  • thumb
    15 พ.ค. 2566
    โครงการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหนึ่งในแผนงานเชิงยุทธศาสตร์ของโครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา (IHRP) มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาผ่านการเสริมสร้างศักยภาพ การเสริมสร้างอำนาจ และการเผยแพร่ความรู้ในหมู่นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษาและภาคส่วนต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มานานกว่าทศวรรษ นอกเหนือจากหลักสูตรด้านสิทธิมนุษยชนและสันติภาพในระดับบัณฑิตศึกษาแล้ว สถาบันฯ ยังทำงานร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศเพื่อเสริมสร้างศักยภาพ ทักษะ และความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาสำหรับนักวิชาการในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในช่วงหลังได้เน้นการทำงานไปที่กลุ่มนักวิชาการในเมียนมาร์ที่ได้รับผลกระทบจากการรัฐประหารเมื่อปี 2564
  • thumb
    03 04 17
    4 เม.ย. 2567
    เครือข่ายความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขั้นสูงสำหรับเวชศาสตร์เขตร้อน
    เป้าหมายโดยรวมของโครงการนี้คือการเสริมสร้างความสามารถของมหาวิทยาลัยมหิดลและเครือข่ายมหาวิทยาลัยอื่นๆ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการใช้กระบวนการแบบ One Health เพื่อศึกษาและวิจัยการจัดการกับโรคเขตร้อนและโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน (zoonoses) ที่มีความสำคัญ
  • thumb
    4 เม.ย. 2567
    สารคดีชุด “SOME ONE หนึ่งในหลาย”
    สารคดีชุด “SOME ONE หนึ่งในหลาย” สารคดีที่มุ่งส่งเสริมความเข้าใจของบุคคล ชุมชน และสังคมที่อยู่นอกเหนือจากกรอบสังคมที่คุ้นเคย ผ่านแนวคิด “สังคมพหุนิยม” หรือ Pluralism ซึ่งเป็นแนวคิดที่ยอมรับความหลากหลายในสังคม ให้ความสำคัญแก่ “ความแตกต่างหลากหลาย” รวมถึงบทบาทที่ถูก “ละเลย” และ “ละเมิด” ทั้งในระดับปัจเจกและสังคม เพื่อสร้างการรับรู้ เคารพ และยอมรับในสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้คนในกลุ่มวัฒนธรรมต่าง ๆ ด้วยขันติธรรม และเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเปิดกว้างทางความคิดที่จะนำไปสู่สังคมสันติสุขอย่างยั่งยืน
  • thumb
    1 ก.ย. 2566
    การพัฒนาขีดความสามารถการสื่อสารภาษาอังกฤษด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เขตพัฒนาราษฎร์บนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี
    จังหวัดอุทัยธานีมีลักษณะโดดเด่นทั้งด้านศาสนา วิถีชีวิต ศิลปะ ประเพณี วัฒนธรรม เป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่มีเอกลักษณ์มีวิถีชีวิตของผู้คนที่เรียบง่ายสงบร่มเย็น ดังคำขวัญของจังหวัดอุทัยธานี “เมืองพระชนกจักรี ปลาแรดรสดี ประเพณีเทโว ส้มโอบ้านน้าตก มรดกโลกห้วยขาแข้ง แหล่งต้นน้าสะแกกรัง ตลาดนัดดังโคกระบือ”แสดงให้เห็นถึงทุนทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์และมีเสน่ห์ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวสู่การเรียนรู้และอนุรักษ์อย่างเป็นรูปธรรม
  • thumb
    1 ธ.ค. 2565
    คลินิกกายภาพบำบัดสัญจรสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยมหิดล
    คลินิกกายภาพบำบัดสัญจรสู่ชุมชนได้ริเริ่มขึ้นมาให้สอดรับกับแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย และเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ โดยการให้ความรู้กับประชาชนร่วมกับเครือข่ายภายในและภายนอกประเทศผ่านการสร้างเสริมสุขภาพ ส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู โดยการใช้ปัญหาของชุมชนเป็นโจทย์ การออกแบบการบริการให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในชุมชนทั้ง 5 กลุ่มวัย รวมไปถึงการสร้างชุมชนต้นแบบให้ชุมชนดูแลตนเองได้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนรอบมหาวิทยาลัยมหิดล
  • thumb
    13 17
    2 เม.ย. 2567
    โครงการการพัฒนาศักยภาพสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาแผนงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด จังหวัดสมุทรสงคราม
    มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสมุทรสงคราม และ 34 หน่วยงานจัดทำแผนการลดก๊าซเรือนกระจก และแผนปฏิบัติการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำหรับ จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อสนับสนุนการบรรลุ Nationally Determined Contribution ในการลดก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 30-40 ภายใน พ.ศ. 2573
  • thumb
    04 01 17
    29 พ.ย. 2566
    โครงการพัฒนาระบบทุนการศึกษา (ทุนเปรมดนตรี)
    กองทุนเปรมดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นด้วยความเห็นชอบของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อดีตประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ซึ่งเป็นผู้ที่มีคุณูปการต่อการศึกษาของไทย รวมทั้งการศึกษาดนตรีเป็นอย่างมาก โดยได้สนับสนุนเงินบริจาคเพื่อจัดตั้งกองทุนเปรมดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ เพื่อนำดอกผลมาส่งเสริมและสนับสนุนเป็นทุนการศึกษาด้านดุริยางคศาสตร์ของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยปีนี้ กองทุนฯได้นำเงินดอกผลมาจัดสรรเป็นทุนการศึกษาในปี 2564 เป็นปีแรก ผู้ที่ได้รับทุนผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการพิจารณา และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยดุริยางคศิลป์
  • thumb
    31 ส.ค. 2565
    โครงการ “การพัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษาแบบรอบด้าน สำหรับเยาวชนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในโรงเรียนโสตศึกษา”
    การดำเนินงานโครงการ “การพัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษาแบบรอบด้านสำหรับเยาวชนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในโรงเรียนโสตศึกษา” เพื่อพัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษา ที่เหมาะสมกับเยาวชนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในโรงเรียนโสตศึกษาอย่างมีส่วนร่วม รวมทั้งสื่อสารเพื่อกระตุ้นและสร้างความตระหนักให้กับหน่วยงาน/ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ถึงความสำคัญของการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษาอย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิผลในกลุ่มเยาวชนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
  • thumb
    15 พ.ค. 2566
    การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพและสร้างรายได้สำหรับผู้สูงอายุในศูนย์ดูแลกลางวันสำหรับผู้สูงอายุโดยชุมชน
    การสร้างเสริมสุขภาพและสร้างรายได้สำหรับผู้สูงอายุในศูนย์ดูแลกลางวันสำหรับผู้สูงอายุเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ให้ผู้สูงอายุมาทำกิจกรรมร่วมกันทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ มีกลไกคณะทำงานในการบริหารจัดการศูนย์ดูแลกลางวัน โดยมีครูอาสาในการสร้างการเรียนรู้ 12 ฐาน และมีกองทุนศูนย์ดูแลกลางวันสำหรับผู้สูงอายุเพื่อสนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรม
  • thumb
    03 09 17
    23 พ.ย. 2565
    คิดค้นและพัฒนานวัตกรรม "เครื่องนวดเท้าช่วยเลิกบุหรี่"
    นวัตกรรมเครื่องนวดกดจุดเท้า เพื่อเลิกบุหรี่นี้ไม่ถือเป็นเครื่องมือแพทย์ โดยอุปกรณ์เสริมที่ใช้ตัวนำไฟฟ้า มาติดกับตัวรองเท้าในบริเวณนิ้วโป้งเท้าหรือแผ่นนวดใช้กระแสไฟฟ้าเพียง 3 โวลต์ ไม่เป็นอันตรายต่อ ผู้ใช้ โดยกระแสไฟฟ้าไปกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น เกิดการผ่อนคลาย และกระตุ้นจุดรับรสชาติและความรู้สึกที่ทำให้รสชาติบุหรี่เปลี่ยนมีการมึนงง คลื่นไส้เวลาที่สูบบุหรี่ ซึ่งอาจต่อยอดนำไปประยุกต์ใช้ในการบำบัดการเสพติดอื่น ๆ ได้ เช่น การเสพติดสุรา นวัตกรรมนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการช่วยเลิกบุหรี่ให้แก่ผู้สูบบุหรี่ที่อยากเลิกและต้องการตัวช่วย นวัตกรรมนี้ได้เสนอเป็นโครงการพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคม เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ และจะนำไปบูรณาการ เพื่อใช้ในการส่งเสริมสุขภาวะของคนไทยในระดับนโยบายต่อไป ซึ่งจากการพัฒนานวัตกรรมโดยเอาประโยชน์ของปวงชนเป็นตัวตั้งนี้ ถือเป็นพันธกิจสำคัญของมหาวิทยาลัยมหิดลตามปณิธานแห่งการเป็น "ปัญญาของแผ่นดิน" ที่สร้างสรรค์องค์ความรู้เพื่อสังคมและประเทศชาติ
  • thumb
    06 12 17
    29 ส.ค. 2565
    10 ปี ของวิทยาเขตนครสวรรค์ ในการมีส่วนร่วมพัฒนาบึงบอระเพ็ด
    กระบวนการที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาบึงบอระเพ็ดตลอด 10 ปีที่ผ่านมา เป็นการใช้การวิจัยและบริการวิชาการเป็นบทบาทหลักในการทำงาน โดยแบ่งช่วงการทำงานออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะการเรียนรู้ ระยะการสร้างเครือข่าย และระยะการจัดการเครือข่าย
จำนวนทั้งหมด 89 รายการ