Partnerships For The Goals

เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงาน และฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

มหาวิทยาลัยมหิดลส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระดับสากลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน อย่างต่อเนื่อง เริ่มต้นจากสร้างหลักสูตรเฉพาะด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้นักศึกษาในทุกระดับการศึกษา รวมถึงระดับประกาศนียบัตร และบุคลากรมหาวิทยาลัยทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่นักศึกษาและบุคลากรทุกคนเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรระยะสั้น เช่น Sustainable Transportation โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งสามารถเรียนรู้ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายผ่านช่องทาง Mahidol University Extension (MUx) เป็นต้น การสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ในระดับมหาวิทยาลัยส่งผลให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ความเข้าใจไปประยุกต์ใช้ และเห็นความสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับสังคม ประเทศ และนานาชาติ เช่น คณาจารย์และนักศึกษาของวิทยาลัยนานาชาติมหิดลเข้าร่วม Asia Pacific Day for the Ocean จัดโดยคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP) เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเสวนาเรื่องการอนุรักษ์ท้องทะเลผ่านการประมงและการขนส่งที่ยั่งยืน รวมไปถึงการกำจัดมลภาวะทางทะเลผ่านความร่วมมือระดับภูมิภาคที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีการเข้าร่วมประชุม United Nation High-Level Forum on Green Economy ที่มุ่งเน้นหลักการสำคัญ และแนวโน้มในกระบวนการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจสีเขียว ตลอดจนเครื่องมือและวิธีการสำหรับการดำเนินการเชิงเศรษฐศาสตร์ธุรกิจสีเขียวในเชิงรุก เป็นต้น มหาวิทยาลัยมหิดลมุ่งสร้างความร่วมมือด้านการศึกษากับหลายประเทศ เช่น มีการมอบทุนการศึกษาร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตนอร์เวย์ประจำประเทศไทย (Mahidol – Norway Scholarships) เพื่อเปิดโอกาสให้บุคลากรจากประเทศเมียนมาร์ ได้ศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก โครงการฝึกอบรมบุคลากรทางการแพทย์จากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตามพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อบรมให้ความรู้และทักษะในการส่งเสริมสุขภาพ การรักษาโรค การดูแลผู้ป่วย และการใช้ยา ตลอดจนทักษะในกระบวนการทำงานเป็นทีมแก่บุคลากรทางการแพทย์จากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2543 จนถึงปัจจุบัน มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมไปแล้วทั้งสิ้นจำนวน 1,144 ราย มหาวิทยาลัยมหิดลมีการจัดทำข้อตกลงความร่วมมือกับสถาบันศึกษาในต่างประเทศ โดยมุ่งให้ความสำคัญกับคู่ร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic partnership) อย่างต่อเนื่อง เพื่อดำเนินกิจกรรมทางวิชาการและการวิจัย รวมถึงการสร้างหลักสูตร Joint degree และ Double Degree ร่วมกัน และสนับสนุนการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากรทั้งสายวิชาการและสนับสนุน (Inbound and Outbound) เพื่อเปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนด้านวิชาการ วิชาชีพ สังคม และวัฒนธรรมในระดับนานาชาติ (Internationalization) นอกจากนี้ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ร่วมกับ กระทรวงการต่างประเทศ ได้จัดตั้งศูนย์อาเซียนเพื่อการศึกษาและการหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน (ASEAN Centre for Sustainable Development Studies and Dialogue : ACSDSD) ซึ่งศูนย์ฯ ทำหน้าที่สนับสนุนการประสานงานกับองค์กรต่าง ๆ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนของประชาคมอาเซียนการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สำคัญ เช่น การใช้ data technology ในการปกป้องดูแลทะเล ความเท่าเทียมทางเพศและศักยภาพของสตรีในที่ทำงาน การเรียนรู้การจำแนกประเภทขยะภายในโรงเรียน เป็นต้น

Highlights
  • thumb
    01 17
    25 ต.ค. 2566
    โครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชา ตามแนวพระราชดำริ
    โครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชา ถือกำเนิดจากพระราชปณิธาณในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่จะพัฒนาระบบการศึกษาที่มีคุณภาพให้แก่เยาวชนกัมพูชา เสมือนเป็นของขวัญพระราชทานที่ยั่งยืนแก่ประชาชนแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งเป็นเพื่อนกันมายาวนาน ของขวัญ ล้ำค่านี้คือ ระบบการศึกษาทั้งสายสามัญ และสายวิชาชีพ ทำให้เกิดโรงเรียนซึ่งจัดการเรียนการสอนสองระบบ หรือ dual system อันเป็นต้นแบบของการเรียนการสอนปัจจุบัน นอกเหนือไปจากนั้นยังทรงห่วงใยในเรื่องสุขภาพอนามัยของนักเรียน ทรงเน้นว่า การศึกษาที่ดีจะต้องควบคู่ไปกับนักเรียน นักศึกษาที่มีสุขอนามัยที่ดีด้วย
  • thumb
    02 14 17
    31 ส.ค. 2565
    จากองค์ความรู้สู่การพัฒนากลยุทธ์ต้านโรคกุ้งตายด่วน (From research to strategies to control shrimp early mortality syndrome (EMS))
    ปี พ.ศ. 2555 อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลพบการระบาดอย่างรุนแรงของโรคกุ้งตายด่วน ส่งผลให้ผลผลิตกุ้งทั่วประเทศลดลงถึงร้อยละ 50 หน่วยวิจัยฯ ได้ค้นพบแบคทีเรียสาเหตุ และทำวิจัยต่อเนื่อง จนค้นพบกลไกการก่อโรคและการแพร่กระจาย โดยผลการประเมินระหว่างปี พ.ศ. 2562-2564 พบว่าผลงานวิจัยดังกล่าวก่อให้เกิดผลประโยชน์ด้านการบริโภคในประเทศและการส่งออกกุ้งเป็นมูลค่า 104.82 และ 625.29 ล้านบาท ตามลำดับ
  • thumb
    29 ก.ย. 2566
    การเสริมศักยภาพชุมชนภายใต้โครงการ U2T for BCG
    กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีนโยบายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) ด้วยการสนับสนุนให้สถาบันการศึกษาในประเทศไทยขับเคลื่อนเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCG ในพื้นที่ ด้วยองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนากำลังคนให้มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการทำงานในปัจจุบันและทักษะที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ BCG และเพื่อพัฒนาฐานข้อมูล Thailand Community Big Data (TCD) ให้มีความสมบูรณ์ครอบคลุมในทุกพื้นที่ของประเทศ
  • thumb
    1 ก.ย. 2566
    โครงการการบูรณาการรายวิชาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ กับการประกอบการเลี้ยงไก่ไข่ปล่อยอิสระในป่าสัก “The Teak Chicken”
    หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรยั่งยืนเพื่อสุขภาพและการประกอบการ (SMART Farmer) มีเป้าหมายในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้และทักษะด้านการประกอบการเกษตร ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และรู้วิธีประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะช่วยผลักดันการพัฒนาเกษตรในประเทศไทยให้ยั่งยืนได้ โดยเฉพาะในสถานการณ์โลกร้อน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และความสนใจในสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้น ทักษะในการประกอบการเกษตรเชื่อมโยงกับทฤษฎีและปฏิบัติกลายเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการช่วยให้การเกษตรเติบโตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ไม่แน่นอน และสามารถผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพและปลอดภัยให้กับผู้บริโภคได้
  • thumb
    17
    25 ก.ย. 2566
    โครงการประเมินผลการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และการนำแนวคิดทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพมาใช้ในประเทศไทย
    แนวคิด “ทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพ” หรือ Health in All Policies (HiAP) ได้ถูกกล่าวถึงในฐานะแนวคิดและหลักการ ซึ่งกำหนดอยู่ในพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และมีการนำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ยังมีช่องว่างขององค์ความรู้ คือ การประเมินบทบาทของการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติฯ ฉบับนี้ในการนำแนวคิดทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพมาใช้ในประเทศไทย
  • thumb
    03 11 17
    11 มี.ค. 2565
    ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.)
    ศูนย์กลางด้านวิชาการเพื่อการควบคุม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาการบริโภคยาสูบของประเทศไทย
  • thumb
    03 02 17
    21 ก.ย. 2566
    ศูนย์สุขภาพชุมชนซอยสวนเงิน
    กระบวนการพัฒนาสร้างเสริมสุขภาพประชาชนแบบบูรณาการร่วมกับชุมชน ลดปัจจัยเสี่ยงและเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • thumb
    04 01 17
    26 ส.ค. 2565
    โครงการการสนับสนุนความช่วยเหลือกลุ่มเด็กปฐมวัยยากจนในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ในกรุงเทพมหานคร ภายใต้สถานการณ์โควิด-19
    ระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อวางแผนลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และติดตามช่วยเหลือกลุ่มเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน โดยสนับสนุนการค้นหา คัดกรอง ช่วยเหลือเด็กปฐมวัยยากจนในกลุ่มครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 และพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ
  • thumb
    03 04 17
    13 พ.ค. 2566
    โครงการสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการจัดการระบบสุขภาพชุมชนบางกอกน้อย ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
    การพัฒนา “ฐานข้อมูลสุขภาพของชุมชน” เครื่องมือสำหรับพัฒนากิจกรรม โครงการ และองค์ความรู้ที่ตอบสนองต่อสถานการณ์ระบบสุขภาพชุมชน เพื่อยกระดับการขับเคลื่อน และเชื่อมโยงกลไกการบริหารในระบบสุขภาพ
  • thumb
    4 ก.ย. 2566
    การพัฒนาศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดร่วมกับเครือข่าย
    บึงบอระเพ็ดมีหน่วยงานที่รับผิดชอบจำนวนมาก ซึ่งมีบทบาทและภารกิจที่แตกต่างกันไป ทำให้แต่ละหน่วยงานมีการเก็บข้อมูลแยกกัน และมีการรายงานข้อมูลไปตามสายงานของแต่ละกรมกองเท่านั้น ทำให้การใช้ประโยชน์จากข้อมูลต้องมีการทำหนังสือขอเป็นทางการเท่านั้น ส่วนการตัดสินใจในการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ดของคณะกรรมการชุดต่างๆ ได้มีการใช้ข้อมูลของแต่ละหน่วยงาน แต่ก็ต้องใช้เวลาในการ รวบรวมประสานข้อมูลกันจนทำให้ไม่สามารถตัดสินใจได้อย่างทันท่วงที
  • thumb
    21 ต.ค. 2565
    โครงการฟาร์มสร้างสุขรามาธิบดี
    ฟาร์มสร้างสุขรามาธิบดี เกษตรอินทรีย์วิถีธรรมชาติ เพื่อผู้ป่วยและประชาชนคนไทย ได้ตระหนักและเรียนรู้ต้นทางของการดูแลสุขภาพแบบครบวงจร
จำนวนทั้งหมด 89 รายการ