Partnerships For The Goals

เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงาน และฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

มหาวิทยาลัยมหิดลส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระดับสากลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน อย่างต่อเนื่อง เริ่มต้นจากสร้างหลักสูตรเฉพาะด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้นักศึกษาในทุกระดับการศึกษา รวมถึงระดับประกาศนียบัตร และบุคลากรมหาวิทยาลัยทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่นักศึกษาและบุคลากรทุกคนเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรระยะสั้น เช่น Sustainable Transportation โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งสามารถเรียนรู้ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายผ่านช่องทาง Mahidol University Extension (MUx) เป็นต้น การสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ในระดับมหาวิทยาลัยส่งผลให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ความเข้าใจไปประยุกต์ใช้ และเห็นความสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับสังคม ประเทศ และนานาชาติ เช่น คณาจารย์และนักศึกษาของวิทยาลัยนานาชาติมหิดลเข้าร่วม Asia Pacific Day for the Ocean จัดโดยคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP) เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเสวนาเรื่องการอนุรักษ์ท้องทะเลผ่านการประมงและการขนส่งที่ยั่งยืน รวมไปถึงการกำจัดมลภาวะทางทะเลผ่านความร่วมมือระดับภูมิภาคที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีการเข้าร่วมประชุม United Nation High-Level Forum on Green Economy ที่มุ่งเน้นหลักการสำคัญ และแนวโน้มในกระบวนการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจสีเขียว ตลอดจนเครื่องมือและวิธีการสำหรับการดำเนินการเชิงเศรษฐศาสตร์ธุรกิจสีเขียวในเชิงรุก เป็นต้น มหาวิทยาลัยมหิดลมุ่งสร้างความร่วมมือด้านการศึกษากับหลายประเทศ เช่น มีการมอบทุนการศึกษาร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตนอร์เวย์ประจำประเทศไทย (Mahidol – Norway Scholarships) เพื่อเปิดโอกาสให้บุคลากรจากประเทศเมียนมาร์ ได้ศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก โครงการฝึกอบรมบุคลากรทางการแพทย์จากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตามพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อบรมให้ความรู้และทักษะในการส่งเสริมสุขภาพ การรักษาโรค การดูแลผู้ป่วย และการใช้ยา ตลอดจนทักษะในกระบวนการทำงานเป็นทีมแก่บุคลากรทางการแพทย์จากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2543 จนถึงปัจจุบัน มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมไปแล้วทั้งสิ้นจำนวน 1,144 ราย มหาวิทยาลัยมหิดลมีการจัดทำข้อตกลงความร่วมมือกับสถาบันศึกษาในต่างประเทศ โดยมุ่งให้ความสำคัญกับคู่ร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic partnership) อย่างต่อเนื่อง เพื่อดำเนินกิจกรรมทางวิชาการและการวิจัย รวมถึงการสร้างหลักสูตร Joint degree และ Double Degree ร่วมกัน และสนับสนุนการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากรทั้งสายวิชาการและสนับสนุน (Inbound and Outbound) เพื่อเปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนด้านวิชาการ วิชาชีพ สังคม และวัฒนธรรมในระดับนานาชาติ (Internationalization) นอกจากนี้ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ร่วมกับ กระทรวงการต่างประเทศ ได้จัดตั้งศูนย์อาเซียนเพื่อการศึกษาและการหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน (ASEAN Centre for Sustainable Development Studies and Dialogue : ACSDSD) ซึ่งศูนย์ฯ ทำหน้าที่สนับสนุนการประสานงานกับองค์กรต่าง ๆ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนของประชาคมอาเซียนการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สำคัญ เช่น การใช้ data technology ในการปกป้องดูแลทะเล ความเท่าเทียมทางเพศและศักยภาพของสตรีในที่ทำงาน การเรียนรู้การจำแนกประเภทขยะภายในโรงเรียน เป็นต้น

Highlights
  • thumb
    02 03 17
    29 ส.ค. 2565
    โครงการร้านอาหารปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค สุขภาพชุมชนเขาทองยั่งยืน
    ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ เป็นที่ตั้งของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ห่างจากตัวเมืองราว 15 กิโลเมตร ความเป็นอยู่และอาหารการกินของประชาชนในชุมชน ยังเป็นลักษณะคล้ายกับชุมชนที่ห่างไกลความเจริญจากตัวเมืองทั่วไป โดยวิถีการบริโภคอาหารในพื้นที่มีลักษณะเป็นร้านอาหารของคนในชุมชน ตลาดนัด หาบเร่ แผงลอย ซึ่งยังคงต้องพัฒนาด้านการสุขาภิบาลอาหารและอาหารปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง
  • thumb
    10 มี.ค. 2565
    กิจกรรมสร้างเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์มหิดล
    ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการบึงบอระเพ็ด มหิดลนครสวรรค์ ได้เห็นปัญหาความมั่นใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อข้าวอินทรีย์ และปัญหาการเข้าถึงมาตรฐานของชาวนาอินทรีย์เพื่อการรับรองการผลิต
  • thumb
    23 มิ.ย. 2565
    โครงการพัฒนาทักษะกำลังคนของประเทศ (Reskill/Upskill/Newskill) เพื่อการมีงานทำและเตรียมความพร้อมรองรับการทำงานในอนาคต หลังวิกฤตการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขา ผู้ดูแลเด็กในศตวรรษที่ 21
    ประเทศได้ก้าวผ่านวิกฤตการระบาดของไวรัสโคโรนา ทำให้เกิดจ้างงานมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าตลาดแรงงานที่ให้บริการจะขยายตัว และมีความต้องการผู้ดูแลเด็กมากขึ้น ผู้ดูแลเด็กจึงเป็นอาชีพที่มีความสำคัญกับครอบครัวในปัจจุบัน
  • thumb
    8 ก.ค. 2565
    โครงการทบทวนสถานการณ์สุขภาวะเด็กไทยและความเหลื่อมล้ำตามกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
    การปกป้องเด็กจากความรุนแรงในทุกรูปแบบ เป็นสิทธิพื้นฐานที่ระบุไว้ในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็ก (United Nations Convention on the Right of the Child: CRC) ซึ่งประกอบด้วยสิทธิของเด็ก 4 ด้านด้วยกัน ได้แก่ สิทธิที่จะมีชีวิตรอด สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา และสิทธิที่จะมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ถูกบรรจุไว้ในวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ.2030 (The 2030 Agenda for Sustainable Development) โดยเด็กทุกคนต้องได้รับการปกป้องคุ้มครองสิทธิในการดำรงชีวิตอย่างปราศจากความหวาดกลัว การถูกละเลย การถูกทารุณกรรม และการถูกแสวงหาผลประโยชน์ ทั้งนี้ รวมไปถึงความรุนแรงและการปฏิบัติที่เป็นอันตราย เช่น การบังคับให้แต่งงานในวัยเด็ก การขลิบอวัยวะเพศ การใช้แรงงานเด็ก การจ้างงาน และใช้เด็กในการทหารด้วย
  • thumb
    6 ก.ค. 2565
    โครงการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสิทธิประโยชน์ในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ของผู้พิการ
    การเข้าถึงการสื่อสารวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ของผู้พิการเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่อาจกล่าวได้ว่า ในอดีตผู้ประกอบการหรือผู้ผลิตรายการไม่ได้คำนึงถึง หรืออาจจะคำนึงเป็นกลุ่มสุดท้าย อาจเป็นเพราะสื่อกระจายเสียงของไทยดำเนินการเชิงพาณิชย์เป็นส่วนใหญ่ ทำให้ผู้ประกอบการคำนึงถึงผู้ชมทั่วไป มุ่งผลิตรายการตอบสนองคนทั่วไป เพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจที่แปรผันตามจำนวนผู้ชมรายการ ทำให้ผู้พิการที่มีจำนวนน้อยมากเปรียบเทียบเชิงปริมาณกับคนทั่วไปถูกละเลยและถูกละเมิดมาโดยตลอด เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและแผนแม่บท และขยายแนวคิดในเรื่องการรู้เท่าสื่อและร่วมกันสร้างสังคมที่เท่าเทียม ปราศจากการเลือกปฏิบัติ และสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขบนความแตกต่างการนับถือกันและกันในฐานะเพื่อนมนุษย์ สำนักพัฒนาองค์กรวิชาชีพและส่งเสริมการบริการอย่างทั่วถึง (ชส.) จึงเห็นความสำคัญของการดำเนินโครงการพัฒนาชุดการเรียนรู้สำหรับผู้พิการเพื่อสร้างเสริมความตระหนักในเทคโนโลยีการเข้าถึง หรือรับรู้ และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เพื่อส่งเสริมให้ผู้พิการมีความรู้ ความเข้าใจ ในสิทธิและประโยชน์ในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารรวมตลอดถึงการใช้ประโยชน์จากสื่อได้อย่างรู้เท่าทัน และเพื่อให้ผู้พิการตระหนักในสิทธิของตนเอง สามารถเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร ผ่านกิจการโทรทัศน์ได้อย่างเท่าเทียมต่อไป
  • thumb
    30 มิ.ย. 2565
    โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมในการออกแบบนวัตกรรมถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะสำหรับทุกคน
    ที่ผ่านมาผู้พิการทางการเห็นมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะค่อนข้างน้อย อันเนื่องมากจากถังขยะที่ใช้หลักการของสีเป็นตัวแบ่งแยกขยะ ซึ่งเป็นข้อจำกัดยิ่งสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องหรือพิการทางการเห็น จึงได้มีการจัดทำโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมในการออกแบบนวัตกรรมถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะสำหรับทุกคนเป็นผลผลิตหลัก ซึ่งได้มีการยื่นจดอนุสิทธิบัตรในชื่อ “ระบบการแยกถังขยะด้วยเสียง” ตามหนังสือสำคัญการจดทะเบียนอนุสิทธิบัตร เลขที่ 17547 ออกให้ ณ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2564 มีวัตถุประสงค์โครงการ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทิ้งขยะและปัญหาในการคัดแยกขยะของคนพิการทางการเห็น 2) เพื่อออกแบบนวัตกรรมถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะสำหรับทุกคน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจและพฤติกรรมหลังการใช้นวัตกรรมถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะ โครงการนี้เกิดประโยชน์ของโครงการ ดังนี้ 1) ได้นวัตกรรมถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะสำหรับทุกคนที่คนพิการทางการเห็นใช้งานได้จริง คัดแยกขยะได้จริงเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของคนพิการทางการเห็น 2) ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมการทิ้งขยะและปัญหาการคัดแยกขยะของคนพิการทางการเห็น 3) สร้างจิตสำนึกในการคัดแยกขยะให้กับคนพิการทางการเห็น 4) กระตุ้นให้คนทั่วไปเกิดจิตสำนึกในการคัดแยกขยะมากขึ้นเพื่อเห็นตัวอย่างจากการปฏิบัติของคนพิการทางการเห็นที่ยังสามารถคัดแยกขยะได้ 5) เปิดโอกาสให้คนพิการทางการเห็นได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาของสังคมเท่าเทียมกับคนทั่วไป 6) การเผยแพร่ผลการศึกษาในวารสารวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ
  • thumb
    9 พ.ค. 2566
    การเรียนรู้นอกห้องเรียน โดยใช้เกมกระดาน “Mangrove Survivor” เพื่อส่งเสริมการศึกษาและสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักเรื่องระบบนิเวศป่าชายเลน
    Mangrove Survivor Board game ใช้ส่งเสริมความเข้าใจเรื่องป่าชายเลนซึ่งเป็นระบบนิเวศที่เชื่อมโยงพื้นดินและน้ำทะเลเข้าด้วยกัน ตัวเกมมีต้นทุนที่ในการผลิตต่ำจึงสามารถนำไปใช้ในในทุกบริบท ทั้งในและนอกห้องเรียน
  • thumb
    5 พ.ค. 2566
    โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ STEM & ROBOTICS CAMP
    โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ STEM & ROBOTICS CAMP” เป็นการจัดค่ายเสริมพิเศษนอกเวลาเรียน เพื่อพัฒนาทักษะของครูและนักเรียนด้านการโค้ดดิ้ง การจัดกิจกรรมมีลักษณะการดำเนินงานใน 3 มิติ ได้แก่ การอบรมเชิงปฏิบัติการโค้ดดิ้งสำหรับนักเรียนและครูผู้สอน การวิจัยและพัฒนากระบวนการสอนโค้ดดิ้งสำหรับครูผู้สอน และการวิจัยและพัฒนาสื่อการสอนโค้ดดิ้ง โดยแนวคิดและหลักการทำงานของคณะทำงานจะยึดหลักที่ว่า สื่อการสอนที่ใช้ในการจัดกิจกรรมต้องมีราคาไม่แพง เข้าถึงง่าย กระบวนการเรียนการสอนต้องเข้าถึงผู้เรียน คือ เข้าใจง่าย ไม่น่าเบื่อ มีความทั่วถึง และมีความยั่งยืน
  • thumb
    15 17
    25 ส.ค. 2565
    โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ : การอนุรักษ์พันธุกรรมพืชท้องถิ่นและพืชหายาก เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนสู่เป้าหมาย SDGs ระดับสากล
    การสำรวจความหลากหลายทางพันธุกรรมพืชท้องถิ่นและพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน เพื่อจัดทำฐานข้อมูลพืชขอบเขตพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช จังหวัดอำนาจเจริญ เริ่มดำเนินการในปี 2555-ปัจจุบัน โดยโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ ร่วมกับ ป่าชุมชนจังหวัดอำนาจเจริญ และองค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญ ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ตามที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี วัตถุประสงค์เพื่อสนองงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) จัดทำฐานข้อมูลพืชสมุนไพรท้องถิ่น พืชอาหาร ในรูปแบบพิพิธภัณฑ์พืชของจังหวัดอำนาจเจริญ และศึกษาแนวทางการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรจากทรัพยากรพืชท้องถิ่น และเป็นการเสริมศักยภาพเครือข่ายชุมชนและสร้างความผูกพันระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน ดำเนินการโดยสำรวจและเก็บข้อมูลพืชท้องถิ่นในป่าชุมชนจังหวัดอำนาจเจริญ จัดทำฐานข้อมูลความหลากหลายและการกระจายพันธุ์ของพืชท้องถิ่น รวมถึงการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากป่า โดยโครงการเน้นการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น โรงเรียน และชุมชนในพื้นที่นำไปสู่ผลลัพท์เรื่องการอนุรักษ์พื้นที่ป่าธรรมชาติ องค์ความรู้เรื่องความหลากหลายของทรัพยากรพืชท้องถิ่นและการใช้ประโยชน์ และการปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชของชาวจังหวัดอำนาจเจริญต่อไป
  • thumb
    02 12 17
    19 ต.ค. 2565
    โครงการตลาดนัดสีเขียว Green Market ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
    ตลาดนัดสีเขียวไม่ใช่แค่ตลาด แต่คือชุมชนที่มุ่งสู่ความยั่งยืน โดยมีการจำหน่วยสินค้าจากภูมิปัญญาท้องถิ่น สินค้าออร์แกนิคหลากลาย ผักอินทรีย์ และสินค้าจากเกษตรกรและเครือข่าย เปิดจำหน่วยสินค้าทุกวันศุกร์
  • thumb
    03 17
    29 ส.ค. 2565
    การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลแบบประคับประคองผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้าน ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
    แนวโน้มของความต้องการการดูแลประคับประคองที่บ้านของประชาชนมีมากขึ้น ด้วยเพราะอุบัติการณ์โรคเรื้อรัง โรคร้ายแรง โรคที่คุกคามต่อชีวิต รวมทั้งสัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้มีผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Terminal illness) และผู้สูงอายุระยะบั้นปลายชีวิต (End of life) จำนวนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย การดูแลแบบประคับประคองคือการดูแลอาการเจ็บป่วยทางกาย ปัญหาทางจิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ แบบองค์รวม ตั้งแต่ระยะแรกที่เริ่มวินิจฉัยว่าอยู่ในระยะประคับประคอง (Palliative) จนกระทั่งผู้ป่วยเสียชีวิต
  • thumb
    29 ส.ค. 2565
    การพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่กันชนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
    การขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากฐานทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ โดยนำทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน เพื่อให้เกิดกระบวนการสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างโอกาสให้แก่ประชาชนโดยการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาของชุมชนและท้องถิ่นอย่างมีระบบและยั่งยืน รวมทั้งการพัฒนางานวิจัยและการรวบรวมองค์ความรู้ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาของชุมชนและท้องถิ่น
จำนวนทั้งหมด 89 รายการ