สภาพแวดล้อมเสมือนสำหรับการฝึกฝนผ่าตัดทางทันตกรรม

detail

ระบบจำลองทางทันตกรรมบนอุปกรณ์แบบสวมศีรษะ (Head-Mounted-Display) นี้ทำให้ผู้ใช้มีความรู้สึกร่วมภายในสภาพแวดล้อมเสมือนได้ผ่านทางอุปกรณ์จำลองการสัมผัส (haptic device) สำหรับการฝึกฝนทักษะทางการเคลื่อนไหว ผู้ฝึกฝนจะดำดิ่งเข้าสู่สภาพแวดล้อมสำหรับการผ่าตัดทางทันตกรรมด้วยผู้ป่วยเสมือนที่สมจริง ระบบจำลองนี้ครอบคลุมถึงการใส่แผ่นยางกันน้ำลาย และขั้นตอนการเปิดรากฟันสำหรับการรักษารากฟัน

โครงการนี้มีจุดประสงค์เพื่อสำรวจศักยภาพของการบูรณาการเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality) และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการฝึกฝนผ่าตัดโดยใช้การแนะนำ การประเมิน และการให้ข้อเสนอแนะที่เป็นรูปเป็นร่าง แบบเฉพาะเจาะจงต่อตัวบุคคลในรูปแบบและระดับที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในโลกแห่งความเป็นจริง ชิ้นงานนี้ถูกพัฒนาในของเขตของการผ่าตัดทางทันตกรรม ระบบนี้ถูกสร้างขึ้นโดยที่ต้องการเพิ่มรูปแบบการฝึกฝนที่มีค่าใช้จ่ายที่ต่ำและให้นักศึกษาทันตแพทย์สามารถฝึกฝนขั้นตอนการผ่าตัดได้ด้วยตนเอง

ระบบได้มีการบูรณาการรูปแบบดังต่อไปนี้:

  • ระบบจำลองทางทันตกรรมภายในความเป็นจริงเสมือนที่จำลองสภาพแวดล้อมของห้องผ่าตัดทางทันตกรรมแบบสามมิติ การใช้งานอุปกรณ์จำลองการสัมผัสสองเครื่องอนุญาตให้ผู้ใช้สำมารถใช้งานอุปกรณ์ผ่าตัดได้อย่างสมจริง ตลอดทั้งขั้นตอน ระบบได้ทำการรวบรวมข้อมูลการเคลื่อนไหวของผู้ใช้ที่บอกได้ว่าขั้นตอนการใช้งานของผู้ใช้นั้นเป็นอย่างไรได้ การวิเคราะห์ที่เป็นกิจวัตรนี้สามารถช่วยในการชี้จุดที่ผิดพลาดในผลลัพธ์และต้นเห็นของความผิดพลาดนั้นได้ การให้ข้อเสนอแนะที่เป็นรูปเป็นร่างนั้นมีการนำเสนอในหลากหลายรูปแบบ หนึ่งในนั้นคือการเล่นวีดิทัศน์ที่บันทึกไว้ระหว่างการใช้งานของผู้ใช้และชี้จุดที่ผิดพลาด อีกรูปแบบหนึ่งคือการใช้การตอบสนองของอุปกรณ์จำลองการสัมผัสโดยการใช้แรงที่เหมาะสมสำหรับการสอนนักศึกษา
  • ระบบการสอนที่ชาญฉลาดสำหรับการสอนทักษะการตัดสินใจในการผ่าตัดทางทันตกรรม ชิ้นงานนี้ได้เน้นไปในการสอนทักษะการรับรู้สถานการณ์สำหรับการตัดสินใจ โดยที่ไม่มีระบบฝึกฝนการผ่าตัดใดที่ทำมาก่อน
  • ระบบจำลองภายในความเป็นจริงเสมือนสำหรับการสอนรับมือกับสถานการณ์ที่ฉุกเฉินในการผ่าตัดทางทันตกรรม ระบบจำลองนี้ได้ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือนราคาถูกที่มีอยู่ได้อย่างเหมาะสมเพื่อให้นักศึกษาสามารถเข้าถึงได้มากที่สุด โดยเพราะเหตุนี้ นักศึกษาสามารถฝึกฝนได้ทุกที่ทุกเวลา

การศึกษาทางการแพทย์ที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของระบบเหล่านี้ได้ถูกตีพิมพ์ออกมาเป็นจำนวนมาก

 

Partners/Stakeholders
  • Mahidol – Bremen Medical Informatics Research Unit, Faculty of Information and Communication Technology, Mahidol University
  • Faculty of Dentistry, Thammasat University
  • School of Science and Technology, Bangkok University
  • University of Bremen, Bremen, Germany
ผู้ดำเนินการหลัก
Prof.Dr.Peter Haddawy
ส่วนงานหลัก
ผู้ดำเนินการร่วม
Prof.Dr.Siriwan Suebnukarn, Dr.Phattanapon Rhienmora, Dr.Myat Su Yin , Ms.Narumol Vannaprathip, Mr.Nat Sararit , Prof.Dr.Christian Freksa, Dr.Holger Schultheis, Prof.Dr.Gabriel Zachmann, Prof.Dr.Michael Beetz
ส่วนงานร่วม