Partnerships For The Goals

เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงาน และฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

มหาวิทยาลัยมหิดลส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระดับสากลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน อย่างต่อเนื่อง เริ่มต้นจากสร้างหลักสูตรเฉพาะด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้นักศึกษาในทุกระดับการศึกษา รวมถึงระดับประกาศนียบัตร และบุคลากรมหาวิทยาลัยทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่นักศึกษาและบุคลากรทุกคนเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรระยะสั้น เช่น Sustainable Transportation โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งสามารถเรียนรู้ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายผ่านช่องทาง Mahidol University Extension (MUx) เป็นต้น การสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ในระดับมหาวิทยาลัยส่งผลให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ความเข้าใจไปประยุกต์ใช้ และเห็นความสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับสังคม ประเทศ และนานาชาติ เช่น คณาจารย์และนักศึกษาของวิทยาลัยนานาชาติมหิดลเข้าร่วม Asia Pacific Day for the Ocean จัดโดยคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP) เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเสวนาเรื่องการอนุรักษ์ท้องทะเลผ่านการประมงและการขนส่งที่ยั่งยืน รวมไปถึงการกำจัดมลภาวะทางทะเลผ่านความร่วมมือระดับภูมิภาคที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีการเข้าร่วมประชุม United Nation High-Level Forum on Green Economy ที่มุ่งเน้นหลักการสำคัญ และแนวโน้มในกระบวนการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจสีเขียว ตลอดจนเครื่องมือและวิธีการสำหรับการดำเนินการเชิงเศรษฐศาสตร์ธุรกิจสีเขียวในเชิงรุก เป็นต้น มหาวิทยาลัยมหิดลมุ่งสร้างความร่วมมือด้านการศึกษากับหลายประเทศ เช่น มีการมอบทุนการศึกษาร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตนอร์เวย์ประจำประเทศไทย (Mahidol – Norway Scholarships) เพื่อเปิดโอกาสให้บุคลากรจากประเทศเมียนมาร์ ได้ศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก โครงการฝึกอบรมบุคลากรทางการแพทย์จากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตามพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อบรมให้ความรู้และทักษะในการส่งเสริมสุขภาพ การรักษาโรค การดูแลผู้ป่วย และการใช้ยา ตลอดจนทักษะในกระบวนการทำงานเป็นทีมแก่บุคลากรทางการแพทย์จากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2543 จนถึงปัจจุบัน มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมไปแล้วทั้งสิ้นจำนวน 1,144 ราย มหาวิทยาลัยมหิดลมีการจัดทำข้อตกลงความร่วมมือกับสถาบันศึกษาในต่างประเทศ โดยมุ่งให้ความสำคัญกับคู่ร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic partnership) อย่างต่อเนื่อง เพื่อดำเนินกิจกรรมทางวิชาการและการวิจัย รวมถึงการสร้างหลักสูตร Joint degree และ Double Degree ร่วมกัน และสนับสนุนการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากรทั้งสายวิชาการและสนับสนุน (Inbound and Outbound) เพื่อเปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนด้านวิชาการ วิชาชีพ สังคม และวัฒนธรรมในระดับนานาชาติ (Internationalization) นอกจากนี้ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ร่วมกับ กระทรวงการต่างประเทศ ได้จัดตั้งศูนย์อาเซียนเพื่อการศึกษาและการหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน (ASEAN Centre for Sustainable Development Studies and Dialogue : ACSDSD) ซึ่งศูนย์ฯ ทำหน้าที่สนับสนุนการประสานงานกับองค์กรต่าง ๆ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนของประชาคมอาเซียนการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สำคัญ เช่น การใช้ data technology ในการปกป้องดูแลทะเล ความเท่าเทียมทางเพศและศักยภาพของสตรีในที่ทำงาน การเรียนรู้การจำแนกประเภทขยะภายในโรงเรียน เป็นต้น

Highlights
  • thumb
    4 พ.ย. 2567
    Open field day ตรวจวิเคราะห์ดิน บูรณาการร่วมกับชุมชนจัดงาน เพื่อจัดทำแผนที่ข้อมูลดินชุมชนและการใช้ปุ๋ยสั่งตัดในนาข้าวเพื่อลดต้นทุนการผลิต
    กระบวนการปรับรูปแบบการเรียนการสอนจากในห้องเรียนโดยการใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อยกระดับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน อีกทั้งเป็นการฝึกทักษะให้แก่ผู้เรียนแบบ real world situation และช่วยส่งเสริมพันธกิจสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยมหิดลต่อชุมชนและการบรรลุตามเป้าหมาย SDGs ที่จะดำเนินการตามแนวปฏิบัติทางการเกษตรที่มีภูมิคุ้มกันที่จะเพิ่มผลิตภาพและการผลิต ซึ่งจะช่วยรักษาระบบนิเวศ เสริมขีดความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาวะอากาศรุนแรง ภัยแล้ง อุทกภัย และภัยพิบัติอื่น ๆ และจะช่วยพัฒนาคุณภาพของดินและที่ดินอย่างต่อเนื่อง ภายในปี พ.ศ. 2573
  • thumb
    3 พ.ย. 2567
    SMART Farmer เส้นทางสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
    หลักสูตร SMART Farmer มุ่งเน้นการเกษตรแบบผสมผสานและแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างความมั่นคงทางอาหารและความปลอดภัยต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค พร้อมส่งเสริมทักษะการเป็นผู้ประกอบการตั้งแต่การผลิตจนถึงการขาย และเชื่อมโยงกับเป้าหมาย SDGs เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
  • thumb
    22 ต.ค. 2567
    สัมมนา Mahidol Sustainable and Modern Energy for All Solar Cell
    ศูนย์ร่วมคิดพาณิชย์นวัตกรรม (MICC) ภายใต้สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) จัดกิจกรรมสัมมนา Mahidol Sustainable and Modern Energy for All Solar Cell ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับนโยบายภาครัฐกับโซลาเซลล์ รวมไปถึงนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับโซลาเซลล์ในปัจจุบันและอนาคต
  • thumb
    03 06 17
    26 ก.ค. 2567
    โครงการมหิดลอาสาทำความดี ปีที่ 4 สืบสานปณิธานพระราชบิดา
    บัณฑิตวิทยาลัยร่วมกับองค์การนักศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล สืบต่อเจตนาของการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมตามโครงการมหิดลอาสาทำความดี "สืบสานปณิธานพระราชบิดา
  • thumb
    5 ก.ย. 2567
    โครงการส่งเสริมอาชีพทอผ้าและแปรรูปผ้าขอเอื้อสำหรับผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ตำบลโนนหนามแท่ง
    โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินโครงการบริการวิชาการ เรื่อง การส่งเสริมอาชีพทอผ้าและแปรรูปผ้าขิดลายขอเอื้อสำหรับผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ตำบลโนนหนามแท่ง ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จำนวน 720,000 บาท ดำเนินการช่วงเดือนมิถุนายน 2566 ถึงเดือนมีนาคม 2567
  • thumb
    03 17
    9 ก.ย. 2567
    โครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบลดการบริโภคโซเดียม ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
    โครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบลดการบริโภคโซเดียม ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้รับทุนสนับสนุนจากกองแผนงาน มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้โครงการรณรงค์ขับเคลื่อนนโยบายลดการบริโภคโซเดียม (Low Sodium Campaign Funding) ประจำปีงบประมาณ 2567
  • thumb
    03 17
    21 พ.ค. 2567
    โครงการค่ายยุวชนรักกีฬาภาคฤดูร้อน
    สำนักงานสนับสนุนกิจกรรมกีฬาและการออกกำลังกาย วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม “โครงการค่ายยุวชนรักกีฬาภาคฤดูร้อน การจัดกิจกรรมดังกล่าวสามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจให้ยุวชนได้รู้จักการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์การอยู่ร่วมกันการช่วยเหลือตนเองและการสัมพันธภาพอันดีงามระหว่างเพื่อน
  • thumb
    7 มิ.ย. 2567
    สถานการณ์การดูแลสุขภาพและความต้องการการสนับสนุนในพื้นที่ชายแดนจังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดตาก
    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เฉพาะ เพื่อทำความเข้าใจและสรุปสถานการณ์ด้านสุขภาพในพื้นที่ชายแดนจังหวัดแม่ฮ่องสอนและตาก เพื่อวิเคราะห์และระบุประเด็นและความท้าทายด้านสุขภาพและการดูแลสุขภาพในพื้นที่ รวมถึงผลกระทบของการข้ามชายแดนต่อสถานการณ์สุขภาพโดยทั่วไปในพื้นที่ชายแดน และพิจารณาและเสนอการแนวทางการสนับสนุนที่จำเป็น และเป็นไปได้จาก JICA เพื่อแก้ไขปัญหาและความท้าทายที่เกิดขึ้น
  • thumb
    03 17
    2 ก.ค. 2567
    ระบบประเมินมหาวิทยาลัยสุขภาวะ Healthy University Rating System (HURS)
    Healthy University Rating System (HURS) ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการประเมินมหาวิทยาลัยสุขภาวะ โดยใช้กรอบแนวคิด AUN Healthy University Framework (HUF) ซึ่งประกอบด้วย 22 ประเด็น มุ่งเน้นส่งเสริมสุขภาพ ความยั่งยืน และความเป็นอยู่ที่ดีแก่บุคลากร นักศึกษามหาวิทยาลัยและชุมชนรอบข้าง
  • thumb
    04 17
    19 ก.ย. 2567
    โครงการเปิดโลกทัศน์วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา
    โครงการเปิดโลกทัศน์วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม จัดโดยสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นโครงการที่อยู่ภายใต้งานบริการวิชาการของสถาบันฯ โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ของคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ที่ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่าง “รู้จริง รู้นาน สร้างสรรค์ และสื่อสารได้” ดังนั้น พันธกิจหนึ่งที่สำคัญของสถาบันฯ คือ การสร้างความเป็นเลิศทางด้านการบริการวิชาการ โดยมุ่งเน้นส่งเสริมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในทุกระดับ โดยมีการจัดฝึกอบรม สัมมนาเชิงปฏิบัติการ ทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติการ ให้กับบุคลากรทางการศึกษา ทั้งนักเรียนและอาจารย์ ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา จนถึงระดับอุดมศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และเพื่อให้เกิดการเรียนรู้แบบพัฒนาต่อยอดอย่างยั่งยืน
  • thumb
    04 17
    19 ก.ย. 2567
    โครงการอบรมหลักสูตรระยะสั้น ประจำปีงบประมาณ 2567
    โครงการอบรมหลักสูตรระยะสั้น จัดโดยสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างยั่งยืนในทุกภาคส่วนของประเทศ และส่งเสริมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการการศึกษาและบุคคลทั่วไปก้าวทันแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ของโลกในด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21 การดำเนินโครงการดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนและเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับของการศึกษาไทยในอนาคตซึ่งตรงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อ 4 เป็นการสร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  • thumb
    1 ก.ค. 2565
    การบริหารยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำส่วนกลางที่บ้าน Ramathibodi Home Chemotherapy Model (RHCM)
    การบริหารยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำส่วนกลางที่บ้าน เพิ่มประสิทธิผลการรักษา ลดค่าใช้จ่าย สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ป่วย ยกระดับระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งของประเทศไทย เพื่อความยั่งยืนทางด้านสุขภาพของประชากรไทย
จำนวนทั้งหมด 89 รายการ