Climate Action

ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบที่เกิดขึ้น

มหาวิทยาลัยมหิดลตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลถึงความเป็นอยู่ของมนุษย์ จึงกำหนดนโยบายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ เพื่อให้ความสำคัญต่อกิจกรรมที่เกิดมลพิษน้อยที่สุด ด้วยโครงการ 9 to Zero โดยริเริ่มจากการเพิ่มพลังงานทดแทนภายในมหาวิทยาลัย ได้แก่ Solar Rooftop ที่ผลิตไฟฟ้าได้โดยไม่ก่อเกิดมลพิษ รวมไปถึงการใช้รถรางไฟฟ้า และจักรยานภายในมหาวิทยาลัย การใช้พลังงานชีวภาพจากน้ำมันพืชใช้แล้ว มีการวางแผนเพิ่มสถานีชาร์จแบตรถ EV ในอนาคต เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสะอาดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และตรวจวัดคุณภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง เพื่อการจัดการด้านฝุ่นละออง ด้วยการสร้างนวัตกรรม PM 2.5 Footprint Calculator คำนวณผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก ตามมาตรฐานสิ่งแวดล้อมโลก ส่งผลให้เกิดความตระหนักรู้ถึงความเสี่ยงต่อสุขภาพจากปัญหาฝุ่นละออง เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ทำให้เกิดฝุ่นละลองน้อยที่สุด อีกทั้งยังมีโปรแกรม MU Carbon Footprint ที่เป็นระบบจัดเก็บฐานข้อมูลปล่อยก๊าซเรือนกระจก ใช้ประเมินและกำหนดแนวทางในการจัดการก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด โดยในปี พ.ศ. 2563 มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด 5,851.44 ตัน ในวิทยาเขตศาลายา โดยมีส่วนงานต่าง ๆ ได้นำไปปฏิบัติ ตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลคาร์บอนต่ำของคณะทันตแพทยศาสตร์ที่ได้นำมาข้อมูลจาก Carbon Footprint มาบริหารจัดการทรัพยากรอย่างเหมาะสม ส่งผลให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงเพราะว่ามีการนำพลังงานทดแทนเข้ามาใช้แทนและยังช่วยลดค่าใช้จ่าย ทั้งยังไม่สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อมุ่งสู่เมืองคาร์บอนต่ำ นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมที่ทางมหาวิทยาลัยดำเนินการผ่านการลงมือปฏิบัติจริง ได้แก่ โครงการปลูกต้นไม้เพื่อดูดกลับก๊าซเรือนกระจก และในปี พ.ศ. 2565 โครงการรวมพลคนวัดต้นไม้เพื่อเก็บข้อมูลการดูดกลับก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมีต้นไม้ในพื้นที่วิทยาเขตศาลายารวม 13,640 ต้น ที่สามารถดูดกลับคาร์บอนได้มากถึง 6,523.20 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่สีเขียว จากโครงการพื้นที่สีเขียวแนวตั้ง พบว่าเพิ่มขึ้น 5.92 เปอร์เซ็นต์ต่อพื้นที่สีเขียวทั้งหมดในมหาวิทยาลัย และ พื้นที่ MU Eco Park ที่เพิ่มการปลูกต้นไม้เพื่อลดความร้อนในพื้นที่ ช่วยเพิ่มความสวยงาม และส่งผลให้เกิดอัตราการดูดกลับของก๊าซเรือนกระจกเพิ่มสูงมากขึ้น ในส่วนของโครงการ Eco Town ซึ่งเป็นความร่วมมือกับทางพีทีทีในการขยายความรู้เรื่องการจัดการขยะรีไซเคิลทดแทนการเผาทำลายยังเป็นเหตุของการเกิดมลพิษทางอากาศ จากโครงการและกิจกรรม ที่ดำเนินการมาทั้งหมด แสดงให้เห็นถึงการวางแผนและเตรียมพร้อม เพื่อเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น ตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

Highlights
  • thumb
    2 เม.ย. 2567
    การประยุกต์ใช้ Google Earth Engine เพื่องานด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    การประยุกต์ใช้ Google Earth Engine ในงานด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถประยุกต์เครื่องมือวิเคราะห์ที่มีให้ใน Google Earth Engine ช่วยให้การตัดสินใจในการทำงานเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • thumb
    12 07 13
    2 เม.ย. 2567
    โครงการพัฒนาสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้เป็นสำนักงานสีเขียว (Green Office) เพื่อขอการรับรองสำนักงานสีเขียว ประจำปี 2566
    การพัฒนาสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้เป็นสำนักงานสีเขียว (Green Office) โดยการตรวจประเมินเบื้องต้น (Pre-Audit) ให้คำแนะนำในการดำเนินงาน เพื่อเตรียมความพร้อม สำนักงาน/อาคารของ กฟภ. ที่ขอรับการรับรองสำนักงานสีเขียว จำนวน 11 แห่ง และตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office) ระดับประเทศ ผ่านระบบออนไลน์ (Online) จำนวน 62 แห่ง และตรวจประเมินในพื้นที่จริง (Onsite) อย่างน้อย จำนวน 11 แห่ง ตามเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียวของกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
  • thumb
    13 17
    2 เม.ย. 2567
    โครงการการพัฒนาศักยภาพสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาแผนงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด จังหวัดสมุทรสงคราม
    มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสมุทรสงคราม และ 34 หน่วยงานจัดทำแผนการลดก๊าซเรือนกระจก และแผนปฏิบัติการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำหรับ จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อสนับสนุนการบรรลุ Nationally Determined Contribution ในการลดก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 30-40 ภายใน พ.ศ. 2573
  • thumb
    13 15
    10 ม.ค. 2567
    โครงการปรับปรุงดัชนีความเปราะบางจากภัยแล้ง และพัฒนาดัชนีพยากรณ์ภัยแล้งจากข้อมูลดาวเทียม
    เนื่องด้วยประเทศไทยประสบกับปัญหาภัยแล้งอยู่เป็นประจำ ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำ ปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการโดยเฉพาะในภาคการเกษตร โครงการนี้จะทำให้เกิด “ระบบปฏิบัติการติดตามและพยากรณ์ภัยแล้ง” ที่เป็นโครงการนำร่อง สามารถคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งล่วงหน้าได้อย่างน้อย 3 เดือน และพัฒนาระบบแสดงผลข้อมูลเพื่อสนับสนุนให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการวางแผนการบริหารจัดการน้ำ พร้อมสำหรับสนับสนุนการบริการจัดการภัยแล้งได้เป็นอย่างดี
  • thumb
    15 13
    10 ม.ค. 2567
    การจัดทำแผนผังภูมินิเวศแหล่งฟอสซิลเขาน้อยและป่าพน อุทยานธรณีโลกสตูล
    อุทยานธรณีโลกสตูลได้รับการรับรองเป็นอุทยานธรณีโลกแห่งแรกของประเทศไทยจากยูเนสโก (UNESCO) เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2561 และคณะกรรมการสภาอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO Global Geoparks Council) ได้มีมติเห็นชอบให้อุทยานธรณีโลกสตูลผ่านการประเมินซ้ำเพื่อเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก และได้รับสถานะ Green Card เมื่อปี 2566 เขาน้อยและป่าพนเป็นแหล่งธรณีและฟอสซิลที่มีความสำคัญอย่างมาก แต่ปัจจุบันยังขาดการจัดการและสิ่งอำนวยความสะดวกในการให้ความรู้แก่ผู้มาเยือน ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) จัดทำผังภูมินิเวศแหล่งฟอสซิลเขาน้อย และป่าพน ในอุทยานธรณีสตูล และ 2) พัฒนาเส้นทางการเรียนรู้แหล่งฟอสซิลเขาน้อย และป่าพน การจัดทำผังภูมินิเวศได้ใช้หลักการในเรื่องการอนุรักษ์แหล่งทรัพยากรทางธรณีที่สำคัญและการแบ่งพื้นที่ตามภูมิประเทศ ชีวภาพ ภูมิสังคมและภูมิวัฒนธรรม โดยการใช้แผนที่แสดงลักษณะทางกายภาพ การบินสำรวจภาพมุมสูงโดยโดรน แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน แผนที่ชั้นหิน และขอบเขตประกาศแหล่งอนุรักษ์ซากดึกดำบรรพ์ มาซ้อนทับและกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในแต่ละเขต การจัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติและสิ่งอำนวยความสะดวกโดยการวิเคราะห์สภาพพื้นที่ ศักยภาพและข้อจำกัด และการวิเคราะห์ผู้ใช้งาน การจัดทำคู่มือเส้นทางการท่องเที่ยวอุทยานธรณีโลกสตูล เขาน้อยและป่าพน โดยการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องของอุทยานธรณีสตูล รายละเอียดและข้อมูลเขาน้อยและป่าพน นำมาออกแบบบนหลักการที่ยังคงความถูกต้องทางวิชาการ เข้าใจง่ายและน่าสนใจ การประชุมรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนร่วม และการฝึกอบรมมัคคุเทศก์น้อยโรงเรียนกำแพงและป่าพน ผลการศึกษาได้จัดทำผังภูมินิเวศของพื้นที่เขาน้อย โดยมีพื้นที่สงวนเท่ากับ 6,511.85 ตารางเมตร (4.070 ไร่) พื้นที่อนุรักษ์ 72,834.55 ตารางเมตร (45.522 ไร่) และพื้นที่พัฒนา 1,440.07 ตารางเมตร (0.900 ไร่) และผังเฉพาะป่าพนมีพื้นที่สงวนเท่ากับ 6,339.25 ตารางเมตร (3.962 ไร่) พื้นที่อนุรักษ์ 43,769.47 ตารางเมตร (27.356 ไร่) และพื้นที่พัฒนา 29,532.45 ตารางเมตร (18.458 ไร่) ตามลำดับ โดยพื้นที่สงวนครอบคลุมพื้นที่หินที่บ่งบอกอายุหินที่แตกต่างกัน แหล่งฟอสซิล หินสาหร่าย พื้นที่อนุรักษ์คือ พื้นที่ที่ต่อเนื่องจากพื้นที่สงวน และพื้นที่พัฒนาคือ พื้นที่ที่จะเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติ พื้นที่ที่จะใช้ก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก โดยการออกแบบให้กลมกลืนกับธรรมชาติและเบียดเบียนธรรมชาติน้อยที่สุด ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายคือ ควรเร่งรัดการจัดทำแผน 5 ปี (พ.ศ.2567-2571) ของอุทยานธรณีโลกสตูล เพื่อปรับแผนให้เข้ากับแผนจังหวัดและแผนพัฒนาท้องถิ่นให้ทันกับปีงบประมาณ พ.ศ.2567 จะทำให้งานขับเคลื่อนได้ต่อเนื่อง ภายใต้แนวคิดของแผนผังภูมินิเวศ จะมองพื้นที่แหล่งฟอสซิลเป็นแหล่งธรณีที่ยึดโยงกับประชาชน (Man) ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่แหล่งฟอสซิล กับ ชีวมณฑล (Biosphere) ที่อยู่ร่วมกัน ดังนั้นจึงต้องให้ความสำคัญกับแนวคิดของการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนผ่านการจัดการพื้นที่สงวน พื้นที่อนุรักษ์และพื้นที่ใช้ประโยชน์อื่น ๆ อย่างเหมาะสมและสมดุล การมีส่วนร่วมของชุมชนต้องมีอยู่ในระดับที่สูง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการรับรู้ เข้าใจ และสร้างความตระหนักต่อบทบาทหน้าที่ของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ให้มากที่สุด จึงจะทำให้การขับเคลื่อนงานของอุทยานธรณีโลกเป็นไปอย่างตรงและบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ การออกแบบเส้นทางศึกษาธรรมชาติและสิ่งอำนวยความสะดวกเขาน้อย โดยการนำ Prehistoric scenery ของยุคออร์โดวิเชี่ยนมาใช้สร้างความสนใจให้กับโครงการ โดยการใช้ลักษณะภูมิทัศน์เดิมของพื้นที่ในส่วนด้านหน้าเป็นพื้นทีที่ช่วยบอกเล่าเรื่องราว และอาจะมีการเพิ่มองค์ประกอบภูมิทัศน์บางส่วนเพื่อช่วยส่งเสริมบรรยากาศในการเรียนรู้ โดยพื้นที่แหล่งฟอสซิลเขาน้อยจะใช้แนวคิด The Prehistoric Scenery of Nature และสำหรับป่าพน โดยการนำแนวความคิด The Journey of Natural Nature: Local-Natural trail- Enhance เน้นให้คนในชุมชน ท้องถิ่นเน้นร่วมกิจกรรม local guide, local food, local craft, local plants, local nature คู่มือเส้นทางการท่องเที่ยวอุทยานธรณีโลกสตูล เขาน้อยและป่าพน ประกอบด้วยอุทยานธรณีโลกสตูล ตารางธรณีกาล เขาน้อย และป่าพน คำสำคัญ: อุทยานธรณีสตูล เขาน้อย ป่าพน แผนผังภูมินิเวศ เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ฟอสซิล สโตรมาโตไลต์
  • thumb
    13 11 15
    1 พ.ย. 2566
    สวนมุมสวย
    กระตุ้นการพัฒนา/ปรับปรุงพื้นที่ว่างที่ไม่มีการใช้ประโยชน์หรือพื้นที่สีเขียวเดิมที่มีสภาพเสื่อมโทรมให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อกิจกรรมการศึกษา กีฬาหรือนันทนาการ รวมทั้งเพิ่มการเชื่อมต่อพื้นที่สีเขียวภายในมหาวิทยาลัย รวมทั้งช่วยเพิ่มการดูดกลับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยจากกิจกรรมต่างๆ
  • thumb
    31 ต.ค. 2566
    Mahidol Eco Park
    Mahidol Eco Park สวนสาธารณะเพื่อการเรียนรู้ พักผ่อนหย่อนใจท่ามกลางธรรมชาติอย่างบูรณาการ พื้นที่สีเขียวใจกลางพื้นที่โซนการศึกษา เอื้อให้นักศึกษาและบุคลากรได้ใช้โยชน์อย่างเต็มที่
  • thumb
    3 ต.ค. 2566
    คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล พัฒนาอาหารจากโปรตีนพืช เต้าหู้ถั่วเหลืองผสมกากถั่วดาวอินคา
    ในปัจจุบันท่ามกลางกระแสการดูแลสุขภาพเกิดการเปลี่ยนแปลงการบริโภคผู้คนหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น โปรตีนจากพืช (Plant-Based Protein) เป็นหนึ่งในอาหารกลุ่มโปรตีนทางเลือกสำหรับผู้ที่รักสุขภาพ หรือต้องการลดการรับประทานเนื้อสัตว์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้พัฒนาอาหารจากโปรตีนพืช เต้าหู้ถั่วเหลืองผสมกากถั่วดาวอินคา พบว่ามีปริมาณโปรตีนสูง มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว โอเมก้า 3 และสารต้านอนุมูลอิสระตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้ที่คำนึงถึงสุขภาพและต้องการบริโภคโปรตีนจากพืช ซึ่งมีปริมาณโปรตีนสูงใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์
  • thumb
    27 ก.ย. 2566
    การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้พิการทางการเห็นในการคัดแยกขยะหน้ากากอนามัยเพื่อลดการระบาดของ COVID-19 ผ่านถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะสำหรับทุกคน
    ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 มีปริมาณการใช้หน้ากากอนามัยเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก แต่กลุ่มคนพิการทางการเห็นไม่มีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะ ซึ่งรวมถึงขยะหน้ากากอนามัยในโรงเรียน ซึ่งอาจทำให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อโรคได้ จึงนำไปสู่โจทย์วิจัย “จะพัฒนาศักยภาพคนพิการทางการเห็นในการคัดแยกหน้ากากอนามัยใช้แล้วตั้งแต่ต้นทางเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อโรค COVID-19 ในคนพิการทางการเห็นได้อย่างไร”
  • thumb
    12 11 13
    27 ก.ย. 2566
    การศึกษาแนวทางการจัดการขยะอาหารอย่างบูรณาการและพัฒนาศักยภาพการจัดขยะอาหารครัวเรือนอย่างยั่งยืน
    ผู้วิจัยสนใจที่จะสำรวจสถานภาพความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรมในการจัดการขยะอาหาร ปริมาณและมูลค่าของขยะอาหารในครัวเรือนเขตเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา รวมทั้งพัฒนาศักยภาพการจัดการขยะอาหารในครัวเรือนที่ยั่งยืนให้กับประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลซึ่งจะเป็นเป้าหมายของงานวิจัยชิ้นนี้
  • thumb
    25 ก.ย. 2566
    แผนนโยบายขับเคลื่อนการบริหารจัดการเกษตรกรรมและสิ่งแวดล้อมยั่งยืนบนฐานระบบวนเกษตรชุมชน
    การนำแนวคิด ความรู้ และหลักการทางนิเวศวิทยาในการบริหารจัดการเกษตรกรรมด้วยระบบวนเกษตร สู่แผนนโยบายขับเคลื่อนชี้นำสังคม เพื่อช่วยในการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากแรงกดดันด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)
  • thumb
    13 02
    11 ก.ย. 2566
    การประเมินและเปรียบเทียบด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และการจัดการของเกษตรกรรายย่อยและการรวมกลุ่มเกษตรกรทำนาแปลงใหญ่ สู่ทางเลือกเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
    การรวมกลุ่มทำนาแปลงใหญ่มีข้อดี 3 ด้าน 1) ดีต่อสิ่งแวดล้อม คือ ช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และช่วยลดการปล่อยน้ำเสียสู่สิ่งแวดล้อม 2) ดีต่อรายได้ คือ ช่วยเพิ่มกำไรสุทธิให้กับเกษตรกร และ 3) ดีต่อสังคม คือ ช่วยสร้างความเข้มแข็งของกลุ่ม เห็นศักยภาพของสมาชิกในกลุ่ม เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน และเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีของคนในชุมชน
จำนวนทั้งหมด 41 รายการ