Peace,Justice and Strong Institutions

ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรม และสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผล รับผิดชอบ และครอบคลุมในทุกระดับ

มหาวิทยาลัยมหิดลให้ความสำคัญด้านสิทธิมนุษยชนและการสร้างสันติภาพในสังคมทั้งในระดับมหาวิทยาลัย ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ โดยเป็นหนึ่งในพันธกิจหลักที่มหาวิทยาลัยให้การสนับสนุนและส่งเสริมความร่วมมือด้านสิทธิมนุษยชนและการสร้างสันติภาพ ได้จัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและ สันติศึกษาในปี พ.ศ. 2541 ในฐานะสถาบันวิชาการที่เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน มีการเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนและบรรจุรายวิชาแนวคิดด้านสิทธิมนุษยชนและการจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธี ให้นักศึกษาทุกสาขาวิชาได้เลือกเรียนในหมวดวิชาทั่วไป มีการผลิตผลงานวิชาการ และจัดโครงการอบรมต่าง ๆ ให้กับ บุคลากรด้านสิทธิมนุษยชน นักปกป้องสิทธิมนุษยชน สมาชิกองค์กรภาคประชาสังคม และเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ในปี พ.ศ 2547 สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการหาทางออกอย่างสันติให้กับความขัดแย้งต่าง ๆ ในประเทศไทย โดยเฉพาะความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) ที่เผชิญกับความรุนแรงยืดเยื้อตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 โดยมุ่งเน้นส่งเสริมความร่วมมือกันของทุกฝ่ายเพื่อรับมือความขัดแย้ง ตลอดจนการดำเนินกิจกรรมโดยการเปิดพื้นที่การเสวนาในทุกระดับ เพื่อกำหนดนโยบายสาธารณะร่วมกัน โดยการนำผลการศึกษาและข้อเสนอแนะมาดำเนินการเป็นโครงการเพื่อนรักต่างศาสนา: ผู้นำถักทอสันติภาพและความปรองดองในสังคมไทย เพื่อขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคมในรูปแบบโครงการภาคสนามในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ โดยใช้เรื่องสุขภาพซึ่งเป็นจุดแข็งของมหาวิทยาลัยร่วมกับบุคลากรทางศาสนา อาสาสมัครทางการแพทย์ และสาธารณสุขมาช่วยขับเคลื่อนงานเพื่อสร้างความเข้าใจและปรองดอง ผลจากการดำเนินงานสามารถสร้างเครือข่ายเพื่อนสนิท (Buddy) ระหว่างผู้นำสองศาสนาทำงานร่วมกันในพื้นที่ทั้งหมด 12 คู่ ในพื้นที่เชิงยุทธศาสตร์มากกว่า 38 แห่ง มีการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อความปรองดองในสังคมและรายงานวิธีการจัดการกระบวนการเชิงลึก 3 ภาษา จัดทำหนังสือเรื่องเล่าเพื่อนรักต่างศาสนาเผยแพร่แหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ชุมชนสามจังหวัดชายแดนใต้ สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ รวมไปถึงสร้างเพจ Interfaith Buddy for Peace เพื่อสื่อสารกิจกรรมและรณรงค์เรื่องการสร้างความปรองดองในโลกออนไลน์ นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลยังให้ความสำคัญกับสิทธิเด็ก โดยคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ทำการวิจัยเรื่องผลกระทบของการชกมวยต่อสมองของนักมวยเด็ก และได้นำไปสู่การแก้ไขพระราชบัญญัติมวยไทย 2561 โดยห้ามเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปีเข้าร่วมการแข่งขันใด ๆ ในกรณีเด็กอายุระหว่าง 12-14 ปี จะต้องมีใบอนุญาตจากนายทะเบียนก่อนเข้าร่วมการแข่งขันใด และมีโครงการขยายผลพิเคราะห์เหตุการตายในเด็กของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ได้นำเสนอผลการวิจัยและข้อมูลสถิติ นำไปสู่การกำหนดนโยบายเพื่อลดอัตราการตายของเด็กได้ 4 นโยบาย จาก 3 ประเด่นที่ค้นพบ ดังนี้ 1. นโยบายการลดการตายของเด็กเล็กจากการโดยสารรถยนต์ นำไปสู่กฎหมายบังคับใช้ที่นั่งนิรภัย (Car Seat) สำหรับเด็กเล็ก ในพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 13) 2. นโยบายลดการตายจากการขับขี่ก่อนวัยของวัยรุ่นก่อน 15 ปี 3. นโยบายอัตราการตายจากการจมน้ำในเด็ก ต้องน้อยกว่า 2/100000 คน 4. นโยบายจากการพิเคราะห์เหตุการตาย สู่การป้องกันการตายของเด็กและเยาวชน ในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ

Highlights
  • thumb
    4 ก.ย. 2566
    การพัฒนาศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดร่วมกับเครือข่าย
    บึงบอระเพ็ดมีหน่วยงานที่รับผิดชอบจำนวนมาก ซึ่งมีบทบาทและภารกิจที่แตกต่างกันไป ทำให้แต่ละหน่วยงานมีการเก็บข้อมูลแยกกัน และมีการรายงานข้อมูลไปตามสายงานของแต่ละกรมกองเท่านั้น ทำให้การใช้ประโยชน์จากข้อมูลต้องมีการทำหนังสือขอเป็นทางการเท่านั้น ส่วนการตัดสินใจในการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ดของคณะกรรมการชุดต่างๆ ได้มีการใช้ข้อมูลของแต่ละหน่วยงาน แต่ก็ต้องใช้เวลาในการ รวบรวมประสานข้อมูลกันจนทำให้ไม่สามารถตัดสินใจได้อย่างทันท่วงที
  • thumb
    03 16 17
    28 มิ.ย. 2566
    โครงการเสวนาวิชาการ เรื่อง “กัญชา เสรี จะดีหรือร้าย?”
    การเสวนาวิชาการ เรื่อง “กัญชา เสรี จะดีหรือร้าย” เสวนาในมิติกฎหมายการแพทย์ และผลกระทบต่อเยาวชน เป็นโครงการเสวนาวิชาการภายใต้ความร่วมมือระหว่างหลักสูตรปรัชชาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรมและสังคม (ภาคพิเศษ) คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และฝ่ายบริการวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย มีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงสาระสำคัญของข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกัญชา และเปิดโอกาสให้สาธารณชนได้ทราบถึงประโยชน์ทางการแพทย์ และโทษของกัญชาที่ส่งผลกระทบต่อเยาวชนซึ่งจะทำให้ประชาชนเข้าใจวิธีการและรูปแบบการใช้กัญชาที่ถูกต้องเหมาะสม และยังช่วยลดปัญหาการใช้กัญชาไม่เหมาะสมในเยาวชนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยได้จัดขึ้นในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2565 เวลา 09.00-11.00 น. ในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meeting
  • thumb
    11 16 17
    15 พ.ค. 2566
    โครงการ ปันรัก ปันสุข เยี่ยมบ้านบูรณาการสำหรับกลุ่มเปราะบาง
    โครงการเยี่ยมบ้านบูรณาการสำหรับกลุ่มเปราะบาง เป็นการบูรณาการภาคีเครือข่ายทั้งในระดับตำบล อำเภอ จังหวัดในการเยี่ยมกลุ่มเปราะบางรายที่มีปัญหาซับซ้อนทั้งมิติด้านสังคม สุขภาพ เศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมเพื่อร่วมกันดูแลและช่วยเหลือให้เข้าถึงบริการแบบไร้รอยต่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางให้ดียิ่งขึ้น
  • thumb
    8 ก.ค. 2565
    โครงการทบทวนสถานการณ์สุขภาวะเด็กไทยและความเหลื่อมล้ำตามกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
    การปกป้องเด็กจากความรุนแรงในทุกรูปแบบ เป็นสิทธิพื้นฐานที่ระบุไว้ในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็ก (United Nations Convention on the Right of the Child: CRC) ซึ่งประกอบด้วยสิทธิของเด็ก 4 ด้านด้วยกัน ได้แก่ สิทธิที่จะมีชีวิตรอด สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา และสิทธิที่จะมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ถูกบรรจุไว้ในวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ.2030 (The 2030 Agenda for Sustainable Development) โดยเด็กทุกคนต้องได้รับการปกป้องคุ้มครองสิทธิในการดำรงชีวิตอย่างปราศจากความหวาดกลัว การถูกละเลย การถูกทารุณกรรม และการถูกแสวงหาผลประโยชน์ ทั้งนี้ รวมไปถึงความรุนแรงและการปฏิบัติที่เป็นอันตราย เช่น การบังคับให้แต่งงานในวัยเด็ก การขลิบอวัยวะเพศ การใช้แรงงานเด็ก การจ้างงาน และใช้เด็กในการทหารด้วย
  • thumb
    11 มี.ค. 2565
    ปลดล็อกศักยภาพของเด็กทุกคน
    มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลออสเตรียเพื่อทำการศึกษาตัวแทนของเด็ก ๆ ในศูนย์การเรียนรู้ผู้อพยพ (MLC) ในตำบลพบพระและท่าสองยาง จังหวัด แม่สอด โดยเปรียบเทียบกับเด็ก ๆ ในศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยไทย (ECCD) ในบริเวณใกล้เคียง
  • thumb
    16 17
    27 ต.ค. 2565
    โครงการจากใจสู่ใจ (ระยะที่ 4) คุณค่า ความสุข และพลังภายในที่แท้จริง เพื่อชีวิตหลังกำแพง
    โครงการจากใจสู่ใจ ระยะที่ 4 คุณค่า ความสุข และพลังภายในที่แท้จริง เพื่อชีวิตหลังกำแพง โดยศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับเรือนจำกลางขอนแก่น
  • thumb
    03 16 17
    7 ก.ค. 2565
    โครงการวัคซีนเพื่อรับมือปัญหา: การศึกษาภูมิคุ้มกันในโลกดิจิทัล (Digital Resilience) และ Cyberbullying ของกลุ่มนักเรียนระดับมัธยมศึกษาใน 5 ภูมิภาคของประเทศไทย
    ปัญหาการรังแกกันในพื้นที่ออนไลน์ (Cyberbullying) ในกลุ่มเยาวชนอยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วง จากงานวิจัยพบว่าเยาวชนเป็นผู้กระทำ ร้อยละ 43 เป็นผู้ถูกกระทำ ร้อยละ 49 และเป็นผู้พบเห็น ถึงร้อยละ 76 ซึ่งรูปแบบความรุนแรงที่พบมากที่สุด คือ การถูกด่าทอ โจมตี ข่มขู่ออนไลน์ ซึ่งจากการวิจัยยังพบว่าพฤติกรรมการรังแกในพื้นที่ออนไลน์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ มากมาย เช่น ผู้ถูกรังแกมีแนวโน้มที่จะมีเกรดเฉลี่ยน้อย มีแนวโน้มที่จะขาดเรียน ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่มีการป้องกัน อยู่ในภาวะซึมเศร้าที่สูงกว่ากลุ่มที่ไม่ถูกรังแก และจากการศึกษาหลาย ๆ ชิ้นก็สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการถูกรังแกในพื้นที่ออนไลน์นั้น นำไปสู่ผลกระทบในมิติสุขภาพ คือ ทำให้เกิดความเครียด วิตกกังวล หดหู่ และไม่สบายใจ ความรู้สึกเหล่านี้ก็จะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว อาจทำให้นอนไม่หลับ คิดมาก และในกรณีที่ร้ายแรงมาก อาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ในที่สุด จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้เห็นถึงความไม่ปลอดภัยของโลกออนไลน์ที่สามารถคุกคามสุขภาวะของผู้ใช้สื่อออนไลน์ได้ ถ้าผู้ใช้เหล่านั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเยาวชนที่ขาดภูมิคุ้มกันในการใช้สื่ออย่างปลอดภัย การรับมือกับความไม่ปลอดภัยในโลกออนไลน์รูปแบบต่าง ๆ จำเป็นต้องใช้องค์ความรู้ ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น การส่งเสริมให้เยาวชนแค่มี “ทักษะการรู้เท่าสื่อ” เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอแล้วสำหรับโลกยุคดิจิทัลที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน การมีภูมิคุ้มกันในโลกดิจิทัล (Digital Resilience) จึงอาจจะเป็นในวิธีการใหม่ที่จะช่วยส่งเสริมให้เยาวชนเกิดการใช้สื่อออนไลน์ได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ และสร้างให้พวกเขาเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีวัคซีนที่จะสามารถรับมือกับปัญหาความไม่ปลอดภัยในโลกออนไลน์ได้ ซึ่งทักษะที่สำคัญของคนที่มีภูมิคุ้มกันในโลกดิจิทัล คือ ทักษะการคิดวิเคราะห์ มีความรับผิดชอบต่อสังคมออนไลน์ รู้วิธีและแหล่งที่จะขอความช่วยเหลือ รู้จักที่จะปกป้องผู้อื่น และรู้กฎหมายสื่อออนไลน์
  • thumb
    10 มี.ค. 2565
    ร่วมปกป้องระบบนิเวศชายฝั่งและทะเล
    IUCN เป็นองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดในโลก ในเอเชียเราทำงานร่วมกับพันธมิตรที่หลากหลายจากภาคต่าง ๆ เพื่อส่งมอบโครงการระดับโลกขององค์กรในโครงการริเริ่มที่ชี้นำโดยวิสัยทัศน์และพันธกิจร่วมของสหภาพโครงการของ IUCN
  • thumb
    16 15
    10 มี.ค. 2565
    Lecturer Workshop on Teaching Human Rights
    Since 2017, the Institute of Human Rights and Peace Studies, Mahidol University, as a convener of the Human Rights Education theme of the ASEAN University Network (AUN-HRE), and the SHAPE-SEA Program have been co-organizing annual Regional Lecturer Workshops for university lecturers from ASEAN countries with an aim to strengthen knowledge and capacity for academics and government personnel in international human rights laws.
จำนวนทั้งหมด 21 รายการ