Peace,Justice and Strong Institutions

ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรม และสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผล รับผิดชอบ และครอบคลุมในทุกระดับ

มหาวิทยาลัยมหิดลให้ความสำคัญด้านสิทธิมนุษยชนและการสร้างสันติภาพในสังคมทั้งในระดับมหาวิทยาลัย ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ โดยเป็นหนึ่งในพันธกิจหลักที่มหาวิทยาลัยให้การสนับสนุนและส่งเสริมความร่วมมือด้านสิทธิมนุษยชนและการสร้างสันติภาพ ได้จัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและ สันติศึกษาในปี พ.ศ. 2541 ในฐานะสถาบันวิชาการที่เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน มีการเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนและบรรจุรายวิชาแนวคิดด้านสิทธิมนุษยชนและการจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธี ให้นักศึกษาทุกสาขาวิชาได้เลือกเรียนในหมวดวิชาทั่วไป มีการผลิตผลงานวิชาการ และจัดโครงการอบรมต่าง ๆ ให้กับ บุคลากรด้านสิทธิมนุษยชน นักปกป้องสิทธิมนุษยชน สมาชิกองค์กรภาคประชาสังคม และเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ในปี พ.ศ 2547 สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการหาทางออกอย่างสันติให้กับความขัดแย้งต่าง ๆ ในประเทศไทย โดยเฉพาะความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) ที่เผชิญกับความรุนแรงยืดเยื้อตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 โดยมุ่งเน้นส่งเสริมความร่วมมือกันของทุกฝ่ายเพื่อรับมือความขัดแย้ง ตลอดจนการดำเนินกิจกรรมโดยการเปิดพื้นที่การเสวนาในทุกระดับ เพื่อกำหนดนโยบายสาธารณะร่วมกัน โดยการนำผลการศึกษาและข้อเสนอแนะมาดำเนินการเป็นโครงการเพื่อนรักต่างศาสนา: ผู้นำถักทอสันติภาพและความปรองดองในสังคมไทย เพื่อขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคมในรูปแบบโครงการภาคสนามในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ โดยใช้เรื่องสุขภาพซึ่งเป็นจุดแข็งของมหาวิทยาลัยร่วมกับบุคลากรทางศาสนา อาสาสมัครทางการแพทย์ และสาธารณสุขมาช่วยขับเคลื่อนงานเพื่อสร้างความเข้าใจและปรองดอง ผลจากการดำเนินงานสามารถสร้างเครือข่ายเพื่อนสนิท (Buddy) ระหว่างผู้นำสองศาสนาทำงานร่วมกันในพื้นที่ทั้งหมด 12 คู่ ในพื้นที่เชิงยุทธศาสตร์มากกว่า 38 แห่ง มีการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อความปรองดองในสังคมและรายงานวิธีการจัดการกระบวนการเชิงลึก 3 ภาษา จัดทำหนังสือเรื่องเล่าเพื่อนรักต่างศาสนาเผยแพร่แหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ชุมชนสามจังหวัดชายแดนใต้ สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ รวมไปถึงสร้างเพจ Interfaith Buddy for Peace เพื่อสื่อสารกิจกรรมและรณรงค์เรื่องการสร้างความปรองดองในโลกออนไลน์ นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลยังให้ความสำคัญกับสิทธิเด็ก โดยคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ทำการวิจัยเรื่องผลกระทบของการชกมวยต่อสมองของนักมวยเด็ก และได้นำไปสู่การแก้ไขพระราชบัญญัติมวยไทย 2561 โดยห้ามเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปีเข้าร่วมการแข่งขันใด ๆ ในกรณีเด็กอายุระหว่าง 12-14 ปี จะต้องมีใบอนุญาตจากนายทะเบียนก่อนเข้าร่วมการแข่งขันใด และมีโครงการขยายผลพิเคราะห์เหตุการตายในเด็กของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ได้นำเสนอผลการวิจัยและข้อมูลสถิติ นำไปสู่การกำหนดนโยบายเพื่อลดอัตราการตายของเด็กได้ 4 นโยบาย จาก 3 ประเด่นที่ค้นพบ ดังนี้ 1. นโยบายการลดการตายของเด็กเล็กจากการโดยสารรถยนต์ นำไปสู่กฎหมายบังคับใช้ที่นั่งนิรภัย (Car Seat) สำหรับเด็กเล็ก ในพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 13) 2. นโยบายลดการตายจากการขับขี่ก่อนวัยของวัยรุ่นก่อน 15 ปี 3. นโยบายอัตราการตายจากการจมน้ำในเด็ก ต้องน้อยกว่า 2/100000 คน 4. นโยบายจากการพิเคราะห์เหตุการตาย สู่การป้องกันการตายของเด็กและเยาวชน ในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ

Highlights
  • thumb
    4 ก.ย. 2566
    การพัฒนาศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ดร่วมกับเครือข่าย
    บึงบอระเพ็ดมีหน่วยงานที่รับผิดชอบจำนวนมาก ซึ่งมีบทบาทและภารกิจที่แตกต่างกันไป ทำให้แต่ละหน่วยงานมีการเก็บข้อมูลแยกกัน และมีการรายงานข้อมูลไปตามสายงานของแต่ละกรมกองเท่านั้น ทำให้การใช้ประโยชน์จากข้อมูลต้องมีการทำหนังสือขอเป็นทางการเท่านั้น ส่วนการตัดสินใจในการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ดของคณะกรรมการชุดต่างๆ ได้มีการใช้ข้อมูลของแต่ละหน่วยงาน แต่ก็ต้องใช้เวลาในการ รวบรวมประสานข้อมูลกันจนทำให้ไม่สามารถตัดสินใจได้อย่างทันท่วงที
  • thumb
    03 16 17
    28 มิ.ย. 2566
    โครงการเสวนาวิชาการ เรื่อง “กัญชา เสรี จะดีหรือร้าย?”
    การเสวนาวิชาการ เรื่อง “กัญชา เสรี จะดีหรือร้าย” เสวนาในมิติกฎหมายการแพทย์ และผลกระทบต่อเยาวชน เป็นโครงการเสวนาวิชาการภายใต้ความร่วมมือระหว่างหลักสูตรปรัชชาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรมและสังคม (ภาคพิเศษ) คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และฝ่ายบริการวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย มีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงสาระสำคัญของข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกัญชา และเปิดโอกาสให้สาธารณชนได้ทราบถึงประโยชน์ทางการแพทย์ และโทษของกัญชาที่ส่งผลกระทบต่อเยาวชนซึ่งจะทำให้ประชาชนเข้าใจวิธีการและรูปแบบการใช้กัญชาที่ถูกต้องเหมาะสม และยังช่วยลดปัญหาการใช้กัญชาไม่เหมาะสมในเยาวชนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยได้จัดขึ้นในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2565 เวลา 09.00-11.00 น. ในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meeting
  • thumb
    11 16 17
    15 พ.ค. 2566
    โครงการ ปันรัก ปันสุข เยี่ยมบ้านบูรณาการสำหรับกลุ่มเปราะบาง
    โครงการเยี่ยมบ้านบูรณาการสำหรับกลุ่มเปราะบาง เป็นการบูรณาการภาคีเครือข่ายทั้งในระดับตำบล อำเภอ จังหวัดในการเยี่ยมกลุ่มเปราะบางรายที่มีปัญหาซับซ้อนทั้งมิติด้านสังคม สุขภาพ เศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมเพื่อร่วมกันดูแลและช่วยเหลือให้เข้าถึงบริการแบบไร้รอยต่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางให้ดียิ่งขึ้น
  • thumb
    15 พ.ค. 2566
    การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพและสร้างรายได้สำหรับผู้สูงอายุในศูนย์ดูแลกลางวันสำหรับผู้สูงอายุโดยชุมชน
    การสร้างเสริมสุขภาพและสร้างรายได้สำหรับผู้สูงอายุในศูนย์ดูแลกลางวันสำหรับผู้สูงอายุเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ให้ผู้สูงอายุมาทำกิจกรรมร่วมกันทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ มีกลไกคณะทำงานในการบริหารจัดการศูนย์ดูแลกลางวัน โดยมีครูอาสาในการสร้างการเรียนรู้ 12 ฐาน และมีกองทุนศูนย์ดูแลกลางวันสำหรับผู้สูงอายุเพื่อสนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรม
  • thumb
    15 พ.ค. 2566
    โครงการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหนึ่งในแผนงานเชิงยุทธศาสตร์ของโครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา (IHRP) มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาผ่านการเสริมสร้างศักยภาพ การเสริมสร้างอำนาจ และการเผยแพร่ความรู้ในหมู่นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษาและภาคส่วนต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มานานกว่าทศวรรษ นอกเหนือจากหลักสูตรด้านสิทธิมนุษยชนและสันติภาพในระดับบัณฑิตศึกษาแล้ว สถาบันฯ ยังทำงานร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศเพื่อเสริมสร้างศักยภาพ ทักษะ และความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาสำหรับนักวิชาการในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในช่วงหลังได้เน้นการทำงานไปที่กลุ่มนักวิชาการในเมียนมาร์ที่ได้รับผลกระทบจากการรัฐประหารเมื่อปี 2564
  • thumb
    16 17
    27 ต.ค. 2565
    โครงการจากใจสู่ใจ (ระยะที่ 4) คุณค่า ความสุข และพลังภายในที่แท้จริง เพื่อชีวิตหลังกำแพง
    โครงการจากใจสู่ใจ ระยะที่ 4 คุณค่า ความสุข และพลังภายในที่แท้จริง เพื่อชีวิตหลังกำแพง โดยศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับเรือนจำกลางขอนแก่น
  • thumb
    16
    18 ต.ค. 2565
    ธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยมหิดล
    มหาวิทยาลัยมหิดล มีนโยบายในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรที่มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อการบริการจัดการองค์กรอย่างยั่งยืนเพื่อมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก
  • thumb
    16
    1 ก.ย. 2565
    กลุ่มถักทอสันติภาพ (กทส.) (Weaving Peace Together)
    กลุ่มถักทอสันติภาพ (กทส.) มีวัตถุประสงค์ 5 ประการ 1) ส่งเสริมให้เครือข่ายชาวพุทธเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับ 2)ส่งเสริมให้เครือข่ายชาวพุทธมีความเข้าใจและดำเนินการร่วมกัน 3)นำเสนอความต้องการ ความกลัว และความกังวลของชาวพุทธ 4)ทำงานร่วมกับชุมชนชาวพุทธอย่างจริงจัง 5)ร่วมมือกับชุมชนมุสลิมเพื่อสร้างอนาคตอันสงบสุขร่วมกัน ประกอบด้วยบุคลากรสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา และเครืออข่ายชาวพุทธ ร่วมออกแบบโครงการย่อยตาม 4 แนวเรื่อง ได้แก่ ชุมชนพุทธเข้มแข็ง ความสัมพันธ์ระหว่างชาวพุทธ-มุสลิม การส่งเสริมกระบวนการสันติภาพ การสื่อสารและการเชื่อมต่อสังคม ผลผลิตสำคัญ ได้แก่ องค์ความรู้ และการเกิดขึ้นของกลุ่มถักทอสันติภาพ
  • thumb
    16 17
    1 ก.ย. 2565
    มหาวิทยาลัยมหิดลกับการมีส่วนร่วมในการหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
    โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา และสภาประชาสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ เห็นความสำคัญของกระบวนการพูดคุยสันติภาพสำคัญต่อการแก้ปัญหาพื้นที่จังหวัดชายแอนภาคใต้อย่างยั่งยืน จึงได้ใช้กระบวนการสานเสวนาสร้างพื้นที่แห่งความร่วมมือระหว่างตัวแสดงที่มีอิทธิพลและบทบาทในการแก้ปัญหาทางสังคมการเมือง ได้แก่ ภาคประชาสังคมและนักการเมือง โดยได้ดำเนินการต่อเนื่องหลายปีด้วยความสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยมหิดล จนสามารถจัดทำ “ข้อตกลงร่วมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ระหว่างนักการเมืองกับภาคประชาสังคม” และงานแรกที่ร่วมกันผลักดันคือ “การตั้งคณะกรรมาธิการกระบวนการพูดคุยสันติภาพ” ผ่านกลไกรัฐสภา
  • thumb
    16 08
    31 ส.ค. 2565
    สื่อสร้างสรรค์ป้องกันการค้ามนุษย์ในเด็ก
    ทีมวิจัยของเราได้ผลิตเครื่องมือการสอนต่างๆ เพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการค้าเด็ก เพราะเราเชื่อว่าเด็กทุกคนรวมถึงนักเรียนข้ามชาติมีสิทธิเท่าเทียมกันในสิทธิมนุษยชน ดังนั้น พวกเขาจึงควรได้รับการปกป้องจากการแสวงประโยชน์จากมนุษย์ในทุกรูปแบบ โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ชาติกำเนิด ชาติพันธุ์หรือสังคม ความเห็นทางการเมืองหรืออื่นใด ทรัพย์สิน ความทุพพลภาพ กำเนิด หรือสถานะอื่น ๆ ของผู้ปกครองหรือผู้ปกครอง
  • thumb
    8 ก.ค. 2565
    โครงการทบทวนสถานการณ์สุขภาวะเด็กไทยและความเหลื่อมล้ำตามกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
    การปกป้องเด็กจากความรุนแรงในทุกรูปแบบ เป็นสิทธิพื้นฐานที่ระบุไว้ในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็ก (United Nations Convention on the Right of the Child: CRC) ซึ่งประกอบด้วยสิทธิของเด็ก 4 ด้านด้วยกัน ได้แก่ สิทธิที่จะมีชีวิตรอด สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา และสิทธิที่จะมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ถูกบรรจุไว้ในวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ.2030 (The 2030 Agenda for Sustainable Development) โดยเด็กทุกคนต้องได้รับการปกป้องคุ้มครองสิทธิในการดำรงชีวิตอย่างปราศจากความหวาดกลัว การถูกละเลย การถูกทารุณกรรม และการถูกแสวงหาผลประโยชน์ ทั้งนี้ รวมไปถึงความรุนแรงและการปฏิบัติที่เป็นอันตราย เช่น การบังคับให้แต่งงานในวัยเด็ก การขลิบอวัยวะเพศ การใช้แรงงานเด็ก การจ้างงาน และใช้เด็กในการทหารด้วย
  • thumb
    03 16 17
    7 ก.ค. 2565
    โครงการวัคซีนเพื่อรับมือปัญหา: การศึกษาภูมิคุ้มกันในโลกดิจิทัล (Digital Resilience) และ Cyberbullying ของกลุ่มนักเรียนระดับมัธยมศึกษาใน 5 ภูมิภาคของประเทศไทย
    ปัญหาการรังแกกันในพื้นที่ออนไลน์ (Cyberbullying) ในกลุ่มเยาวชนอยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วง จากงานวิจัยพบว่าเยาวชนเป็นผู้กระทำ ร้อยละ 43 เป็นผู้ถูกกระทำ ร้อยละ 49 และเป็นผู้พบเห็น ถึงร้อยละ 76 ซึ่งรูปแบบความรุนแรงที่พบมากที่สุด คือ การถูกด่าทอ โจมตี ข่มขู่ออนไลน์ ซึ่งจากการวิจัยยังพบว่าพฤติกรรมการรังแกในพื้นที่ออนไลน์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ มากมาย เช่น ผู้ถูกรังแกมีแนวโน้มที่จะมีเกรดเฉลี่ยน้อย มีแนวโน้มที่จะขาดเรียน ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่มีการป้องกัน อยู่ในภาวะซึมเศร้าที่สูงกว่ากลุ่มที่ไม่ถูกรังแก และจากการศึกษาหลาย ๆ ชิ้นก็สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการถูกรังแกในพื้นที่ออนไลน์นั้น นำไปสู่ผลกระทบในมิติสุขภาพ คือ ทำให้เกิดความเครียด วิตกกังวล หดหู่ และไม่สบายใจ ความรู้สึกเหล่านี้ก็จะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว อาจทำให้นอนไม่หลับ คิดมาก และในกรณีที่ร้ายแรงมาก อาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ในที่สุด จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้เห็นถึงความไม่ปลอดภัยของโลกออนไลน์ที่สามารถคุกคามสุขภาวะของผู้ใช้สื่อออนไลน์ได้ ถ้าผู้ใช้เหล่านั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเยาวชนที่ขาดภูมิคุ้มกันในการใช้สื่ออย่างปลอดภัย การรับมือกับความไม่ปลอดภัยในโลกออนไลน์รูปแบบต่าง ๆ จำเป็นต้องใช้องค์ความรู้ ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น การส่งเสริมให้เยาวชนแค่มี “ทักษะการรู้เท่าสื่อ” เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอแล้วสำหรับโลกยุคดิจิทัลที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน การมีภูมิคุ้มกันในโลกดิจิทัล (Digital Resilience) จึงอาจจะเป็นในวิธีการใหม่ที่จะช่วยส่งเสริมให้เยาวชนเกิดการใช้สื่อออนไลน์ได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ และสร้างให้พวกเขาเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีวัคซีนที่จะสามารถรับมือกับปัญหาความไม่ปลอดภัยในโลกออนไลน์ได้ ซึ่งทักษะที่สำคัญของคนที่มีภูมิคุ้มกันในโลกดิจิทัล คือ ทักษะการคิดวิเคราะห์ มีความรับผิดชอบต่อสังคมออนไลน์ รู้วิธีและแหล่งที่จะขอความช่วยเหลือ รู้จักที่จะปกป้องผู้อื่น และรู้กฎหมายสื่อออนไลน์
จำนวนทั้งหมด 17 รายการ