Community and Social Engagement for Sustainability

Community and Social Engagement for Sustainability
Community and Social Engagement for Sustainability
Goal
 
เครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภายนอกมหาวิทยาลัย
การถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชนและสังคม
ร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภายนอกมหาวิทยาลัยเพื่อสนับสนุนการเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืน
การเสริมสร้างขีดความสามารถเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ
Strategic Goals
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์
1. เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและหลักสูตรที่มีความหลากหลายตรงตามความต้องการของผู้เรียน
2. เพื่อสร้างบัณฑิตให้มี Global Talents
Strategic Intiatives
กลยุทธ์
1. พัฒนาอาจารย์และบุคลากรให้มีศักยภาพด้านการศึกษาและกิจการนักศึกษา ที่ตอบสนองต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่
2. ผลักดันให้หลักสูตรได้รับการรับรองตามเกณฑ์มาตรฐานระดับสากล และพัฒนาหลักสูตรบูรณาการที่มีความยืดหยุ่น หลากหลาย ระหว่างสาขาวิชาต่างๆ
3. พัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์สําหรับบุคคลทั่วไป โดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงาน หรือกลุ่มผู้สูงอายุ
4. สร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีบรรยากาศความเป็นนานาชาติ ให้เป็น Digital Convergence University
5. พัฒนาศักยภาพนักศีกษาและกระบวนการจัดกิจกรรมนักศึกษาให้ตอบสนองต่อการเป็น Global Citizen และ Global Talents
6. ส่งเสริมเชิงรุกและสนับสนุนเครือข่ายศิษย์เก่า เพื่อร่วมพัฒนานักศึกษาและมหาวิทยาลัย
7. พัฒนา Platform ด้านการศึกษาสําหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเพื่อเพิ่มจํานวนและคุณภาพ
Case Study
  • thumb
    04
    10 ต.ค. 2566
    โครงการฝึกอบรมและสร้างอาชีพบุคคลพิเศษและการพัฒนาสู่ Inclusive organization
    จากเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนมุ่งส่งเสริมความเท่าเทียมลดความเลื่อมล้ำ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว จึงให้ความสำคัญในการสร้างอาชีพและพัฒนาศักยภาพของกลุ่มบุคคลพิเศษ อันได้แก่ คนพิการ เด็กพิเศษ และผู้ขาดโอกาสทางการศึกษา
  • thumb
    30 ก.ย. 2567
    ค่ายเยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อมสู่การสร้างแรงบันดาลใจด้าน SDGs (Green Youth Camp Inspires for SDGs)
    การเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความสนใจ และตระหนักถึงสภาวะสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน วิเคราะห์หาเหตุผลในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ เรียนรู้การผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นต่าง ๆ เช่น ระบบวนเกษตร ผลิตภัณฑ์แปรรูป และการพัฒนาที่ยั่งยืนชุมชน (SDGs) เป็นต้น เพื่อได้ประสบการณ์และการเข้าถึงสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฝึกทักษะการปฏิบัติจากผู้มีความรู้ ผู้เชี่ยวชาญจากคณะอาจารย์และตัวแทนผู้นำกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อให้เพิ่มความรู้ความเข้าใจความหลากหลายสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจท้องถิ่นมาก
  • thumb
    5 ก.ย. 2567
    โครงการส่งเสริมอาชีพทอผ้าและแปรรูปผ้าขอเอื้อสำหรับผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ตำบลโนนหนามแท่ง
    โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินโครงการบริการวิชาการ เรื่อง การส่งเสริมอาชีพทอผ้าและแปรรูปผ้าขิดลายขอเอื้อสำหรับผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ตำบลโนนหนามแท่ง ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จำนวน 720,000 บาท ดำเนินการช่วงเดือนมิถุนายน 2566 ถึงเดือนมีนาคม 2567
  • thumb
    11 01 03
    9 พ.ค. 2567
    นวัตกรรมกระบวนการ “ต้นแบบชุมชน ร่วมพลัง ร่วมใจ รองรับสังคมสูงวัยเขตเมือง”
    นวัตกรรมกระบวนการ “ต้นแบบชุมชน ร่วมพลัง ร่วมใจ รองรับสังคมสูงวัยเขตเมือง”มีเป้าหมาย เตรียมความพร้อมคนรอบ ๆ ตัว ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะ เยาวชน ให้มีความสามารถในการดูแลตนเองให้มีศักยภาพปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่อสังคมสูงอายุ และสามารถดูแลผู้สูงอายุได้ และพัฒนากลไกทางสังคมของชุมชนเมืองไปพร้อม ๆ กัน
  • thumb
    03
    5 ส.ค. 2567
    ยุติปัญหา “การฆ่าตัวตาย” ด้วยระบบการเฝ้าระวังและป้องกัน
    ยุทธศาสตร์ 4 เสา” หรือ “โฟร์พิลล่าร์” (4 Pillars) เป็นกลยุทธ์ป้องกันการฆ่าตัวตายที่มีการนำมาใช้กับระบบเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายของจังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นจังหวัดในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ภายใต้เขตสุขภาพที่ 1 เป็นเขตพื้นที่ที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุดในประเทศไทย โดยมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงกว่าค่าเป้าหมายที่ประเทศไทยกำหนดไว้ 2-3 เท่า โดยใช้ยุทธศาสตร์ 4 เสาได้แก่ เสาที่ 1 ระบบข้อมูล (Data) เป็นการค้นหากลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มเปราะบาง โดยการทำความเข้าใจคุณลักษณะ ปัจจัยเสี่ยง หรือผลกระทบที่ส่งผลให้เกิดความคิดฆ่าตัวตาย อาทิ ปัจจัยด้านสุขภาพ สังคมและเศรษฐกิจ เสาที่ 2 ชี้เป้า ดักจับ (Radar) เป็นเสาสัญญาณที่ทำหน้าที่ในการดักจับสัญญาณเสี่ยงโดยบุคคลรอบข้าง รวมถึงการนำส่งข้อมูลให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขเพื่อส่งต่อเข้าสู่ระบบให้ความช่วยเหลือ เสาที่ 3 ป้องกัน บำบัด (Prevention and Treatment) จำเป็นต้องใช้การช่วยเหลือในรูปแบบที่เป็นเครือข่ายและการบูรณาการร่วมกัน หรือที่เรียกว่า “การทำงานแบบหลายภาคส่วน” (Multisectoral Collaboration) เพื่อร่วมดำเนินการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายตามขั้นตอนและกระบวนการบำบัดต่อไป และเสาที่ 4 การบริหารอย่างมีส่วนร่วม (Administration) เป็นกระบวนการช่วยเหลือด้วยการบูรณาการหลายภาคส่วน ตามลักษณะของปัญหาและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ หน่วยงานในสังกัด กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และกระทรวงมหาดไทย
  • thumb
    03 17
    9 ก.ย. 2567
    โครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบลดการบริโภคโซเดียม ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
    โครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบลดการบริโภคโซเดียม ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้รับทุนสนับสนุนจากกองแผนงาน มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้โครงการรณรงค์ขับเคลื่อนนโยบายลดการบริโภคโซเดียม (Low Sodium Campaign Funding) ประจำปีงบประมาณ 2567
  • thumb
    03 17
    21 พ.ค. 2567
    โครงการค่ายยุวชนรักกีฬาภาคฤดูร้อน
    สำนักงานสนับสนุนกิจกรรมกีฬาและการออกกำลังกาย วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม “โครงการค่ายยุวชนรักกีฬาภาคฤดูร้อน การจัดกิจกรรมดังกล่าวสามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจให้ยุวชนได้รู้จักการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์การอยู่ร่วมกันการช่วยเหลือตนเองและการสัมพันธภาพอันดีงามระหว่างเพื่อน
  • thumb
    30 ก.ย. 2567
    แผนนโยบายขับเคลื่อนการบริหารจัดการเกษตรกรรมและสิ่งแวดล้อมยั่งยืนบนฐานระบบวนเกษตรชุมชน
    การนำแนวคิด ความรู้ และหลักการทางนิเวศวิทยาในการบริหารจัดการเกษตรกรรมด้วยระบบวนเกษตร สู่แผนนโยบายขับเคลื่อนชี้นำสังคม เพื่อช่วยในการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากแรงกดดันด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)
  • thumb
    03 17
    2 ก.ค. 2567
    ระบบประเมินมหาวิทยาลัยสุขภาวะ Healthy University Rating System (HURS)
    Healthy University Rating System (HURS) ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการประเมินมหาวิทยาลัยสุขภาวะ โดยใช้กรอบแนวคิด AUN Healthy University Framework (HUF) ซึ่งประกอบด้วย 22 ประเด็น มุ่งเน้นส่งเสริมสุขภาพ ความยั่งยืน และความเป็นอยู่ที่ดีแก่บุคลากร นักศึกษามหาวิทยาลัยและชุมชนรอบข้าง
  • thumb
    04
    19 ก.ย. 2567
    โครงการ “เปิดโลกวิทย์ สนุกคิด สนุกทำ กับ สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้” สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาโรงเรียนวัดลำโพ (คล้อยประชารังสฤษฏ์)
    สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการ “บริการวิชาการสู่ชมชน กับ สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้” สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาโรงเรียนบ้านคลองมหาสวัสดิ์ (ตั้งตรงจิตร17) กิจกรรมในช่วงเช้าเป็นการสอนน้้อง ๆ จำนวน 30 คน สร้าง Flat Graphic ด้วย Microsoft PowerPoint น้อง ๆ จะได้เรียนรู้การใช้เครื่องมือใน PowerPoint เพื่อสร้างภาพของตัวเองขึ้นมาได้ ช่วงบ่ายเป็นการมอบเงินสมทบทุนสำหรับปรับปรุงระบบไฟฟ้าของโรงเรียน ที่มีความชำรุดเพื่อให้ทางโรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยได้รับเงินบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธาทั้งจากศิษย์เก่า และบุคลากรสถาบันฯ คณะต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล อาทิ คณะศิลปศาสตร์ คณะกายภาพบำบัด และคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และบุคคลทั่วไป ตามด้วยการมอบ Poster การเรียนรู้ เกี่ยวกับการสร้าง Flat Graphic และประโยชน์ของสมุนไพร โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชรี เกษพิชัยณรงค์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม และต่อด้วยการให้น้อง ๆ จำนวน 70 คน ทำ “กิจกรรมเรียนรู้ความปลอดภัยของสารระเหย” ผ่านการเล่นเกม น้อง ๆ จะได้เรียนรู้โทษของสารระเหยที่อันตราย และเรียนรู้สัญลักษณ์ความเป็นอันตรายที่ต้องพึงระวัง และสุดท้ายน้อง ๆ จะได้เรียนรู้ที่มา และประโยชน์ของสมุนไพร ไปกับการทำ “กิจกรรมสมุนไพรมหัศจรรย์” โดยน้อง ๆ จะได้ลงมือทำยาดมตามกลิ่นที่น้อง ๆ ชอบ และได้ยาดมกลับบ้านกันทุกคน ณ โรงเรียนบ้านคลองมหาสวัสดิ์ (ตั้งตรงจิตร17) จังหวัดนครปฐม
  • thumb
    04 17
    19 ก.ย. 2567
    โครงการเปิดโลกทัศน์วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา
    โครงการเปิดโลกทัศน์วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม จัดโดยสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นโครงการที่อยู่ภายใต้งานบริการวิชาการของสถาบันฯ โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ของคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ที่ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่าง “รู้จริง รู้นาน สร้างสรรค์ และสื่อสารได้” ดังนั้น พันธกิจหนึ่งที่สำคัญของสถาบันฯ คือ การสร้างความเป็นเลิศทางด้านการบริการวิชาการ โดยมุ่งเน้นส่งเสริมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในทุกระดับ โดยมีการจัดฝึกอบรม สัมมนาเชิงปฏิบัติการ ทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติการ ให้กับบุคลากรทางการศึกษา ทั้งนักเรียนและอาจารย์ ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา จนถึงระดับอุดมศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และเพื่อให้เกิดการเรียนรู้แบบพัฒนาต่อยอดอย่างยั่งยืน
  • thumb
    04 17
    19 ก.ย. 2567
    โครงการอบรมหลักสูตรระยะสั้น ประจำปีงบประมาณ 2567
    โครงการอบรมหลักสูตรระยะสั้น จัดโดยสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างยั่งยืนในทุกภาคส่วนของประเทศ และส่งเสริมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการการศึกษาและบุคคลทั่วไปก้าวทันแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ของโลกในด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21 การดำเนินโครงการดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนและเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับของการศึกษาไทยในอนาคตซึ่งตรงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อ 4 เป็นการสร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
จำนวนทั้งหมด 140 รายการ