Peace,Justice and Strong Institutions

ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรม และสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผล รับผิดชอบ และครอบคลุมในทุกระดับ

มหาวิทยาลัยมหิดลให้ความสำคัญด้านสิทธิมนุษยชนและการสร้างสันติภาพในสังคมทั้งในระดับมหาวิทยาลัย ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ โดยเป็นหนึ่งในพันธกิจหลักที่มหาวิทยาลัยให้การสนับสนุนและส่งเสริมความร่วมมือด้านสิทธิมนุษยชนและการสร้างสันติภาพ ได้จัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและ สันติศึกษาในปี พ.ศ. 2541 ในฐานะสถาบันวิชาการที่เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน มีการเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนและบรรจุรายวิชาแนวคิดด้านสิทธิมนุษยชนและการจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธี ให้นักศึกษาทุกสาขาวิชาได้เลือกเรียนในหมวดวิชาทั่วไป มีการผลิตผลงานวิชาการ และจัดโครงการอบรมต่าง ๆ ให้กับ บุคลากรด้านสิทธิมนุษยชน นักปกป้องสิทธิมนุษยชน สมาชิกองค์กรภาคประชาสังคม และเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ในปี พ.ศ 2547 สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการหาทางออกอย่างสันติให้กับความขัดแย้งต่าง ๆ ในประเทศไทย โดยเฉพาะความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) ที่เผชิญกับความรุนแรงยืดเยื้อตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 โดยมุ่งเน้นส่งเสริมความร่วมมือกันของทุกฝ่ายเพื่อรับมือความขัดแย้ง ตลอดจนการดำเนินกิจกรรมโดยการเปิดพื้นที่การเสวนาในทุกระดับ เพื่อกำหนดนโยบายสาธารณะร่วมกัน โดยการนำผลการศึกษาและข้อเสนอแนะมาดำเนินการเป็นโครงการเพื่อนรักต่างศาสนา: ผู้นำถักทอสันติภาพและความปรองดองในสังคมไทย เพื่อขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคมในรูปแบบโครงการภาคสนามในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ โดยใช้เรื่องสุขภาพซึ่งเป็นจุดแข็งของมหาวิทยาลัยร่วมกับบุคลากรทางศาสนา อาสาสมัครทางการแพทย์ และสาธารณสุขมาช่วยขับเคลื่อนงานเพื่อสร้างความเข้าใจและปรองดอง ผลจากการดำเนินงานสามารถสร้างเครือข่ายเพื่อนสนิท (Buddy) ระหว่างผู้นำสองศาสนาทำงานร่วมกันในพื้นที่ทั้งหมด 12 คู่ ในพื้นที่เชิงยุทธศาสตร์มากกว่า 38 แห่ง มีการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อความปรองดองในสังคมและรายงานวิธีการจัดการกระบวนการเชิงลึก 3 ภาษา จัดทำหนังสือเรื่องเล่าเพื่อนรักต่างศาสนาเผยแพร่แหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ชุมชนสามจังหวัดชายแดนใต้ สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ รวมไปถึงสร้างเพจ Interfaith Buddy for Peace เพื่อสื่อสารกิจกรรมและรณรงค์เรื่องการสร้างความปรองดองในโลกออนไลน์ นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลยังให้ความสำคัญกับสิทธิเด็ก โดยคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ทำการวิจัยเรื่องผลกระทบของการชกมวยต่อสมองของนักมวยเด็ก และได้นำไปสู่การแก้ไขพระราชบัญญัติมวยไทย 2561 โดยห้ามเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปีเข้าร่วมการแข่งขันใด ๆ ในกรณีเด็กอายุระหว่าง 12-14 ปี จะต้องมีใบอนุญาตจากนายทะเบียนก่อนเข้าร่วมการแข่งขันใด และมีโครงการขยายผลพิเคราะห์เหตุการตายในเด็กของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ได้นำเสนอผลการวิจัยและข้อมูลสถิติ นำไปสู่การกำหนดนโยบายเพื่อลดอัตราการตายของเด็กได้ 4 นโยบาย จาก 3 ประเด่นที่ค้นพบ ดังนี้ 1. นโยบายการลดการตายของเด็กเล็กจากการโดยสารรถยนต์ นำไปสู่กฎหมายบังคับใช้ที่นั่งนิรภัย (Car Seat) สำหรับเด็กเล็ก ในพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 13) 2. นโยบายลดการตายจากการขับขี่ก่อนวัยของวัยรุ่นก่อน 15 ปี 3. นโยบายอัตราการตายจากการจมน้ำในเด็ก ต้องน้อยกว่า 2/100000 คน 4. นโยบายจากการพิเคราะห์เหตุการตาย สู่การป้องกันการตายของเด็กและเยาวชน ในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ

Highlights
  • thumb
    16
    18 ต.ค. 2565
    ธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยมหิดล
    มหาวิทยาลัยมหิดล มีนโยบายในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรที่มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อการบริการจัดการองค์กรอย่างยั่งยืนเพื่อมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก
  • thumb
    7 มิ.ย. 2567
    สถานการณ์การดูแลสุขภาพและความต้องการการสนับสนุนในพื้นที่ชายแดนจังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดตาก
    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เฉพาะ เพื่อทำความเข้าใจและสรุปสถานการณ์ด้านสุขภาพในพื้นที่ชายแดนจังหวัดแม่ฮ่องสอนและตาก เพื่อวิเคราะห์และระบุประเด็นและความท้าทายด้านสุขภาพและการดูแลสุขภาพในพื้นที่ รวมถึงผลกระทบของการข้ามชายแดนต่อสถานการณ์สุขภาพโดยทั่วไปในพื้นที่ชายแดน และพิจารณาและเสนอการแนวทางการสนับสนุนที่จำเป็น และเป็นไปได้จาก JICA เพื่อแก้ไขปัญหาและความท้าทายที่เกิดขึ้น
  • thumb
    6 ก.ย. 2567
    โครงการมหิดลเพื่อสังคม “ความปลอดภัยในเด็ก (Child Safety)”
    ศูนย์สุขภาวะครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ ได้จัดโครงการมหิดลเพื่อสังคม “ความปลอดภัยในเด็ก” (Child Safety) เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานสร้างสุขภาวะที่ดีให้เด็กและประชาชนในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายในจังหวัดอำนาจเจริญ ให้เกิดการทำงานร่วมบูรณาการที่ต่อเนื่องและยั่งยืน
  • thumb
    19 ก.พ. 2567
    โครงการวิจัยงานจ้างจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนด้านความมั่นคงของมนุษย์ ปี 2566-2570
    เพื่อให้การยกระดับและพัฒนางานขับเคลื่อนค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ให้สูงขึ้นได้จริง จึงได้กำหนดโครงการ "จัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนด้านความมั่นคงของมนุษย์ ปี 2566-2570" เพื่อบูรณาการข้อมูล/กระบวนการ/กลไก/การติดตามและประเมินผล การขับเคลื่อนกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เป็นเจ้าภาพตัวชี้วัดดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ตามกรอบมิติ/ตัวชี้วัดดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ สู่การกำหนดนโยบายรองรับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที พร้อมขยายผลการขับเคลื่อนค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับประเทศ และในระดับพื้นที่ต่อไป
  • thumb
    16 10 17
    1 ก.ย. 2565
    มหาวิทยาลัยมหิดลกับการมีส่วนร่วมในการหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
    โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา และสภาประชาสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ เห็นความสำคัญของกระบวนการพูดคุยสันติภาพสำคัญต่อการแก้ปัญหาพื้นที่จังหวัดชายแอนภาคใต้อย่างยั่งยืน จึงได้ใช้กระบวนการสานเสวนาสร้างพื้นที่แห่งความร่วมมือระหว่างตัวแสดงที่มีอิทธิพลและบทบาทในการแก้ปัญหาทางสังคมการเมือง ได้แก่ ภาคประชาสังคมและนักการเมือง โดยได้ดำเนินการต่อเนื่องหลายปีด้วยความสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยมหิดล จนสามารถจัดทำ “ข้อตกลงร่วมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ระหว่างนักการเมืองกับภาคประชาสังคม” และงานแรกที่ร่วมกันผลักดันคือ “การตั้งคณะกรรมาธิการกระบวนการพูดคุยสันติภาพ” ผ่านกลไกรัฐสภา
  • thumb
    15 พ.ค. 2566
    โครงการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหนึ่งในแผนงานเชิงยุทธศาสตร์ของโครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา (IHRP) มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาผ่านการเสริมสร้างศักยภาพ การเสริมสร้างอำนาจ และการเผยแพร่ความรู้ในหมู่นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษาและภาคส่วนต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มานานกว่าทศวรรษ นอกเหนือจากหลักสูตรด้านสิทธิมนุษยชนและสันติภาพในระดับบัณฑิตศึกษาแล้ว สถาบันฯ ยังทำงานร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศเพื่อเสริมสร้างศักยภาพ ทักษะ และความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาสำหรับนักวิชาการในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในช่วงหลังได้เน้นการทำงานไปที่กลุ่มนักวิชาการในเมียนมาร์ที่ได้รับผลกระทบจากการรัฐประหารเมื่อปี 2564
  • thumb
    16 10
    1 ก.ย. 2565
    กลุ่มถักทอสันติภาพ (กทส.) (Weaving Peace Together)
    กลุ่มถักทอสันติภาพ (กทส.) มีวัตถุประสงค์ 5 ประการ 1) ส่งเสริมให้เครือข่ายชาวพุทธเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับ 2)ส่งเสริมให้เครือข่ายชาวพุทธมีความเข้าใจและดำเนินการร่วมกัน 3)นำเสนอความต้องการ ความกลัว และความกังวลของชาวพุทธ 4)ทำงานร่วมกับชุมชนชาวพุทธอย่างจริงจัง 5)ร่วมมือกับชุมชนมุสลิมเพื่อสร้างอนาคตอันสงบสุขร่วมกัน ประกอบด้วยบุคลากรสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา และเครืออข่ายชาวพุทธ ร่วมออกแบบโครงการย่อยตาม 4 แนวเรื่อง ได้แก่ ชุมชนพุทธเข้มแข็ง ความสัมพันธ์ระหว่างชาวพุทธ-มุสลิม การส่งเสริมกระบวนการสันติภาพ การสื่อสารและการเชื่อมต่อสังคม ผลผลิตสำคัญ ได้แก่ องค์ความรู้ และการเกิดขึ้นของกลุ่มถักทอสันติภาพ
  • thumb
    16 08 10
    31 ส.ค. 2565
    สื่อสร้างสรรค์ป้องกันการค้ามนุษย์ในเด็ก
    ทีมวิจัยของเราได้ผลิตเครื่องมือการสอนต่างๆ เพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการค้าเด็ก เพราะเราเชื่อว่าเด็กทุกคนรวมถึงนักเรียนข้ามชาติมีสิทธิเท่าเทียมกันในสิทธิมนุษยชน ดังนั้น พวกเขาจึงควรได้รับการปกป้องจากการแสวงประโยชน์จากมนุษย์ในทุกรูปแบบ โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ชาติกำเนิด ชาติพันธุ์หรือสังคม ความเห็นทางการเมืองหรืออื่นใด ทรัพย์สิน ความทุพพลภาพ กำเนิด หรือสถานะอื่น ๆ ของผู้ปกครองหรือผู้ปกครอง
  • thumb
    2 มี.ค. 2565
    เพื่อนรักต่างศาสนา: ผู้นําถักทอสันติภาพและความปรองดองในสังคมไทย
    โครงการเพื่อนรักต่างศาสนา: ผู้นำกับการถักทอสันติภาพและความปรองดองในสังคมไทย ได้ใช้การสานเสวนาเรื่องสุขภาพเป็นจุดเริ่มต้นนำไปสู่การสร้างความไว้วางใจและปรองดอง เพื่อนำมาสู่สันติภาพในสังคมที่มีความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
  • thumb
    4 เม.ย. 2567
    สารคดีชุด “SOME ONE หนึ่งในหลาย”
    สารคดีชุด “SOME ONE หนึ่งในหลาย” สารคดีที่มุ่งส่งเสริมความเข้าใจของบุคคล ชุมชน และสังคมที่อยู่นอกเหนือจากกรอบสังคมที่คุ้นเคย ผ่านแนวคิด “สังคมพหุนิยม” หรือ Pluralism ซึ่งเป็นแนวคิดที่ยอมรับความหลากหลายในสังคม ให้ความสำคัญแก่ “ความแตกต่างหลากหลาย” รวมถึงบทบาทที่ถูก “ละเลย” และ “ละเมิด” ทั้งในระดับปัจเจกและสังคม เพื่อสร้างการรับรู้ เคารพ และยอมรับในสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้คนในกลุ่มวัฒนธรรมต่าง ๆ ด้วยขันติธรรม และเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเปิดกว้างทางความคิดที่จะนำไปสู่สังคมสันติสุขอย่างยั่งยืน
  • thumb
    15 พ.ค. 2566
    การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพและสร้างรายได้สำหรับผู้สูงอายุในศูนย์ดูแลกลางวันสำหรับผู้สูงอายุโดยชุมชน
    การสร้างเสริมสุขภาพและสร้างรายได้สำหรับผู้สูงอายุในศูนย์ดูแลกลางวันสำหรับผู้สูงอายุเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ให้ผู้สูงอายุมาทำกิจกรรมร่วมกันทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ มีกลไกคณะทำงานในการบริหารจัดการศูนย์ดูแลกลางวัน โดยมีครูอาสาในการสร้างการเรียนรู้ 12 ฐาน และมีกองทุนศูนย์ดูแลกลางวันสำหรับผู้สูงอายุเพื่อสนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรม
  • thumb
    11 มี.ค. 2565
    โรงเรียนการบริหารงานโรงพยาบาล
    หลักสูตรการบริหารโรงพยาบาล CEO : Hospital Management for Chief Executive Officer เป็นหลักสูตรพัฒนาผู้บริหารโรงพยาบาลให้รอบรู้ มีภาวะผู้นำ เพื่อบริหารงานในองค์การที่มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จำนวนทั้งหมด 21 รายการ