No Poverty

ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่

มหาวิทยาลัยมหิดลให้ความสำคัญกับการให้โอกาสนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นบุตรคนแรกของครอบครัวที่มีรายได้ต่ำ ให้สามารถเรียนจนจบการศึกษา จากมหาวิทยาลัยมหิดลและมีโอกาสทำงานในองค์กรที่มั่นคง สามารถสร้างรายได้เลี้ยงดูครอบครัวให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไปได้ โดยมหาวิทยาลัยมหิดลให้ทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์อย่างแท้จริง ประจำปีการศึกษา 2564 กว่า 332 ทุน เป็นจำนวนเงินกว่า 16,600,000 บาท โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ทุนการศึกษาต่อเนื่องสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ขึ้นไป อัตราทุนละ 50,000 บาท ต่อปีการศึกษา จำนวน 48 ทุน ทุนการศึกษารายปี สำหรับนักศึกษาทุกชั้นปี อัตราทุนละ 50,000 ต่อปีการศึกษา จำนวน 284 ทุน และยังมีทุนประเภทอื่น ๆ ให้แก่นักศึกษา เช่น ทุนสนับสนุนการศึกษา ทุนช่วยเหลือและสนับสนุนกรณีพิเศษ ทุนสวัสดิการ เพื่อช่วยเหลือนักศึกษาของมหาวิทยาลัยอย่างครอบคลุมทุกวิทยาเขต และทางมหาวิทยาลัยยังมีสวัสดิการต่าง ๆ เช่น ทุนอาหารกลางวัน หอพักราคาถูก รถรางรับ-ส่ง รวมทั้งมีบริการด้านการรักษาพยาบาลครอบคลุม ทั้งการรักษาโรคทั่วไป ทางร่างกาย ทางจิตใจ ทางทันตกรรม ให้กับนักศึกษาทุกคน ซึ่งเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายทางด้านการศึกษาของบุตรให้แก่ผู้ปกครอง และสำหรับนักศึกษาที่ต้องการหารายได้เสริมในเวลาว่างนั้น ทางมหาวิทยาลัยก็มีทุนนักศึกษาช่วยงาน โดยให้ค่าจ้างชั่วโมงละ 40 บาท หรือ วันละ 300 บาท ซึ่งสามารถช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ปกครองได้ในระดับหนึ่ง ทางมหาวิทยาลัยมหิดลยังได้เล็งเห็นถึงปัญหาด้านหนี้สินของเกษตรกร ซึ่งเป็นต้นเหตุ ของความยากจน จึงได้มีโครงการต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการลดปัจจัยที่ก่อให้เกิดหนี้สิน ได้แก่ การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับผู้ประกอบการ SMEs ด้านการเกษตรผ่านโครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ Start Up, Early Stage เพื่อช่วยเพิ่มทักษะในการวางแผนการบริหารจัดการของเกษตรกร และการจัดกิจกรรมสร้างเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์มหิดลก่อให้เกิดมาตรฐานข้าวอินทรีย์มหิดล เพื่อเพิ่มความมั่นใจของผู้บริโภค นอกจากการให้ความช่วยเหลือเพื่อลดความยากจนภายในมหาวิทยาลัย และในระดับชุมชนแล้ว ทางมหาวิทยาลัยมหิดลยังมีส่วนให้ความช่วยเหลือนักศึกษาจากประเทศรายได้น้อย ดังเช่น การเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชา ตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ได้ให้ทางมหาวิทยาลัยทำหน้าที่ดำเนินการช่วยเหลือทางด้านทุนการศึกษาแก่นักศึกษา จากราชอาณาจักรกัมพูชาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์จำนวน 29 คน ให้เข้ามาศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2561 - 2564

Highlights
  • thumb
    5 ก.ย. 2567
    โครงการส่งเสริมอาชีพทอผ้าและแปรรูปผ้าขอเอื้อสำหรับผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ตำบลโนนหนามแท่ง
    โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินโครงการบริการวิชาการ เรื่อง การส่งเสริมอาชีพทอผ้าและแปรรูปผ้าขิดลายขอเอื้อสำหรับผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ตำบลโนนหนามแท่ง ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จำนวน 720,000 บาท ดำเนินการช่วงเดือนมิถุนายน 2566 ถึงเดือนมีนาคม 2567
  • thumb
    30 ก.ย. 2567
    แผนนโยบายขับเคลื่อนการบริหารจัดการเกษตรกรรมและสิ่งแวดล้อมยั่งยืนบนฐานระบบวนเกษตรชุมชน
    การนำแนวคิด ความรู้ และหลักการทางนิเวศวิทยาในการบริหารจัดการเกษตรกรรมด้วยระบบวนเกษตร สู่แผนนโยบายขับเคลื่อนชี้นำสังคม เพื่อช่วยในการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากแรงกดดันด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)
  • thumb
    1 ก.ค. 2565
    การบริหารยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำส่วนกลางที่บ้าน Ramathibodi Home Chemotherapy Model (RHCM)
    การบริหารยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำส่วนกลางที่บ้าน เพิ่มประสิทธิผลการรักษา ลดค่าใช้จ่าย สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ป่วย ยกระดับระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งของประเทศไทย เพื่อความยั่งยืนทางด้านสุขภาพของประชากรไทย
  • thumb
    10 ส.ค. 2565
    สร้างฝายชะลอน้ำ (CHECK DAM) แล้วได้ประโยชน์อย่างไร
    วิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดลเดิมประสบปัญหาการพังทลายของหน้าดิน เนื่องจากการชะล้างของน้ำฝน ในช่วงฤดูฝนได้ไหลเข้าท่วมสู่อำเภอไทรโยค เนื่องจากสถานที่ตั้งของวิทยาเขตกาญจนบุรีอยู่บนที่ราบเชิงเขา ทำให้สถานที่ราชการ บ้านเรือนประชาชน ถนน ได้รับความเสียหายส่งผลให้เกิดความเดือดร้อนของชุมชนในพื้นที่เทศบาลตำบลวังโพ อำเภอไทรโยค ในปี 2553 วิทยาเขตกาญจนบุรี ได้มีความร่วมมือกับ SCGP โรงงานวังศาลา ได้เข้ามาศึกษาและสำรวจการพังทลายของชั้นดินบริเวณวิทยาเขตกาญจนบุรี เพื่อร่วมหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาโดยเห็นควรให้มีการจัดสร้างฝายชะลอน้ำในพื้นที่ของวิทยาเขตกาญจนบุรี เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ทั้งนี้วิทยาเขตกาญจนบุรีจึงได้มีความร่วมมือกับทาง SCGP โรงงานวังศาลา และทุกภาคส่วนในอำเภอไทรโยค ในการเริ่มสร้างฝายชะลอน้ำขึ้นในพื้นที่ของวิทยาเขตกาญจนบุรี มาเป็นลำดับในทุกปี โดย ณ ปัจจุบัน มีฝายชะลอน้ำทั้งหมดจำนวน 427 ฝาย วัตถุประสงค์หลักของการสร้างฝายในพื้นที่มิได้เพื่อการกักเก็บน้ำเนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นเขาหินปูน มีรูพรุนใต้พื้นดินเป็นจำนวนมากไม่สามารถเก็บน้ำได้ แต่การสร้างฝายเพือชะลอน้ำ และลดความรุนแรงของน้ำเพื่อไม้ให้สูญเสียหน้าดิน อีกทั้งยังต้องการให้พื้นป่ามีความชุ่มชื้นที่ยาวนานขึ้น โดยส่วนใหญ่ฝายชะลอน้ำสร้างจากวัสดุธรรมชาติ เช่น เศษไม้ ปลายไม้ หิน สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติและไม่ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศ
  • thumb
    5 เม.ย. 2567
    กลไกการพัฒนาระบบการจ้างงานคนพิการเชิงสังคม
    พัฒนาระบบที่เป็นแหล่งรวมงานที่เป็นความต้องการคนพิการ และสถานประกอบการ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ มีระบบทีมสนับสนุน เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างคนพิการและสถานประกอบการ รวมทั้งการ การสร้างการตระหนักรู้ในสถานประกอบการ และพัฒนาระบบองค์กรตัวกลาง โดยมีเครือข่ายความร่วมมือ
  • thumb
    03 01 17
    1 ก.ย. 2566
    การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไทยอย่างรอบด้านโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่เทศบาลเมืองกาญจนบุรี และองค์การบริหารส่วนตำบลมหาสวัสดิ์ จังหวัดนครปฐม
    ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในยุค “เกิดน้อย อายุยืน” จำนวนเด็กเกิดของประเทศไทยที่เคยสูงเกินหนึ่งล้านคนในช่วงระหว่างปี 2506-2526 หรือเรียกว่าเป็น “ประชากรรุ่นเกิดล้าน” (ปราโมทย์ ประสาทกุล และปัทมา ว่าพัฒนวงศ์, 2554) ในปี 2564 การเกิดของประเทศไทยลดต่ำลงมากเหลือเพียง 5 แสน 4 หมื่นรายเท่านั้น (สำนักบริหารการทะเบียน, 2565) ในขณะเดียวกันผู้คนเริ่มมีอายุยืนยาวขึ้น อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดของคนไทยได้เพิ่มขึ้นจากในอดีตเมื่อ 50 ปีก่อน ประชากรไทยนับตั้งแต่แรกเกิดคาดว่าจะมีชีวิตอยู่ต่อไปอีกโดยเฉลี่ยน้อยกว่า 50 ปีเท่านั้น แต่ในปัจจุบันได้เพิ่มสูงขึ้นเป็น 70 ปี โดยผู้หญิงจะมีอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดสูงถึง 80.5 ปี และในชาย 73.5 ปี (สถาบันวิจัยประชากรและสังคม, 2565) ดังนั้นการมีคุณภาพชีวิตที่ดีในบั้นปลายชีวิต จึงเป็นเป้าหมายสำคัญของหน่วยงานที่ดำเนินงานด้านผู้สูงอายุ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของแผนปฏิบัติการระหว่างประเทศมาดริดว่าด้วยผู้สูงอายุ (The Madrid International Plan of Action on Ageing : MIPAA) ใน 3 ประเด็นเรื่อง 1) ผู้สูงอายุและการพัฒนา (Older Persons and Development) (2) สูงวัยอย่างสุขภาพดีและมีสุขภาวะ (Advancing Health and Well-being into Old Age) และ (3) สร้างสภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุนและเหมาะสม ทั้งนี้ในการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) นับเป็นหน่วยงานสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรในพื้นที่ และเป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดประชากรมากที่สุด โครงการนี้เป็นการวิจัยเชิงปฎิบัติการแบบมีส่วนร่วม คือ คณะวิจัย ชุมชน เครือข่ายในพื้นที่ ร่วมกันค้นหาปัญหา หาวิธีการแก้ไขปัญหา สะท้อนกลับซึ่งกันและกัน และสุดท้าย เกิดต้นแบบการทำงานร่วมกันผ่านเวทีการถอดบทเรียนในทุกแต่ละพื้นที่ มีวัตถุประสงค์หลักการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอย่างรอบด้านทั้งในด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม โดยนักวิจัยเข้าไปร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในทุกกระบวนการตั้งแต่การศึกษาสภาพการณ์ปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมการวิจัยในปัจจุบันของมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) มาต่อยอดและขยายผลกับพื้นที่ที่ศึกษา ได้แก่ การใช้เครื่องมือประเมินภาวะ Active aging แนวทางในการดูแลระยะกลางและระยะท้าย การคัดกรองผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม การส่งเสริมการมีงานทำ การส่งเสริมการสูงวัยในถิ่นเดิมตลอดจนการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถอาศัยอยู่ในท้องถิ่นได้ตราบจนชั่วชีวิตด้วยคุณภาพชีวิตที่ดี
  • thumb
    19 ก.พ. 2567
    โครงการวิจัยงานจ้างจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนด้านความมั่นคงของมนุษย์ ปี 2566-2570
    เพื่อให้การยกระดับและพัฒนางานขับเคลื่อนค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ให้สูงขึ้นได้จริง จึงได้กำหนดโครงการ "จัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนด้านความมั่นคงของมนุษย์ ปี 2566-2570" เพื่อบูรณาการข้อมูล/กระบวนการ/กลไก/การติดตามและประเมินผล การขับเคลื่อนกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เป็นเจ้าภาพตัวชี้วัดดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ตามกรอบมิติ/ตัวชี้วัดดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ สู่การกำหนดนโยบายรองรับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที พร้อมขยายผลการขับเคลื่อนค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับประเทศ และในระดับพื้นที่ต่อไป
  • thumb
    21 มี.ค. 2567
    จากเก่าสู่เก๋า: นวัตกรรมอาหารไทยโบราณ – มรดกทางวัฒนธรรมที่ล้ำค่าของมณฑลนครชัยศรี
    นวัตกรชุมชน นวัตกรรมอาหารไทยโบราณ มณฑลนครชัยศรี community innovator, traditional Thai food innovation, Nakhon Chai Si County
  • thumb
    01 02 03
    5 มี.ค. 2567
    การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวอินทรีย์ผงเพื่อเป็นส่วนผสมอาหารในอุตสาหกรรม และผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าวอินทรีย์อัดเม็ด
    การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวอินทรีย์ผงเพื่อเป็นส่วนผสมอาหารในอุตสาหกรรม และผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าวอินทรีย์อัดเม็ด
  • thumb
    1 ก.ย. 2566
    การพัฒนาขีดความสามารถการสื่อสารภาษาอังกฤษด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เขตพัฒนาราษฎร์บนพื้นที่สูง จังหวัดอุทัยธานี
    จังหวัดอุทัยธานีมีลักษณะโดดเด่นทั้งด้านศาสนา วิถีชีวิต ศิลปะ ประเพณี วัฒนธรรม เป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่มีเอกลักษณ์มีวิถีชีวิตของผู้คนที่เรียบง่ายสงบร่มเย็น ดังคำขวัญของจังหวัดอุทัยธานี “เมืองพระชนกจักรี ปลาแรดรสดี ประเพณีเทโว ส้มโอบ้านน้าตก มรดกโลกห้วยขาแข้ง แหล่งต้นน้าสะแกกรัง ตลาดนัดดังโคกระบือ”แสดงให้เห็นถึงทุนทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์และมีเสน่ห์ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวสู่การเรียนรู้และอนุรักษ์อย่างเป็นรูปธรรม
  • thumb
    04 01 17
    29 พ.ย. 2566
    โครงการพัฒนาระบบทุนการศึกษา (ทุนเปรมดนตรี)
    กองทุนเปรมดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นด้วยความเห็นชอบของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อดีตประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ซึ่งเป็นผู้ที่มีคุณูปการต่อการศึกษาของไทย รวมทั้งการศึกษาดนตรีเป็นอย่างมาก โดยได้สนับสนุนเงินบริจาคเพื่อจัดตั้งกองทุนเปรมดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ เพื่อนำดอกผลมาส่งเสริมและสนับสนุนเป็นทุนการศึกษาด้านดุริยางคศาสตร์ของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยปีนี้ กองทุนฯได้นำเงินดอกผลมาจัดสรรเป็นทุนการศึกษาในปี 2564 เป็นปีแรก ผู้ที่ได้รับทุนผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการพิจารณา และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยดุริยางคศิลป์
  • thumb
    15 พ.ค. 2566
    การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพและสร้างรายได้สำหรับผู้สูงอายุในศูนย์ดูแลกลางวันสำหรับผู้สูงอายุโดยชุมชน
    การสร้างเสริมสุขภาพและสร้างรายได้สำหรับผู้สูงอายุในศูนย์ดูแลกลางวันสำหรับผู้สูงอายุเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ให้ผู้สูงอายุมาทำกิจกรรมร่วมกันทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ มีกลไกคณะทำงานในการบริหารจัดการศูนย์ดูแลกลางวัน โดยมีครูอาสาในการสร้างการเรียนรู้ 12 ฐาน และมีกองทุนศูนย์ดูแลกลางวันสำหรับผู้สูงอายุเพื่อสนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรม
จำนวนทั้งหมด 32 รายการ