Case Study

ผลการค้นหาทั้งหมด 275 รายการ
  • thumb
    04
    25 ส.ค. 2565
    ศูนย์สมานใจปฐมวัยสาธิต
    รูปแบบการจัดบริการการพัฒนาเด็กปฐมวัย สำหรับเด็กที่ถูกเลี้ยงดูไม่เหมาะสม หรือถูกทารุณกรรม (เด็กเปราะบาง) ให้ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการและได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม
  • thumb
    04 08
    19 ส.ค. 2565
    งานอบรมเชิงปฏิบัติการการสร้างเสริมความปลอดภัยในโรงเรียน
    สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว (NICFD) และศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บ (CSIP) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดลเล็งเห็นว่าเด็กวัยเรียน/นักเรียน ควรมีความสมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคม ที่เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุลรวมทั้งได้รับการดูแล ความคุ้มครองและสร้างทักษะความสามารถช่วยเหลือตนเองและผู้อื่น ให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุ ถูกทำร้ายและปลอดจากภัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในบ้าน โรงเรียน ชุมชนและสังคมจึงจัดโครงการสร้างเสริมความปลอดภัยในโรงเรียนและการรับรองโรงเรียนปลอดภัย ในนาม “MU Safe School” ขึ้น เพื่อพัฒนาสุขภาวะและความปลอดภัยของนักเรียนในโรงเรียน พัฒนาความรู้และทักษะความปลอดภัยแก่บุคลากรและครู สนับสนุนรูปแบบการดำเนินงานและยกระดับการรับรองโรงเรียนปลอดภัย โดยมีกลุ่มเป้าหมายได้แก่ สถานศึกษา-โรงเรียน ผู้บริหารบุคลากรและครูในโรงเรียน นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนละแวกโรงเรียน
  • thumb
    04 03
    25 ส.ค. 2565
    การส่งเสริมการเรียนรู้และการดูแลเด็กปฐมวัยโดยใช้ธรรมชาติเป็นฐาน
    ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย พัฒนารูปแบบกิจกรรมการส่งเสริมประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยได้ โดยใช้ฐานจากธรรมชาติ ส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาวะที่ดี ให้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ที่ปลอดภัยและพัฒนาเป็นทักษะการอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างยั่งยืนในอนาคต
  • thumb
    04
    26 ส.ค. 2565
    หลักสูตรผู้ประคอง : การสร้างสิ่งแวดล้อมปลอดภัย ด้วยการเลี้ยงดูเชิงบวก
    ดำเนินการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ในหลักสูตร “หลักสูตรผู้ประคอง : การสร้างสิ่งแวดล้อมปลอดภัย ด้วยการเลี้ยงดูเชิงบวก ” โดยเข้าร่วมอบรมผ่านระบบ moodle e - learning ทั้งหมด 3 บทเรียน และมีการพบปะผ่านระบบออนไลน์ zoom application 2 ครั้ง บทที่ 1 ผู้ปกครอง Vs. ผู้ประคอง บทที่ 2 ผู้ประคอง ต้องทำใจ ประมวลสาระ 3 เรื่อง พัฒนาการองค์รวม การทำงานของสมอง 3 ส่วน หลักการสร้างวินัยเชิงบวก บทที่ 3 เครื่องมือประเมินความพร้อมตนเองของ “ ผู้ประคอง ” “ผู้ประคอง”หากผู้ประคองจะไม่คิดแทน ทำแทน และให้โอกาสให้เด็ก ๆ สร้างตัวตน และพัฒนาความรู้สึกนึกคิดตัวเองแล้ว ผู้ประคองต้องให้ความสำคัญกับการฝึกใน และ ใคร่ครวญ ทบทวนสะท้อนคิดถึงการเลี้ยงดูของตนเอง
  • thumb
    03
    10 ต.ค. 2565
    ปรึกษาสุขภาพใจ...ในมหาวิทยาลัย
    ปัญหาทางด้านสุขภาพใจ เป็นปัญหาที่จัดการได้ ดูแลได้ เมื่อเราเข้าใจ ยอมรับ…เราจะพบทางออกไปด้วยกัน
  • thumb
    04
    26 ส.ค. 2565
    หลักสูตรการพัฒนาและคุ้มครองเด็กที่ได้รับประสบการณ์ชีวิตไม่พึงประสงค์
    ดำเนินการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ในหลักสูตร “การพัฒนาและคุ้มครองเด็กที่ได้รับประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์” โดยเข้าร่วมอบรมผ่านระบบ moodle e - learning ทั้งหมด 16 บทเรียน และมีการพบปะผ่านระบบออนไลน์ zoom application เพื่อให้ผู้ดูแลเด็กในชุมชนและหน่วยบริการเด็กปฐมวัยทุกรูปแบบ ครูและผู้ดูแลเด็กวัยเรียนในโรงเรียนและนอกระบบการศึกษา ผู้ให้บริการสุขภาพในสถานพยาบาล และผู้ทำหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและคุ้มครองเด็กทุกระดับ เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน และ ผู้บริหารหน่วยงาน ได้เข้ามาเรียนรู้และนำความรู้ได้รับไปใช้การดำเนินงานต่อไป
  • thumb
    04 01 17
    29 พ.ย. 2566
    โครงการพัฒนาระบบทุนการศึกษา (ทุนเปรมดนตรี)
    กองทุนเปรมดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นด้วยความเห็นชอบของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อดีตประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ซึ่งเป็นผู้ที่มีคุณูปการต่อการศึกษาของไทย รวมทั้งการศึกษาดนตรีเป็นอย่างมาก โดยได้สนับสนุนเงินบริจาคเพื่อจัดตั้งกองทุนเปรมดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ เพื่อนำดอกผลมาส่งเสริมและสนับสนุนเป็นทุนการศึกษาด้านดุริยางคศาสตร์ของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยปีนี้ กองทุนฯได้นำเงินดอกผลมาจัดสรรเป็นทุนการศึกษาในปี 2564 เป็นปีแรก ผู้ที่ได้รับทุนผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการพิจารณา และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยดุริยางคศิลป์
  • thumb
    04 03
    26 ส.ค. 2565
    โครงการพัฒนา EF ในกระบวนการดูแลและเรียนรู้ สำหรับเด็กปฐมวัยทั้งมวล
    ท่ามกลางสถานการณ์การเพิ่มขึ้นของเด็กและเยาวชนที่มีความเปราะบาง พบว่า ปัจจุบันการจัดบริการสาธารณะเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชนที่มีความเปราะบางหรือที่มีความต้องการพิเศษยังขาดกลไกและบุคลากรที่มีความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กกลุ่มนี้ และขาดมาตรฐานในการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการให้แก่เด็กและเยาวชนที่มีความต้องการพิเศษด้านการเรียนรู้เหล่านี้ จึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานที่มีความรู้ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญเฉพาะทางวิชาการ ในการให้ความช่วยเหลือในสิ่งที่เป็นช่องว่างในการยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการให้แก่เด็กและเยาวชนที่มีความต้องการพิเศษด้านการเรียนรู้
  • thumb
    11 13
    24 ม.ค. 2566
    โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งถือเป็นแกนสำคัญของการพัฒนาและขยายเมือง การพัฒนาเมืองแบบ Transit Oriented Development (TOD)
    โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งถือเป็นแกนสำคัญของการพัฒนาและขยายเมือง การพัฒนาเมืองแบบ Transit Oriented Development (TOD) หรือหนึ่งในแนวคิดการพัฒนาเมืองและชุมชนเมืองควบคู่ไปกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง โดยเน้นการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งสาธารณะที่เป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อการเดินทาง มีการกำหนดรูปแบบการใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อสร้างชุมชนคุณภาพ น่าอยู่อาศัย น่าลงทุนธุรกิจ เพื่อส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมการเดินทาง เข้า-ออกพื้นที่ด้วยระบบขนส่งสาธารณะ และส่งเสริมการเดินทางในพื้นที่ด้วยการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ หรือใช้การเดินทางสาธารณะ (1) Concept การบริหารเมืองของ TOD คือ การปรับเปลี่ยนการขยายตัวของเมืองแบบกระจัดการจายให้เป็นเมืองกระชับ ด้วยการพัฒนาพื้นที่อย่างมีขอบเขตและแนวทางซึ่งจะช่วยลดภาวะการเติบโตของเมืองอย่างไร้ทิศทาง Transit Oriented Development (TOD) จะช่วยแก้ปัญหาเมือง และมีประโยชน์ต่อชุมชน ดังนี้ ภาครัฐจะมีแนวทางในการบริหารจัดการเมืองที่ชัดเจน และเป็นรูปธรรม การเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางจากรถยนต์ส่วนตัวมาเป็นขนส่งสาธารณะ จะช่วยลดการก่อให้เกิดมลพิษด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสาธารณะ รวมถึงการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเดินเท้า หรือการปั่นจักรยาน ภายในบริเวณโดยรอบของการขนส่งสาธารณะเพื่อลดการเดินทางโดยใช้เครื่องยนต์ และส่งผลดีต่อสุขภาพ นอกจากนี้ ทางด้านเศรษฐกิจท้องถิ่นก็จะมีการพัฒนาให้ลงตัวกับทุก Life Style การใช้ชีวิต ทั้งย่านพักอาศัย ย่านการค้า ย่านธุรกิจ และพื้นที่สาธารณะ มีระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการครบที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ลดการใช้พลังงาน และเสริมสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีในชุมชน
  • thumb
    31 ส.ค. 2565
    โครงการ “การพัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษาแบบรอบด้าน สำหรับเยาวชนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในโรงเรียนโสตศึกษา”
    การดำเนินงานโครงการ “การพัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษาแบบรอบด้านสำหรับเยาวชนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในโรงเรียนโสตศึกษา” เพื่อพัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษา ที่เหมาะสมกับเยาวชนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในโรงเรียนโสตศึกษาอย่างมีส่วนร่วม รวมทั้งสื่อสารเพื่อกระตุ้นและสร้างความตระหนักให้กับหน่วยงาน/ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ถึงความสำคัญของการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษาอย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิผลในกลุ่มเยาวชนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
  • thumb
    02 03 12
    10 ต.ค. 2565
    โรงอาหารมหาวิทยาลัยมหิดล
    มหาวิทยาลัยมีโรงอาหารให้บริการในหลายพื้นที่ เพื่อรองรับความต้องการของนักศึกษา บุคลากรและประชาชนทั่วไป โดยจำหน่ายอาหารที่มีความหลากหลายตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
  • thumb
    05
    23 มิ.ย. 2565
    กิจกรรมส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ
    วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นองค์การที่เล็งเห็นความสำคัญของแนวคิดความเท่าเทียมทางเพศ หลายภาคส่วนภายในวิทยาลัยนานาชาติ ทั้งกลุ่มสาขาวิชา งานกิจการนักศึกษา สโมสรนักศึกษา และชมรมนักศึกษา จึงมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศอย่างต่อเนื่องทุกปี
จำนวนทั้งหมด 275 รายการ