Case Study

ผลการค้นหาทั้งหมด 275 รายการ
  • thumb
    15
    30 ส.ค. 2566
    นิทรรศการภาพวาดพฤกษศาสตร์ สานพฤกษพรรณผ่านงานพฤกษศิลป์ ครั้งที่ 5 Botanical Art Thailand 2023
    นิทรรศการภาพวาดพฤกษศาสตร์ “สานพฤกษพรรณผ่านงานพฤกษศิลป์ ครั้งที่ 5” สานร้อยความงามของพืชพรรณผ่านการเรียนรู้พฤกษศาสตร์ สร้างสรรค์เป็นภาพวาดงดงาม จัดแสดง ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นเจ้าภาพร่วมกับเครือข่ายวิทย์สานศิลป์ และพันธมิตรหลายหน่วยงาน
  • thumb
    04
    24 ส.ค. 2566
    โครงการนักสื่อสารวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ Mahidol Young Science Communicators 2023
    โครงการพัฒนานักสื่อสารวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ให้สื่อสารทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่ยากแก่การเข้าใจของคนทั่วไป ให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นเพื่อเผยแพร่แก่สาธารณชน รวมถึงการถ่ายทอด หลักการทางวิทยาศาสตร์ (scientific method) ให้ประชาชนได้รู้จักการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล และตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์
  • thumb
    12
    24 ส.ค. 2566
    Towards a future of sustainable food consumption: practice-oriented scenarios evaluation and participatory back-casting approach for sustainable food purchasing, eating-out and cooking in Thailand
    Conventional policy approaches emphasize technical solutions and individual behavioral change, but practice-based policy approaches offer an alternative. This paper examines the operationalization of a practice-oriented futures policy development process. The process builds on practice theory to generate alternative sustainable future pathways and policy intervention ideas, and in doing so, extends the vocabulary for policy-focused futures work. We focus on three practices with implications for urban sustainability - food purchasing, eating out, and home cooking in Bangkok, Thailand.
  • thumb
    21 ต.ค. 2565
    โครงการฟาร์มสร้างสุขรามาธิบดี
    ฟาร์มสร้างสุขรามาธิบดี เกษตรอินทรีย์วิถีธรรมชาติ เพื่อผู้ป่วยและประชาชนคนไทย ได้ตระหนักและเรียนรู้ต้นทางของการดูแลสุขภาพแบบครบวงจร
  • thumb
    12 08 11
    23 ส.ค. 2566
    โครงการการพัฒนารูปแบบการอภิบาลจัดการขยะสิ่งแวดล้อมในระดับท้องถิ่น ภายใต้กรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs): กรณีศึกษาของ อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี
    การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของระบบทุนนิยมโลกมีการเจริญเติบโตไปอย่างรวดเร็ว เกิดการค้าขายแลกเปลี่ยน นำเข้า ส่งออก และการผลิตของระบบอุตสาหกรรม ที่กระตุ้นให้เกิดการผลิตและการบริโภคสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้านการดำรงชีวิต วัฒนธรรมการบริโภค ที่ผู้ผลิตสินค้าและบริการนำเสนอความสะดวกและรวดเร็วเพื่อส่งมอบสินค้าและบริการต่าง ๆ มีการใช้บรรจุภัณฑ์จากพลาสติกที่ยากแก่การย่อยสลาย และขาดการกำจัดที่ดีและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กลายเป็นขยะ (Waste) อันตราย อีกทั้งยังส่งผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมหาศาลในระยะยาว โดยเฉพาะปัญหาการจัดการขยะ (Waste Management) ซึ่งขยะเองมีแนวโน้มทวีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมากในขณะที่การจัดการขยะยังขาดประสิทธิภาพและความเอาใจใส่ของมนุษย์ จากข้อมูลจากธนาคารโลก (World Bank) พบว่า ในปัจจุบันทั่วโลกมีการผลิตขยะรวมกันมากถึง 2.01 พันล้านตันต่อปี และในจำนวนนี้ ขยะร้อยละ 33 ยังขาดการจัดการที่ดีและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และคาดว่าจะมีแนวโน้มสูงถึง 3.40 พันล้านตันภายในปี ค.ศ. 2050 ซึ่งมากกว่า 2 เท่าของอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรทั่วโลกในช่วงระยะเวลาเดียวกัน
  • thumb
    23 ส.ค. 2566
    โครงการสื่อสร้างสรรค์และนวัตกรรมเชิงเทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเส้นทางอาชีพของผู้พิการในประเทศไทย
    ปัจจุบันแม้ว่าช่องทางหรือทางเลือกการเข้าถึงสื่อกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์มีหลากหลาย แต่สำหรับผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุแล้วนั้นยังมีข้อจำกัดบางประการ ซึ่งในปัจจุบันประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากสื่อโทรทัศน์ วิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อออนไลน์หรือสื่อสังคมออนไลน์ ดังนั้นบุคคลต่าง ๆ ที่ต้องการเข้าถึงสื่อในยุคดิจิทัลจำเป็นต้องอาศัยทักษะจำเป็นต่าง ๆ แต่สำหรับกลุ่มเปราะบาง การเข้าถึงข้อมูลผ่านสื่อต่าง ๆ อาจมีข้อจำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเสาะหาอาชีพเพื่อเลี้ยงดูตนเอง โดยอาจส่งผลให้กลุ่มเปราะบางเหล่านี้เสียโอกาสในการพัฒนาตนเองและยกระดับคุณภาพชีวิตขอบตนเอง ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้เอง โครงการสื่อสร้างสรรค์และนวัตกรรมเชิงเทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเส้นทางอาชีพของผู้พิการในประเทศไทย จึงมีความมุ่งหมายศึกษาวิจัยและสร้างสื่อนวัตกรรมเพื่อตอบสนองผู้พิการด้านการจ้างงานและเพื่อฝึกฝนและเตรียมความพร้อมผู้พิการเพื่อสามารถทำงานในลักษณะต่าง ๆ ที่มีอยู่ในตลาดการจ้างงานผู้พิการ
  • thumb
    03 17
    8 ส.ค. 2566
    โครงการ Service Solution Design Competition
    โครงการ Service Solution Design Competition เป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยนานาชาติ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และกองวิเทศสัมพันธ์ เพื่อพัฒนาและบูรณาการการเรียนการสอนเชิงสหวิทยาการที่สอดคล้องกับเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน SDGs 3 เพื่อการมีสุขภาวะที่ดี (Good Health and Well-being)
  • thumb
    03 17
    9 มิ.ย. 2565
    โครงการสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า
    โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่อันตรายร้ายแรงซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิต ทรัพยากร และเศรษฐกิจ สำหรับประเทศไทยในปัจจุบันยังคงพบรายงานการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้ทั้งในคนและในสัตว์ ด้วยเหตุนี้ปัญหาดังกล่าวจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จักต้องเร่งรัดกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไป เพื่อร่วมขจัดปัญหาข้างต้น โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้ร่วมกับองค์กรต่างๆ อาทิเช่น คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครสวรรค์ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมจัดโครงการสร้างเขตปลอดโรคพิษสุนัขขึ้นมา โดยมีกิจกรรมการรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคพิษสุนัข พร้อมกับมีการให้บริการการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และการให้บริการทำหมันแก่สุนัขและแมวจรจัด ในพื้นที่ต่างๆ โดยเริ่มต้นที่ ต.เขาทอง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์แล้วขยายความร่วมมือไปยังพื้นที่อื่นๆ ในจ.นครสวรรค์เพิ่มเติม ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ได้มีการจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557
  • thumb
    04
    20 ก.ค. 2566
    Sustainability Course
    มหาวิทยาลัยมหิดล สนับสนุนการสร้างหลักสูตรการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับความยั่งยืน ทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกจาก 10 ส่วนงาน จำนวน 34 หลักสูตร
  • thumb
    03
    20 ก.ค. 2566
    การบูรณาการการเรียนการสอน Healthy School และปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลดความเสี่ยงโรคติดต่อไม่เรื้อรัง (NCDs)
    จากสถานการณ์ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อไม่เรื้อรังที่เพิ่มสูงขึ้น ประเทศไทยตระหนักถึงปัญหาสำคัญที่ส่งผลเสียและเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพนี้ และถือว่าเป็นความท้าทายอย่างยิ่งสำหรับการดำเนินงานเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งนำไปสู่วางแผนการดำเนินการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ต่าง ๆ เช่น ยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ และยุทธศาสตร์สุขภาพที่ดีวิถีชีวิตไทย เป็นต้น โดยใช้แนวทางการทำงานหลายภาคส่วนในการร่วมกัน (multi-sectoral collaboration) ผลักดันให้เกิดแนวทางแก้ไขปัญหา รวมถึงมาตรการต่าง ๆ เพื่อควบคุมและหาแนวทางการลดความเสี่ยงของการเกิดโรค NCDs โดยมีกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงการคลังที่มีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดองค์ความรู้ และหลักฐานเชิงประจักษ์ ที่สำคัญและจำเป็นในการดำเนินงาน ทั้งนี้ประเทศไทยได้มีการขับเคลื่อนการป้องกัน NCDs อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นตามกรอบการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในปี 2030 เพื่อให้ผลของการขับเคลื่อนการป้องกันและควบคุมโรค NCDs มีความยั่งยืน สร้างองค์ความรู้ให้ประชาชน ให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ ส่งผลต่อการป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดโรค NCDs แก่เด็ก และการเกิดโรค NCDs เมื่ออายุมากขึ้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนการสร้างความรอบรู้ในการดูแลสุขภาพของกลุ่มวัยเด็ก ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 4 ที่เน้นคุณภาพทางการศึกษา (Goal 4: Quality Education) เพราะการศึกษามีอิทธิพลต่อการป้องกันและควบคุมโรค NCDs โดยเฉพาะในช่วงวัยเรียนและวัยรุ่น ซึ่งจากอดีตจนถึงปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการได้พยายามดำเนินการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี และกิจกรรมโครงการเกี่ยวกับสุขภาพในโรงเรียนต่าง ๆ ร่วมกับหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และมีศักยภาพอย่างเต็มที่ในการที่จะเชื่อมโยงเนื้อหาที่เป็นเหตุปัจจัยและผลของพฤติกรรมที่เป็นความเสี่ยงของการเกิดโรคอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม หากมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และมีกลไกในการเพิ่มองค์ความรู้ ตลอดจนได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงภายใน สพฐ. ดังนั้นเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนที่มีประสิทธิภาพสู่การบรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน และให้การเรียนการสอนสุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพของเด็กเป็นการเรียนการสอนเพียงแค่ในตำรา แต่ปรับรูปแบบนำไปสู่การปฏิบัติจริง โดยให้ความสำคัญมุ่งเน้นไปที่การทำองค์ความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้ผู้บริหาร (Knowledge Translation) นำไปผลักดันให้เกิดเป็นนโยบายในการแก้ไขปัญหา อีกทั้งการเรียนการสอนไม่ใช่หน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานองค์กรเดียว แต่เป็นการนำแนวคิดของความร่วมมือของภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินการ (multi-sectoral collaboration) เพื่อมุ่งเตรียมทรัพยากรที่มีคุณภาพในอนาคต ด้วยการบูรณาการรวมกันระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์กรภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ผู้ปกครอง และเด็ก เพราะกิจกรรมไม่ใช่มุ่งเน้นเฉพาะเด็กอย่างเดียว แต่ต้องดำเนินการกิจกรรมผสานกันระหว่างโรงเรียนและบ้าน จึงนำมาสู่แนวทางการศึกษาในครั้งนี้ด้วยการทบทวนและสังเคราะห์กระบวนการทางนโยบาย และการนำไปใช้ประโยชน์ของการป้องกันโรค NCDs รวมถึงการสร้างต้นแบบกิจกรรม (Showcase) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาคู่มือสุขภาพเด็กนักเรียนที่จะนำไปสู่การป้องกันโรค NCDs อย่างยั่งยืน และสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง
  • thumb
    10 05
    12 ก.ค. 2566
    MU Pride Celebration: เวทีเสวนาสิทธิและความหลากหลายทางเพศ
    มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อสิทธิและความหลากหลายทางเพศ โดยนโยบายหลากหลายที่สนับสนุนด้านสิทธิและความหลากหลายทางเพศของนักศึกษาและบุคลากร นอกจากนั้นแล้วภายใต้การทำงานของหน่วยความเลิศด้านวิจัยเพศภาวะ เพศวิถีและสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยามหิดล ยังให้ความสำคัญต่อการทำงานเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียม ผลักดันให้เกิดความเป็นธรรมทางเพศและสุขภาวะ
  • thumb
    03 16 17
    28 มิ.ย. 2566
    โครงการเสวนาวิชาการ เรื่อง “กัญชา เสรี จะดีหรือร้าย?”
    การเสวนาวิชาการ เรื่อง “กัญชา เสรี จะดีหรือร้าย” เสวนาในมิติกฎหมายการแพทย์ และผลกระทบต่อเยาวชน เป็นโครงการเสวนาวิชาการภายใต้ความร่วมมือระหว่างหลักสูตรปรัชชาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรมและสังคม (ภาคพิเศษ) คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และฝ่ายบริการวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย มีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงสาระสำคัญของข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกัญชา และเปิดโอกาสให้สาธารณชนได้ทราบถึงประโยชน์ทางการแพทย์ และโทษของกัญชาที่ส่งผลกระทบต่อเยาวชนซึ่งจะทำให้ประชาชนเข้าใจวิธีการและรูปแบบการใช้กัญชาที่ถูกต้องเหมาะสม และยังช่วยลดปัญหาการใช้กัญชาไม่เหมาะสมในเยาวชนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยได้จัดขึ้นในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2565 เวลา 09.00-11.00 น. ในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meeting
จำนวนทั้งหมด 275 รายการ