Reduced Inequalities

ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ

มหาวิทยาลัยมหิดลสนับสนุนความเท่าเทียมกันของคนทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกเชื้อชาติ โดยให้โอกาสในการศึกษาและทำงานอย่างเท่าเทียม นักศึกษาสามารถแต่งกายตามอัตลักษณ์ทางเพศสภาพหรือเพศสภาวะ ที่ไม่ตรงกับเพศกำเนิด ในเวลาที่มีการเรียนการสอน รวมถึงในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรพิธีรับอนุปริญญาบัตร ได้ตาม " ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยเรื่องเครื่องแต่งกายนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2564 " มหาวิทยาลัยไม่จำกัดโอกาสการเข้าถึงการศึกษา โดยเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติ หรือผู้ที่มิได้ถือสัญชาติไทยสามารถเข้ามาศึกษาต่อได้ตาม “ ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยการรับบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรีเป็นกรณีพิเศษสำหรับผู้มิได้มีสัญชาติไทย พ.ศ. 2560 ” รวมถึง ไร้สัญชาติ ที่ในปัจจุบันทางมหาวิทยาลัยมีนักศึกษาไร้สัญชาติ จำนวน 9 ราย และผู้พิการทางกายภาพก็สามารถเข้ามาศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีได้ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยได้สนับสนุนนักศึกษาผู้พิการทางกายภาพให้สามารถเข้าถึงระบบการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยได้เท่าเทียมกับนักศึกษาทั่วไป เช่น หลักสูตรของวิทยาลัยราชสุดา ซึ่งเป็นศูนย์กลางเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการทางกายภาพในประชาคมอาเซียน มีหลักสูตรตั้งแต่ระดับปริญญาตรีถึงระดับปริญญาเอกสำหรับผู้พิการทางกายภาพมีงานบริการฟื้นฟูสมรรถภาพและบริการนักศึกษาผู้พิการทางกายภาพ เพื่อเตรียมความพร้อม สร้างโอกาสทางการประกอบอาชีพสู่การเป็นผู้ประกอบการต่อไป มหาวิทยาลัยยังมีหน่วยบริการสนับสนุนสำหรับนักศึกษาผู้พิการทางกายภาพ ที่มีหน้าที่จัดรูปแบบการเรียนการสอน อำนวยความสะดวกในการสอบ รวมทั้งจัดหาบริการสื่อด้านการเรียนการสอนให้เหมาะสมตามความต้องการของแต่ละบุคคล เช่น บริการผลิตสื่ออักษรเบรลล์ให้ผู้พิการทางสายตา รวมทั้งจัดหาอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ทดแทนเมาส์ โปรแกรมขยายจอภาพ ทางลาดพกพา ทางมหาวิทยาลัยยังจัดสรรสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ เช่น แผนที่แสดงจุดจอดรถผู้พิการ ลิฟท์บันไดสำหรับรถเข็นวีลแชร์ หอพักผู้พิการ เตียงนอนผู้พิการรวมถึงทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาผู้พิการทางกายภาพอย่างไม่จำกัดจำนวน มหาวิทยาลัยยังได้สร้างจิตสำนึกตามหลักธรรมภิบาล ในทุกระบบการบริหารให้เป็นไปอย่างโปร่งใสตรวจสอบได้ และปลูกฝังเรื่องจรรยาบรรณตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง บุคลากร นักศึกษาของมหาวิทยาลัย สำหรับการตัดสินใจในเรื่องสำคัญหรือนโยบายที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย จะต้องดำเนินการผ่านเวทีการประชุมเพื่อรับฟังข้อคิดเห็น เนื่องจากมหาวิทยาลัยมหิดลให้ความสำคัญ กับสิทธิในการแสดงออกทางความคิดที่หลากหลายของมนุษย์ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน

Highlights
  • thumb
    31 ต.ค. 2566
    Mahidol Eco Park
    Mahidol Eco Park สวนสาธารณะเพื่อการเรียนรู้ พักผ่อนหย่อนใจท่ามกลางธรรมชาติอย่างบูรณาการ พื้นที่สีเขียวใจกลางพื้นที่โซนการศึกษา เอื้อให้นักศึกษาและบุคลากรได้ใช้โยชน์อย่างเต็มที่
  • thumb
    27 ก.ย. 2566
    การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้พิการทางการเห็นในการคัดแยกขยะหน้ากากอนามัยเพื่อลดการระบาดของ COVID-19 ผ่านถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะสำหรับทุกคน
    ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 มีปริมาณการใช้หน้ากากอนามัยเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก แต่กลุ่มคนพิการทางการเห็นไม่มีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะ ซึ่งรวมถึงขยะหน้ากากอนามัยในโรงเรียน ซึ่งอาจทำให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อโรคได้ จึงนำไปสู่โจทย์วิจัย “จะพัฒนาศักยภาพคนพิการทางการเห็นในการคัดแยกหน้ากากอนามัยใช้แล้วตั้งแต่ต้นทางเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อโรค COVID-19 ในคนพิการทางการเห็นได้อย่างไร”
  • thumb
    23 ส.ค. 2566
    โครงการสื่อสร้างสรรค์และนวัตกรรมเชิงเทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเส้นทางอาชีพของผู้พิการในประเทศไทย
    ปัจจุบันแม้ว่าช่องทางหรือทางเลือกการเข้าถึงสื่อกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์มีหลากหลาย แต่สำหรับผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุแล้วนั้นยังมีข้อจำกัดบางประการ ซึ่งในปัจจุบันประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากสื่อโทรทัศน์ วิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อออนไลน์หรือสื่อสังคมออนไลน์ ดังนั้นบุคคลต่าง ๆ ที่ต้องการเข้าถึงสื่อในยุคดิจิทัลจำเป็นต้องอาศัยทักษะจำเป็นต่าง ๆ แต่สำหรับกลุ่มเปราะบาง การเข้าถึงข้อมูลผ่านสื่อต่าง ๆ อาจมีข้อจำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเสาะหาอาชีพเพื่อเลี้ยงดูตนเอง โดยอาจส่งผลให้กลุ่มเปราะบางเหล่านี้เสียโอกาสในการพัฒนาตนเองและยกระดับคุณภาพชีวิตขอบตนเอง ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้เอง โครงการสื่อสร้างสรรค์และนวัตกรรมเชิงเทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเส้นทางอาชีพของผู้พิการในประเทศไทย จึงมีความมุ่งหมายศึกษาวิจัยและสร้างสื่อนวัตกรรมเพื่อตอบสนองผู้พิการด้านการจ้างงานและเพื่อฝึกฝนและเตรียมความพร้อมผู้พิการเพื่อสามารถทำงานในลักษณะต่าง ๆ ที่มีอยู่ในตลาดการจ้างงานผู้พิการ
  • thumb
    10 05
    12 ก.ค. 2566
    MU Pride Celebration: เวทีเสวนาสิทธิและความหลากหลายทางเพศ
    มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อสิทธิและความหลากหลายทางเพศ โดยนโยบายหลากหลายที่สนับสนุนด้านสิทธิและความหลากหลายทางเพศของนักศึกษาและบุคลากร นอกจากนั้นแล้วภายใต้การทำงานของหน่วยความเลิศด้านวิจัยเพศภาวะ เพศวิถีและสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยามหิดล ยังให้ความสำคัญต่อการทำงานเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียม ผลักดันให้เกิดความเป็นธรรมทางเพศและสุขภาวะ
  • thumb
    16 พ.ค. 2566
    งานนิทรรศการทันตสุขภาพ “เพื่อฟันที่คุณรัก”
    คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสโมสรนักศึกษาทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลปิ่นเกล้า เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ในการจัดกิจกรรมดังกล่าว เพื่อเป็นการหารายได้สมทบทุนมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2527 จนถึงปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการให้ความรู้ คำแนะนำในการป้องกันโรคและแนวทางการรักษาทางทันตกรรม เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเล็งเห็นถึงความสำคัญของการรักษาสุขภาพช่องปากและฟัน เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับทันตสุขภาพให้กับประชาชน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมเสริมหลักสูตรให้กับนักศึกษาทันตแพทย์ ในการสร้างจิตสำนึกในการทำงานเพื่อสังคม กิจกรรมภายในงานประกอบด้วยนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร นิทรรศการทันตสุขภาพ การประกวดหนูน้อยฟันสวยชิงถ้วยประทาน พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัดดามาตุ พร้อมทุนการศึกษา การให้บริการตรวจสุขภาพช่องปากและฟันแก่ประชาชนทั่วไปโดยไม่คิดมูลค่า และการออกร้านสอยดาวหารายได้สมทบทุนมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย สมทบทุนมูลนิธิคณะทันตแพทยศาสตร์มหิดล เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้และด้อยโอกาส และมอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลด้วย
  • thumb
    15 พ.ค. 2566
    การศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจของอุปกรณ์ดามที่ผลิตจากเทอร์โมพลาสติกที่พัฒนาขึ้นเองโดยมีต้นทุนต่ำกับอุปกรณ์ดามที่ผลิตจากเทอร์โมพลาสติกที่ใช้ในทางการค้า
    งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจในการใช้งานอุปกรณ์ดามที่ผลิตจากเทอร์โมพลาสติกที่พัฒนาขึ้นเองโดยมีต้นทุนต่ำกับอุปกรณ์ดามที่ผลิตจากเทอร์โมพลาสติกที่ใช้ในทางการค้า โดยใช้แบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก
  • thumb
    15 พ.ค. 2566
    โครงการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหนึ่งในแผนงานเชิงยุทธศาสตร์ของโครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา (IHRP) มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาผ่านการเสริมสร้างศักยภาพ การเสริมสร้างอำนาจ และการเผยแพร่ความรู้ในหมู่นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษาและภาคส่วนต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มานานกว่าทศวรรษ นอกเหนือจากหลักสูตรด้านสิทธิมนุษยชนและสันติภาพในระดับบัณฑิตศึกษาแล้ว สถาบันฯ ยังทำงานร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศเพื่อเสริมสร้างศักยภาพ ทักษะ และความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาสำหรับนักวิชาการในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในช่วงหลังได้เน้นการทำงานไปที่กลุ่มนักวิชาการในเมียนมาร์ที่ได้รับผลกระทบจากการรัฐประหารเมื่อปี 2564
  • thumb
    10 04
    28 ต.ค. 2565
    โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาเชิงระบบเพื่อการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาของเด็กนอกระบบ
    พัฒนาเด็กและเยาวชนให้เติบโตเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และมีความใส่ใจในการทำความเข้าใจสถานการณ์ของเด็กและเยาวชนนอกระบบภายใต้บริบทครอบครัวและสังคมที่มีความสลับซับซ้อน
  • thumb
    03 10
    11 ต.ค. 2565
    คลินิกเพศหลากหลาย (Gen V Clinic) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
    คลินิกเพศหลากหลาย (Gender Variation Clinic: Gen V Clinic) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ให้บริการกลุ่มคนเพศหลากหลายทุกช่วงวัย โดยแพทย์ผู้เชี่ยใชาญและทีมสหสาขาวิชาชีพ
  • thumb
    04 10
    8 ก.ย. 2565
    กิจกรรม “จิตอาสาอ่านหนังสือให้คนตาบอด”
    กิจกรรม “จิตอาสาอ่านหนังสือให้คนตาบอด” ผ่านแอปพลิเคชั่น Read for the Blind จะช่วยส่งเสริมกิจกรรมจิตอาสาภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ให้มีความปลอดภัยเป็นประโยชน์ต่อสังคม และตอบสนองกิจกรรมเสริมหลักสูตรของมหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้กิจกรรมจิตอาสา (Volunteer)
  • thumb
    16 10
    1 ก.ย. 2565
    กลุ่มถักทอสันติภาพ (กทส.) (Weaving Peace Together)
    กลุ่มถักทอสันติภาพ (กทส.) มีวัตถุประสงค์ 5 ประการ 1) ส่งเสริมให้เครือข่ายชาวพุทธเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับ 2)ส่งเสริมให้เครือข่ายชาวพุทธมีความเข้าใจและดำเนินการร่วมกัน 3)นำเสนอความต้องการ ความกลัว และความกังวลของชาวพุทธ 4)ทำงานร่วมกับชุมชนชาวพุทธอย่างจริงจัง 5)ร่วมมือกับชุมชนมุสลิมเพื่อสร้างอนาคตอันสงบสุขร่วมกัน ประกอบด้วยบุคลากรสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา และเครืออข่ายชาวพุทธ ร่วมออกแบบโครงการย่อยตาม 4 แนวเรื่อง ได้แก่ ชุมชนพุทธเข้มแข็ง ความสัมพันธ์ระหว่างชาวพุทธ-มุสลิม การส่งเสริมกระบวนการสันติภาพ การสื่อสารและการเชื่อมต่อสังคม ผลผลิตสำคัญ ได้แก่ องค์ความรู้ และการเกิดขึ้นของกลุ่มถักทอสันติภาพ
  • thumb
    16 10 17
    1 ก.ย. 2565
    มหาวิทยาลัยมหิดลกับการมีส่วนร่วมในการหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
    โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา และสภาประชาสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ เห็นความสำคัญของกระบวนการพูดคุยสันติภาพสำคัญต่อการแก้ปัญหาพื้นที่จังหวัดชายแอนภาคใต้อย่างยั่งยืน จึงได้ใช้กระบวนการสานเสวนาสร้างพื้นที่แห่งความร่วมมือระหว่างตัวแสดงที่มีอิทธิพลและบทบาทในการแก้ปัญหาทางสังคมการเมือง ได้แก่ ภาคประชาสังคมและนักการเมือง โดยได้ดำเนินการต่อเนื่องหลายปีด้วยความสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยมหิดล จนสามารถจัดทำ “ข้อตกลงร่วมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ระหว่างนักการเมืองกับภาคประชาสังคม” และงานแรกที่ร่วมกันผลักดันคือ “การตั้งคณะกรรมาธิการกระบวนการพูดคุยสันติภาพ” ผ่านกลไกรัฐสภา
จำนวนทั้งหมด 27 รายการ