ระบบช่วยนำทาง สำหรับผู้พิการทางสายตา

detail

โครงการ VIS4ION-Thailand พัฒนาระบบช่วยนำทางสำหรับผู้พิการทางสายตาโดยใช้เทคโนโลยี AI และเทคโนโลยีช่วยเหลือแบบเรียลไทม์ อุปกรณ์ที่สวมใส่ได้นี้ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลสภาพแวดล้อมเพื่อการเดินทางที่ปลอดภัยและเป็นอิสระ การทดสอบต้นแบบได้ดำเนินการที่มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา โดยใช้เทคนิควิสัยทัศน์คอมพิวเตอร์ขั้นสูงในการสร้างแผนที่ดิจิทัลและข้อมูลการนำทางเชิงพลวัต

ปัจจุบัน มีจำนวนคนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นเพิ่มขึ้น เนื่องจากโรคที่เกี่ยวกับการมองเห็นและภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ ตามรายงานขององค์การอนามัยโลก (2011) มีผู้ที่ตาบอด 39 ล้านคน และผู้ที่มีการมองเห็นต่ำ 246 ล้านคนทั่วโลก สำหรับในประเทศไทย ความพิการทางสายตาเป็นประเภทของความพิการที่พบบ่อยเป็นอันดับสาม การบกพร่องในการประมวลผลและการรับรู้ทางสายตาทำให้การเข้าถึงข้อมูลที่เป็นสามมิติลดลง ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการสื่อสาร การเคลื่อนไหวร่างกาย การทำกิจวัตรประจำวัน และการเดินทาง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อระดับกิจกรรมทางกาย โอกาสทางการศึกษา การจ้างงาน และคุณภาพชีวิตโดยรวม

 

โครงการ VIS4ION-Thailand เป็นระบบช่วยการนำทางสำหรับผู้พิการทางสายตาโดยใช้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ ด้วยเทคโนโลยี AI ร่วมกับเทคโนโลยีช่วยเหลือ (Assistive Technology - AT) โดย AT เป็นคำที่ใช้ครอบคลุมถึงอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์หรือบริการที่เพิ่มความสามารถในการเข้าถึงสำหรับบุคคล อุปกรณ์ช่วยการเคลื่อนที่ที่เน้นฟังก์ชันการเรียนรู้ทิศทางและการนำทาง การบูรณาการข้อมูลเชิงพื้นที่ซึ่งมักจะใช้กับการมองเห็น อุปกรณ์เคลื่อนที่จะใช้เทคโนโลยีทันสมัยในการให้คำแนะนำเส้นทาง การรู้จำวัตถุ และการหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวาง สำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางสายตา

 

การพัฒนา VIS4ION

อุปกรณ์เคลื่อนที่ VIS4ION (Visually Impaired Smart Service System for Spatial Intelligence and Onboard Navigation) ที่สวมใส่ได้ เป็นอุปกรณ์เทคโนโลยี AI EDGE ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยการนำทางการเคลื่อนที่ส่วนบุคคล เป็นแพลตฟอร์มที่สามารถปรับแต่งได้ และมีคนซึ่งเป็นผู้ดูแลอยู่ในกระบวนการ เพื่อส่งข้อมูลไปยังผู้ใช้ คอยให้คำแนะนำการนำทางในเวลาใช้งานจริง โดยโครงการวิจัยนี้ พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางสายตาสามารถเดินทางได้อย่างอิสระในพื้นที่ใหม่ ๆ อุปกรณ์นี้จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่อยู่ใกล้เคียงได้ง่าย เพื่อช่วยในการนำทางและการเดินทางไปยังจุดหมายอย่างปลอดภัย

 

การทดสอบระบบต้นแบบสำหรับการวิจัยและพัฒนา VIS4ION โดยจัดทำข้อมูลดิจิทัลแผนที่ของมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา (ประกอบด้วยพื้นที่ 7 คณะ และแผนที่ภายนอกของเส้นทางที่เชื่อมต่อกัน) และใช้เทคนิควิสัยทัศน์คอมพิวเตอร์ขั้นสูงเพื่อทำให้สภาพแวดล้อมเชิงพื้นที่เป็นดิจิทัล (การสร้างแผนที่) และให้ข้อมูลการนำทางเชิงพลวัต (การระบุตำแหน่ง) เพื่อสนับสนุนการรับรู้เชิงพื้นที่สำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางสายตา โดยข้อมูลดิจิทัลเหล่านี้ถูกติดตั้งอยู่ในคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก และแบตเตอรี่ กล้องถ่ายภาพสำหรับข้อมูลสภาพแวดล้อม รวมถึงชุดหูฟังสำหรับการสื่อสารแบบโต้ตอบเกี่ยวกับข้อมูลเชิงพื้นที่ที่เป็นดิจิทัลที่เก็บไว้ในฐานข้อมูลและคำสั่งการนำทางของผู้ใช้ ส่วนประกอบทั้งหมดนี้ถูกประกอบเข้ากับกระเป๋าเป้สะพายหลังเพื่อการพกพาที่สะดวก

  

Partners/Stakeholders

1. The U.S. National Institutes of Health (NIH) 2. New York University (NYU)

** The mentioned project is a collaboration between researchers from NYU and Mahidol University. [Funding: NIH]

ผู้ดำเนินการหลัก
อาจารย์แพทย์หญิงวัชรา ริ้วไพบูลย์
ส่วนงานหลัก
ผู้ดำเนินการร่วม
ดร.พัฒนศักดิ์ มงคลวัฒน์
ส่วนงานร่วม