Case Study

ผลการค้นหาทั้งหมด 29 รายการ
  • thumb
    12 13 15
    7 ต.ค. 2565
    การจัดการความรู้เพื่อการบริหารจัดการพันธุ์ข้าว และกระบวนการจัดการเครือข่ายของ Young Smart Farmer เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม (Knowledge management for rice varieties and network management of Young Smart Farmer to cope with climate variability)
    ถอดกระบวนการเรียนรู้ การสั่งสม การถ่ายทอดองค์ความรู้ของเกษตรกรด้านการบริหารจัดการพันธุ์ข้าวในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย รวมถึงวิเคราะห์กระบวนการสร้างและการจัดการเครือข่ายของ Young Smart Farmer เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและการใช้ประโยชน์เชิงนโยบายสาธารณะด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน
  • thumb
    7 ต.ค. 2565
    การประเมินผลกระทบจากภัยแล้งต่อความมั่นคงด้านการเกษตรในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่จาง จังหวัดลำปาง (Drought impact assessment on agricultural security in Mae Chang watershed Lampang province)
    การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศเพื่อประเมินและคาดการณ์ผลกระทบจากภัยแล้งต่อพื้นที่เกษตรกรรม รวมทั้งประเมินความเหมาะสมของพื้นที่สำหรับการปลูกพืชทางเลือก เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์พื้นที่เกษตรกรรมในลุ่มน้ำแม่จางอย่างเหมาะสมและยั่งยืน
  • thumb
    13 07 14
    7 ต.ค. 2565
    เรือไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อส่งเสริมนโยบายการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
    การถ่ายทอดเทคโนโลยีเรือไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ให้กับ อพท. และชุมชนชายฝั่งเกาะหมาก เพื่อใช้เป็นเครื่องมือจัดการท่องเที่ยวและอนุรักษ์ปะการัง เพื่อทดแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของเรือยนต์ โดยปราศจากการปลดปล่อยคาร์บอน การปนเปื้อนเขม่าจากการเผาไหม้ลงสู่แนวปะการัง และส่งเสริมนโยบายการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
  • thumb
    15 13
    7 ต.ค. 2565
    นิเวศวิทยาและประชากรช้างป่า (Elephas maximus) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวงและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว
    โครงการศึกษานิเวศวิทยาและประชากรช้างป่า (Elephas maximus) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวงและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินและเปรียบเทียบประชากร การกระจาย และความต้องการทางนิเวศวิทยาของช้างป่า เพื่อใช้ในการวางแผนการจัดการและการอนุรักษ์ และการลดผลกระทบระหว่างช้างป่าและชาวบ้านในการอยู่ร่วมกันโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่น และสังเคราะห์กลยุทธ์การสื่อสารและพัฒนาสื่อเสริมสร้างความเข้าใจและความตระหนักในการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่าด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น โดยทำการสำรวจโดยตรงและสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบ ช่วงเวลา และสถานที่ทำกิจกรรมของช้างป่า ตลอดจนผลกระทบในพื้นที่ร่วมกับการติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่าบริเวณรอยต่อระหว่างพื้นที่เกษตรกรรมกับแนวเขตของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว พบว่าช้างป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ช้างป่าส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าชั้นกลาง (75%) พบพฤติกรรมการหากินมากที่สุดเวลา 15.01-19.00 น. พบธาตุแคลเซียมในกองมูลมากที่สุด (62.81%) พืชอาหาร พบธาตุเหล็ก (Fe) มากที่สุด (88.54%) ส่วน ขป ภูเขียว มีการกระจายใกล้เคียงกันทั้งในพื้นที่ป่าชั้นใน (34%) ป่าชั้นกลาง (30.8%) และป่าชั้นนอก (28.6%) พบการทำกิจกรรมมากที่สุดระหว่าง 22.01-24.00 น. พืชอาหารพบธาตุไนโตรเจน (N) มากที่สุด (56.16%) จากการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุแบบโลจิสติกในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จำนวน 66 ตัวอย่าง มีพื้นที่เหมาะสมมากที่สุด 169.58 ตร.กม. (18.62%) เป็นพื้นที่ราบด้านบนเทือกเขา พื้นที่เหมาะสมมาก 425.26 ตร.กม. (46.69%) พื้นที่ที่เหมาะสมปานกลาง 279.57 ตร.กม. (30.69%) ส่วนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว มีพื้นที่เหมาะสมมากที่สุด 168.24 ตร.กม. (6.5%) พื้นที่เหมาะสมมาก 983.62 ตร.กม. (37.99%) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง 704.77 ตร.กม. (27.22%)
  • thumb
    7 ต.ค. 2565
    ชายฝั่งทะเลไทย: ความเปราะบาง ความยืดหยุ่น และการปรับตัวของบริเวณชายฝั่งทะเลในประเทศไทย
    การวิจัยชายฝั่งทะเลไทยจะเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาลและผู้กำหนดนโยบาย ซึ่งจำเป็นต้องมีการวางแผนสำหรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเป็นไปเพื่อการพัฒนากลยุทธ์ที่มีความยืดหยุ่นเพื่อจัดการกับผลกระทบต่อระบบธรรมชาติและสังคม
จำนวนทั้งหมด 29 รายการ