Case Study

ผลการค้นหาทั้งหมด 35 รายการ
  • thumb
    2 ก.พ. 2567
    การปรากฏและการกระจายของละองละมั่ง ภายหลังการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จังหวัดกาญจนบุรี
    การติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ติดตามรูปแบบการปรากฏและการกระจายของประชากรละองละมั่งที่ปล่อยคืนสู่ธรรมชาติในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จังหวัดกาญจนบุรี มาเป็นเวลา 10 ปี เพื่อเป็นการติดตามความสำเร็จในการปล่อยละองละมั่งและใช้เป็นแนวทางในการจัดการพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ประชากรละองละมั่ง
  • thumb
    15 13
    10 ม.ค. 2567
    การจัดทำแผนผังภูมินิเวศแหล่งฟอสซิลเขาน้อยและป่าพน อุทยานธรณีโลกสตูล
    อุทยานธรณีโลกสตูลได้รับการรับรองเป็นอุทยานธรณีโลกแห่งแรกของประเทศไทยจากยูเนสโก (UNESCO) เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2561 และคณะกรรมการสภาอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO Global Geoparks Council) ได้มีมติเห็นชอบให้อุทยานธรณีโลกสตูลผ่านการประเมินซ้ำเพื่อเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก และได้รับสถานะ Green Card เมื่อปี 2566 เขาน้อยและป่าพนเป็นแหล่งธรณีและฟอสซิลที่มีความสำคัญอย่างมาก แต่ปัจจุบันยังขาดการจัดการและสิ่งอำนวยความสะดวกในการให้ความรู้แก่ผู้มาเยือน ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) จัดทำผังภูมินิเวศแหล่งฟอสซิลเขาน้อย และป่าพน ในอุทยานธรณีสตูล และ 2) พัฒนาเส้นทางการเรียนรู้แหล่งฟอสซิลเขาน้อย และป่าพน การจัดทำผังภูมินิเวศได้ใช้หลักการในเรื่องการอนุรักษ์แหล่งทรัพยากรทางธรณีที่สำคัญและการแบ่งพื้นที่ตามภูมิประเทศ ชีวภาพ ภูมิสังคมและภูมิวัฒนธรรม โดยการใช้แผนที่แสดงลักษณะทางกายภาพ การบินสำรวจภาพมุมสูงโดยโดรน แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน แผนที่ชั้นหิน และขอบเขตประกาศแหล่งอนุรักษ์ซากดึกดำบรรพ์ มาซ้อนทับและกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในแต่ละเขต การจัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติและสิ่งอำนวยความสะดวกโดยการวิเคราะห์สภาพพื้นที่ ศักยภาพและข้อจำกัด และการวิเคราะห์ผู้ใช้งาน การจัดทำคู่มือเส้นทางการท่องเที่ยวอุทยานธรณีโลกสตูล เขาน้อยและป่าพน โดยการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องของอุทยานธรณีสตูล รายละเอียดและข้อมูลเขาน้อยและป่าพน นำมาออกแบบบนหลักการที่ยังคงความถูกต้องทางวิชาการ เข้าใจง่ายและน่าสนใจ การประชุมรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนร่วม และการฝึกอบรมมัคคุเทศก์น้อยโรงเรียนกำแพงและป่าพน ผลการศึกษาได้จัดทำผังภูมินิเวศของพื้นที่เขาน้อย โดยมีพื้นที่สงวนเท่ากับ 6,511.85 ตารางเมตร (4.070 ไร่) พื้นที่อนุรักษ์ 72,834.55 ตารางเมตร (45.522 ไร่) และพื้นที่พัฒนา 1,440.07 ตารางเมตร (0.900 ไร่) และผังเฉพาะป่าพนมีพื้นที่สงวนเท่ากับ 6,339.25 ตารางเมตร (3.962 ไร่) พื้นที่อนุรักษ์ 43,769.47 ตารางเมตร (27.356 ไร่) และพื้นที่พัฒนา 29,532.45 ตารางเมตร (18.458 ไร่) ตามลำดับ โดยพื้นที่สงวนครอบคลุมพื้นที่หินที่บ่งบอกอายุหินที่แตกต่างกัน แหล่งฟอสซิล หินสาหร่าย พื้นที่อนุรักษ์คือ พื้นที่ที่ต่อเนื่องจากพื้นที่สงวน และพื้นที่พัฒนาคือ พื้นที่ที่จะเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติ พื้นที่ที่จะใช้ก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก โดยการออกแบบให้กลมกลืนกับธรรมชาติและเบียดเบียนธรรมชาติน้อยที่สุด ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายคือ ควรเร่งรัดการจัดทำแผน 5 ปี (พ.ศ.2567-2571) ของอุทยานธรณีโลกสตูล เพื่อปรับแผนให้เข้ากับแผนจังหวัดและแผนพัฒนาท้องถิ่นให้ทันกับปีงบประมาณ พ.ศ.2567 จะทำให้งานขับเคลื่อนได้ต่อเนื่อง ภายใต้แนวคิดของแผนผังภูมินิเวศ จะมองพื้นที่แหล่งฟอสซิลเป็นแหล่งธรณีที่ยึดโยงกับประชาชน (Man) ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่แหล่งฟอสซิล กับ ชีวมณฑล (Biosphere) ที่อยู่ร่วมกัน ดังนั้นจึงต้องให้ความสำคัญกับแนวคิดของการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนผ่านการจัดการพื้นที่สงวน พื้นที่อนุรักษ์และพื้นที่ใช้ประโยชน์อื่น ๆ อย่างเหมาะสมและสมดุล การมีส่วนร่วมของชุมชนต้องมีอยู่ในระดับที่สูง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการรับรู้ เข้าใจ และสร้างความตระหนักต่อบทบาทหน้าที่ของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ให้มากที่สุด จึงจะทำให้การขับเคลื่อนงานของอุทยานธรณีโลกเป็นไปอย่างตรงและบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ การออกแบบเส้นทางศึกษาธรรมชาติและสิ่งอำนวยความสะดวกเขาน้อย โดยการนำ Prehistoric scenery ของยุคออร์โดวิเชี่ยนมาใช้สร้างความสนใจให้กับโครงการ โดยการใช้ลักษณะภูมิทัศน์เดิมของพื้นที่ในส่วนด้านหน้าเป็นพื้นทีที่ช่วยบอกเล่าเรื่องราว และอาจะมีการเพิ่มองค์ประกอบภูมิทัศน์บางส่วนเพื่อช่วยส่งเสริมบรรยากาศในการเรียนรู้ โดยพื้นที่แหล่งฟอสซิลเขาน้อยจะใช้แนวคิด The Prehistoric Scenery of Nature และสำหรับป่าพน โดยการนำแนวความคิด The Journey of Natural Nature: Local-Natural trail- Enhance เน้นให้คนในชุมชน ท้องถิ่นเน้นร่วมกิจกรรม local guide, local food, local craft, local plants, local nature คู่มือเส้นทางการท่องเที่ยวอุทยานธรณีโลกสตูล เขาน้อยและป่าพน ประกอบด้วยอุทยานธรณีโลกสตูล ตารางธรณีกาล เขาน้อย และป่าพน คำสำคัญ: อุทยานธรณีสตูล เขาน้อย ป่าพน แผนผังภูมินิเวศ เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ฟอสซิล สโตรมาโตไลต์
  • thumb
    11 13 15
    10 ม.ค. 2567
    เสริมพลังชุมชน บรรลุเป้าหมาย Net Zero สร้างความเชื่อมั่น-ยกระดับมาตรฐานส่งออก ‘ส้มโอ จ.นครปฐม’
    ส่งเสริมให้ชาวสวนส้มโอชุมชน “เกาะลัดอีแท่น” ตระหนักถึง “การเพิ่มการกักเก็บคาร์บอน” เสนอแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและพลังงานในรูปแบบที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การใช้พลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์ การพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อการปรับตัวให้เท่าทันสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง การเสริมสร้างชุมชนเกษตรเชิงอนุรักษ์ และการประกอบการเพื่อชุมชนยั่งยืน ตลอดจนกิจกรรมจิตอาสาเพื่อการพัฒนาต่าง ๆ
  • thumb
    02 11
    11 ก.ย. 2566
    พฤติกรรมเชิงลึกของเกษตรกรและคนในชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชนเกษตรปลอดการเผา
    งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการค้นหาทางเลือกและประเมินต้นทุน-ผลตอบแทนในการใช้ประโยชน์จากฟางข้าว ประเมินการเปิดรับมลพิษทางอากาศ ประเมินความเต็มใจจ่ายเพื่อจัดการฟางข้าวโดยปลอดการเผาและความเต็มใจในการรับค่าชดเชยเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่การจัดการฟางข้าวโดยปลอดการเผา วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการตอซังฟางข้าวของเกษตรกร สื่อสารทางเลือกและต้นทุน-ผลตอบแทนในการใช้ประโยชน์จากตอซังฟางข้าว รวมถึงสื่อสารผลการวิเคราะห์คุณสมบัติและธาตุอาหารในดินของแปลงเกษตรที่เผาและไม่เผาตอซังฟางข้าว ตลอดจนถอดบทเรียน วิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จ และสังเคราะห์แนวทางการผลักดันเชิงนโยบายสำหรับการเป็นชุมชนเกษตรปลอดการเผา เพื่อให้การขับเคลื่อนชุมชนเกษตรปลอดการเผาเป็นรูปธรรมและยั่งยืนคู่วิถีเกษตรของสังคมไทย
  • thumb
    7 ต.ค. 2565
    ชายฝั่งทะเลไทย: ความเปราะบาง ความยืดหยุ่น และการปรับตัวของบริเวณชายฝั่งทะเลในประเทศไทย
    การวิจัยชายฝั่งทะเลไทยจะเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาลและผู้กำหนดนโยบาย ซึ่งจำเป็นต้องมีการวางแผนสำหรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเป็นไปเพื่อการพัฒนากลยุทธ์ที่มีความยืดหยุ่นเพื่อจัดการกับผลกระทบต่อระบบธรรมชาติและสังคม
  • thumb
    08 12
    8 ก.ย. 2566
    แผนงานการศึกษากลไกทางการเงินสำหรับการบริหารจัดการมรดกทางธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวบนความยั่งยืน Study of Financial Mechanism for Natural Heritage Management on Sustainable Tourism Perspective
    การปิดอุทยานแห่งชาติเพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติได้ฟื้นฟู อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเชิงพื้นที่ การจัดการกลไกทางการเงินเป็นเครื่องมือที่จะช่วยเสนอแหล่งที่มาของรายได้และวิธีการจัดสรรด้านการเงินเพื่อชดเชยกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบ เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการพื้นที่อนุรักษ์และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
  • thumb
    11 13
    11 ก.ย. 2566
    การพัฒนาระบบคาดการณ์และแจ้งเตือนการแพร่กระจายของฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 จังหวัดลำปาง
    การประเมินสถานการณ์ของ PM2.5 จากแหล่งกำเนิดประเภทจุดความร้อน โดยใช้ข้อมูลดาวเทียม และการพัฒนาแบบจำลองเชิงพื้นที่สำหรับคาดการณ์การแพร่กระจายของ PM2.5 ทำให้สามารถใช้ข้อมูลในการแจ้งเตือนประชาชน รวมทั้งสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานรัฐให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • thumb
    13
    11 ก.ย. 2566
    การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกและศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ปลูกยางพารา ภาคตะวันออกของประเทศไทย
    ประเมินการกักเก็บคาร์บอนในดิน และมวลชีวภาพเหนือดิน พัฒนาสมการเพื่อคาดการณ์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางระดับอกของต้นยางพาราจากค่าความสูงของลำต้นและพื้นที่การปกคลุมเรือนยอด ประเมินการปล่อยก๊าชเรือนกระจกจากกิจกรรมการเพาะปลูกยางพาราและเสนอแนวทางการลดการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจกจากกิจกรรมการเพาะปลูกยางพารา
  • thumb
    14 03 08
    18 ต.ค. 2565
    การวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเล : การประยุกต์สู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่
    โครงการได้รวบรวมองค์ความรู้ทั้งในระดับสากลและระดับชาติ และจัดการประชุมผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง อันจะนำมาซึ่งข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนการวางแผนการใช้ประโยชน์ทางทะเลสำหรับประเทศไทย และสามารถต่อยอดผลการศึกษาไปสู่การวิจัยในพื้นที่นําร่องต่อไป
  • thumb
    02
    11 ก.ย. 2566
    การประเมินความมั่นคงทางอาหารภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในลุ่มน้ำแม่จาง จังหวัดลำปาง
    การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศวิเคราะห์สถานการณ์การใช้ที่ดินและผลผลิตทางการเกษตรของพืชเกษตรหลัก 3 ชนิด ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด และมันสำปะหลัง เพื่อประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินที่มีต่อความมั่นคงทางอาหารในลุ่มน้ำแม่จาง จังหวัดลำปาง
  • thumb
    15
    11 ก.ย. 2566
    โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์วัวแดง (Bos javanicus) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จังหวัดกาญจนบุรี ของมหาวิทยาลัยมหิดล
    โครงการนี้เน้นสภาพปัจจุบันของวัวแดงในพื้นที่ต่าง ๆ เทียบกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระที่เป็นต้นแบบในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และมีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้และศึกษาธรรมชาติ พร้อมทั้งพัฒนาโปรแกรมสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการเรียนรู้ของเยาวชน ประชาชน และชุมชนบนพื้นฐานจากงานวิจัยด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจการจัดการอนุรักษ์วัวแดงในพื้นที่อนุรักษ์อื่น ๆ ต่อไป
  • thumb
    13 02
    11 ก.ย. 2566
    การประเมินและเปรียบเทียบด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และการจัดการของเกษตรกรรายย่อยและการรวมกลุ่มเกษตรกรทำนาแปลงใหญ่ สู่ทางเลือกเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
    การรวมกลุ่มทำนาแปลงใหญ่มีข้อดี 3 ด้าน 1) ดีต่อสิ่งแวดล้อม คือ ช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และช่วยลดการปล่อยน้ำเสียสู่สิ่งแวดล้อม 2) ดีต่อรายได้ คือ ช่วยเพิ่มกำไรสุทธิให้กับเกษตรกร และ 3) ดีต่อสังคม คือ ช่วยสร้างความเข้มแข็งของกลุ่ม เห็นศักยภาพของสมาชิกในกลุ่ม เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน และเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีของคนในชุมชน
จำนวนทั้งหมด 35 รายการ