บุคลากรของมหาวิทยาลัยเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญยิ่งในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยให้ไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด ดังนั้น การเพิ่มพูนองค์ความรู้ให้กับบุคลากรจึงเป็นสิ่งที่ผู้บริหารให้ความสำคัญ
บุคลากรของมหาวิทยาลัยเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญยิ่งในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยให้ไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด ดังนั้น การเพิ่มพูนองค์ความรู้ให้กับบุคลากรจึงเป็นสิ่งที่ผู้บริหารให้ความสำคัญ
สภามหาวิทยาลัยสู่การผลักดันเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
นายกสภามหาวิทยาลัย กรรมการสภามหาวิทยาลัย และทีมผู้บริหาร ได้ให้ความสำคัญและมุ่งผลักดันเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals, SDGs) มาอย่างต่อเนื่อง สำนักงานสภามหาวิทยาลัยจึงได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง“การเรียนรู้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนนโยบายของสภามหาวิทยาลัยและผู้บริหารมหาวิทยาลัยจากวิสัยทัศน์สู่การปฏิบัติ (From Vision to Action) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรสายสนับสนุนได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน สร้างเครือข่ายกลุ่มเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปประยุกต์ใช้ในการทำงานให้เกิดความยั่งยืนต่อส่วนงาน มหาวิทยาลัยและประเทศชาติ
บุคลากรของมหาวิทยาลัยเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญยิ่งในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยให้ไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย
สารจากนายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล
การประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 70 เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2558 ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ประเทศไทยและประเทศสมาชิกสหประชาชาติรวม 193 ประเทศ ร่วมลงนามรับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 (2030 Agenda for Sustainable Development) ซึ่งเป็นกรอบการพัฒนาของโลกเพื่อร่วมกันบรรลุการพัฒนาทาง สังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ ภายในปี ค.ศ. 2030 โดยกำหนดให้มีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เป็นแนวทางให้แต่ละประเทศดำเนินการร่วมกัน
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) 17 เป้าหมาย ประกอบไปด้วย 169 เป้าหมายย่อย (SDG Targets) ที่มีความเป็นสากล เชื่อมโยงและเกื้อหนุนกัน และกำหนดให้มี 247 ตัวชี้วัด เพื่อใช้ติดตามและประเมินความก้าวหน้าของการพัฒนา โดยสามารถจัดกลุ่ม SDGs ตามปัจจัยที่เชื่อมโยงกันใน 5 มิติ (5P) ได้แก่ (1) การพัฒนาคน (People) ให้ความสำคัญกับการขจัดปัญหาความยากจนและความหิวโหย และลดความ เหลื่อมล้ำในสังคม (2) สิ่งแวดล้อม (Planet) ให้ความสำคัญกับการปกป้องและรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสภาพภูมิอากาศเพื่อพลเมืองโลกรุ่นต่อไป (3) เศรษฐกิจและความมั่งคั่ง (Prosperity) ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีและสอดคล้องกับธรรมชาติ (4) สันติภาพและความยุติธรรม (Peace) ยึดหลักการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีสังคมที่สงบสุข และไม่แบ่งแยก และ (5) ความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา (Partnership) ความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน
มหาวิทยาลัยมหิดลซึ่งถือได้ว่าเป็นมหาวิทยาลัยอันดับต้นของประเทศไทย ได้รับการจัดอับดับ World University Ranking สูงขึ้นเรื่อย ๆ แต่ถ้าไม่ได้ทำงานเพื่อสังคมและประเทศก็ไม่มีความหมาย เนื่องจากมหาวิทยาลัยมหิดลมีศาสตร์ที่หลากหลาย สามารถนำศาสตร์ทั้งหมดมาบูรณาการ จัดเตรียมทักษะองค์ความรู้ให้กับ คนรุ่นหลัง ปลูกฝังให้นักศึกษาได้มีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนอยู่ในใจทั้ง 17 เป้าหมายของ SDGs เพื่อทำให้สังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจเกิดความยั่งยืนต่อประเทศและโลกสืบไป ดังพระราชปณิธานของสมเด็จพระราชบิดา “True Success is not in the learning, but in its application to the benefit of mankind”
Knowledge - "ความรู้ ความเข้าใจ" เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
1. หัวข้อ “Roles of Higher Educations for SDGs” บรรยายโดย ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี
2. หัวข้อ “SDGs : นโยบายและแผนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล” บรรยายโดย รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ.จุฑามณี สุทธิสีสังข์ รองอธิการบดี
3. หัวข้อ “จากมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) สู่มหาวิทยาลัยยั่งยืน (Sustainable University)” บรรยายโดย รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต รองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
4. หัวข้อ “Mahidol University & Sustainable Development Goals” บรรยายโดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ สมาชิกวุฒิสภาและอดีตนายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล
5. หัวข้อ “งานวิจัยจะช่วยให้มนุษย์และธรรมชาติดำรงอยู่อย่างสมดุลได้หรือไม่” บรรยายโดย คุณหญิงลักษณาจันทร เลาหพันธุ์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
6. หัวข้อ “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน กับการรายงานผลกระทบของมหาวิทยาลัยตามกรอบ Times Higher Education” บรรยายโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชล บุนนาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move)
7. หัวข้อ "Mahidol University's theory of Corporate Sustainability: Policy implications for MU sustainable development " บรรยายโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุขสรรค์ กันตะบุตร รองคณบดีงานวิจัย และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภาวะผู้นำอย่างยั่งยืน วิทยาลัยการจัดการ
กิจกรรมเชิงปฏิบัติการ : รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ พิมพา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายความยั่งยืน วิทยาลัยการจัดการ และทีมวิทยาลัยการจัดการ
ส่วนงานเข้าร่วมโครงการอบรมฯ
กลุ่มเป้าหมายหลักของโครงการอบรมฯ คือ บุคลากรสายสนับสนุน ที่ทำงานวิเคราะห์หรืองานที่เกี่ยวข้องการจัดทำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) หรือบุคลากรตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผน ของแต่ละส่วนงาน ส่วนงานละ 1-2 ท่าน โดยมีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ 121 ท่านจาก 37 ส่วนงานและ 24 กอง/ศูนย์ (ในสำนักงานอธิการบดี) และผู้เข้าร่วมอบรมจริง จำนวน 114 ท่าน โดยสรุปรายชื่อส่วนงาน ดังนี้
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (2) คณะเทคนิคการแพทย์ (1) คณะเภสัชศาสตร์ (2) คณะเวชศาสตร์เขตร้อน (2) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี (2) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (3) คณะกายภาพบำบัด (2) คณะทันตแพทยศาสตร์ (2) คณะพยาบาลศาสตร์ (2) คณะวิทยาศาสตร์ (3) คณะวิศวกรรมศาสตร์ (1) คณะศิลปะศาสตร์ (2) คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (2) คณะสัตวแพทยศาสตร์ (2) คณะสาธารณสุขศาสตร์ (2) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ (2) บัณฑิตวิทยาลัย (2) วิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล (2) วิทยาลัยการจัดการ (1) วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ (1) วิทยาลัยนานาชาติ (3) วิทยาลัยราชสุดา (1) วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา (1) วิทยาลัยศาสนศึกษา (2) ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ (2) สถาบันแห่งชาติฯ เด็กและครอบครัว (2) สถาบันโภชนาการ (1) สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล (1) สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ (2) สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (1) สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน (2) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม (3) สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย (2) สถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์ฯ ในการกีฬา (2) สำนักงานสภามหาวิทยาลัยมหิดล (2) สำนักงานอธิการบดี (47) หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล (2) *(จำนวนผู้เข้าอบรมแต่ละส่วนงาน)*
ผลการดำเนินงาน
ผู้เข้าร่วมอบรมฯ มีความพึงพอใจในความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาโดยรวม ก่อน เข้ารับฟังการบรรยาย อยู่ในระดับ ปานกลาง คิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.18 หรือร้อยละ 63.66 และภายหลังการอบรม ผู้เข้าร่วมอบรมฯ มีความพึงพอใจในความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาโดยรวม เพิ่มขึ้น อยู่ในระดับ มาก คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.12 หรือร้อยละ 82.37
ผลการทดสอบก่อนการอบรม ค่าเฉลี่ยคะแนนอยู่ที่ 5.54 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 และภายหลังการอบรม ผลการทดสอบ ค่าเฉลี่ยคะแนนอยู่ที่ 9.36 คะแนน เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.95 โดยมีผู้ผ่านการทดสอบและได้รับวุฒิบัตรรับรองการอบรม จำนวน 107 ท่าน (คิดเป็นร้อยละ 93.85)
-