การผลิตปุ๋ยหมักจากเศษซากพืชเป็นการลดปริมาณขยะช่วยลดปริมาณคาร์บอนฟุตปริ๊น ซึ่งจะช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก และนำปุ๋ยที่ได้กลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อจำหน่ายให้แก่บุคลากร ช่วยให้ได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัย
การผลิตปุ๋ยหมักจากเศษซากพืชเป็นการลดปริมาณขยะช่วยลดปริมาณคาร์บอนฟุตปริ๊น ซึ่งจะช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก และนำปุ๋ยที่ได้กลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อจำหน่ายให้แก่บุคลากร ช่วยให้ได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัย
คณะพยาบาลศาสตร์ มีแนวทางการจัดการขยะให้เป็นศูนย์ ZERO WASTE! ด้วยการ Recycle คือ การนำขยะจากเศษซากพืชกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์ ด้วยการแปรรูปเศษซากพืชให้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยหมัก) ซึ่งเหมาะกับการบำรุงดิน บำรุงต้นไม้ให้เจริญงอกงาม รวมทั้งยังสามารถลดการใช้สารเคมีและค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยได้มาก และเป็นการลดอันตรายจากการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค
ดังนั้น เพื่อให้ได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางการเกษตรที่มีอยู่ให้เหมาะสม งานบริหารจัดการจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการผลิตปุ๋ยอินทรีย์(ปุ๋ยหมัก) จากเศษซากพืช ซึ่งสอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ของรัฐบาลที่มีนโยบายด้านการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์และลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร และนำปุ๋ยที่ได้มาใช้ในการปลูกผักปลอดสารพิษ ให้บุคลากรได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัย ซึ่งเป็นการลดปริมาณขยะ สามารถนำขยะมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยและยังช่วยให้บุคลากรได้บริโภคอาหารปลอดภัย
-