ศาสตร์แขนงวิชาดนตรี มักจะเป็นแขนงหนึ่งที่มีผู้สนใจอยู่อย่างน้อย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้เล่น และกลุ่ม ผู้ฟัง ในบรรดาชนเหล่าที่กล่าวถึงนั้น บางครั้งกลุ่มผู้เล่นก็มักจะเป็นกลุ่มผู้ฟังเสียเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดนตรีไทย มีผู้สนใจฟังมากกว่าจํานวนผู้เล่นเพียงไม่กี่คนดังปรากฏพยานชัดในงานดนตรีไทยทั่วไปแล้ว จึงพอเป็นที่อนุมานได้ว่า ศิลปืนดนตรีไทย และดนตรีไทยพื้นบ้าน แทบจะไม่มีพื้นที่ใดใดในสื่อ เพื่อให้คนทั่วไป ได้ทําความรู้จัก หรือถ้าจะมีก็คงอยู่ในหนังสือเก่า หรือกลุ่มหนังสือหายาก ด้วยเหตุใดก็ตามการเก็บรวบรวม ชีวประวัติของครูดนตรีไทย และครูดนตรีไทยพื้นบ้าน ยังมีอยู่น้อยมากในประเทศไทย จึงทําให้นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจที่จะเข้าถึงข้อมูลของครูจําเป็นจะต้องสัมภาษณ์ครูท่านนั้นโดยตรง ในกรณีที่ครูยังมีชีวิตอยู่อาจ สามารถเก็บข้อมูลครูได้ แต่หากครูเหล่านั้นถึงแก่อนิจกรรมไปแล้วก็อาจจะเป็นการยากที่จะเก็บข้อมูลได้
ความสําคัญอีกประการหนึ่งนอกเหนือจากการเก็บข้อมูลเชิงชีวประวัติ ห้องสมุดดนตรีสมเด็จ พระเทพรัตน์ จะใช้โอกาสนี้ในการเก็บบันทึกภาพและวีดิทัศน์การเล่นดนตรีในเครื่องมือที่ครูถนัดเพื่อเป็น การเก็บภูมิรู้ของครูเป็นภาพเคลื่อนไหว และเผยแพร่ความรู้ของครูเป็นคลิปวิดีโอที่มีความยาว 4 - 5 นาที ผ่านทางสื่อโซเชียลมีเดีย Facebook และ Youtube เป็นอาทิ เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าถึงและศึกษาข้อมูล ในรูปแบบใหม่และเข้าถึงง่าย
ห้องสมุดดนตรีสมเด็จพระเทพรัตน์ จึงเล็งเห็นความสําคัญของการรวบรวม ประวัติชีวิต เรื่องเล่า เกร็ดความรู้ เส้นทางการเรียน อุปสรรคชีวิต อันสําคัญที่หล่อหลอมครูให้เป็นศิลปินมีคุณค่า บันทึกไว้ ในแผ่นดิน ทั้งในรูปแบบลายลักษณ์อักษร และวีดิทัศน์สําหรับเผยแพร่เพื่อการศึกษา ให้ครูคงอยู่ในรูปแบบ ความรู้ที่มีชีวิต เพื่อให้นิสิต นักศึกษา และผู้ที่สนใจ ได้เข้าถึงคําว่าศิลปินโดยสมบูรณ์ นอกจากนั้น เมื่อบันทึก อัตชีวประวัติของครูไว้แล้วอย่างครบถ้วน ข้อมูลของครูดนตรีไทยและครูดนตรีพื้นบ้านจะถูกรวบรวม เข้าเป็นชุด บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และเป็นเอกสารอ้างอิงเพื่อการศึกษาต่อไป