โครงการสัมมนาวิชาการ การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ครั้งที่ 7 : นวัตกรรมการสอนและการเรียนรู้ในโลกยุคดิจิทัล

detail

ผู้เข้าร่วมเกิดความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน และได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ทางวิชาการ มีการสร้างความสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงาน และเกิดเครือข่ายวิชาการทางด้านการวิจัยและนวัตกรรมการศึกษา

มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีนโยบายในการสร้างระบบบริหารจัดการเพื่อความเป็นเลิศทางด้านบริการวิชาการและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) โดยมีโครงการและกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยมหิดลสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่ดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืน พ.ศ. 2563-2566 เพื่อให้เกิดความสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ดังกล่าว

สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการจัดโครงการงานสัมมนาวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนครั้งที่ 3 ได้จัดขึ้นภายใต้ theme หลัก คือ นวัตกรรมการสอนและการเรียนรู้ในโลกยุคดิจิทัล โดยมีภาคีหลักในการจัดสัมมนาวิชาการ คือ สถาบันคลังสมองของชาติ สำนักนวัตกรรมการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น สถาบันการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้อาจารย์ของสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แนวคิด หลักการ ตลอดจนวิธีการในการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนทั้งจากวิทยากรชาวไทยและต่างประเทศ รวมถึงได้เรียนรู้กรณีศึกษาและตัวอย่างที่ดีในการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน อีกทั้งเพื่อส่งเสริมการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือระหว่างอาจารย์และนักวิจัยในสาขาที่เกี่ยวข้องกันระหว่างภาคีเครือข่ายและหน่วยงานภายนอก ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 22-23 เมษายน 2564 ผ่านกิจกรรมเสวนา กิจกรรมworkshop ซึ่งอยู่ในรูปแบบ live streaming  โดยผู้เข้าร่วมสัมมนา เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ผ่าน application zoom online meeting platform มีผู้เข้าร่วมโครงการสัมมนาวิชาการ  เป็นผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษา และผู้ที่สนใจจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในประเทศ จำนวน 270 คน

โครงการสัมนาวิชาการฯ มีจำนวนผู้ตอบแบบประเมิน 168 คน จากผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 270 คน ผลประเมินในภาพรวมการจัดงานทั่วไปในหัวข้อความรู้ความเข้าใจโดยรวมที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ ค่าเฉลี่ย 3.75 และหัวข้อ การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ค่าเฉลี่ย 3.71 จากคะแนนเต็ม 5 ผลจากการเข้าร่วมโครงการผู้เข้าร่วมเกิดความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน และได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ทางวิชาการ มีการสร้างความสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงาน และเกิดเครือข่ายวิชาการทางด้านการวิจัยและนวัตกรรมการศึกษา

Partners/Stakeholders

อาจารย์ บุคลากรของสถาบัน ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษาและผู้ที่สนใจจากภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ

ผู้ดำเนินการหลัก
วิทยากรสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้
ส่วนงานหลัก
ผู้ดำเนินการร่วม
สถาบันคลังสมองของชาติ สำนักนวัตกรรมการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น สถาบันการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์